
พร้อมรับประกันการจัดส่งถึงบ้าน
ไม่ได้รับสินค้า ยินดีคืนเงินเต็ม 100%
Tel : 08-5464-1644
..........................................
ในช่วงทศวรรษที่ 1929-1930 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เราเรียกช่วงเวลานั้นว่า Great Depression อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ อยู่ที่ ราว ๆ 25% ผู้คนต่างกังวลว่าอาจส่งผลให้เกิดการล่มสลายไปพร้อม ๆ กันของทั้งประชาธิปไตยและทุนนิยม
นักฟิสิกส์ทฤษฎี นักจักรวาลวิทยา และนักเขียนอย่าง สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง และมหาเศรษฐีทางด้านเทคโนโลยีและอวกาศอย่าง อีลอน มัสก์ เคยแสดงออกถึงความกังวลอย่างมากต่อศักยภาพที่รุดหน้าของปัญญาประดิษฐ์ พวกเขามองว่าวันหนึ่งจะมีการสร้างจักรกลที่มีความชาญฉลาดมากกว่ามนุษย์นับร้อยนับพันเท่า สิ่งที่ระบบอัตโนมัติคิด สิ่งที่ระบบอัตโนมัติทำจะส่งผลกับเราอย่างไร ? ดีหรือร้าย หรือจะกำจัดเรา หรือมีอะไรที่ดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามต่อเราหรือไม่ ? ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องไร้สาระที่เราจะคิดถึงประเด็นเหล่านี้ มันไม่ใช่เรื่องตลก
เรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ที่สิ่งต่าง ๆ มีการบริหารจัดการแตกต่างออกไปจากเดิมแล้วเราจำเป็นต้องปรับตัว จริงอยู่ที่ในเวลานี้อาจยังไม่มีบทสรุปหรือคำตอบในเรื่องนี้ เนื่องจากมันเหมือนเป็นบริเวณที่มนุษย์เราได้ออกสำรวจไปไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้และเป็นขอบเขตที่ไม่เคยมีทั้งมนุษย์หรือว่าจักรกลใดเคยย่างกรายมาก่อน
…………………………
โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์เป็นหนึ่งในรูปแบบของ AI และ Mechatronic ที่กำลังจะกลายมาเป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในแง่ดีนั้นพวกมันก็จะทำงานที่เป็นกิจกรรมทำซ้ำ ๆ เดิม ๆ อยู่ตลอดเวลาแทนมนุษย์ หุ่นยนต์จะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากช่วยลดต้นทุนการผลิต ผู้คนเริ่มตระหนักได้ถึงงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือมนุษย์กำลังจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์
ภาระที่มีต่อเศรษฐกิจของเรากำลังก่อตัวในอัตราที่เร็วขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ดังนั้นหากเราปรับมาใช้ AI และหุ่นยนต์มากขึ้นเท่าไหร่ก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็เป็นภัยคุกคามต่อตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน ผลกระทบต่อรายได้ ค่าครองชีพ รวมถึงการดำรงชีวิตสำหรับผู้คนทั่วไป ดังนั้นแล้วในระยะสั้นสิ่งต่าง ๆ จะค่อนข้างดูยุ่งยากแต่ในระยะยาวแล้วหากผู้คนสามารถปรับตัวได้แล้วก็น่าจะเป็นเรื่องที่มองเห็นโอกาสใหม่ๆ
งานที่มนุษย์ต้องเสี่ยงภัยก็จะถูกจักรกลเข้าไปทำงานแทนรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและการพยาบาลที่เมื่อ AI และจักรกลทำงานสอดประสานกันเพื่อเสริมทักษะของผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ พยาบาล เชี่ยวชาญทั่วโลกสองถึงสามพันล้านคนต่างก็สามารถมีผู้ช่วยที่มีความรู้ความเข้าใจส่วนตัวเพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานในแต่ละวันได้ดีขึ้น นอกจากนั้นแล้วพวกเขายังสามารถย้ายถิ่นที่อยู่ไปที่ไหนก็ได้ตราบเท่าที่ยังสามารถเข้าถึงผู้ช่วยที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ ทำให้เกิดการกระจายตัวของผู้เชี่ยวชาญไปทั่วโลก ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพได้มีประสิทธิภาพขึ้น รวมทั้งการเลือกที่จะอาศัยอยู่ในต่างแดนที่มีค่าครองชีพต่ำกว่าที่เรียกว่า Geo-arbitrage
……………..

ทว่าปัญญาประดิษฐ์เป็นเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์รวมทั้งผู้คนทั่วไปก็ยังกังวลใจอยู่ไม่น้อย ในปัจจุบันเราอาจจะคุ้นเคยกับ IOT (The Internet of Things) การที่ทุกสิ่งทุกอย่างทำงานได้อย่างที่ต้องการในบ้าน แต่ระบบอัตโนมัติดังกล่าวก็ยังคงมีปัญหาหรือฟังก์ชันที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอยู่อีกไม่น้อยด้วยเช่นกัน และเมื่อพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ที่มีความฉลาดและซับซ้อนกว่านั้นมาก ผู้คนส่วนใหญ่มีความกังวลว่าจะเกิดขึ้นอะไรกับงานของพวกเขาเมื่อจักรกลสามารถทำงานได้ดีกว่าเรา
ไม่มีใครรู้ว่าอีกนานแค่ไหนที่เรื่องนี้จะเกิดขึ้นแต่สิ่งที่เข้าใจได้คือคำถามที่ว่า จะเป็นอย่างไรเมื่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของผู้คนกำลังติดลบ?
………………

โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์นั้นยังคงมีความต้องการปัจจัย 4 พร้อมทั้ง เฮฮา ปาร์ตี้ มีหน้ามีตา มีรถขับ โทรศัพท์ถ่ายรูปได้ ต้องการที่อยู่อาศัย ด้านหลังติดภูเขา ด้านข้างติดแม่น้ำ ด้านหน้าบ้านติดถนน ตัวบ้านติดไฟแนนซ์ เจ้าของบ้านติดการพนัน !! แล้วจะเป็นอย่างไรหากพวกเขาไม่สามารถผลิตอะไรได้เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอจะรักษาสิ่งที่พวกเขามีอยู่ ?
ตำแหน่งงานของพวกเขาถูกแทนที่ด้วย AI ด้วยหุ่นยนต์ หรือได้รับผลกระทบจากการลดพนักงาน เนื่องจากเพิ่มสัดส่วนการผลิตเป็นระบบอัตโนมัติ
เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจความหมายของเศรษฐกิจที่แท้จริงในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีแล้ว แรงผลักดันให้เราปรับเปลี่ยนเข้าสู่การผลิตแบบอัตโนมัตินั้นก็คือเรื่องของสังคมสูงอายุ ในขณะที่อัตราการเกิดต่ำ
ระบบเศรษฐกิจของเราจะยังทำงานได้ดีไหมในโลกที่มนุษย์ไม่ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของตนอีกต่อไป ?
ไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้ จึงยังไม่มีคำตอบสำเร็จรูปที่จะฟันธงว่า ได้ หรือ ไม่ได้
แต่อย่างน้อยที่สุดนักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบอัตโนมัติที่กำลังสร้างเครื่องมืออย่าง Chat GPT , หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนมนุษย์ ก็ย่อมทำให้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบเศรษฐกิจจะยังทำงานได้ดีเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
คนอเมริกันนับหลายล้านคนต้องตกงานในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 หลังจากนั้นเราก็จะเห็นว่าหุ่นยนต์และ AI ได้เข้ามาแทนที่ตำแหน่งงานเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว หากปัญญาประดิษฐ์หรือจักรกลเหล่านี้เข้ามาแทนที่ตำแหน่งงานของเราทั้งหมด นั่นก็หมายความว่าทุกคนจะขาดรายได้ที่จะมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าหรือว่าบริการที่จักรกลเหล่านี้เป็นผู้ผลิต
จึงจำเป็นที่รัฐบาลหรือบริษัทต่าง ๆ ที่ลงทุนอย่างมากในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติเหล่านี้จะถูกบีบให้ต้องจัดหางานหรือว่าแหล่งรายได้ให้กับประชาชนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ไม่เช่นนั้นแล้วธุรกิจห้างร้านต่างๆ ก็จะได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่มีลูกค้า เพราะผู้ที่จะเป็นลูกค้าขาดอำนาจซื้อเพราะไม่มีรายได้ บริษัทเองก็ขาดรายได้และไมีมีผลกำไร ในที่สุดก็จะทยอยปิดกิจการ
ดังนั้นเพื่อปิดช่องโหว่ตรงจุดนี้ รัฐอาจจำเป็นต้องมีสวัสดิการแจกเงิน แจกคูปอง เพื่อให้ผู้คนในระบบเศรษฐกิจยังคงมีอำนาจซื้อเพื่อที่พวกเขาจะสามารถดำรงชีวิต จับจ่ายใช้สอยกันได้ หากถามว่าแล้วจะนำเม็ดเงินจากส่วนไหนมาอุดหนุนตรงจุดนี้ ก็อาจเป็นการจัดเก็บภาษีจากบริษัทที่ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อผลิตสินค้าและบริการนั่นเอง
………………….

ลองจินตนาการถึงโลกอนาคตว่าเต็มไปด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ที่ต่างก็เป็นอิสระเหมือนกับคนจริงๆ เลย หุ่นยนต์นั้นมีราคาแพงมากก็จริงแต่เมื่อมองอีกมุมก็ราคาพอ ๆ กับเงินเดือนเฉลี่ยทั้งปีของพนักงานคนหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีค่าดูแลบำรุงรักษา ค่าไฟ ค่าน้ำมันต่อชั่วโมงต่ำ นี่คือต้นทุนหรือเงินลงทุนที่บริษัทต้องจ่าย เนื่องจากถือเป็นการลงุทนที่มีประสิทธิภาพ แน่นอนว่ามันอาจจะหนักในปีแรก ๆ แต่จะค่อย ๆ คืนทุนและลดต้นทุนได้ในปีต่อ ๆ ไป
ส่วนบริษัทที่ประเภทที่ดำเนินการช้ากว่าสักหน่อย ก็จะเลือกใช้วิธีการค่อย ๆ แทนที่พนักงานด้วยหุ่นยนต์ ส่วนบริษัทที่ยังเหมือนเดิมไม่ทำอะไรเลย ไม่ปรับตัวอะไรเลยก็จะเริ่มแข่งขันไม่ได้ ผลิตได้น้อยกว่า ช้ากว่า ต้นทุนสูงกว่า ขายแพงกว่า สุดท้ายก็จะหายไปจากตลาด ส่วนบริษัทที่เหลืออยู่ก็จะมีประสิทธิภาพในการผลิต ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างพนักงาน ต้นทุนการผลิตโดยรวมจึงต่ำกว่า ทำสินค้าได้ราคาถูกกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการจินตนาการ ซึ่งหากจะเป็นจริงคงต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีก่อนที่อัตราการว่างงานของคนจะเป็น 100% และไม่มีใครหางานทำได้ เป็นเพียงเพราะต้องแข่งขันมากขึ้นกับการที่หุ่นยนต์สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ทุกอย่าง ดังนั้นคนก็จะหันมาพึ่งพาสวัสดิการเพื่อประทังชีวิต ในระยะสั้นมันก็จะเป็นเงินทุนอุดหนุนจากภาษีจากบริษัทที่ใช้กระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ แต่ในระยะยาวแล้วถือว่าเป็นความท้าทายอย่างแท้จริงที่จะเก็บภาษีจากกลุ่มบริษัทดังกล่าว
แล้วมันท้าทายอย่างไร?
เมื่อไม่มีความต้องการในตลาดแรงงาน บริษัทต่าง ๆ ก็มีอิสระที่จะตั้งโรงงานของตนในประเทศไหนก็ได้ที่ให้สิทธิพิเศษทางภาษีมากที่สุด หรือเอื้อประโยชน์กับบริษัทได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นการสร้างการแข่งขันเพื่อลดต้นทุนภาษี ทั้งนี้จะเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะหาเงินหรือหารายได้จากการเก็บภาษีในส่วนนี้เพื่อมาเป็นสวัสดิการให้ประชาชน โดยรัฐบาลอาจจำเป็นต้องใช้การเก็บภาษีจากปัจจัยการผลิตซึ่งก็คือที่ดิน เนื่องจากบริษัทที่อาศัยสายพานการผลิตอัตโนมัติเต็มรูปแบบนี้ยังคงต้องการพื้นที่และคลังสินค้าอยู่ดีโดยเฉพาะในทำเลที่เอื้อต่อการกระจายสินค้าได้ง่า่ย
…..

ในที่สุดหากบริษัทสามารถทดแทนแรงงานคนด้วยเครื่องจักรได้ทั้งหมดแล้ว จะส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้น้อยหรือไม่มีรายได้เลย ฟังดูแล้วหดหู่จัง เมื่อผู้คนไม่มีรายได้บริษัทจะขายสินค้าหรือว่าบริการของตนให้กับใครกันเล่า อาจจะมีคนแย้งว่า ในสังคมก็ยังคงมีคนที่มีอำนาจซื้ออยู่บ้างแหละ อันนี้ก็พอฟังได้
ในตอนแรกก็อาจจะขายสินค้าและบริการให้กับกลุ่มคนเล็ก ๆ จำนวนไม่มากนักที่เป็นเจ้าของบริษัท เพราะพอจะมีอำนาจซื้อหลงเหลือ แต่ลองนึกภาพตามว่าหากใครสักคนเป็นเจ้าของกองทัพจักรกล เขาก็สามารถสั่งให้เครื่องจักรเหล่านั้นผลิตอะไรก็ตามที่พวกเขาต้องการ อาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อขายแลกเปลี่ยนกับเราไปตลอดก็ได้ ยิ่งตราบใดที่แรงงานของมนุษย์ไม่อาจสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจขึ้นมาใด ระบบเศรษฐกิจของเราก็จะกลายเป็นอัมพาตและล่มสลายในที่สุด ช่องว่างทางรายได้ก็จะยิ่งห่าง รวยก็รวยขั้นเทพ จนก็จนสุด ๆ อาจต้องมีหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบว่าทำไมยากจนผิดปรกติ
ทีนี้เมื่อผู้คนทั่วไปไม่มีรายได้ บริษัทที่ทำธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการของตน เปลี่ยนจากสินค้าอุปโภคบริโภคไปเป็นสินค้าที่มีความทันสมัยและมีเทคโนโลยีชั้นสูงตามความต้องการของคนกลุ่มเล็ก ๆ บนโลกนี้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มของเจ้าของบริษัทต่างๆ มาก ที่มีรายได้เพียงพอที่จะยังชีพด้วยเงินปันผลจากหุ้น จากธุรกิจ ชีวิตของพวกเขาเรียกได้ว่าหรูหราขั้นสุด ในขณะที่ผู้คนที่เหลือบนโลกอาจต้องตกอยู่ในภาวะอดอยากหิวโหย เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้พวกเขาแม้แต่ปัจจัยสี่ นี่ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้ายแต่เป็นการมองโลกที่เป็นเหตุเป็นผลจากกลไกตลาด

เราลองพิจารณากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งก็คือประเทศที่มีความเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูง ประชากรในประเทศเหล่านี้มีอำนาจซื้อสูง มีผู้คนจับจ่ายใช้สอยกันมาก แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญก็คืออัตราการเกิดต่ำ ทำให้ต้องหันมาพึ่งพาการนำเข้าแรงงานทักษะจากทั่วโลกรวมทั้งการพึ่งพาระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ยังคงมีอัตราการเติบโตทางเศรษกิจ
แล้วทำไมประเทศร่ำรวยถึงมีลูกน้อย ทั้ง ๆ ที่สิ่งแวดล้อม อะไรต่าง ๆ นานา สวัสดิการทางสังคมเป็นใจมากกว่าประเทศอื่น ๆ เสียด้วยซ้ำ โซเดมาคอมได้ก็เลี้ยงได้ อะไรแบนี้
การที่ผู้คนมีลูกน้อยลงนั้นก็เนื่องมาจากพวกเขาไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพียงพอที่จะเลี้ยงดูเด็ก ๆ ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ต้นทุนการเลี้ยงเด็กหนึ่งคนนั้นค่อนข้างสูงมาก แนวโน้มดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเนื่องจากผู้คนต่างก็ทำงานในอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าที่อาศัยการใช้เงินทุนจำนวนมากเพื่อทวีคูณแรงงานมนุษย์ที่มีจำนวนน้อย ได้ค้าจ้างสูง เพดานค่าครองชีพก็สูงตามไปด้วย
หากย้อนกลับไปราว 100 ปีก่อน การมีลูกมากเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเรายังอยู่ในช่วงของการทำการเกษตรหรือไม่ก็ทำธุรกิจครอบครัวขนาดเล็ก การมีลูกมากก็จะได้มีแรงงานไว้ใช้ในครัวเรือนอย่างเพียงพอ แต่หลังจากนั้นโลกก็เปลี่ยนไป เกษตรกรหันมาใช้เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดใหญ่ที่ถึงแม้จะแพงแต่ก็ยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับการมีลูกหลานจำนวนมากที่จะเพียงพอช่วยกันเก็บเกี่ยวผลผลิตในปริมาณที่เท่ากันกับที่เครื่องจักรทำได้ ไม่ต้องปากเปียกปากแฉะอีกด้วย
เมื่อมองในภาพรวมของเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น สิ่งเดียวกันนี้กำลังเกิดขึ้น เมื่อการใช้จักรกลทำงานเดียวกันกับมนุษย์ทำให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่า ประเทศพัฒนาแล้วยังคงมีอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีนโยบายเปิดรับแรงงานที่มีทักษะจากทั่วโลกเพื่อเข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดหายไปเพื่อยังคงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไปได้ แต่มันกลับเป็นเรื่องยากกว่าสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาที่จะทดแทนแรงงานด้วยเครื่องจักร เนื่องจากค่าแรงของพวกเขาต่ำ ดังนั้นอาจต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างยาวนานกว่าในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อใช้ผลิตสินค้าและบริการอย่างเป็นรูปธรรม

ที่นี้เราลองเปลี่ยนมาดูมุมมองจากอีกด้านต่อเรื่องเดียวกันนี้
ทำไมเรายังต้องจ้างพนักงานทำบัญชี ทำไมเรายังต้องจ้างคนเขียนบทความหรือเขียนหนังสือ ในเมื่อทุกวันนี้เราสามารถค้นหาสิ่งที่เราต้องการได้อย่างง่ายดายบนอินเตอร์เน็ต มีแอพพลิเคชันสำเร็จรูปมากมายให้เลือกใช้ นั่นก็เป็นเพราะว่าเทคโนโลยีที่เราได้สัมผัส ได้คร่ำหวอดอยู่กับมันนั้น ถูกเรานำมาใช้งานเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น ใช้มันเพื่อทวีคูณมูลค่าทางเศรษฐิจของตัวเอง เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น หรือใช้มันเพื่อช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจในยุคที่ทุกคนแข่งกันราคาถูกเพื่อให้พอมีกำไรหลงเหลืออยู่บ้าง
ทุกวันนี้คนต่างก็ทั้งกังวลแล้วก็ตื่นเต้นไปกับโปรแกรมอย่าง CHAT GPT แต่นั่นแหละมันก็เหมือนกันกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ผู้คนต่างเคยเป็นกังวลกับมันเมื่อครั้งอดีต โปรแกรมดังกล่าวฉลาดในการดึงข้อมูลดิบมาเรียบเรียงและนำเสนอได้เป็นอย่าดี หรืออย่างทางเสิร์ชเอ็นจิ้นนั้นก็ช่วยค้นหาข้อมูลที่ดีที่สุดใกล้เคียงความต้องการที่สุดเท่าที่หาได้มานำเสนอเรา ไม่ต่างจากแขนกลในโรงงานที่เป็นเพียงโค๊ดคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดเท่าที่วิศวกรจะเขียนโปรแกรมสั่งงานมันได้ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อมาเสริมกับทักษะที่มนุษย์เราเชี่ยวชาญอยู่ก่อน และปัญญาประดิษฐ์หรือว่า AI เรานี้ ก็ต้องอาศัย Big Data ซึ่งส่วนใหญ่ในตอนนี้ก็มาจากมนุษย์
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าโปรแกรม ปัญญาประดิษฐ์หรือว่าเครื่องจักรกลเหล่านี้ถูกนำมาใช้งานเพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของตน ยิ่งเมื่อโลกของเราก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดต่ำ ประชากรวัยหนุ่มสาวกลุ่มเล็ก ๆ จะต้องเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีแรงกดดันมหาศาลต่อประชากรกลุ่มเล็ก ๆ นี้ หากมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยสอดประสานการทำงานส่งผลให้พวกเขาทำน้อยได้มาก นี่ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและยินดีหาใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด
………………………………………..
แนะนำหนังสือต่างประเทศที่เกี่ยวกับ AI business | หาเงินด้วย AI
Competing in the Age of AI: Strategy and Leadership When Algorithms and Networks Run the World ISBN-13: 9781633697621
AI Superpowers: China, Silicon Valley, and the New World Order ISBN-13: 9781328546395
Prediction Machines: The Simple Economics of Artificial Intelligence ISBN-13: 9781633695672
Human + Machine: Reimagining Work in the Age of AI ISBN-13: 9781633693869
The Big Nine: How the Tech Titans and Their Thinking Machines Could Warp Humanity ISBN-13: 9781541773752
Artificial Intelligence: A Guide for Thinking Humans ISBN-13: 9780374257835
The Future Computed: Artificial Intelligence and its Role in Society ISBN-13: 9781986406854
Life 3.0: Being Human in the Age of Artificial Intelligence ISBN-13: 9781101970317
Machine, Platform, Crowd: Harnessing Our Digital Future ISBN-13: 9780393254297
The Industries of the Future ISBN-13: 9781476753652

พร้อมรับประกันการจัดส่งถึงบ้าน
ไม่ได้รับสินค้า ยินดีคืนเงินเต็ม 100%
Tel : 08-5464-1644
..........................................