อะไรแทนดอลลาร์สหรัฐฯได้บ้าง

กดเพื่อฟังบทความ

เราอยู่ในยุคที่ถูกครอบงำด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ

หากถามว่าอะไรคือสกุลเงินหลักของโลกก็ต้องตอบว่าดอลล่าสหรัฐฯ อย่างไม่ต้องสงสัย การค้าขายระหว่างประเทศทั่วโลกต่างก็ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แทบทั้งสิ้น นอกจากนั้นแล้วดอลลาร์สหรัฐฯ ยังเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศสกุลหลักที่ธนาคารกลางทั่วโลกถือครองไว้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความผันผวน

ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าราว 60% ของมูลค่าทุกสกุลเงินทั่วโลกรวมกัน และเกินกว่า 50% ของดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น กระจายอยู่นอกสหรัฐฯ

เหตุผลที่ประเทศต่าง ๆ ต้องถือครองดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น หลัก ๆ ประการแรกก็คือ ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ถือครองดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ประการที่สองคือ การชื้อขายน้ำมันคิดราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ

……..

ย้อนกลับไปในตอนที่อเมริกายังเป็นอาณานิคมของอังกฤษยังไม่มีสกุลเงินของตัวเอง พวกเขาใช้สกุลเงินของอังกฤษ สเปนและฝรั่งเศสในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ต่อมาในปี 1775 เกิดสงครามปฏิวัติอเมริกา (19 เม.ย. 2318 – 3 ก.ย. 2326 ) เป็นสงครามระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือ สภาแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congress) จึงได้จัดให้มีสกุลเงินของตนเองขึ้นมาเพื่อใช้ในการทำสงคราม เรียกว่า Continental Currency ซึ่งเป็นเงินกระดาษที่ในเวลานั้นสามารถนำไปแลกเป็น Spanish Milled Dollars ได้ แต่เงินดังกล่าวก็เสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นการพิมพ์เงินโดยที่ไม่ได้มีอะไรมาค้ำอย่างทองคำหรือว่าเงินรวมทั้งมีการพิมพ์เงินออกมาเรื่อยๆ
*ดูรูปภาพประกอบจาก Harvard.edu

………..

How did America Become a Superpower After WW2? | Animated History

การแผ่อิทธิพลของดอลลาสหรัฐฯ นั้น เริ่มต้นขึ้นในปี 1944 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

(ข้อมูลจาก wikipedia)….ในการเตรียมบูรณะระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศระหว่างที่สงครามโลกครั้งที่สองกำลังดำเนินอยู่ ผู้แทน 730 คนจากทั้ง 44 ชาติฝ่ายสัมพันธมิตรประชุมกันที่โรงแรมเมาต์วอชิงตันในเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา เพื่อการประชุมการเงินการคลังสหประชาชาติ หรือเรียก การประชุมเบรตตันวูดส์ 

ดอลลาร์สหรัฐฯ ค่อย ๆ ทีวีความสำคัญกลายเป็นสกุลเงินหลักของโลก ในตอนแรกนั้นดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง ในขณะที่สกุลเงินอื่นๆ ต้องมาอิงกับดอลลาสหรัฐฯ อีกที ดังนั้นระบบการเงินหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็คือการอิงตัวเองอยู่กับดอลลาร์สหรัฐฯ ประโยชน์ก็คือลดความผันผวนของค่าเงินสกุลต่าง ๆ

ต่อมาในปี 1970 ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้ยกเลิกการอิงดอลลาร์สหรัฐฯกับทองคำ

……….

ด้วยการที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีขนาดใหญ่มาก ดอลลาร์สหรัฐจึงกลายเป็นสกุลหลักในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศไปโดยปริยาย หากมีสองประเทศต้องการค้าขายกันและต่างก็มีสกุลเงินของตน พวกเขาก็ต้องเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทั่วโลกมีการใช้ดอลลาร์สหรัฐในการค้าขายระหว่างประเทศเป็นสัดส่วนถึง 88%

ดอลลาร์สหรัฐเป็นอะไรที่มากกว่าสกุลเงินที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของโลก อย่างเช่น น้ำมัน กาแฟและทองคำ เพราะอิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐฯ ยังส่งผลในแนวทางอื่นอีกด้วย ตามรายงานจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF สกุลเงินสำรองระหว่างประเทศที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ถือครองนั้นกว่า 60% คือดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือเงินยูโร ที่ 20.1% ตามมาด้วยเงินเยน 5.7% และเงินปอนด์ที่ 4.4% ส่วนเงินหยวนนั้นอยู่ที่ 2.0%

สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนรวมถึงนักลงทุนต่างชาติไม่ว่าจะเป็นกองทุนส่วนตัวหรือของรัฐ ส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนจะมองว่าสินทรัพย์ทั้งหลายของสหรัฐฯ เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย มีความต้องการอยู่ในระดับสูงเป็นสิ่งที่น่าลงทุนหรือเอาเงินของตนไปเก็บระหว่างช่วงเวลาที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจ

…………………………………………..

ดังนั้นจึงมีคำถามที่น่าสนใจตามมาก็คือ สกุลเงินอื่นสามารถขึ้นมาเป็นทางเลือกแทนดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นตัวเลือกในส่วนของการเป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ได้หรือไม่ ?

นโยบายการเงินของสหรัฐฯ ถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ภายในประเทศแต่กลับส่งผลกระจายออกไปสู่ธุรกิจการเงินทั่วโลก อย่างในปีที่ผ่านมาทุกคนต้องเผชิญกับแรงกดดันกับค่าเงินของพวกเขา ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั้นมีขนาดใหญ่ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ก็จะส่งผลกระทบไปทั่ว อีกส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากมีการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวนมาก เมื่อมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ แล้วอัตราดอกเบี้ยก็ทะยอยปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นกันเพื่อรักษาระดับค่าเงินของตนเองไว้ ดังนั้นแล้วผลกระทบของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงมีค่อนข้างมาก

เมื่อมีความต้องการดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องจากเหตุและปัจจัยต่าง ๆ นั้น ทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ามากกว่าสกุลเงินอื่น ๆ ซึ่งตรงนี้เองก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน คือ ทำให้การส่งออกไม่สามารถแข่งขันได้ การที่เงินแข็งค่าทำให้ภาคการผลิตมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ส่งผลในระยะยาวทำให้ภาคการผลิตถดถอยลง นอกจากนั้นแล้วยังสร้างภาระให้กับธนาคารกลางสหรัฐฯ (The Federal Reserve :FED) FED ต้องทำตัวเป็นเหมือนกับผู้ให้กู้ยืมดอลลาร์เป็นที่พึ่งสุดท้ายในโลก มีบทบาทในวิกฤติการณ์เงินโลก ในหลายกรณีมันเป็นภาระแต่ก็เป็นหน้าที่ที่จำเป็นต้องทำด้วยเช่นกัน เพราะว่าตลาดสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในต่างประเทศนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการเป็นแหล่งเงินทุนให้กับบริษัทของสหรัฐฯ ดังนั้นความไม่แน่นอนของตลาดสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในต่างประเทศก็อาจจะส่งผลกระทบย้อนกลับมาที่สหรัฐฯเอง

……….

TH Skip navigation how fed print money 9+ Avatar image 5:50 / 7:26 Can the U.S. print MONEY forever? – Why hasn’t the U.S. experienced hyperinflation?

ในหลายปีที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐได้ทำการอัดฉีดเม็ดเงิน Quantitative easing (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้วสามครั้ง คือ QE,QE2,QE3

โดยเฉพาะ QE3 ทางธนาคารกลางสหรัฐหรือว่า FED คาดการณ์ว่าจะเริ่มต้นอัดฉีดเม็ดเงินที่ 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เงินที่พวกเขาพิมพ์ออกมาในแต่ละเดือน ถึงตอนนี้กระโดดไปถึง 85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว (40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน + 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน = 85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน ) ซี่งนั่นจะมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี จากประวัติศาสตร์ต้องใช้เวลากว่า 200 ปี จากที่ไม่มีดอลลาร์สหรัฐฯ ไปสู่การมีดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 825 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในตอนนี้พวกเขากำลังสร้างดอลลาร์สหรัฐฯ นับล้านล้านเหรียญฯต่อปี !! ที่ทำเช่นนี้ได้ก็เพราะ ประธานาธิบดีนิกสันได้ยกเลิก Bretton Woods ซึ่งก็คือการมีทองคำหนุนหลังเงินที่พิมพ์และดำเนินไปในแนวทางที่ใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นมาตรฐาน

หากโลกดำเนินไปทิศทางนี้ประเทศอื่นๆ ก็คงตกที่นั่งลำบากอยู่ไม่น้อยนอกจากนโยบายเศรษฐกิจการเงิน การคลังจะต้องอิงแอบไปกับท่าทีของ FED แล้ว ปัจจัยเรื่องความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะการมีอิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แทรกซึมไปในทุกมิติ

………….

The US dollar might be losing its steam

มีประเทศไหนบ้างที่พยายามไม่ใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ

ประเทศเหล่านี้คือประเทศที่ไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯในการซื้อขาย โดยการที่พวกเขาทำข้อตกลงทวิภาคีในการซื้อขายกันว่าแต่ละฝ่ายจะถือครองสกุลเงินของกันและกัน หรือมีการตกลงใช้เงินสกุลอื่นร่วมกัน อย่างเช่น BRICS Bank ซึ่งได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและอาฟริกาใต้ โดยธนาคารจะทำหน้าที่ชำระบัญชีระหว่างประเทศเหล่านั้นให้โดยที่ไม่ต้องใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ อิรักขายน้ำมันในราคายูโร ที่ลิเบียกำลังเตรียมปรับมาใช้การชำระราคาเป็น Gold dinar และขายน้ำมันแลกกับทองคำ รัสเซียและอิหร่านค้าขายกันโดยตรง อิหร่านขายน้ำมันให้อินเดียเป็นเงินรูปีบวกกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ จีนและบราซิลค้าขายกันโดยตรง

เยอรมนีต้องการทองคำจำนวน 150 ตันของพวกเขากลับคืน ( เกินกว่าครึ่งของทองคำที่เยอรมนีมีนั้นเก็บรักษาไว้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ) ส่วนเวเนซุเอลาก็ขอทองคำของพวกเขากลับคืนจากธนาคารกลางของอังกฤษ เหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับเนเธอร์แลนด์ ออสเตรียและเอกวาดอร์เช่นกันที่ต้องการขอส่งทองคำกลับคืน

วิกฤติในปี 2008 มีการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 1.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐฯ นั่นทำให้ผู้คนกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อมากขึ้น พวกเขาจึงหันมาถือครองโลหะมีค่าอย่างทองคำและเงินในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น อิหร่านเลิกขายน้ำมันเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วหันไปรับชำระเป็นสินค้าโภคภัณฑ์แทน อย่างการขายน้ำมันให้กับตุรเกียพวกเขารับเป็นเงินลีราตุรเกีย จากนั้นก็ใช้เงินดังกล่าวซื้อทองคำในตุรเกียแล้วส่งออกทองคำกลับไปที่อิหร่าน หากจะพูดให้ง่าย ๆ ก็คือขายน้ำมันแลกกับทองคำนั่นเอง อินเดียก็ทำเช่นเดียวกันนี้

ที่น่าจับตาก็คือจีน มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พวกเขากำลังสะสมทองคำเพิ่มขึ้นและลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  การถือครองทองคำของจีน จาก 700 ตัน ค่อย ๆ ขยับมาเป็นเกือบ 6,000 ตัน โดยเฉพาะในช่วงสองสามปีให้หลังมานี้การถือครองทองคำของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขารู้ว่ามาตรฐานดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังจะถึงทางตัน ต้องหาวิธีปกป้องตัวเองและเราอาจจะเห็นการกลับมาใช้ระบบทองคำหนุนหลังค่าเงินก็เป็นได้ โดยเฉพาะกับค่าเงินหยวนนั่นเอง

……………………………………

Yuan vs dollar: Is Saudi Arabia considering the yuan for oil sales in China?

หากเรามองที่เงินสำรองต่างประเทศทั่วโลกแล้ว สกุลเงินที่เป็นที่นิยมถัดจากดอลลาร์สหรัฐฯก็คือสกุลเงินยูโร

สกุลเงินยูโรนั้น เกิดขึ้นในปี 1999 โดยมีความเชื่อว่ากลุ่มยูโรนี้จะสามารถสามารถผลักดันสกุลเงินยูโรของพวกเขาให้ขึ้นมาเป็นคู่แข่งของดอลลาร์สหรัฐฯได้ ในแง่ของตัวเลือกเงินสำรองต่างประเทศและการชำระเงินระหว่างประเทศ ดังนั้นการสร้างเขตเศรษฐกิจขึ้นเป็นสหภาพยุโรป เพื่อให้มีขนาดใกล้เคียงกับขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ในตอนนี้สกุลเงินยูโรได้เติบโตขึ้นแต่แน่นอนว่ามันยังไม่ใหญ่พอเท่ากับดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างที่เราได้เห็นในตอนแรกแล้วว่าสกุลเงินยูโรนั้นตามมาเป็นอันดับสองสำหรับความนิยมในการเลือกเป็นเงินทุนสำรองต่างประเทศทั่วโลกแม้ว่าจะยังห่างไกลพอสมควร แต่จะเป็นอย่างไรหากช่องว่างดังกล่าวลดลง หากสหภาพยุโรปสามารถก้าวไปสู่สหภาพการคลังที่มีความมั่นคงได้ในช่วง 5-10 ปีต่อจากนี้  อาจจะสามารถขยับลดช่องว่างกับดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อีกสักเล็กน้อย

……. …….

จากการที่ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากความหยืดหยุ่นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน นี่คือสิ่งที่แตกต่างจากยูโร สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นกับประชากรของยุโรปแสดงให้เห็นว่ามีความเปราะบางของกลุ่มยูโรโซนแค่ไหนโดยเฉพาะปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์
…………………………………………

ถ้าอย่างนั้นแล้วประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นอับดับสองรองจากสหรัฐฯ จะผลักดันสกุลเงินตนเองขึ้นมาเทียบเคียงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้หรือไม่ ?

ราว ๆ สิบปีมาแล้วที่รัฐบาลจีนส่งเสริมให้มีการใช้สกลุเงินหยวนทั่วโลก

เงินหยวนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ย้อนกลับไปในปี 2016  โดยเงินหยวนได้เข้ามาอยู่ในสกุลเงินสำรองต่างประเทศร่วมกับดอลลาร์สหรัฐฯ เงินเยน เงินปอนด์และเงินยูโร ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เพิ่มเงินหยวนเข้าไปในตระกร้าเงินที่ทำให้มันมีสิทธิพิเศษถอนเงิน Special drawing rights (SDR) ซึ่ง IMF จะเป็นเจ้าของสินทรัพย์สำรองดังกล่าว แล้วให้ประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สามารถกู้ยืมมาเพิ่มเติมในส่วนของเงินทุนสำรองต่างประเทศของตน ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถนำ SDRs ไปแลกเป็นเงินสกุลหลักกับประเทศสมาชิกที่สมัครใจผ่านกลไกที่มี IMF เป็นตัวกลาง ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แก้ไขปัญหากรณีที่ประเทศไม่สามารถหาเงินตราต่างประเทศไปชำระเงินระหว่างประเทศได้ เช่น การชำระหนี้การค้าหรือหนี้ต่างประเทศเพื่อไม่ให้กระทบความมั่นคงของฐานะด้านต่างประเทศ แต่ทั้งนี้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ IMF ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว

แต่…จีนต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เงินหยวนก็สูญเสียโมเมนตัม นั่นก็เพราะว่าเศรษฐกิจของจีนไปได้ไม่ดีและอุตสาหกรรมต่างชาติไม่นิยมสำรองเงินทุนไว้ในสกุลหยวน สิ่งสำคัญก็คือการที่นักลงทุนต่างชาติไม่ได้มีความเชื่อถือมากนัก เนื่องจากจีนไม่ได้ส่งเสริมกฏระเบียบ นโยบายที่เป็นสากลมีมาตรฐานเหมือนดังเช่นสกุลเงินหลักอื่น ๆ เท่าที่ควร

ถึงแม้ว่าในตอนนี้จีนจะกลายมาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก ระบบการค้าโลก แต่ก็ยังไม่ใช่คู่แข่งของดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ดี

The Euro Explained: The History & How Countries Join – TLDR Explains

หากยูโรและหยวนยังไม่ใช่ แล้วยังมีสกุลเงินต่างประเทศอื่น ๆ อีกหรือไม่ ? เงินปอนด์  เงินเยน?

ทั้ง ๆ ที่ทรงอิทธิพลระดับโลกในช่วงสองสามร้อยปีที่ผ่านมา มีดินแดนในอาณานิคมมากมาย แต่กับเงินปอนด์ของอังกฤษแล้วกลับไม่มีสัญญาณบ่งบอกใด ๆ ถึงการจะกลับขึ้นมายิ่งใหญ่อีกครั้ง และการที่เงินทุนสำรองต่างประเทศ ในรูปสกุลเงินเยนนั้นก็ลดลงในช่วงหลายปีให้หลังมานี้ ช่องว่างระหว่างดอลลาร์สหรัฐฯ กับสกุลเงินอื่น ๆ ที่ตามมาเป็นอับดับสองและสามนั้นยังห่างไกลกันมาก

ในปี 2023 บราซิลและอาเจนตินากำลังเริ่มใช้สกุลเงินร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายให้ในที่สุดแล้วประเทศอื่น ๆ ในอเมริกาใต้จะเข้าร่วม ซึ่งจะทำให้กลายเป็นสหภาพการคลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากยุโรป แต่ดังนั้นแล้วก็ยังมีแนวโน้มน้อยมากที่จะขึ้นมาแข่งกับดอลลาร์สหรัฐฯ ได้

…… ………………………. ……………

Why central banks want to launch digital currencies | CNBC Reports

ดังนั้นแล้วหากเงินตราที่เราเคยใช้กันมาอยู่ทุกวันไม่มีทีท่าว่าจะขึ้นไปท้าชิงกับดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ ยังพอจะมีหนทางอื่นอีกหรือไม่รวมถึงอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมจากธนาคารกลางต่าง ๆ ด้วย สกุลเงินดิจิตัล หรือ Crypto currency เป็นไปได้หรือไม่ ?

เรากำลังเข้าสู่ยุคของการแข่งขันด้านการเงินที่มีความเป็นส่วนตัว อย่างพวกบิทคอยน์ก็จัดการด้วยอัลกอริธึมไม่ใช่ธนาคารกลาง นัยหนึ่งพวกมันดูเหมือนจะมีความผันผวนของค่าเงินค่อนข้างมากและไม่สามารถใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเรามองย้อนหลังไปในช่วงสองปีที่ผ่านมา มูลค่าของบิทคอยน์เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์แล้วมีความผันผวนอย่างมาก จึงมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า Stable coin ที่อิงการนำเงินไปผูกกับสินทรัพย์อย่างอื่น

เราคงต้องใช้เวลากันอีกหลายปีในการถกเถียงกันในเรื่องที่เกี่ยวกับคริปโต แต่ว่าในฐานะที่เป็นเงินทุนสำรองต่างประเทศ ลองนึกภาพว่าในอีกห้าถึงสิบปีข้างหน้านี้ ธนาคารกลางต่าง ๆ กำลังจะก้าวไปสู่สกุลเงินดิจิตัลที่โดยธรรมชาติแล้วนั้นมีการควบคุมตรวจสอบได้น้อยและมีค่าเงินที่ค่อนข้างเสถียร ดังนั้นคำตอบในวันข้างหน้าอาจจะเปลี่ยนไป จึงยังไม่มีอะไรที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่าคริปโตจะเข้ามาเป็นผู้ท้าชิงดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐฯ จะไม่ถูกลดทอนลง ด้วยเทคโนโลยีใหม่บวกกับการพัฒนาทางด้านการเงินและความคิดสร้างสรรค์ มันกำลังสร้างตลาดเงินแบบใหม่ขึ้นมากมายโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง บทบาทของดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เป็นเหมือนสกุลเงินตัวกลางในการชำระเงินในตลาดนานาชาตินั้นมีแนวโน้มที่จะลดลง

Similar Articles

Comments

Advertisement

โคมไฟอ่านหนังสือ

Baseus โคมไฟ โคมไฟตั้งโต๊ะ อ่านหนังสือถนอมสายตา light โคมไฟอ่านหนังสือ โคมไฟหัวเตียง table lamp LED

สินค้าพร้อมจัดส่งจากไทย

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

จอคอมพิวเตอร์

จอมอนิเตอร์ 24นิ้ว จอคอม 75HZ หน้าจอโค้ง จอเกมมิ่ง LED Gaming monitor จอมอนิเตอร์เกมมิ่ง จอมอนิเตอ สปอตสินค้า LED

สินค้าพร้อมจัดส่งจากไทย