
พร้อมรับประกันการจัดส่งถึงบ้าน
ไม่ได้รับสินค้า ยินดีคืนเงินเต็ม 100%
Tel : 08-5464-1644
..........................................
บทความนี้อ้างอิงจากงานเขียนของ Dennis Abrams
บทความของ Emily Wight ใน phnompenphost.com พูดถึงว่าในขณะที่ประเทศกัมพูชามีอัตราการรู้หนังสือมากกว่า 77.6% กระนั้นการอ่านก็ยังคงจำกัดอยู่เฉพาะในชั้นเรียน แต่ยังมีความหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้าจากการสนับสนุนให้มีงานหนังสือแห่งชาติประจำปีซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
งานหนังสือแห่งชาติจัดขึ้นโดยกระทรวงวัฒนธรรมของกัมพูชาร่วมกับหอสมุดแห่งชาติ สมาคมบรรณารักษ์และนักเอกสารสารสนเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายจัดแสดงหนังสือจากสำนักพิมพ์จำนวน 15 แห่ง รวมทั้งการพูดคุยเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญ ๆในแวดวงงานเขียนของกัมพูชาเพื่อให้ “ชักจูงไปยังความภูมิใจในการอ่าน” รวมทั้งการส่งเสริมนักเขียนและสำนักพิมพ์ของกัมพูชาเอง
Phoeung Sakona รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ส่วนธุรกิจสำนักพิมพ์ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ มีจำนวนนักเขียนและสำนักพิมพ์รวมกัน 561 คน
Phoeung Sakona กล่าวว่า”งานหนังสือมีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่มองหาหนังสือที่อยากอ่านและสำหรับตัวนักเขียนเองก็ได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน”
“ในโอกาสนี้ฉันอยากจะบอกกับนักเรียนนักศึกษาว่า ขอให้พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้”
ทางด้าน Hok Sothik ประธานสมาคมบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศไม่ได้สนใจในการอ่านตั้งแต่แรก จนกระทั่งเขาอายุได้ 21 ปีและเข้าเรียนที่ University of Piyatigorsk ในรัสเซียซึ่ง ณ จุดนั้นทำให้เขาได้เรียนรู้งานวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่
เขากล่าวว่า ก่อนที่เขาจะไปศึกษาต่อที่รัสเซียนั้น ผมไม่เคยมีหนังสืออยู่ในบ้านเลยสักเล่ม และเมื่อไปถึงมหาวิทยาลัย โปรเฟสเซอร์ขอให้ผมอ่านหนังสือเยอะ ๆ ซึ่งทั้งหมดเป็นภาษารัสเซีย มันเป็นอะไรที่เครียดมาก แต่ก็ต้องผ่านมันไปให้ได้ และเมื่อกลับมาที่กัมพูชาอีกครั้ง ผมก็กลายเป็นคนรักการอ่านไปแล้ว
บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าเด็กกัมพูชาส่วนใหญ่ อย่าง Sothik ต่างก็เติบโตขึ้นมาในบ้านที่ไม่มีหนังสือเลยสักเล่มแถมยังมีพ่อแม่ที่มีนิสัยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสืออีกด้วย
[youtube]https://www.youtube.com/watch?v=AJBQq-lnP0Q[/youtube]
ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ?
Sothik กล่าวว่า “เหตุผลหนึ่ง ก็คือเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของชาวกัมพูชาเป็นการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา ไม่ค่อยมีงานเขียน และยิ่งพอมาถึงยุคเขมรแดง ก็เป็นศัตรูกับความรู้และการศึกษา พวกเขาได้ทำลายอะไรก็ตามรวมถึงใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรม”
“ก่อนยุคเขมรแดง ผู้คนอ่านหนังสือกันค่อนข้างมาก มีการเขียนหนังสือและมีห้องสมุดท้องถิ่น แต่แล้ววัฒนธรรมการอ่านก็ถูกทำลายลงในช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจ หนังสือต่าง ๆ ก็ถูกทำลายลงด้วย หนังสือถูกนำไปทำบุหรี่ ครูบาอาจารย์ นักเขียน ก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เหมือนกับเวลาในช่วงนั้นถูกทำลายไป การขาดหายไปของช่วงเวลาดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อการถ่ายทอดความรู้ในครอบครัวและสังคม”
ในปัจจุบันสิ่งที่เหมือนกันทั้งโลกคือ หนังสือและการอ่านต้องแข่งขันช่วงชิงเวลากับ รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุรวมทั้งอินเตอร์เน็ตที่เป็นแหล่งบันเทิงทางเลือก
ดังนั้นส่ิงที่ Sothik คิดว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับการอ่านของคนในชาติได้ ก็คือห้องสมุดเคลื่อนที่ ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
ผมคิดว่า เราต้องตามผู้คนให้ทัน ถ้าหากหนังสือไม่สามารถดึงดูดพวกเขาให้เข้ามาหาได้ เราก็ต้องเป็นฝ่ายส่งหนังสือไปให้พวกเขา ไม่ว่าจะเป็นในสถานที่ที่ทำงาน สถานที่ให้การศึกษา เรือนจำ โรงพยาบาล เพื่อที่ทุกคนจะสามารถมีความสุขกับการอ่านได้

พร้อมรับประกันการจัดส่งถึงบ้าน
ไม่ได้รับสินค้า ยินดีคืนเงินเต็ม 100%
Tel : 08-5464-1644
..........................................