คุณคิดว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์มีผลต่อการออกแบบปกหนังสือหรือไม่ ?
กฏของการออกแบบหนังสือเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย หากย้อนไปดูปกหนังสือในช่วงยุคปี 90 ส่วนใหญ่จะดูมีสีสันฉูดฉาด ซับซ้อน แต่พอถึงยุคช่วงต้นทศวรรษ 2010 หนังสือกลายเป็นสไตล์เรียบง่ายสีขาวโปรยปกด้วยตัวหนังสือสองสามบรรทัด
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดูเหมือนว่า ebook คงจะเข้ามาแทนที่หนังสือตัวเล่มในไม่ช้า แต่เหมือนจะไม่เป็นความจริงเสียทีเดียว การรุกล้ำเข้ามาของดิจิตอลส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนความชื่นชอบที่มีต่อหนังสือตัวเล่มที่จับต้องได้ โดยเฉพาะเรื่องของความงามที่ดึงดูดใจ ซึ่งส่งผลทางอ้อมไปยัง ebook ที่ให้สัมผัสต่างกัน จึงยังคงมีพื้นที่ให้หนังสือทั้งสองแบบเหลือไว้ ไม่มีใครกลืนกินใคร
…. ….. ….. …..
แทคติกที่ใช้ในการเพิ่มยอดขายให้กับหนังสือตัวเล่มก็คือการทำให้หนังสือเป็นสิ่งที่คนปรารถนา ซึ่งแน่นอนว่าวิถีทางที่จะทำให้หนังสือเป็นวัตถุที่ผู้คนปรารถนามันก็คือทำให้หนังสือมีความงามปรากฏออกมา
แล้วความงามที่ปรากฏออกมา มีที่มาที่ไปอย่างไรกันเล่า ?
บางสำนักพิมพ์ก็ร่วมงานกับช่างภาพมือรางวัลหรือช่างภาพชื่อดังที่ผลงานของเขามักจะปรากฏอยู่บนนิตยสารชื่อก้องโลกหรือทำให้หน้าปกและอาร์ทเวิร์คออกไปในแนว coffe table book หรือออกแนวอาร์ทไปเลย
บางสำนักพิมพ์ก็หาวิธีเพิ่มลูกเล่นหรือเทคนิคเข้าไปในปกหน้า อย่างเช่น ปั๊มนูนชื่อผู้ซื้อให้ฟรีบนปกหนังสือ สำหรับผู้ที่สั่งจองหนังสือล่วงหน้า
ผู้อ่านบางรายถึงกับสารภาพว่า เขาหรือเธอรู้สึกผิดไม่น้อยในการซื้อหนังสือเรื่องเดียวแต่หลายอิดิชั่น เพราะว่าพอเห็นเล่มที่ออกใหม่ดูรูปเล่มสวยกว่าที่มีก็เลยต้องซื้อเก็บอีก
…… และผู้อ่านเหล่านี้ต่างก็มีบัญชีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ แน่นอนว่าหนึ่งในส่ิงที่พวกเขาโพสต์ต้องมีหนังสือ ปกหนังสือและการอ่านหนังสือปรากฏอยู่ในนั้นแน่นอน….
ด้วยเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้คนต่างสามารถแสดงหนังสือที่พวกเขามีได้หลายโอกาสมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในห้องสมุดส่วนตัวของพวกเขาที่บ้านเท่านั้น ในบางรายหนังสือคือเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องประดับตกแต่งบ้านอีกด้วย ดังนั้นเมื่อพวกเขาพูดถึงมุมที่อบอุ่นในบ้าน หนังสือก็จะปรากฏอยู่ในรูปนั้น ๆ ด้วย
คุณเห็นโซฟาและมีหนังสือสองสามเล่มวางอยู่บนโต๊ะด้านข้างนั้นไหม
…………. …………… …………..
หากเราพูดถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่โดดเด่นด้วยภาพสวย ๆ แล้วละก็ คงหนีไม่พ้น Instagram
เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะแฮชแท็ก #bookstagram ใน Instagram ช่วยโปรโมทความงามของปกหนังสือที่เห็นแล้วเตะตาได้เป็นอย่างดี
คือถ้าคนเราชอบ ประทับใจหนังสือปกไหน พวกเขาก็มักจะถ่ายรูปหนังสือเล่มนั้นแล้วไปโพสต์ลงเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อแสดงออกถึงความชื่นชอบ ในทางกลับกันหากปกไม่สวย ไม่โดน พวกเขาไม่แม้แต่จะหยิบสมาร์ทโฟนมาถ่ายรูปมันด้วยซ้ำ
สำหรับคนที่ลึกซึ้งไปกว่าหน้าปก บางทีปกอาจจะไม่สวยงามดึงดูดเท่าที่ควร แต่เนื้อหาบางส่วนด้านในอาจจะมีอาร์ทเวิร์คหรือการจัดหน้าสวย ๆ ก็ได้ ลองพลิกดูแล้วก็ถ่ายรูปส่วนนั้นแทนหน้าปกถึงแม้ว่ามันจะน่าสนใจน้อยกว่าหน้าปกสวย ๆ ก็ตาม และในอนาคตก็อาจจะมี edition พิเศษ ที่สวยงามออกมาแทน edition ดังกล่าวนี้ก็ได้
พูดตามตรงก็คือว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์มีผลอย่างมากต่อการออกแบบปกหนังสือ
และที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกก็คือ การนำความสัมพันธ์ทั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์ การออกแบบปก การจัดหน้าและเนื้อหางานวรรณกรรมมาทำในรูปแบบของสื่อผสมอย่างที่ New York Public Library ทำ โดยการนำนวนิยายอย่าง Alice’s Adventures in Wonderland มาทำเป็นเรื่องราวบน Instagram โดยทำเป็นคลิปวิดิโอที่มีแอนิเมชั่นสลับกับเนื้อหาตัวอักษรบนหน้าหนังสือแบ่งออกเป็นตอนย่อย ๆ ให้ติดตาม ทั้งนี้เพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่านมากยิ่งขึ้น
หากถูกใจบทความดังกล่าว สามารถกดไลค์กดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้กันได้นะครับ
ร่วมสนับสนุนการทำเนื้อหาได้ที่
SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4