ทำไมเราถึงต้องซื้อหนังสือ ? เราสามารถไปที่ห้องสมุดได้นี่หรือไม่ก็ยืมหนังสือจากใครสักคนที่เรารู้จัก มิฉะนั้นแล้วเราต้องซื้อหนังสือ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ การซื้อหนังสือหมายถึงการซื้อสิ่งของซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้อย่างแน่นอน และเก็บหนังสือไว้ที่ไหนสักแห่ง เช่นวางไว้บนชั้นอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือเก็บไว้เสี่ยงกับความชื้น มด ปลวก ในห้องใต้ดิน หรือเก็บไว้ในกล่องที่ยังไม่เคยเปิดมันเลยตั้งแต่ย้ายบ้านครั้งสุดท้าย
เมื่อเทียบกับ e-book แล้วนั้น e-book เป็นเจ้าของได้ง่ายกว่าแต่มีความชัวร์น้อยกว่า ลองถือ kindle หรือแท็บเล็ตหรือแม้แต่สมาร์ทโฟนไว้ในมือและลองเขย่ามันดู หนังสือเหล่านั้นก็ยังจะอยู่ที่ไหนสักแห่งใน Cloud ( พื้นที่เซิร์ฟเวอร์กลางสำหรับเก็บข้อมูล )
เทคโนโลยีทำให้การซื้อสิ่งของบางอย่างเป็นสิ่งไม่จำเป็น สำนักพิมพ์ไม่สามารถบีบคั้นเรามากไปกว่านี้เนื่องจากหนังสือเหล่านี้บางอย่างสามารถหาได้ฟรีในโลกออนไลน์ ส่วน Kindle ก็มีนโยบายให้ยืมหนังสือซึ่งคุณสามารถให้ใครก็ได้ยืมหนังสือ e-book ที่คุณซื้อได้นานถึง 14 วัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วและต่างจากดนตรีหรือภาพยนตร์หรือหนังสือพิมพ์ดิจิตอล การที่จะอ่านหนังสือเรายังคงต้องซื้อมันและต้องเก็บรักษามัน
ผู้ก่อตั้ง Oyster ซึ่งเป็น app ที่ถูกออกแบบอย่างสวยงามสำหรับ iPhone และ iPod Touch หวังว่าผู้คนกำลังมองหาช่องทางใหม่ในการที่จะเข้าถึงหนังสือ โดย app นี้ในขณะนี้ได้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปอ่านหนังสือที่มีมากกว่าหนึ่งแสนรายการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ผู้ใช้สามารถเปิดอ่านหนังสือที่ต้องการอ่านได้ทันที และสามารถดาวน์โหลดมาเก็บไว้เพื่ออ่านแบบออฟไลน์ได้พร้อมกันถึง 10 เล่มต่อครั้ง นอกจากนี้แล้ว Oyster ยังมีระบบแนะนำหนังสือและแบ่งปันหนังสือที่ผู้ใช้อ่านผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ( หากไม่ต้องการก็สามารถปิดฟังก์ชันดังกล่าวได้เช่นกัน ) ปัจจุบันนี้คุณต้องได้รับคำเชิญก่อนถึงจะเข้าร่วม app นี้ได้ แต่ Oyster มีแผนจะขยายฐานผู้ใช้และจำนวนหนังสือไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งจะเปิดตัว app สำหรับ iPad ในอีกไม่ช้าอีกด้วย
Oyster เน้นให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือแบบเดียวกันกับ Watch Instantly ของ Netflix แบบสุ่ม โดยคุณจะถูกหมุนไปยังหนังสืออื่น ๆ ที่คุณอาจเคยอยากอ่านและลืมมันไปแล้วในอดีต ซึ่งบริการแบบนี้อาจไม่ค่อยเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่ไม่ได้ต้องการคำแนะนำและผู้อ่านที่รู้ว่าตัวเองต้องการอ่านหนังสือเล่มไหน
ในปัจจุบัน หนังสือหลายพันเล่มในห้องสมุดของพวกเขาเป็นหนังสือเก่า Oyster จึงหาทางร่วมมือกับสำนักพิมพ์อย่าง HarperCollins และ Houghton Mifflin Harcourt รวมทั้งสำนักพิมพ์อื่น ๆ เพื่อให้มีรายการหนังสือใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งน่าสนใจตรงที่ว่า สำนักพิมพ์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้นจะจรดปากกาเซ็นสัญญาได้เร็วที่สุดเมื่อไหร่ และถ้าหากรูปแบบธุรกิจเช่นนี้เป็นที่ยอมรับออกไปอย่างกว้างขวางแล้วซึ่งไม่ใช่แค่กับที่เกิดขึ้นกับ Oyster เท่านั้น จะก่อให้เกิดคำถามที่สำคัญให้กับธุรกิจหนังสือแน่นอน ?? ไม่ว่าจะเป็น จะเกิดอะไรขึ้นกับสำนักพิมพ์ ? โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักเขียน ถ้าหากยอดขายถูกแทนที่ด้วยผลจากกระแส ? และจะเกิดอะไรขึ้นกับห้องสมุดประชาชนซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานลดลงรวมทั้งถูกตัดงบประมาณอุดหนุนลงด้วย
ในขณะเดียวกัน มีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงสองสามอย่างเกี่ยวกับประสบการณ์การอ่าน คำถามแรกสำหรับนักอ่านตัวยงว่าพวกเขาต้องการอ่านหนังสือบนหน้าจอขนาดเล็กของสมาร์ทโฟนหรือไม่ ผู้ก่อตั้ง Oyster ได้เล่นกับสิ่งที่สามารถมองเห็นเป็นข้อจำกัดได้ การเน้นย้ำว่า app ที่กระตุ้นการอ่านในช่วงเวลาสั้น ๆ ของชีวิตที่เราโดยทั่วไปแล้วยอมที่จะเกียจคร้านอยู่หน้าโทรศัพท์มือถือ ส่วนผู้ที่อ่านหนังสือตอนกลางคืนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีคู่นอนอยู่ข้าง ๆ ก็เป็นอีกกลุ่มที่ต้องพิสูจน์ หน้าจอโทรศัพท์เรืองแสงอยู่ห่างราวสองสามน้ิวจากหน้าเราทำให้ทั้งหนังสือและแสงสว่างจากหน้าจอโทรศัพท์ในยามดึกดื่นเป็นดังเช่นการผจญภัยในวัยเด็กและไม่รบกวนผู้ที่นอนอยู่ข้าง ๆ
สำหรับส่วนติดต่อผู้ใช้งานที่ได้รับการออกแบบที่คิดมาแล้วเป็นอย่างดี ทำให้การค้นหาหนังสือทำได้ง่าย ตัวอักษรที่ปรับขนาดได้ 5 ระดับ รวมทั้งลักษณะเด่นอย่างหนึ่งคือที่ส่วนท้ายของหน้ากระดาษยังระบุจำนวนหน้าที่เหลือสำหรับบทนั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ประเมินระยะเวลาได้ว่าคุณต้องใช้เวลาอีกกี่นาทีจึงจะอ่านบทนี้จบ
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา อย่างเช่น สารบัญในหนังสือหลาย ๆ เล่ม เป็นการจัดเรียงอย่างไม่ตั้งใจ และไม่มีทางที่จะเลื่อนดูอย่างรวดเร็วผ่านหนังสือเล่มนั้นด้วยตัวเลื่อนด้านข้าง นั้้นหมายความว่า คุณต้องกลับมาที่หน้าสารบัญทุกครั้งเพื่อจะอ่านต่อไป และยิ่งเป็นการสับสนมากย่ิงขึ้น นั่นคือไม่สามารถเน้นสีข้อความหรือทำคั่นหน้าไว้หรือแม้กระทั่งการเขียนโน๊ตย่อลงไปในข้อความที่ต้องการ
ส่วนข้อตำหนิล่าสุดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของคำถามพื้นฐานเกี่วกับว่า Oyster คืออะไร และวนกลับมาที่การตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมเราต้องเป็นเจ้าของหนังสือเป็นคนแรก ทั้งที่เราสามารถยืมหนังสือได้และคืนหนังสือดังกล่าวในสภาพเหมือนกับตอนที่เราได้รับมัน หนังสือนั้นอาจมีการเขียนคำหยาบในหนังสือของเพื่อน ซึ่งหากทำแบบนี้กับหนังสือที่ยืมจากห้องสมุดโดยพื้นฐานแล้วมันเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย
แต่การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้กับหนังสือ e-book เป็นเหมือนกับการกระโดดเข้ามาและออกไปโดยไม่ท้ิงร่องรอยอะไรไว้ รู้สึกเหมือนเป็นการอ่านแบบประเดี๋ยวประด๋าวมากกว่า เหตุผลหนึ่งที่เราใช้เงินซื้อหนังสือเพื่อต้องการความเป็นเจ้าของนั้นก็คือว่าหลังจากนั้นแล้ว เราสามารถทำอะไรกับมันก็ได้
เมื่อคุณซื้อหนังสือสักเล่ม คุณได้สร้างความเป็นเจ้าของในมัน ดังเช่นที่คุณทำกับเสื้อผ้าหรือเฟอร์นิเจอร์ที่คุณได้ซื้อและจ่ายเงินไป แต่การกระทำของการซื้อเป็นเพียงสิ่งจริงๆ เพียงอย่างเดียวที่เป็นเพียงบทนำในการครอบครองในกรณีของหนังสือ การเป็นเจ้าของหนังสืออย่างเต็มตัวมีเพียงเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณทำมันให้เป็นส่วนหนึ่งของคุณ และวิธีที่ดีที่สุดในการทำสิ่งนั้นก็คือ “การเขียนอะไรบางอย่างลงไปในหนังสือ”
การอ่าน e-book ทั้งหมดมีความรู้สึกเล็ก ๆ ว่าเป็นการไม่เชื่อมต่อกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือตัวเล่มแบบที่เรามีปากกาถือไว้ในมือ แต่อย่างน้อยตัวทำ Digital Marker บางอย่าง ให้ผู้ใช้มีจุดยึดสำหรับการอ้างอิง มีสีสองสามสีสำหรับการเน้นข้อความ มันค่อนข้างเป็นการยากที่เราจะอ่านหนังสือโดยปราศจาการทำอะไรสักอย่างกับมันเพื่อเป็นการช่วยจำ
สำหรับทุกวันนี้ Oyster อาจจะเป็นเพียงตัวเตือนตัวหนึ่งว่าไม่มีทางใดเพียงทางเดียวที่จะเป็นทางที่ดีที่สุดในการอ่านหนังสือในยุคที่มีตัวเลือกมากมาย มันดูเหมือนว่าเป็นส่วนผสมระหว่างหนังสือตัวเล่มกับหนังสือ e-book การอ่านและการทำ app สำหรับอ่าน e-book ให้ได้ครบรสชาติคงต้องมีการปรับปรุงพัฒนากันต่อไปอีกมาก…