ต้องการ ISBN ไปทำไม

Listen to this article

ช่วงที่โควิดยังระบาดอยู่นี้ หากเราอยากเขียนหนังสือขายหรือเคยคิดฝันเอาไว้ว่าวันใดจังหวะลงตัวจะเขียนหนังสือขายเพราะเป็นความใฝ่ฝันที่อยากทำมานาน ไหน ๆ จะขายทั้งทีก็ขายมันทั้งโลก ไม่ใช่แค่ในประเทศ อะไรแบบนี้

พอคิดแบบนี้ สิ่งที่เราจะลืมไปไม่ได้ก็คือเรื่องของ ISBN อย่างเช่นเวลาเราไปซื้อหนังสือ ที่ร้านหนังสือก็มักจะติดป้ายราคาเหนือตำแหน่ง ISBN ที่เป็นบาร์โค๊ดอยู่ด้านหลังหนังสือมุมขวาล่าง

หรือเวลาไปค้นหาหนังสือในห้องสมุด กว่าจะเอาชื่อเรื่องพิมพ์ลงไป เคาะ เว้นวรรค กรอกชื่อผู้แต่ง สู้เราจดเอาตัวเลข ISBN 13 หลัก กรอกลงไปทีเดียวจบ 

www.isbn-international.org
Photo by Green Chameleon on Unsplash

แล้ว ISBN คืออะไร ? (เผื่อใครยังไม่รู้)

ISBN ซื่อเต็ม ๆ ก็คือ International Standard Book Numbers ที่เป็นเหมือนกับตัวเลขบัตรประชาชนของหนังสือนั่นแหละ แต่ละเล่มจะไม่ซ้ำกัน หรืออย่างหนังสือชื่อเดียวกันแต่มีสองรูปแบบ คือมีทั้งแบบตัวเล่มแล้วก็แบบ eBook ตัวเลข ISBN ของทั้งสองแบบก็จะไม่เหมือนกันด้วย 

นอกจากนี้แล้ว หากหนังสือเล่มเดิมถูกนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ตีพิมพ์ออกมาเป็น edition ใหม่ ก็จะมีหมายเลข ISBN ใหม่ด้วยเช่นกัน

หมายเลข ISBN ในปัจจุบันจะมีตัวเลขทั้งหมด 13 ตัว เรามักจะเห็นตัวเลขดังกล่าวควบคู่ไปกับแถบบาร์โคด

ตัวเลข ISBN บอกอะไรเรา 

ตัวเลข ISBN ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ขายหนังสือ บรรณารักษ์ สำนักพิมพ์ เพราะเป็นตัวสรุปข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น ๆ  ไม่ว่าจะเป็น หนังสือชื่ออะไร ใครเป็นคนแต่ง ราคาเท่าไหร่ 

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ยอดขายหนังสือเล่มดังกล่าว เหลือหนังสือเล่มนั้นในสต็อกเท่าไหร่ ควรจะสั่งหนังสือมาเติมเพิ่มหรือยัง เล่มนี้ขายดี เล่มนี้ขายไม่ออก ก็จะได้มีข้อมูลตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อไปกับหนังสือนั้น ๆ 

……………..

Photo by Thom Milkovic on Unsplash

ถ้าเราจะเขียนหนังสือขาย เราจำเป็นต้องมีหมายเลข ISBN ให้หนังสือของเราไหม ?

ตอบได้ว่า หนังสือทุกเล่มที่จะถูกนำมาขายในร้านหนังสือไม่ว่าจะเป็นร้านทั่วไปหรือร้านออนไลน์จำเป็นต้องมี ISBN แต่ถ้าจะทำหนังสือแบบให้อ่านกันเองในหมู่เครือญาติหรือเป็นหนังสือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ถ้าแบบนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมี ISBN

แต่ส่วนใหญ่เราก็เขียนหนังสือมาเพื่อขายกันทั้งนั้น ดังนั้นหนังสือส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องมี ISBN

ไม่มีก็ขายไม่ได้

……………………

เมื่อเราตัดสินใจที่จะเขียนหนังสือขาย เราก็ต้องทำให้คนอื่นๆ ค้นหาหนังสือของเราเจอ

หนังสือทุกเล่มที่มีหมายเลข ISBN กำกับจะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลหนังสือตัวเล่ม ซึ่งร้านหนังสือและห้องสมุดจะนำฐานข้อมูลดังกล่าวนี้ไปใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาหนังสือได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถแยกแยะหนังสือได้เฉพาะเจาะจง ว่าเป็นเล่มไหน ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่เท่าไหร ง่ายกว่าการค้นหาด้วยชื่อหนังสือ เช่น ถ้าเราจะค้นหาหนังสือชื่อ Bananas มีหนังสือชื่อเดียวกันนี้เป็นร้อย ๆ เล่ม แต่ถ้าเราค้นหาด้วยหมายเลข ISBN มันจะมีแค่เพียง 1-2 เล่มที่ปรากฏผลจากการค้นหา 

แถมในปัจจุบันนี้ ไม่ได้มีแค่ร้านหนังสือกับห้องสมุดแล้วที่อ้างอิงถึง ISBN ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เวลาโพสต์ถึงหนังสือก็มักจะมีหมายเลข ISBN กำกับ อย่างบางทีเราค้นหาหนังสือต่างประเทศภาษาจีนแต่เราพิมพ์ภาษาจีนไม่ได้ เราก็อาศัยดูจาก ISBN ของหนังสือไปค้นเอา ว่ามีขายที่ไหนบ้าง

อีกเหตุผลหนึ่งที่เราจำเป็นต้องมี ISBN ให้กับหนังสือของเราก็เพราะว่า เราจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตีพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าว

สมมติว่าถ้าเราเอาหนังสือของเราไปฝากขายกับเว็บไซต์อย่าง Amazon หรือ Lulu  บริษัทเหล่านี้เขาก็จะแจกหมายเลข ISBN ให้เราฟรี ซึ่งถ้าเรามีงบประมาณจำกัด มันก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่เวลาหนังสือของเราเข้าไปในฐานข้อมูล ในส่วนของสำนักพิมพ์ก็จะเป็นชื่อ Amazon แทน

แต่ถ้าเราต้องการจะให้เป็นของเราเองทั้งหมด เราก็ถอนหนังสือเราออกจาก Amazon แล้วเอาไปขายที่อื่นแทนก็ทำได้  แต่เราก็จะต้องไปหาเลข ISBN ใหม่ ซึ่งอาจทำให้คนที่จะซื้อไปอ่านเกิดความสับสนได้ว่าหนังสือของเรามันต่างกันยังไง

คือถ้าเราเขียนหนังสือสักเล่ม กว่าจะสำเร็จก็ใช้เวลาและความพยายามอย่างหนัก ดังนั้นเมื่อออกมาเป็นรูปเล่ม เราก็คงอยากที่จะให้ตัวเราเองเป็นผู้พิมพ์หรือสำนักพิมพ์ชื่อของเราเองมากกว่าจะเป็นชื่อของคนอื่น บริษัทอื่น

………..

ถ้าอย่างนั้นแล้ว การจะมี ISBN ให้กับหนังสือตัวเอง แพงไหม ?

สมมติเราอยู่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ก็จะมีบริษัทที่รับจด

การจด ISBN ก็ไม่ได้แพงเกินไป เช่น ถ้าเราจดแค่หมายเลขเดียว ราคาประมาณ 4,000 บาท แต่ถ้าเราจะจดมากกว่านั้นก็จะได้ราคาที่ถูกลง เช่น จดทีละ 10 หมายเลขเลย ก็จะประมาณ 10,000 บาท หารต่อเล่มก็ตกเล่มละ 1,000 บาท ถูกลงอย่างเห็นได้ชัด

ทำไมต้องการ ISBN มากกว่าหนึ่งหมายเลขล่ะ 

ก็เพราะหนังสือที่เราเขียน ถ้าเราทำเป็นปกแข็ง ก็หนึ่งหมายเลขแล้ว ทำเป็นปกอ่อน ก็ต้องใช้อีกหนึ่งหมายเลข แล้วหากทำเพิ่มออกมาเป็น eBook อีกก็ต้องใช้อีกหนึ่งหมายเลข

นักเขียนบางคนที่เขียนเป็นอาชีพถึงกับซื้อ ISBN ไว้คราวละเป็นร้อยหมายเลขเลยทีเดียว เพราะ ISBN พวกนี้ไม่มีวันหมดอายุ

…….

สำหรับในประเทศไทย ทำเรื่องขอหมายเลข ISBN สามารถติดด่อได้ที่ 

กลุ่มงานบริการพิเศษ ISSN ISBN จดแจ้งการพิมพ์

กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ

สำนักหอสมุดแห่งชาติ

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้