ขั้วโลกเหนือและอาร์กติก

กดเพื่อฟังบทความ

วันนี้เราจะลองไปดูกันที่ขั้วโลกเหนือเน้อเจ้าาาาาา ส่วนในโอกาสต่อไป เราค่อยไปดูขั้วโลกต่าย กันนะครับ

ขั้วโลกเหนืออยู่ที่ไหน ?

An azimuthal projection showing the Arctic Ocean and the North Pole. The map also shows the 75th parallel north and 60th parallel north. Sources :Wikipedia

ขั้วโลกเหนือ (อังกฤษ: North Pole) หรือขั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: Geographical North Pole) เป็นจุดบนผิวโลกในซีกโลกเหนือที่ตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งมักจะถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่มีความหนา 2-3 เมตร มหาสมุทรอาร์กติกนี้มีความลึกราว 4 กิโลเมตร แผ่นดินที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุดก็คือเขตนูนาวุตซึ่งเป็นดินแดนที่ใหญ่ที่สุดและใหม่ที่สุดของแคนาดา เพิ่งแยกออกมาอย่างเป็นทางการจากนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ เมื่อวันที่ 1 เมษายนน ค.ศ. 1999


แต่ในบทความนี้ เราไม่ได้เน้นเรื่องเกี่ยวกับขั้วโลกเหนือ แต่เราพุ่งความสนใจไปยังพื้นที่ที่อยู่รอบขั้วโลกเหนือซึ่งเรียกว่าเขตอาร์กติก 

การพยายามหาว่าเขตแดนของอาร์กติกเริ่มต้นจากที่ไหนและไปจบลงที่ตรงไหนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่ละประเทศก็มีนิยามของตนเอง ตามความเข้าใจแต่เดิมระบุว่าอาร์กติกคือพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 60 องศาเหนือขึ้นไป ถ้ามองจากด้านบนลูกโลกก็เอาเป็นว่าบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่าวงกลมอาร์กติก

การที่น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกละลายอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้มนุษย์สามารถเดินทางเข้าไปในพื้นที่ได้มากขึ้นกว่าที่เคย บริษัทต่าง ๆ พยายามหาเส้นทางเดินเรือสายใหม่เพื่อเชื่อมระหว่างเอเชียและยุโรป โดยพบว่าในช่วงปี 2013 -2019 มีการเดินเรือขนส่งผ่านอาร์กติกเพิ่มขึ้น 25%

การที่เรารับรู้เรื่องน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพิ่มขึ้นทุกปีนั้น หลักใหญ่ใจความก็มาจากสาเหตุภาวะโลกร้อนที่เป็นปัญหาต่อเนื่องและยาวนาน เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลก็สูงขึ้น กระแสน้ำร้อนน้ำเย็นก็เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปรากฏการณ์แพลงตอนบูมหรือสาหร่ายบูม พืชพรรณเฉพาะถิ่นปรับตัวไม่ได้ก็ตาย ปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ก็ไม่มีแหล่งวางไข่ แหล่งอาหาร กระทบกันเป็นทอด ๆ

พื้นที่ที่มีแต่น้ำแข็ง อากาศเหน็บหนาวสุดขั้ว หมีขั้วโลก วาฬ นอกจากชาวอินูอิตและชนเผ่าท้องถิ่นอื่น ๆ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติที่มาร่วมมือกันทำการศึกษาวิจัย พื้นที่อาร์กติกทำไมถึงได้รับความสนใจมากขึ้นทุกที ที่นี่มีอะไร ?

………………………….

Arctic Animals 4K – Amazing Scenes of Arctic Wildlife | Scenic Relaxation Film

เกินกว่าครึ่งของแนวชายฝั่งในแถบอาร์กติกนั้นเป็นของรัสเซีย รองลงมาก็เป็นพื้นที่ของสหรัฐฯ คืออลาสกา บริเวณเกาะกรีนแลนด์ซึ่งเป็นของเดนมาร์ก แล้วก็ยังมีแคนาดา นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ โดยกฎหมายระหว่างประเทศให้สิทธิประเทศเหล่านี้ในการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติได้ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะห่างจากแนวชายฝั่งของตน 200 ไมล์ทะเล ส่วนพื้นที่อาร์กติกที่อยู่นอกเหนือบริเวณดังกล่าวรวมถึงขั้วโลกเหนือนั้นได้ถือว่าเป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ ซึ่งหมายความว่าเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นในอนาคตสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป เป็นพื้นที่ที่ถูกปกป้องไว้จากการสำรวจโดยชาติต่างๆ หรือบริษัทใด ๆ

นอร์เวย์ รัสเซียและแคนาดารวมถึงเดนมาร์กได้ทำแนวเศรษฐกิจของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากตั้งสมมติฐานว่าเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายก็จะเผยให้เห็นโอกาสทางเศรษฐกิจมากมาย ดังนั้นการมีพื้นที่ของตนเองในอาร์กติกจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นทุกที

โดยนัยหนึ่งพื้นที่แถบอาร์กติกตกอยู่ในความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่าง NATO และรัสเซีย ดังนั้นแล้วยุทธศาสตร์อาร์กติกจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับรัสเซีย นำไปสู่กิจกรรมทางการทหารที่เพิ่มขึ้นเพื่อเน้นย้ำในเรื่องความมั่นคงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รัสเซียได้มีการซ้อมรบโดยจำลองสถานการณ์การโจมตีเป้าหมายในนอร์เวย์หรือไม่ก็จำลองการโจมตีเป้าหมายของ NATO ซึ่งทาง NATO เองก็มีการโต้ตอบด้วยการซ้อมรบครั้งใหญ่ที่รวมเอากองกำลังจากประเทศต่าง ๆ กิจกรรมทางการทหารเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งกันในอนาคต

แต่อาร์กติกกำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ทำเงินจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

มีเม็ดเงินลงทุนในพื้นที่ที่เรียกว่า The Great Arctic ซึ่งเป็นบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย รวมถึงเป็นแหล่งขุดเจาะน้ำมันขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Vostok oil โดยรัสเซียหวังว่าจะสามารถนำน้ำมันดิบขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ราว 6 พันล้านตันรวมถึงก๊าซธรรมชาติอีกราวสองล้านล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้แล้วยังมีแผนจะสร้างสนามบินแห่งใหม่ ท่าเรือ และวางระบบท่อส่งเป็นระยะทางราว 800 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามการที่รัสเซียบุกยูเครนนั้นทำให้แผนการเหล่านี้หยุดชะงักไป โครงการน้ำมัน Vostok มีผู้สนใจลงทุนน้อยและหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีและบริการน้ำมันและก๊าซจากตะวันตกแทน ทำให้โครงการดังกล่าวต้องล่าช้าหรือจำเป็นต้องปรับลดขนาดลง

Russland setzt auf Öl: Das neue Öl-Megaprojekt “Vostok Oil”

แต่ก็มีผู้เล่นหน้าใหม่ที่ให้ความสนใจสิ่งนี้ นักลงทุนรายใหญ่ก็คือจีน จีนนั้นมีความสนใจในวิทยาศาสตร์อาร์กติก นั่นเป็นเพราะว่าหากขาดความรู้ดังกล่าวแล้ว จะไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ในพื้นที่ดังกล่าว

จีนนั้นมีความต้องการทรัพยากรอย่างมาก เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยภาคอุตสาหกรรมหนักที่จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจำนวนมาก ทั้งนี้พื้นที่แถบอาร์กติกเป็นพื้นที่ใหม่ที่อาจจะมีทรัพยากรจำนวนมากอยู่ข้างใต้ แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือกันกับประเทศแถบอาร์กติกโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซีย แต่การที่รัสเซียทำสงครามกับยูเครนนั้น ทำให้จีนมีความระแวดระวัง นักลงทุนชาวจีนบางรายได้หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรัสเซียเนื่องจากกังวลเรื่องการถูกแซงก์ชั่น ถึงแม้ว่าในตอนนี้จีนยังไม่ได้ถูกแซงก์ชั่น แต่ถ้าจีนยังมีความร่วมมือกับรัสเซียอย่างใกล้ชิด จีนเองก็มีความเสี่ยงที่จะถูกแซงก์ชั่นจากสหภาพยุโรปหรือสหรัฐฯ ได้เช่นกัน

พื้นที่แถบอาร์กติกยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการขยายเส้นทางการค้า One belt one Road อีกด้วย ที่เรียกว่า Polar Silk Road ยุทธศาสตร์ Belt and Road นี้ก็คือการสร้างเครือข่ายเส้นทางขนส่งทางรางรวมถึงถนนหนทาง ท่าเรือต่างๆ  เพื่อทำให้จีนสามารถขนส่งสินค้าและทรัพยากรของตนไปยังทั่วโลกได้ จีนอ้างว่าการใช้เส้นทางทะเลเหนือนั้นช่วยลดระยะเวลาการเดินเรือในปัจจุบันลงได้เกือบ 20 วันเลยทีเดียวจากที่ต้องไปอ้อมผ่านคลองสุเอซ

Chinese cargo ships sail along Arctic routes as Beijing plans ‘Polar Silk Road’

…………………

นอกจากเส้นทางเดินเรือแล้วเพื่อที่จะลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งสินค้า ยุทธศาสตร์อาร์กติกเพื่อความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ก็สำคัญ ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พื้นที่แถบอาร์กติกตกเป็นที่สนใจ

บริเวณแถบอาร์กติกนี้เชื่อกันว่ามีก๊าซและน้ำมันอยู่มหาศาลซึ่งฟังดูดึงดูดใจมิใช่น้อยและมักจะถูกนำมากล่าวถึงว่าเป็นข้อเท็จจริง การอ้างถึงทรัพยากรดังกล่าวหลายต่อหลายครั้งจะมีที่มาจากงานศึกษาสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ  ในปี 2009 Assessment of Undiscovered Oil and Gas in the Arctic

กลุ่มประเทศมหาอำนาจรอบอาร์กติก พวกเขาจะทำทุกวิถีทางเพื่อนำน้ำมันขึ้นมาใช้และส่งผลร้ายเป็นการซ้ำเติมต่อปัญหาภาวะโลกร้อนหรือไม่ ? หรือพวกเขาจะร่วมมือกันเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ? มันอาจจะไม่ง่ายอย่างที่เราคิดกันก็เป็นได้

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศแถบอาร์กติกบางประเทศได้ชะลอการลงทุนหรือว่าหยุดการลงทุนในส่วนของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

แคนาดาได้สั่งห้ามไม่ให้มีการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งในเขตพื้นที่ปกป้องทางทะเล ส่วนทางเกาะกรีนแลนด์เองก็ห้ามไม่ให้มีการเจาะสำรวจน้ำมันในปี 2021 ทางสหรัฐฯ ก็ได้สั่งระงับการใช้น้ำมันและก๊าซที่ผลิตในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอาร์กติกที่อยู่ในดินแดนอลาสกา แต่แรงกดดันที่ทำให้มีการขุดเจาะน้ำมันในบริเวณนี้เพิ่มขึ้นทุกทีนั้นก็เนื่องมาจากเหตุผลด้านความมั่นคงทางพลังงาน

นินา ดอริง จาก Institute for Advanced Sustainability Studies (IASS) กล่าวว่า “มันสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจว่า เปอร์เซ็นต์และการประเมินที่งานวิจัยระบุไว้นั้นมีความคลาดเคลื่อนสูงมาก ซึ่งเธอและทีมได้ทำการศึกษาวิจัยถึงการประเมินทางวิทยาศาสตร์นั้นได้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจได้อย่างไร จำนวนและเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวเริ่มปรากฏในเอกสารทางนโยบายอย่างกว้างขวาง แม้แต่ในยุทธศาสตร์ในอาร์กติกของประเทศต่างๆ รวมถึงบทความในหนังสือพิมพ์และผ่านกระบวนการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ  ดังนั้นมันจึงเริ่มดูเหมือนมันมีอยู่จริง  ข้อเท็จจริงที่ว่าอาร์กติกมีปริมาณน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมากนั้นเป็นเพียงสิ่งที่กำลังรอการค้นพบต่างหาก

…………..

แล้วผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบอาร์กติกล่ะ เป็นอย่างไรบ้าง ?

แน่นอนว่าที่อยู่อาศัยรวมถึงทำมาหากินของพวกเขานั้นไม่เพียงอยู่ใจกลางของความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ นอกจากนั้นแล้วผืนน้ำแข็งก็ยังละลายเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน

ที่อาร์กติกมีประชากรท้องถิ่นอาศัยอยู่ราวห้าแสนคน พวกเขากำลังเผชิญกับภัยคุกคามอย่างแท้จริง รายได้ วัฒนธรรม วิถีปฏิบัติต่าง ๆ ล้วนขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์กับระบบนิเวศของอาร์กติก สารพิษที่เกิดจากการขุดเจาะสำรวจหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสามารถทำให้ระบบนิเวศที่เปราะบางอยู่แล้วนี้ล่มสลายได้

Arctic Copepods 2020 – Mitigating Damage to Arctic Copepods from Surface Oil Spills

เมื่อสารพิษดังกล่าวถูกแพลงค์ตอนสัตว์และพืชดูดซึมเข้าไปก็จะส่งผลเสียเข้ามาต่อห่วงโซ่อาหาร ยกตัวอย่างเช่น  เจ้าตัวเล็ก ๆ พวกนี้คือโคพีพอด Copepod หรือแพลงตอนสัตว์ในอาร์กติกที่อ้วนที่สุด และการที่มันอ้วนนั้นจำเป็นต่อการอยู่รอดในพื้นที่หนาวเย็น ถ้าหากโคพีพอดเหล่านี้ไม่สามารถผสมพันธุ์ได้แล้ว ในห่วงโซ่อาหารก็จะมีวงจรไขมันที่จะส่งต่อกันขึ้นไปเป็นทอด ๆ ลดลง ส่งผลกับสัตว์ที่อยู่ด้านบนของห่วงโซ่อาหารไม่ว่าจะเป็น ปลา นก แมวน้ำ วาฬ หมีขั้วโลกและมนุษย์ ซึ่งเพียงแค่น้ำมันปริมาณน้อย ๆ ในทะเล สามารถส่งผลต่ออัตราการฟักออกจากไข่ของโคพีพอดได้ ซึ่งถ้าหากไม่มีโคพีพอดแล้วห่วงโซ่อาหารก็จะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมาก

ในช่วงปี 2013 ถึงปี 2019  มีการจราจรทางทะเลในเขตอาร์กติกเพิ่มขึ้นถึง 25% และนั่นก็หมายถึงว่ามีการปล่อยน้ำเสียมากขึ้นด้วย มลภาวะจากน้ำมันและเสียงรบกวนใต้น้ำจะไปรบกวนความสามารถในการสื่อสารของสัตว์ป่า ทำให้ส่งผลต่อการนำทางและการล่า ในขณะที่สารเคมีปนเปื้อนจะทำลายสุขภาพและความสามารถในการสืบพันธุ์ในระบบนิเวศที่เปราะบางเช่นนี้

เรือขนส่งส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำมันเตาจะถูกห้ามเข้ามาในเขตอาร์กติกแต่อย่างไรก็ตามก็มีบางครั้งที่ยอมให้แล่นเข้ามาได้ เมื่อน้ำมันที่สกปรกเหล่านี้หลุดเล็ดลอดลงมาในทะเลขั้วโลก มันสร้างความเสียหายได้อย่างมาก

เมื่ออุณหภูมิต่ำ น้ำมันจะมีความหนืดมากขึ้นและไม่แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ ที่พอจะทำให้แบคทีเรียที่ย่อยสลายน้ำมันมาเก็บกินได้ ดังนั้นเหตุการณ์ที่ทำให้มีหยดน้ำมัน คราบน้ำมันเกิดขึ้นในทะเลอาร์กติกไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทำให้การเก็บกวาดคราบน้ำมันเป็นไปได้ยาก เนื่องจากโดยสภาพภูมิประเทศก็เข้าถึงได้ยากอยู่แล้ว ดังนั้นการทำความสะอาดคราบน้ำมันรวมถึงปฏิบัติการต่างๆ  อย่างในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางเรือมีคราบน้ำมันรั่วไหลก็ยิ่งช้าออกไป ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ ส่งผลให้สัตว์ประจำถิ่นจำนวนมากล้มหายตายจาก นอกจากนั้นแล้ว การใช้น้ำมันเตายังสร้างปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่ง ไม่เพียงแต่เฉพาะในแถบอาร์กติกแต่หมายถึงทั่วโลก ปัญหาที่ว่าก็คือ  Black carbon ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะที่มาจากน้ำมันเตาที่ใช้ในเรือ อนุภาคของ Black carbon เหล่านี้ไม่เพียงส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราโดยตรงแล้ว ในพื้นที่อย่างอาร์กติก อนุภาค Black carbon เหล่านี้จะลอยไปตกปกคลุมหิมะและน้ำแข็งสีขาวทำให้หิมะและน้ำแข็งดูดซับความร้อนจากแสงแดดแทนที่จะสะท้อนแสงตามปกติ ทำให้หิมะและน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นกว่าปกติ เราสามารถลดมลภาวะจาก Black Carbon ได้ด้วยการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการขนส่งทางทะเลและทางบก

Black Carbon

ตัวอย่างความร่วมมือกันที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติได้แก่ Central Arctic Ocean fishing moratorium ในปี 2021 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะร่วมมือกันไม่ให้มีการทำประมงเชิงพาณิชย์กลางมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งลงนามโดยประเทศต่างๆ  อาทิเช่น สหรัฐฯ จีน รัสเซีย สหภาพยุโรป

ข้อตกลงพหุภาคีนี้มีผลทางกฏหมายเป็นหลักการป้องกันไว้ล่วงหน้าเพื่อปกป้องพื้นที่อาร์กติกจากการทำประมงเชิงพาณิชย์ก่อนที่จะมีการประมงดังกล่าวเกิดขึ้น แต่ทว่ายังไม่มีสัญญาณของกฎหมายแบบเดียวกันนี้ในการปกป้องพื้นที่อาร์กติกในเรื่องของการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ โดยเฉลี่ยแล้วราว 16 ปี ก่อนที่พื้นที่สัมปทานการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซจะไปถึงจุดการผลิตสูงสุด ดังนั้นการลงทุนในโครงการน้ำมันและก๊าซแถบอาร์กติกก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งสำหรับสถาบันการเงินด้วยเช่นกัน เนื่องจากในอนาคตอันใกล้ พลังงานทดแทนอาจทำกำไรให้ได้มากกว่า

What is Heavy Fuel Oil? And why is it bad?

Similar Articles

Comments

Advertisement

โคมไฟอ่านหนังสือ

Baseus โคมไฟ โคมไฟตั้งโต๊ะ อ่านหนังสือถนอมสายตา light โคมไฟอ่านหนังสือ โคมไฟหัวเตียง table lamp LED

สินค้าพร้อมจัดส่งจากไทย

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

จอคอมพิวเตอร์

จอมอนิเตอร์ 24นิ้ว จอคอม 75HZ หน้าจอโค้ง จอเกมมิ่ง LED Gaming monitor จอมอนิเตอร์เกมมิ่ง จอมอนิเตอ สปอตสินค้า LED

สินค้าพร้อมจัดส่งจากไทย