กดเพื่อฟังบทความ

เป็นเรื่องที่คาใจมานานว่าการอ่านหนังสือจากจออิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน ส่งผลเสียมากกว่าผลดี จริงหรือไม่ ?

นักวิจัยได้ค้นพบว่าการใช้จอภาพที่มีการเปล่งแสงออกมาสำหรับอ่านหนังสือก่อนที่เราจะเข้านอนนั้นทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับตามมาอีกมากมาย

ประการแรก แสงจากหน้าจอจะเพิ่มระดับความตื่นตัวในเวลาที่คุณง่วงสุด ๆ ซึ่งก่อให้เกิดอาการง่วงนอนช้ากว่าปกติ พฤติกรรมดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดการยืดช่วงเวลาง่วงนอนออกไป ส่งผลต่อระบบนาฬิกาชีวิต ทำให้ฮอร์โมเมลาโทนินที่ช่วยในการนอนหลับหลั่งน้อยลง นอกจากนี้แล้วยังลดช่วงเวลาการนอนระดับ REM (Rapid Eye Movement ) ซึ่งเป็นช่วงที่เราหลับแต่สมองยังคงทำงานอยู่ มีการฝัน เมื่อผ่านช่วงนี้ไปก็จะเป็นช่วง Non-REM ที่เรียกว่าหลับลึก ช่วง REM สำคัญกับเด็กเล็ก เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองจะมีพัฒนาการ

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน PNAS โดยเป็นการวิจัยที่ทำกับกลุ่มตัวอย่างวัยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจำนวน 12 คน ทดสอบโดยการให้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลา 4 ชั่วโมง 5 คืนติดต่อกันโดยใช้วิธีการอ่านต่างกันไป ทั้งที่ดูเหมือนว่าจำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไปและผู้ถูกทดสอบไม่ได้ปฏิบัติเหมือนที่พวกเขาทำในชีวิตประจำวันก็ตามแต่ผลการทดสอบที่ออกมาน่าสนใจไม่น้อย

โดยในกลุ่มตัวอย่างที่อ่านหนังสือระดับฮอร์โมนเมลาโทนินคงอยู่ในระดับปกติ แต่ในทางกลับกันระดับฮอร์โมนเมลาโทนินกลับลดลงในกลุ่มตัวอย่างที่อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในทำนองเดียวกัน ระยะเวลาที่ระดับฮอร์โมนเมลาโทนินเพิ่มขึ้นนั้นจะค่อยๆ ช้าออกไปราว 1.5 ชั่วโมง ซึ่งส่งผลต่อนาฬิกาชีวิต
โดยค่าเฉลี่ย มันทำให้คนที่อ่านหนังสือด้วยแท็บเล็ตหรืออุปกรณ์ทำนองนั้นง่วงนอนช้าขึ้นอีก 10 นาทีและทำให้ลดช่วงเวลา REM ลงเมื่อเทียบกับคนที่อ่านหนังสือตัวเล่ม ที่น่าประหลาดใจไม่น้อยก็คือ คนที่อ่านหนังสือบนหน้าจอเหล่านี้จะตาสว่างเป็นเวลาเกือบชั่วโมงก่อนจะง่วงนอน แต่ในตอนเช้ากลับคนละเรื่อง พวกเขาจะนอนขี้เซากว่าคนที่อ่านหนังสือตัวเล่ม

บางอย่างก็ต้องปรับตัวนะครับ เพื่อสุขภาพที่ยืนยาว
https://www.pnas.org/content/112/4/1232.full.pdf+html

.........................................
หากถูกใจบทความดังกล่าว สามารถกดไลค์กดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้กันได้นะครับ
ร่วมสนับสนุนการทำเนื้อหาได้ที่
SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4