ทำไม ebook streaming ถึงยังไม่บูม

Listen to this article

ทุกวันนี้เราคงคุ้นชินกับการเสียค่ารายเดือนเพื่อดูหนัง ฟังเพลง อย่างไม่จำกัด ผ่านอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือว่าคอมพิวเตอร์ ได้ทุกที่ ทุกเวลา หากไม่มีอินเตอร์เน็ตก็สามารถดาวน์โหลดแล้วเอาไปฟัง เอาไปดูแบบออฟไลน์ในภายหลังยังได้

นี่คือบริการบอกรับสมาชิกที่เห็นได้ชัดเจนในชีวิตประจำวัน…

แต่สำหรับหนังสือ วิธีการแบบนี้กับ ebook ดูเหมือนว่ามันยังไปไม่ถึงไหนสักที ทั้งที่ก็เป็นเนื้อหาที่ได้รับความนิยมไม่ต่างจากดูหนัง ฟังเพลง แต่คงจะมาในลำดับรองลงมาหรืออย่างไร ?

ในปี 2007  Netflix ได้เริ่มผันตัวเองมาเป็นผู้ให้บริการ streaming กับกลุ่มลูกค้าร้านเช่า DVD ของตน คือเปลี่ยนรูปแบบจากจัดส่ง DVD ไปให้ลูกค้าผ่านไปรษณีย์หันมาทำเป็น steaming ทำให้ฐานลูกค้ากระจายออกไปกว่า 190 ประเทศทั่วโลกซึ่งว่ากันว่าเฉพาะแบนด์วิธที่ Netflix  ใช้นั้นคิดเป็น 15% ของแบนด์วิธอินเตอร์เน็ตทั้งโลก

…….

ในขณะที่ ebook มีวิวัฒนาการมาก่อนหน้านั้นเกือบสิบปี แต่ยังไม่มีการให้บริการเช่า ebook จนกระทั่งปี 2012 ที่เริ่มมีบริษัท Oyster และเว็บไซต์อย่าง scribd ให้บริการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าถึง ebook ต่าง ๆ ตามมาด้วยการที่ Amazon เปิดตัวการบอกรับสมาชิก Kindle Unlimited

แต่อย่างไรก็ดี จำนวนผู้สมัครสมาชิกก็ไม่ได้เยอะแบบถล่มทลาย อย่าง Scribd มีผู้สมัครสมาชิกราว 1 ล้านราย ในขณะที่ตัวเลขของทาง Amazon น่าจะอยู่ที่ราว  ๆ สามล้านราย ซึ่งเทียบกันไม่ได้กับจำนวนสมาชิกของ Netflix หรือ Spotify ที่มีอยู่หลักร้อยล้านราย

ในที่สุด Oyster ก็ปิดตัวลงในปี 2016  การปิดตัวลงของ Oyster นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ Google ได้เข้าไปซื้อกิจการในเดือนกันยายนปี 2015 และผู้ก่อตั้งจะต้องย้ายไปบริหาร Google play books แทน

………………………….

ebook streaming

เหตุผลว่าทำไมรูปแบบธุรกิจให้สมัครสมาชิกเพื่ออ่าน ebook ได้ไม่จำกัดถึงไม่เวิร์ค

อย่างแรกก็คงเป็นเพราะสำนักพิมพ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ 5 แห่ง ได้แก่ HarperCollins, Penguin Random House, Hachette, Simon & Schuster, Macmillan ที่มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันถึง 60% นั้นไม่ได้สนใจทำ ebook อย่างจริงจัง

หมายความว่าอย่างไร ?

ยกตัวอย่างเทียบกับอุตสาหกรรมเพลง ที่ Apple หรือ spotify มีรายการเพลงให้เลือกฟังราว  ๆ 40-50 ล้านเพลง ซึ่งหากเทียบกับจำนวนหนังสือที่มีขายใน Amazon ก็น่าจะไม่ต่างกันมาก แต่ในกรณีของเพลงนั้น ค่ายเพลงได้ให้ลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายกับ Apple หรือ Spotify อย่างเต็มที่ ต่างจากสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ที่ยังมีการจำกัดจำนวนครั้งที่เข้าอ่านหรือระยะเวลาในการอ่านรวมถึงหรือหนังสือส่วนใหญ่ก็ไม่มีรูปแบบของ ebook  

รวมทั้งเล่มที่มี ebook ก็จะเป็นหนังสือที่วางจำหน่ายมานานแล้วหรือไม่มีตีพิมพ์ใหม่แล้วเป็นต้น ส่วนหนังสือใหม่ก็จะทำเป็น ebook ออกมาช้ากว่าตัวเล่ม เพื่อให้สามารถทำเงินได้ทั้งตัวเล่มและ ebook

………………

คำถามก็คือ ทั้ง ๆ ที่เราก็เข้าสู่สังคมดิจิตอลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แถมยังสะดวกสบายกว่าแต่ก่อน ทำไม ถึงไม่เร่งทำ ebook ให้เยอะขึ้น ?

คำตอบก็คือ สำนักพิมพ์ถือสิทธิในการผลิตหนังสือในรูปแบบตัวเล่มเท่านั้นหรืออาจจะมีตัวเล่มและทำเป็น ebook ได้ด้วยไม่กี่หัวเรื่อง ซึ่งลิขสิทธิที่นอกเหนือจากการผลิตตัวเล่มนั้นเป็นของนักเขียน  ต่างจากอุตสาหกรรมเพลง ที่ค่ายเพลงที่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิเพลงด้วยในตัวและง่ายต่อการมอบลิขสิทธิให้ผู้ผลิตคนอื่นที่มีไอเดียว่าจะนำเพลงไปทำรูปแบบอื่นใดหรือให้บริการอื่นใดต่อ

ทีนี้หากจะทำรูปแบบธุรกิจให้สมัครสมาชิกเพื่ออ่าน ebook  ก็ต้องบีบให้คนต้องสมัครสมาชิก จ่ายค่าบริการก่อน เหมือนจ่ายเพื่ออ่าน ebook เล่มนั้น ๆ เลย แล้วถ้าหากขายเป็นแบบไม่จำกัดจำนวนเล่ม อ่านได้เยอะแยะ ก็ต้องมาชั่งน้ำหนักว่า รายได้จากการทำแบบนี้มันคุ้มกับเม็ดเงินจากการขายหนังสือตัวเล่มที่หายไปได้หรือไม่ ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องเป็นหนังสือเก่า หากต้องการอ่านหนังสือที่เพิ่งออกมาใหม่ ก็ต้องจ่ายเพิ่มอะไรแบบนี้

ดังนั้นข้อจำกัดที่ต้องเจอก็คือ ทำอย่างไรที่จะให้กลุ่มผู้ใช้บริการสมัครสมาชิกเพื่ออ่าน ebook เติบโตขึ้นจนถึงจุดที่ทำกำไรให้อยู่ได้

ยกตัวอย่าง ปัญหางูกินหาง Amazon พยายามจะขายหนังสือตัวเล่มควบคู่ไปกับ ebook โดยการทำ ecosystem ไว้รองรับอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน ebook ผ่านอุปกรณ์อย่าง kindle อ่านผ่านเว็บเบราเซอร์ หรืออ่านผ่าน application ได้ทุกระบบ แต่ในขณะเดียวกัน สำนักพิมพ์ต่างก็เห็นพ้องว่า ไม่อยากจะนำเอาธุรกิจของตนไปแขวนไว้บน Amazon พึ่งพา Amazon มากเกินไป แล้วก็ไม่อยากจะเอา ebook ของตนไปวางขายไว้กับเว็บไซต์หรือผู้ให้บริการโนเนมเช่นกัน

แต่ถ้าสำนักพิมพ์หันมาทำ ebook ขายเอง ก็เกรงว่าลำพังสำนักพิมพ์ของตนจะมีจำนวนหนังสือไม่มากพอที่จะจูงใจให้คนเสียเงินสมัครสมาชิกเข้ามาอ่าน ถึงขนาดที่สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดเหล่านี้ร่วมมือกันทำเว็บไซต์ขายปลีกหนังสือและ ebook อย่าง  Bookish เพื่อมาคานอำนาจกับ Amazon แต่ก็ล้มเหลวไปในที่สุดรวมทั้งความกังวลที่หากสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่เหล่านี้ร่วมมือกันทำอะไรสักอย่างก็เสี่ยงต่อการละเมิดกฏหมายต่อต้านการผูกขาดอีกทางหนึ่งด้วย

ดังนั้นปัญหาคอขวดที่ถ้าหากแก้ได้เมื่อไหร่แล้วจะทำให้ตลาด ebook ขยายออกไปได้กว้างมาก คือสัญญาข้อตกลงกับนักเขียน

ที่เห็นนำร่องไปก่อนคือ Cengage Learning ที่ให้บริการหนังสือเรียนแบบสมัครสมาชิก ให้เข้าอ่านได้ตามระยะเวลาที่เลือกชำระค่าสมาชิก แต่ cengage ได้เปิดให้บริการโดยที่ยังไม่ได้ตกลงกันกับนักเขียนเรียบร้อยดี ก็ทำให้เกิดปัญหาฟ้องร้องกันตามมา บริการของ Cengage ได้รับความนิยมในหมู่นักเรียนนักศึกษาเพิ่มขึ้นแต่ขณะเดียวกันก็ต้องเคลียร์ปัญหาและมีค่าใช้จ่ายจากคดีความตามมาอีกเช่นกัน

Amazon เองก็ตั้งสำนักพิมพ์ของตนเองขึ้นมาเช่นกัน อย่างน้อยก็เพื่อให้สามารถทำ ebook ออกมาได้มากขึ้น ครองส่วนแบ่งการตลาดไว้ให้ได้มากที่สุด ลดปัญหาจุกจิก ขณะเดียวกันก็มีสำนักพิมพ์อิสระ หรือสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก รวมทั้งที่เขียนเองตีพิมพ์เองเกิดขึ้นอีกมากมาย ออกหนังสือได้เร็วกว่าสำนักพิมพ์ใหญ่ ส่งสัญญาณให้เห็นว่า ส่วนแบ่งการตลาดมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กระจายออกไปยังผู้เล่นต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้เล่นหน้าใหม่มากยิ่งขึ้น

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

ฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊ค 1TB SSD M.2

1TB SSD (เอสเอสดี) HIKVISION E3000 M.2 PCI-e Gen 3 x 4 NVMe ประกัน 5 ปี