ค้าขายระหว่างประเทศ ยากไหม ?

Listen to this article

ใกล้ปีใหม่แล้ว สามเดือนนับจากนี้ ทุกคนต่างคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมา การรับมือกับการระบาดของโควิด 19 น่าจะดีขึ้น

แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแทบจะทันที การค้าขายออนไลน์ได้เข้ามามีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้คน

และถ้ามองไปถึงกลุ่มลูกค้า แน่นอนว่าหากเรายังเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่มหรือลูกค้าในประเทศเท่านั้น หากในภายภาคหน้ามีปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มลูกค้าเดิมของเรา เราก็อาจจะลำบากไม่ต่างจากตอนเจอโควิดระบาดใหม่ ๆ

ทางออกที่ดีคือ พยายามมองภาพกว้างออกไป ขายอะไรก็ขายมันทั้งโลกไปเลย หากตรงนี้มีปัญหา อย่างน้อยก็ยังมีตรงนู้นเข้ามาทดแทนได้ ยังมีรายได้ประคองธุรกิจให้ไปต่อ

การขายสินค้าไปทั่วโลกนั้นหลายคนมองว่านี่เป็นโอกาสขณะเดียวกันกับที่บางคนมองว่ามันเหมือนจะดีแต่มีอุปสรรค

…….

Photo by rupixen.com on Unsplash

ลองดูตัวอย่างการค้าในยุโรป

31 มกราคม 2020 สหราชอาณาจักรได้ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ที่เรารู้จักกันว่า เบร็กซิท Brexit

สมมติเราเป็นผู้ค้าที่มีที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ ตลาดยุโรปที่ครั้งหนึ่งตราสินค้าต่าง ๆ รวมถึงผู้ค้าปลีกในกลุ่มนี้เคยค้าขายระหว่างกันได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก แต่หลังจากที่อังกฤษได้ออกจากกลุ่มบวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 สิ่งที่เราจะต้องพบเจอต่อจากนี้ก็คือ ความยุ่งยากซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นจากภาษีนำเข้าของแต่ละประเทศ พิกัดอัตราภาษีศุลกากรที่ต้องระบุให้จำเพาะเจาะจงมากขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นแล้วหากแจ้งพิกัดคร่าว ๆ ก็อาจเจอคิดภาษีในอัตราที่สูงที่สุดที่พิกัดนั้น ๆ ระบุไว้

ต้นทุนทางธุรกิจก็สูงขึ้นเนื่องจากการระบาดของโควิด ทำให้ผู้คนประหยัดมากขึ้น เปรียบเทียบราคารวมทั้งความสับสนเรื่องภาษี ว่านอกจากสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวแล้ว ยังต้องเสียภาษีนำเข้าอีกเท่าไหร่ แล้วยังต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมนอกจากนี้อีกหรือไม่ ถ้าสินค้าเสียหายจะส่งกลับไปซ่อมหรือเปลี่ยนต้องเสียภาษีส่งออก นำเข้า อีกขาหนึ่งด้วยหรือไม่ ?

ทุกอย่างกรูกันเข้ามาพร้อมกันกับการที่ผู้ค้าปลีกต้องต่อสู้เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดจากยอดขายออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงภาวะที่มีการระบาดของโควิด 19

…………

พอเห็นว่ามีอะไรเยอะแยะต้องทำความเข้าใจ ก็ถอดใจไม่ขยายแล้วตลาดต่างประเทศ รุงรัง ได้ไม่คุ้มเสีย

แต่พอเราไม่ขยายตลาด ผู้ค้าในต่างประเทศก็ขยายเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดในบ้านเราแทน !!

…………

ผู้ขายสินค้าบางคนก็มองว่า เรื่องภาษีหรือว่ากฏเกณฑ์ปลีกย่อยของแต่ละประเทศนั้น ก็ให้เป็นเรื่องของผู้ซื้อไป เราไม่ต้องไปกังวลแทนหรือรับผิดชอบแทน

แต่จากการศึกษาพบว่า การที่เราเพิกเฉยเพราะมองว่าเป็นเรื่องของทางลูกค้าต้องไปจัดการเองนั้น จะส่งผลให้เกิดการบั่นทอนความเชื่อมั่นของลูกค้ารวมทั้งลดความอยากจะซื้อของกับเราด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือ ไปหาซื้อสินค้าจากผู้ขายรายอื่นแทน ใคร ๆ ก็ต้องการ one stop shopping

ลูกค้าล้วนต้องการซื้อสินค้าในราคาเบ็ดเสร็จมากกว่าจะมาจ่ายยิบหย่อยหลายครั้ง ถ้าลูกค้าซื้อกับเราแล้วมีความสุข พึงพอใจ เขียนรีวิวต่อร้านดี ๆ ภาพรวมก็คือ ผู้ขายก็จะได้สิ่งดี ๆ สะท้อนกลับเข้ามานั่นเอง ทั้งเงินและลูกค้ากลุ่มใหม่

ก่อนที่จะมี Brexit การจัดส่งสินค้าข้ามพรมแดนเข้าไปในยุโรปหมายถึงผู้ขายสินค้าในอังกฤษสามารถขายได้หลายตลาดภายใต้กฏหมายเดียว

แต่หลังจากออกมาแล้ว ย่อมมีการปกป้องทางการค้าของกลุ่ม EU นั่นหมายความว่าต้องมีอุปสรรคทางด้านภาษีต่าง ๆ ใบอนุญาติ เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อย่างเช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มและศุลกากร จากที่เคยชัดเจนและตรงไปตรงมาสำหรับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็พึงพอใจ เข้าใจตรงกัน

แต่พอจบ Brexit ที่มีการเอาการปกป้องทางการค้าและมีความซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดส่ง เพิ่มต้นทุนธุรกิจและทำให้ผู้ซื้อไม่พึงพอใจ ซึ่งอาจทำให้ผู้ขายบางรายถอดใจไม่ขายสินค้าออกไปในตลาดต่างประเทศ เพราะรู้สึกว่ามันเหนื่อย ยาก รุงรัง ไม่จบไม่สิ้นสักที

………

ความท้าทายที่ผู้ค้าปลีกต้องเผชิญคืออะไร ?

หลัก ๆ เลยคือเรื่องภาษีนำเข้า

การปฏิบัติเกี่ยวกับ HS codes เป็นตัวอย่างที่ผู้ซื้อต้องจ่ายในส่วนของภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ค้าปลีกอาจจะอ้างอิงจาก HS codes เพียงคร่าว ๆ แต่ตอนนี้ต้องระบุพิกัดให้ชัดเจนลงไป ไม่เช่นนั้นแล้วสินค้าดังกล่าวอาจจะถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงที่สุดของหมวดพิกัดนั้น ๆ ได้

มุมมองต่อผลกระทบที่มีต่อประสบการณ์ของลูกค้า

จากผลการสำรวจ กลุ่มสำรวจจำนวน 1,000 คน พบว่ามีจำนวนถึง 92% ที่เคยสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ต้องการทราบราคาเบ็ดเสร็จทั้งหมด รวมค่าส่ง ภาษีและอัตราแลกเปลี่ยนเรียบร้อยหมดแล้ว

ซึ่งในกลุ่มนี้ 77% มองว่าราคาเบ็ดเสร็จนี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และ 93% พวกเขาต้องการให้ภาษีต่าง ๆ รวมอยู่ในราคาหมดแล้วตอนที่จะชำระเงินมากกว่าที่จะมาชำระทีหลังแยกเป็นส่วน  ๆ

ดังนั้นหากเราจะมัดใจลูกค้าเพื่อทำให้การค้าระหว่างประเทศเป็นเรื่องง่ายเพียงปลายนิ้ว เราอาจต้องทำโครงข่ายเชื่อมโยงทุกอย่างให้เป็น one stop shopping และเป็นราคาสุดท้าย ท้ายสุด ไม่ต้องให้ลูกค้าต้องมาคอยลุ้นว่าต้องจ่ายอะไรเพิ่มไหม

หรืออย่างล่าสุดเรื่องของไม้ด่างที่เป็นที่นิยม ใครมีก็ทำเงินบนกระแสนิยมได้เลย แทนที่จะปลูกเอง นำเข้ามาเลยได้ไหม ก่อนจะนำเข้าต้นไม้ได้ อย่างน้อยเลย ต้องมี Phytosanitary certificate ปลอดโรคพืชไหม ซึ่งนอกจากจะขายสินค้า หาสินค้าต้นทุนถูกแล้ว คนที่เขาขายสินค้าให้เรา เขาสะดวกไปทำเอกสารพวกนี้ไหม คุ้มกับค่าเสียเวลาเขาไหม ค้าขายกันที่สเกลเท่าไหร่

เอกสารประกอบหลายอย่างไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ถ้าทำได้ หรือพยายามลดตัวแปรให้เหลือน้อยที่สุดได้ เราก็มีโอกาสได้ลูกค้าเพิ่มหรือสามารถรักษาลูกค้าเดิมให้อยูกับเราไปอีกนาน

แล้วถ้าหากเรื่องราวเหล่านี้ วนกลับมาที่ประชาคมอาเซียน ผลลัพธ์ที่ได้ก็คงไม่ต่างกัน เพราะในที่สุดเราก็ต้องเจอการตั้งกำแพงภาษี การออกใบรับรองต่าง ๆ เพื่อปกป้องผู้ผลิตหรือเกษตรกรในประเทศของตน ทำอย่างไรให้มัดรวมกันมาแล้วจบที่เรา ปล่อยให้ลูกค้าสบาย ๆ ง่าย ๆ รอรับของอยู่ที่บ้าน เหมือนที่ Herothailand.com ทำ

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

ฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊ค 1TB SSD M.2

1TB SSD (เอสเอสดี) HIKVISION E3000 M.2 PCI-e Gen 3 x 4 NVMe ประกัน 5 ปี