แอลกอฮอล์ช่วยให้เราหายเครียด (ชั่วคราว) ได้อย่างไร โดยคุณ มาร์คแฮม ไฮด์ เขียนไว้ดีดีมาก
ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์และการลดความเครียดนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างซับซ้อนเกินกว่าที่เราเคยเข้าใจ
กลางเดือนมีนาคมเมื่อเกิดการระบาดของ COVID19 ทั่วสหรัฐอเมริกานั้น ยอดขายเครื่องดื่มแอลกฮอล์กลับเพิ่มสูงขึ้น
ตามตัวเลขการรายงานของบลูมเบิร์ก ยอดขายเบียร์และไวน์เพิ่มขึ้น 32% และ 47% ตามลำดับ
ดูเหมือนว่าชาวอเมริกันจะรีบสต็อกเหล้า เบียร์ ไวน์ รวมถึงเครื่องดื่มค็อกเทลอื่น ๆ เมื่อรู้ว่าต้องกักตัวเองอยู่กับบ้าน
แต่นี่ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายแต่อย่างใด เวลาที่คนเรามีปัญหา ไม่ว่าจะคนธรรมดาหรือดาราฮอลลีวูดต่างก็ปรึกษาเหล้า เพราะช่วยทำให้หลายเรื่องในใจคลี่คลายหรือไม่ก็ทำให้ไม่คิดฟุ้งซ่าน
ดร. ไมเคิล ซาเยทท์ ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาและจิตเวชแห่งมหาวิทยาลัยพิทท์สเบิร์กซึ่งได้ทำการศึกษาแอลกอฮอล์กล่าวว่า
“มีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าแอลกอฮอล์ช่วยลดความเครียด นักดื่มทั่วไปมีความเชื่อกันอย่างนี้เช่นเดียวกันกับที่แพทย์หลายคนก็เชื่อเช่นเดียวกันโดยดูได้จากผลการสำรวจ พวกเขาเชื่อว่าแอลกอฮอล์ช่วยลดความไวของระบบประสาท ดังที่เชื่อกันมาตั้งแต่อดีต”
ความเชื่อดังกล่าวก็มีความจริงบางอย่างแฝงอยู่ในนั้น
……. …….. …..
ดร. ราจิตต์ สิงห์ ผู้อำนวยการของศูนย์ความเครียดทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเยลล์ กล่าวว่า
“แอลกอฮอล์เป็นสารที่เหมือนกับยาชา มันช่วยลดความเจ็บปวด ส่วนในทางจิตวิทยานั้นแอลกอฮอล์มีผลต่อกลไกความเครียดของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ในบางกรณีแอลกอฮอล์สามารถทำให้สมองมึนงงและลดการตอบสนองของร่างกายต่อภาวะความเครียด”
มีการศึกษาในปี 2011 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Alcoholism พบว่า การให้คนขึ้นไปพูดบนเวทีหรือท่ามกล่างฝูงชน ณ ตอนนั้นเลย ตัวเขาจะมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอลนั้นเป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียด แต่ถ้าให้คนดังกล่าวดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณเท่ากับสองแก้วก่อนขึ้นไปพูดบนเวที ระดับการตอบสนองต่อฮอร์โมนคอร์ติซอลจะลดลง
ก่อนหน้านั้นในปี 2009 ก็มีการศึกษาที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร the Journal of Abnomal Psychology ที่พบว่า การที่คนมีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดสูงถึงระดับ 0.08% ซึ่งเป็นระดับที่เกินกฏหมายกำหนด ในหลายรัฐ ผู้ฝ่าฝืนขับรถจะถูกจับกุมในข้อหาเมาแล้วขับ นอกจากนี้ปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับดังกล่าวนั้นยังลดปฏิกริยาตอบสนองต่อระดับการกระตุ้นความวิตกกังวล
ยังมีหลักฐานเชื่อมโยงได้ว่าแอลกอฮอล์ช่วยเพิ่มการกระตุ้นสารสื่อประสาทบางตัวในทำนองที่ก่อให้เกิดผลเหมือนกับการใช้ยาลดความเครียดอย่าง แวเลี่ยม หรือซาแน็กซ์
ทางด้าน ดร. มาโนจ ดอสส์ นักวิจัยหลังปริญญาเอกจากศูนย์วิจัยภาวะประสาทหลอนและการมีสติแห่งมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ ได้อธิบายว่า
“GABA (Gamma-Aminobutyric acid) เป็นตัวยับยั้งสารสื่อประสาทในสมอง นั่นคือมันจะทำหน้าที่ลดกิจกรรมของสมองลง ทั้งนี้แอลกอฮอล์จะเป็นตัวช่วยให้ GABA ทำงานได้ดีขึ้น
แอลกอฮอล์มีผลออกฤทธิ์คล้ายกับยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะไปจับกับตัวรับ GABA-A receptor บนเซลล์ประสาททำให้เซลล์ประสาทถูกกระตุ้นได้ยากขึ้น “
และนี่ก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมการดื่มในเย็นวันที่เบื่อ ๆ เซ็ง ๆ ช่วยให้เราไม่คิดฟุ้งซ่านได้
………
ดร.ซาเยทท์ กล่าวว่า “วันนี้เราก็มีงานวิจัยในห้องแล็บที่ทำต่อเนื่องมา 50 ปีที่ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นอะไรที่ซับซ้อนกว่าที่ใครจะเข้าใจได้ เรายังคงหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้าหากเป็นในบางเงื่อนไข หรือเกิดขึ้นกับใคร แอลกอฮอล์จะช่วยบรรเทาความเครียดได้กับทุกคนทุกภาวะเลยหรือไม่ ?
ตามเนื้อหาใน Behavioral Neurobiology of Alcohol Addiction ปี 2011 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก พูดง่าย ๆ ก็คือ ดื่มหนักจะส่งผลให้ปริมาณฮอร์โมนคอติซอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น แทนที่จะลดลง นอกจากนั้นแล้ว ยังทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ร่างกายสลาย (ใช้คำว่าเมตาบอลิซึมได้ไหม ) แอลกอฮอล์จะทำให้ได้สารที่เป็นพิษออกมาจำนวนมากวิ่งวนอยู่ในกระแสเลือด
………
คำว่า ดื่มหนักนั้น ปริมาณแอลกอฮอล์สะสมอยู่ในร่างกายของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ผู้ที่ดื่มเหล้ามาเป็นเวลานาน ผู้ที่ชอบปรึกษาเหล้าเพื่อคลายเครียดอยู่บ่อย ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อผลของแอลกอฮอล์แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ต่างจากผู้ที่ดื่มน้อย ๆ หรือนาน ๆ ดื่มที ที่จะเห็นผลของแอลกอฮอล์ได้เร็วและชัดเจน
“ถ้าหากว่าเราดื่มเหล้าแค่สองสามแก้วเพื่อคลายเครียดแล้วก็ทำแบบนี้เป็นประจำ สิ่งที่เกิดตามมาก็คือเรากำลังเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมองเรา ซึ่งตามปกติสมองจะปราศจากแอลกอฮอล์ก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
เวลาที่อยากดื่มอาจจะทำให้เรารู้สึกกระวนกระวาย ซึ่งความรู้สึกกระวนกระวายนี่เองสามารถเป็นต้นเหตุให้เราดื่มมากขึ้นกว่าเดิมอีก และนั่นก็เป็นเหมือนกับผลกระทบแบบก้อนหิมะ ที่จะค่อย ๆ ลูกใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนดังเช่นความเครียดและการดื่มแอลกอฮอล์จะส่งเสริมซึ่งกันและกันไปในแนวทางดังกล่าว
จน เครียด กินเหล้า จน เครียด กินเหล้า วนลูปไปเรื่อย ๆ
…………
ดร. ราจิตต์ สิงห์ ยังย้ำในประเด็นขั้นต้นว่า
“เมื่อใครสักคนมองว่าการดื่มแอลกอฮอล์ช่วยปัดเป่าความเครียดให้เบาบางลง พวกเขาอาจมีอาการกระวนกระวายหรือวิตกกังวลหากพวกเขาไม่ได้ดื่ม นอกจากนั้นแล้วพวกเขาอาจต้องการดื่มมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ผลในการดื่มทำให้สงบ จากที่เมื่อก่อนแค่แก้วเดียวก็โอเคแล้ว ซึ่งข้อมูลตรงนี้ยังไม่มากพอที่จะชี้ให้เห็นว่าผลของแอลกอฮอล์ต่อการลดความเครียดนั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืน”
REF : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2574824/
https://www.scripps.edu/newsandviews/e_20020225/koob2.html