ข้อสรุปนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยุคของแรงงานราคาถูกในจีนได้ผ่านไปแล้ว

Listen to this article

Jinghuaเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา Charles Hubbs ได้เดินทางช่วงสั้น ๆ จากออฟฟิศของเขาที่อยู่ชานเมืองกว่างโจวไปยังฮ่องกง กว่างโจวเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นฐานการผลิตของโลก

Hubbs อายุ 64 ปี มาจากรัฐ Louisiana การเดินทางครั้งนี้ได้กลายเป็นการเดินทางที่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบบนความสำเร็จที่มีมากว่า 22 ปี จากการเป็นผู้ส่งออกอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีฐานการผลิตในจีน เขาตั้งใจเดินทางมาฟัง Carol Rodley นักการฑูตชาวอเมริกันในกัมพูชาและเป็นประธานหอการค้าอเมริกันในกรุงพนมเปญ โดยจุดมุ่งหมายของ Carol ก็คือ เพื่อดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนที่มีฐานการผลิตในจีน เพื่อหันมาพิจารณาตั้งฐานการผลิตในกัมพูชา

สำหรับ Hubbs แล้ว เรื่องค่าแรงเป็นสิ่งที่ใกล้จะถึงทางตันแล้วสำหรับบริษัทของเขาที่ชื่อ Guangzhou Fortunique ซึ่งจัดหาอุปกรณ์ให้กับบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เขาบอกว่า เราได้เห็นค่าจ้างแรงงานของเราในจีนเพิ่มขึ้นสูงเกือบ 50% เฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มันยากขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะตั้งฐานการผลิตที่นี่ต่อ มันมาถึงจุดที่เราต้องหาทางเลือกอย่างจริงจัง ผมคิดว่าไม่น่าเกินสองปีนี้ผมคงต้องไป

ไม่ใช่ Hubbs เพียงคนเดียว สำหรับดินแดนที่มีแรงงานราคาถูกไม่จำกัดนั้นมีประชากรราวหนึ่งพันสามร้อยล้านคน มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างโดดเด่นตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา มาวันนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตามรายงานของ Helen Qiao หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ที่ฮ่องกง บอกว่า ค่าแรงสำหรับพนักงานโรงงานของจีนได้เพิ่มขึ้นเกือบ 12% ต่อปี

นี่เป็นผลให้เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตเป็นเลขสองหลักต่อปีในช่วง 20 ปีท่ี่ผ่านมา ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการผลิตอย่างมหาศาลและการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ รวมทั้งความต้องการสินค้าจีนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ช่วยย้ำความจริงนี้ก็คือ 5 จังหวัดของจีนที่มีขนาดอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดนั้นได้สร้างความกังวลให้กับรัฐบาลเรื่องช่องว่างระหว่างคนรวยกับจนคนที่ขยายห่างออกทุกที โดยค่าจ้างขั้นต่ำเพ่ิมขึ้นจาก 14% เป็น 21% ในช่วงปีที่ผ่านมา

Harley Seyedin ประธานหอการค้าอเมริกันในจีนตอนใต้ บอกว่า ข้อสรุปนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยุคของแรงงานราคาถูกในจีนได้ผ่านไปแล้ว

คุณลองคิดดูว่า ต่อให้เป็นจังหวัดกว่างตง ( Guangdong ) ซึ่งได้ชื่อว่ามีค่าแรงสูงที่สุดในจีนก็ยังสูงกว่าที่อื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว พวกเขาไม่สามารถให้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ชั่วโมงละ 3.1 เหรียญฯ ได้อีก ( ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยในสหรัฐฯ อยู่ที่ชั่วโมง 22.30 เหรียญฯ ) ค่าแรงทางภาคตะวันออกของจีนเพิ่มขึ้นไปถึง 50% หรือมากกว่านั้น

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบริษัทต่าง ๆ ไม่ว่าเล็ก กลาง หรือ ร่วมทุนข้ามชาตินั้น การตัดสินใจว่าจะผลิตสินค้าที่ไหนมักมาจากปัจจัยหลายประการ เรื่องค่าจ้างไม่ใช่เหตุผลเดียว แต่แรงกระเพื่อมนี้ได้ส่งผลกระจายไปทั่วโลก เริ่มต้นจากตัวของจีนเอง แรงกดดันจากค่าจ้างที่สูงขึ้นมาหลายปี ทำให้ปีที่แล้วแรงงานได้ก่อการประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ความไม่พอใจยังแสดงออกด้วยการที่คนงานโรงงาน Foxconn ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ อย่างเช่น iPad ฆ่าตัวตายไปแล้ว 14 คน

ขณะเดียวกันค่าจ้างที่สูงขึ้นได้ปรับปรุงหลายสิ่งทางตะวันตกของจีน ซึ่งรัฐบาลจีนได้ใช้ความพยายามมานานในการกระตุ้นการลงทุน ในปีที่ผ่านมาหลายประเทศรวมทั้งบริษัทสัญชาติจีนเองได้ขยายโรงงานหรือย้ายสำนักงานมาตั้งที่นี่ซึ่งมีค่าแรงต่ำ

Yiwu ยามค่ำคืน

ในมุมของจีนเองมองว่า นี่เป็นการแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่ง ดังที่ Andy Rothman ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์มหภาคของจีน จากบริษัทหลักทรัพย์ CLSA ที่เซี่ยงไฮ้บอกว่า คนในเสฉวนหรือไหหนานหรือที่ไหนก็ตาม สามารถอยู่ใกล้บ้านมากขึ้นและได้รับค่าจ้างที่ดี แทนที่จะไปเจอน้ำท่วมทางภาคตะวันออกในแต่ละปีรวมทั้งต้องอาศัยอยู่ในหอพักของบริษัทที่ไกลจากครอบครัวแล้วสิ่งนี้มันไม่ดีตรงไหน?”

การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐศาสตร์ของสินค้าที่ผลิตในจีนจะก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งประเทศที่รวยและยากจนในโลก ประเทศเช่น กัมพูชา ลาว อินเดีย และเวียดนาม ที่กำลังเปิดรับการผลิตที่ต้องการค่าแรงถูกสุดซึ่งย้ายฐานการผลิตมาจากจีน และจากการวิจัยล่าสุดโดย Boston Consulting Group ( BCG ) ที่บอกว่า เพ่ิงจะมีหลักฐานการเริ่มต้นย้ายฐานการผลิตกลับไปยังสหรัฐฯ เมื่อปลายปีที่แล้ว เช่น บริษัท Wham-O ซึ่งทำเกี่ยวกับของเด็กเล่นได้ประกาศย้ายสายการผลิต Frisbee และ Hula Hoop จำนวน 50% กลับไปยังสหรัฐฯ จากที่เคยผลิตในจีนและเม็กซิโก ซึ่งช่วยสร้างงานหลายร้อยตำแหน่งให้กับชาวอเมริกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตของเด็กเล่นตลอดจนรองเท้าและส่ิงทอ เคยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่มุ่งหน้าสู่จีนเพื่อหาฐานการผลิตต้นทุนต่ำ อุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีต่ำจำเป็นต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก ตามรายงานของ BCG ในปี 2000 ค่าจ้างเฉลี่ยในจีนคิดเป็น 36% ของค่าจ้างในสหรัฐฯ ต่อมาในปลายปี 2010 ช่องว่างลดลงมาเหลือเพียง 48% และ BCG ได้ประเมินว่าในปี 2015 ช่องว่างจะยิ่งหดลงมาอีกเหลือเพียง 69% ซึ่งอาจไม่ได้หมายความว่าจำเป็นต้องปิดฐานการผลิตในจีนแต่มันเกี่ยวกับว่า เราจะไปตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่ไหนกัน !

บางทีผลสำคัญที่สุดของการขึ้นค่าแรงในจีนก็คือพวกเขาจะสามารถเพิ่มเงินในกระเป๋าของคนจีนได้อย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของทุกคน สิ่งที่คู่ค้าหลักของกรุงปักกิ่งเน้นมากที่สุดก็คือใครจะเป็นคนกระตุ้นให้จีนเพิ่มการบริโภคภายในประเทศเพื่อที่จะลดความขาดสมดุลอย่างรุนแรงในการค้าโลก เมื่อค่าแรงเพิ่มสูงขึ้นอาจมีผลกระทบต่อผู้ส่งออกอย่างเช่น Charles Hubbs และบริษัทที่เป็นของคนจีนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลที่ไม่อาจเลี่ยงได้จากการที่จีนกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่งขึ้นและจากการแข็งค่าของเงินหยวน

ในขณะเดียวกัน บริษัทร่วมทุนข้ามชาติต่าง ๆ ได้เริ่มวางแผนการจัดการการผลิตในจีนกับตลาดในประเทศแทน โรงงานของ HP ซึ่งตั้งอยู่ที่ฉงชิ่งนั้นผลิตคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คส์เท่านั้นสำหรับตลาดในประเทศ ในการสำรวจเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา หอการค้าอเมริกันในจีนตอนใต้พบว่าสมาชิกราว 75% เน้นไปที่ตลาดส่งออก แต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาตัวเลขกลับตรงกันข้าม โดย 75% ของสมาชิกราว 1,800 คน ได้เน้นไปที่ตลาดจีนแทน นั่นเป็นเพราะว่ากลุ่มคนทำงานในจีนเริ่มมีฐานะดีขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก : Time.com

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้