การเดินทางของยางรถยนต์

Listen to this article

เปลี่ยนยางรถยนต์มาได้สามปีแล้ว ถึงเวลาต้องเปลี่ยนใหม่อีกครั้งแล้ว ดอกยางยังไม่สึกเท่าไหร่เลย แต่บางคนก็บอกว่า ยางรถถึงแม้ดอกยางยังไม่สึกแต่เนื้อยางก็แข็งแล้ว เปลี่ยนเถอะ เพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะในฤดูฝน

ประเด็นคือ จะเอาเงินที่ไหนมาเปลี่ยนยางสี่เส้น  !!!   

………………………

ขั้นตอนการผลิตยางรถยนต์

ที่เยอรมนี แต่ละปีจะมียอดขายยางรถยนต์กว่า 50 ล้านเส้น ซึ่งนับว่าเป็นธุรกิจที่มูลค่าหลายพันล้านเหรียญฯ

เวลาที่เราไปเปลี่ยนยาง เราก็จะเห็นว่า บริเวณแก้มยางมีรอยปั๊มนูนที่ระบุรายละเอียดของยางเส้นดังกล่าวว่ามีขนาดเท่าไหร่ ผลิตที่ไหน เป็นต้น  

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยางรถยนต์หนึ่งในนั้นก็คือยางธรรมชาติ และแหล่งผลิตยางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีผลผลิตมากกว่าสี่ล้านตันในแต่ละปี โดยในช่วงสามสิบปีมานี้การผลิตสูงขึ้นถึง 300%

อุตสาหกรรมยางมีบทบาทมากในประเทศไทย นอกจากการผลิตยางธรรมชาติแล้ว ที่นี่ยังมีโรงงานผลิตยางรถยนต์ของบริษัทข้ามชาติมาตั้งฐานการผลิตยางรถยนต์แล้วส่งออกไปทั่วโลก

เราจะเริ่มต้นไปดูกันที่สวนยาง

เจ้าของสวนยางรายหนึ่งบอกว่า “ในอดีตพื้นที่แถบนี้เป็นป่าฝน คนรุ่นพ่อแม่ได้ทำการแผ้วถางลงมือเพาะปลูกทำเกษตร ตอนแรกก็ปลูกข้าว ปลูกอ้อย แล้วช่วงหลัง ๆ ก็เปลี่ยนมาปลูกยางพารา”

น้ำยางจะไหลออกจากรอยกรีดที่ลำต้น ซึ่งเราสามารถเก็บน้ำยางในรูปแบบของน้ำยางสดหรือจะเติมกรดลงไปเพื่อให้น้ำยางแข็งตัวเป็นก้อน เก็บเป็นก้อนยางก็ได้ เรียกว่ายางก้อนถ้วย จากนั้นก็นำไปขายที่โรงงานรับซื้อยางใกล้บ้าน

ทั้งการปลูกยางพารา กรีดยางเพื่อเก็บน้ำยางไปขายรวมถึงโรงงานแปรรูปยางพารานั้นเป็นหน่วยธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนไม่น้อย

ในบางช่วงที่ความต้องการยางพาราลดลง ราคายางก็ร่วงตามไปด้วย

เจ้าของสวนยางและยังเป็นผู้รับซื้อยางรายหนึ่งบอกว่า “หลายปีก่อนการปลูกยางพารานั้นได้เงินค่อนข้างดี แต่เมื่อห้าปีที่แล้วราคายางเริ่มร่วงลง ตอนนี้เลยต้องมาหาทางว่าจะทำอย่างไรที่จะอยู่ให้ได้”

หากเจ้าของสวนยางยังรู้สึกอึดอัดขนาดนี้ แล้วลูกจ้างที่มารับจ้างกรีดยางจะเป็นอย่างไร ?

…….

สำหรับในประเทศไทย ด้วยค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้นทำให้แรงงานในส่วนนี้เริ่มขาดแคลน ดังนั้นคนงานที่เข้ามาทดแทนก็จะเป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศกัมพูชาที่อาจจะได้รับค่าแรงต่ำกว่า โดยงานกรีดยางนั้นก็จะเริ่มต้นขึ้นราวสองทุ่มจนไปถึงตีห้าของอีกวัน ทำงานห้าวันต่อสัปดาห์ พวกเขาอาศัยการมองเห็นจากไฟฉายคาดศรีษะ ค่อย ๆ เซาะร่องลงไปในเปลือกไม้เพื่อให้น้ำยางไหลออกมา คนงานชาวกัมพูชาทำงานร่วมกันอยู่กันเป็นครอบครัว ครอบครัวหนึ่งทำงานที่นี่มาแล้วเจ็ดปี พวกเขาไม่รู้หนังสือ ตอนตีห้าทุกคนจะมาล้อมวงกินข้าวเช้าพร้อมหน้าพร้อมตากัน แต่บางวันก็ต้องออกไปทำงานโดยที่ยังไม่ได้กินอะไร ในช่วงฤดูฝนซึ่งทำงานลำบาก วันไหนที่ไม่ได้ทำงานก็จะไม่ได้รับค่าจ้าง นั่นก็หมายความว่าไม่มีอะไรกิน ก็ต้องทนหิว

แล้วทำไมในช่วงฤดูฝนถึงกรีดยางไม่ค่อยได้ ?
เพราะเวลาฝนตก น้ำฝนก็จะลงไปปนกับน้ำยาง ทำให้น้ำยางเสียหายและอาจก่อให้เกิดโรคกับบริเวณหน้ากรีดยางของต้นยางพาราได้ เช่นโรคเส้นดำและโรคเปลือกเน่า

คนงานผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่าทุกเช้าเธอจะพาลูกไปส่งที่โรงเรียน ในขณะที่สมาชิกคนอื่นในครอบครัวเพิ่งได้กลับเข้ามานอนหลังจากไปกรีดยางในตอนกลางคืน เฟอร์นิเจอร์สำหรับนอนก็คือเสื่อสองผืนหมอนและผ้าห่มเก่า ๆ ที่ต้องคอยแบ่งกัน สลับกันนอนกับสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ รวมทั้งหมดแปดคน

นอกจากนั้นแล้ว ในบางวันก็ต้องออกไปพ่นยาฆ่าหญ้า ทำไมต้องพ่นยาฆ่าหญ้าก็เพื่อความปลอดภัยเวลาที่เราไปกรีดยาง เพราะถ้ามีหญ้าขึ้น งูก็อาจมาซ่อนตัวอยู่ตามพงหญ้าแล้วกัดเราได้


แต่ยาฆ่าหญ้าบางสูตรก็มีส่วนผสมของพาราควอตซึ่งเป็นสารต้องห้ามในยุโรปมาหลายปีแล้ว ถึงแม้เราจะรู้สึกปลอดภัยที่แต่งกายรัดกุม มีหน้ากากครอบจมูก แต่สิ่งที่พวกเขายังไม่รู้ก็คือ พาราควอตสามารถถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและส่งผลเสียต่อร่างกายได้อย่างรุนแรง
………………………
(เนื่องจากที่ผ่านมามีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการเลิกใช้พาราควอต ดังนั้นจึงขอนำข้อมูลอ้างอิงให้นำไปวิเคราะห์กัน)
http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=569
https://www.prachachat.net/economy/news-612846
https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/PQ
https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-to-know-about-paraquat-poisoning
https://emergency.cdc.gov/agent/paraquat/basics/facts.asp
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6689968/

………………………………………..

เมื่อได้น้ำยางสดหรือว่าเป็นยางก้อนแล้วก็นำไปขายยังโรงงานท้องถิ่นใกล้บ้าน ตามราคาที่โรงงานกำหนด

โรงงานที่รับซื้อน้ำยางซึ่งคนงานส่วนใหญ่ที่ทำงานด้วยจะเป็นคนไทยนั้น จะได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน ส่วนจะได้รับเท่าไหร่นั้นตามแต่ตกลงกับเจ้าของโรงงานรวมถึงจะมีค่า incentive ของราคายาง หากช่วงไหนราคายางดี พวกเขาก็จะได้รับส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นแบ่งกันคนละครึ่งกับเจ้าของโรงงาน สมมติว่า ขายยางได้สองพันบาทก็จะแบ่งกันคนละหนึ่งพันบาท ดังนั้นลูกจ้างก็ไม่เชิงว่าเป็นลูกจ้างเสียทีเดียวเพราะพวกเขายังจะได้ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจากกำไรด้วย ซึ่งโครงสร้างผลตอบแทนแบบนี้นั้นก็ยังพอประคับประคองให้ลูกจ้างอยู่ได้ โรงงานอยู่ได้ ในทางกลับกัน หากราคายางตกต่ำเป็นเวลานานก็คงจะไม่ดีนัก

ด้านหลังสวนยางนี้มีกระต๊อบโทรม ๆ อยู่หลังหนึ่ง สองตายายกำลังง่วนอยู่กับการเก็บน้ำยาง ตาอายุแปดสิบสองปี แต่ยังทำงานอยู่ ตาบอกว่าแกทำงานที่นี่มา 50 ปีแล้ว ย้อนกลับไปในอดีต ตาก็เคยเป็นเจ้าของโรงงานยางมาก่อนและมีที่สวนยางยาวไปถึงบนภูเขาใกล้ ๆ นู้น

สองตายายในวันนี้ยังกรีดยาง เก็บยาง แต่ก็อาศัยอยู่ในกระต๊อบโทรม ๆ ในขณะที่อุตสาหกรรมยางเติบโตออกไปทั่วโลก โดยเฉพาะยอดขายยางรถยนต์ที่มีมากว่า 1.2 พันล้านเส้นต่อปี

ที่กัมพูชาเอง การทำสวนยางก็ไม่ต่างจากที่ไทย อยู่กันเป็นครอบครัว โดยสวัสดิการที่คนงานได้รับก็จะเป็นที่พักฟรี น้ำ ไฟ ฟรี ข้าวสาร 20 กิโลกรัมต่อเดือน ได้รับค่าแรงเป็นรายสัปดาห์

จังหวัดรัตนคีรีทางตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ชุมชนแถบนี้เมื่อก่อนก็ทำเรือกสวนไร่นา เพาะปลูกตามอัธยาศัย ดำรงชีวิตเรียบง่ายตามอัตภาพ ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่หลังจากที่ทางการกัมพูชาได้ส่งเสริมให้ที่ดินบริเวณนี้เป็นพื้นที่เพาะปลูกยางเพื่อตอบสนองกับความต้องการยางในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น บริษัทข้ามชาติพากันเข้ามาตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ พื้นที่ดังกล่าวก็ได้กลายเป็นพื้นที่ปลูกยาง ขณะเดียวกันก็มีภาพของภูเขาหัวโล้นที่ถูกแผ้วถางเตรียมเป็นพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ชุมชนเริ่มตระหนักได้ว่าความสมบูรณ์ของผืนดินที่เคยมีมันหายไป พวกเขาปฏิเสธที่จะทำการเพาะปลูกแบบนี้แต่อยากจะหันกลับไปเพาะปลูกแบบเดิมที่เคยทำมา ขณะเดียวกันกับที่มีการโยกย้ายแรงงานจากต่างถิ่นเข้ามาอยู่ในพื้นที่แทนเพื่อทำงานในสวนยางรวมถึงโรงงานรับซื้อน้ำยาง

ในทุกปียางที่เก็บเกี่ยวได้ในกัมพูชาเติบโตขึ้นราว 6-7% โดยมีสัดส่วนนำไปผลิตยางรถยนต์มากที่สุด

…………………………………………..

คำถามต่อมาก็คือ ความยั่งยืนในการทำสวนยางที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ อยู่ตรงจุดไหน
แรงงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมไม่ถูกทำลาย ลดการใช้สารเคมี ราคายางอยู่ในระดับสูง


หากเรานำภาพการตัดไม้ทำลายป่า เผื่อแผ้วถางพื้นที่ปลูกยาง สภาพความเป็นอยู่ของแรงงานกรีดยาง ไปให้บริษัทผลิตยางรถยนต์อันดับหนึ่งถึงสี่ของโลกดูนั้น เหมือนกับเอารูปภาพต้นน้ำไปให้ปลายน้ำดู แต่จะให้ส่วนธุรกิจปลายน้ำมารับผิดชอบชีวิตคนทำธุรกิจต้นน้ำทั้งหมดนั้นคงเป็นไปไม่ได้ กระบวนการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนบนโลกใบนี้นั้น ล้วนมีจรรยาบรรณเข้ามาเกี่ยวข้อง กระทำผ่านข้อตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทกับผู้จัดหาวัตถุดิบและระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบกับเกษตรกรผู้ปลูกต่อกันเป็นทอดๆ

บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ที่อยู่ในอันดับหนึ่งในสี่ยักษ์ใหญ่ของโลก ระบุว่า “ทางบริษัทใช้ยางธรรมชาติเพียง 5% เพื่อป้อนให้กับโรงงานผลิตยางรถยนต์ของเราทั่วโลก โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศไทย นอกจากนั้นแล้วเรายังแตกสายการผลิตเป็นการนำยางเก่ามาหล่อดอกยางใหม่สำหรับใช้ในรถบรรทุกและเครื่องบิน เพื่อลดการใช้ยางธรรมชาติ”

………………………………..

แล้วการหล่อดอกยางคืออะไร ?

ที่โรงงานหล่อดอกยางในยุโรป เจ้าของโรงงานบอกกับเราว่า “คุณเห็นยางเส้นนั้นไหม มีเพียงแค่ผิวหน้าบริเวณนี้เท่านั้นที่มันฉีกขาด นั่นหมายความว่า ยางเส้นนี้ถูกทิ้งทั้งที่มันถูกใช้งานไปยังไม่ถึง 20% เสียด้วยซ้ำ”

ยางรถยนต์เก่าส่วนมากจะนำไปทำอะไรกัน ?

Tire Derived Fuel in Cement Manufacturing

ยางรถยนต์เก่าส่วนมากก็จะถูกนำไปทำประโยชน์ต่าง ๆ กันออกไป เช่น นำไปถมที่ ทำกำแพงเสริมดิน เพาะปลูก เฟอร์นิเจอร์ นำไปหลอมราดทับผิวหน้าถนน แต่ที่ดูเป็นอุตสาหกรรมหน่อยก็คือ นำไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงงานปูนซีเมนต์ เนื่องจากถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักนั้นมีราคาแพงขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจที่หดตัวทำให้ความต้องการใช้ซีเมนต์ลดลง แต่ในตอนนี้เนื่องจากเรามีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากยางเก่า ดังนั้นโรงงานซีเมนต์บางแห่งจึงหยุดใช้มันหรือกลายเป็นว่าเราต้องจ่ายเงินให้โรงงานมาเอายางไปใช้แทน

ดังนั้นการนำยางรถยนต์เก่ามาหล่อดอกยางขึ้นใหม่จึงเป็นอีกวิธีหนึ่ง

กระบวนการหล่อดอกยางนั้นก็มีขั้นตอนที่ได้มาตรฐานเช่นเดียวกับการผลิตยางเส้นใหม่ออกมา ตรงตาม ISO ระดับนานาชาติทุกอย่าง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือมันไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากยางเส้นใหม่เลย

แม้แต่โรงงานหล่อดอกยางเองก็ต้องการยางธรรมชาติแต่ก็ในสัดส่วนที่ลดลงกว่า 70-80% เมื่อเทียบกับการผลิตยางเส้นใหม่ แต่แทบไม่ได้ส่งผลอันใดกับการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราเพื่อตอบสนองต่อความต้องการปริมาณยางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น

การหล่อดอกยาง วิธีการทำแต่ละขั้นตอน


แต่ก็ยังมีคำถามในใจว่า ยางที่หล่อดอกยางกับยางใหม่มันจะปลอดภัยเหมือนกันหรือเปล่า มีคุณภาพจริงหรือเปล่า

ผู้เชี่ยวชาญตอบว่า เราทดสอบยางใหม่มาหลายทศวรรษแล้ว ถ้าหากการหล่อดอกยางนั้นมาจากยางรถยนต์คุณภาพดีที่สึกหรอแล้วนั้นมันก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากยางเส้นใหม่ แต่ประเด็นที่ไม่ใช้กัน น่าจะมาจากเหตุผลทางด้านการเงิน สภาพแวดล้อม รวมถึงรสนิยมส่วนตัวมากกว่า

ดังนั้นเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ในครั้งถัดไป เราคงจะได้เห็นภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมยางรถยนต์แล้วว่า เริ่มจากตรงไหน ไปสิ้นสุดที่ตรงไหน แล้วมีผลกระทบในมิติไหนบ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจของตัวเราเอง

Reduce Reuse Recycle

เทคโนโลยีการเก็บน้ำยาง

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้