การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

0
969
Listen to this article

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบีบให้หมีขั้วโลก จิงโจ้และสัตว์ป่าอื่น ๆ อพยพเข้ามาในพื้นที่เขตอาศัยของมนุษย์

ต่อไปเราจะต้องเผชิญกับปัญหากระทบกระทั่งกันระหว่างคนกับสัตว์!ป่ามากขึ้น

จากอุณหภูมิที่ร้อนที่สุดสิบปีให้หลังติดต่อกันในช่วงสองทศวรรษรวมทั้งอุณหภูมิมหาสมุทรของโลกที่วัดได้ในปี 2018 นั้นสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์จากที่ทำการวัดเก็บสถิติมาตั้งแต่ปี 1950

Institute of Atmospheric Physics (IAP) ได้เก็บสถิติอุณหภูมิของมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น โดยความร้อนที่วัดได้ในปี 2018 ได้ประมาณ 19.67 x 10²² จูล เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ถึง 388 เท่า หรือเท่ากับ 100 ล้านเท่าของพลังงานความร้อนจากระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งลงที่ฮิโรชิมา

polar-bear

หมีขาวขั้วโลกที่เรามักจะใช้เป็นพรีเซนเตอร์ให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และแน่นอนว่าตอนนี้หมีขาวได้กลายเป็นหนึ่งในเหยื่อของภาวะโลกร้อน


Photo by Annie Spratt on Unsplash


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาถึงแล้ว เกิดขึ้นแล้วและมันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง



จากการคาดการณ์ หากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 4.5 องศาเซลเซียสต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมและถ้าเรายังไม่ได้ทำอะไรเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ สัตว์ป่าครึ่งหนึ่งที่มีบนโลกจะสูญพันธุ์

…… ………………………………….

Advertisement

ในส่วนของน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะละลายแผ่นน้ำแข็งซึ่งแผ่นน้ำแข็งก็เป็นที่อยู่อาศัยของหมีขั้วโลก หมีขั้วโลกก็ต้องย้ายถิ่นฐานมาหากินหาอาหารที่ใหม่ นั่นถึงมีข่าวมีขั้วโลก 52 ตัวที่รุกเข้าไปหาอาหารในเมืองของประเทศรัสเซียทำให้ชาวเมืองไม่กล้าออกนอกบ้าน คือต่อให้หมีขาวดูน่ารักแต่หมีขาวก็เป็นสัตว์กินเนื้อ ถ้าหาอะไรไม่เจอก็อาจจะหันมาทำร้ายคนก็ได้

โชคร้ายที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังจะทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์ป่าเหล่านี้ออกมาในแนวเป็นปฏิปักษ์ต่อกันทุกที ๆ

…… ………………………………….

ทางฝั่งของออสเตรเลียก็เผชิญกับความร้อนสูงถึง 41องศาเซลเซียส สัตว์ป่าต้องอพยพเข้ามาในเมือง ฝูงจิงโจ้พากันเข้ามาในเขตที่อยู่อาศัยของคนเพื่อหาอาหาร ส่วนค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนชาวบ้านก็ต้องช่วยฉีดน้ำบรรเทาร้อนให้เพื่อไม่ให้พวกมันเกิดร้อนเกินไปจนตาย

…… ………………………………….

ทางตอนใต้ของอาฟริกาซึ่งประสบภาวะปัญหาแห้งแล้วอยู่เป็นประจำนั้น ทำให้ช้างอาฟริกาที่กระหายน้ำต้องบุกเข้ามากินพืชไร่และขโมยดื่มน้ำในถังของชาวบ้าน

ตามธรรมชาติแล้วสัตว์ป่าส่วนใหญ่ไม่ได้ชอบที่จะเข้ามาอยู่ใกล้มนุษย์เราแต่พฤติกรรมที่ว่ามาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าพวกมันต้องประสบปัญหาอะไรบางอย่างถึงต้องดิ้นรนเอาตัวรอด

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลเสียต่อมนุษย์ เช่น ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย ยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ความอดทนระหว่างคนกับสัตว์ป่าลดน้อยลงทุกที

ชาวอาฟริกาตามชนบทซึ่งก็ขาดแคลนอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้วกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตเพียงเล็กน้อยยังมาเจอฝูงช้างที่หิวโหยขโมยเสบียงกรังที่เก็บไว้ก็ยิ่งเดือดดาลอยากจะฆ่าช้างพวกนั้นให้ตายจบ ๆ ไป และความจริงที่น่าเศร้าก็คือจำนวนประชากรช้างลดลงอย่างต่อเนื่องโดยสาเหตุหลักก็ล้วนมาจากกิจกรรมของมนุษย์

…… ………………………………….

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งส่งผลให้ความขัดแย้งเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติระหว่างสปีชีส์หรือแม้กระทั่งในกลุ่มคนด้วยกันเองทวีคูณยิ่งขึ้น

เนื่องจากความแห้งแล้งบีบให้คนจากชนบทละทิ้งถิ่นฐานเข้ามาหางานทำในเมืองที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนอยู่ก่อนแล้วยิ่งเพิ่มความตึงเครียดเข้าไปอีก ซึ่งถ้าหากเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาทรัพยากรในหมู่เราเองได้แล้ว ยิ่งมีความหวังเลือนลางที่จะไปจัดการกับปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรกับสัตว์ป่า ยิ่งนานวันทรัพยากรก็ยิ่งจำกัดลงปัญหาที่ตามมาก็จะรุนแรงขึ้น

…… ………………………………….

แต่ก็ยังพอจะชะลอสาเหตุแห่งการกระทบกระทั่งระหว่างคนกับสัตว์โดยอาศัยวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสียหายที่เกิดจากสัตว์ป่า อย่างกรณีหมีขั้วโลกเราก็จุดพลุไล่ ส่วนถังน้ำเราก็ทำให้ทนทานต่อการเหยียบการเปิดของช้างซึ่งการแก้ปัญหาทางด้านเทคนิคเหล่านี้ช่วยจำกัดความขัดแย้งระหว่างสัตว์ป่าและมนุษย์ไม่ให้ขยายวงกว้างออกไปในระยะสั้น

แต่การแก้ปัญหาที่แท้จริงในระยะยาว เราต้องเน้นสาเหตุที่เกิดจากต้นตอ นั่นก็คือเราต้องลดการปล่อยคาร์บอนทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อให้สัตว์ป่าอยู่รอดแต่รวมถึงความอยู่รอดของเราเองด้วย

เราจำต้องรักษาถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันจะมีพื้นที่และอาหารอย่างพอเพียงโดยไม่ต้องเข้ามายังเขตที่มนุษย์อาศัยอยู่ อีกทางหนึ่งสังคมก็ต้องกำหนดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอเหมาะ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินไปและก่อให้เกิดมลภาวะที่มากขึ้นตามมา

ref: 


https://hypertextbook.com/facts/2000/MuhammadKaleem.shtml

https://phys.org/news/2019-01-record-breaking-ocean-temperatures-trends-global.html?fbclid=IwAR0-2c2yAFZ-0RWO_rXYcwP64lOvqOQMwXjFAGq97Mzr5BO0UwOC1N4y3b4https://phys.org/…/2019-01-record-breaking-ocean-temperatur…

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ครับ
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM

บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here