ทุนนิยมสอดแนม

Listen to this article

ในช่วงหลายปีให้หลังมานี้ ซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่างๆ มักจะถูกทางการของสหรัฐฯ เรียกเข้าไปให้ถ้อยคำ สัมภาษณ์ สอบถาม หรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อให้พวกเขายืนยันว่าแพลทฟอร์มของพวกเขานั้นมีความปลอดภัยอย่างเพียงพอและไม่ได้มีการส่งข้อมูลไปให้แก่บุคคลที่สาม

ก่อนหน้าที่บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมาตั้งออฟฟิศกันที่ซิลิคอนแวลลีย์ หรือที่อื่นใดในโลกก็ตาม ในช่วงแรกที่ดินแถบนั้น ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ก็จะอยู่ในระดับต่ำ เมื่อมีบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่มาตั้งออฟฟิศ ก็จะมีพนักงานเดิมย้ายตามมารวมถึงการจ้างงานใหม่ ทำให้มีผู้คนหลั่งไหลกันเข้ามา ซึ่งก็เป็นไปตามหลักดีมานด์ซัพพลาย ราคาค่าเช่าบ้าน อพาร์ทเม้นท์ ราคาบ้านก็จะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย แต่เมื่อมีหลายบริษัทพากันเข้ามาตั้งสำนักงาน ก็จะยิ่งมีผู้คนมากมายหลั่งไหลกันเข้ามาที่นี่ ทำให้ราคาค่าเช่าและซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องดีมานด์และซัพพลายที่เป็นไปตามกลไกตลาดคือคนเยอะขึ้นแต่ที่อยู่อาศัยมีจำกัดแล้ว เรายังมองเห็นตัวขับเคลื่อนอีกอย่างก็คือผลตอบแทนที่พวกเขาได้รับอย่างเช่นเงินเดือน

High rents force some in Silicon Valley to live in vehicles

คนที่มีเงินเดือนสูงกว่าก็มักจะจ่ายได้มากกว่า สามารถแข่งราคาในการเช่า ซื้อ อสังหาริมทรัพย์ในราคาที่สูงกว่า และส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ทำงานในสายงานเทคโนโลยีก็มักจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าคนทั่วไป นั่นก็หมายความว่า คนทั่วไปต้องทะยอยพากันย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากไม่สามารถสู้ค่าเช่าได้

ซึ่งการที่บุคคลในสายงานเทคโนโลยีได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยค่อนข้างสูงนั้น ก็เพราะบริษัทของพวกเขาสามารถจ่ายให้ได้ แล้วการที่บริษัทจ่ายให้ได้ ก็ต้องดูว่าบริษัทมีรายได้มาจากตรงไหน

….. …….

Big Tech’s Antitrust Hearing: The most important questions

บริษัทเทคโนโลยีบนโลกใบนี้มีหลายร้อยหลายพันบริษัท แต่ที่มีอิทธิพลต่อคนทั้งโลกนั้นมีเพียงหยิบมือ ดังนั้นจึงมักมีการตั้งคำถามกันอยู่เสมอว่า Facebook Google Amazon รวมถึง Apple ได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของโลกนี้ไปอย่างไรบ้าง ?

Apple ก่อตั้งขึ้นในปี 1976 เริ่มต้นด้วยเงินทุน 1,300 เหรียญฯ ในปี 2022 Apple กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก มีมูลค่าบริษัทอยู่ราว ๆ 3 ล้านล้านเหรียญฯ กำไรส่วนใหญ่ของ Apple มาจาก app store ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มขายแอพพลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการ iOS

Buy The Chaos Machine: The Inside Story of How Social Media Rewired Our Minds from eBay

มียอดขาย iPhone ทั่วโลกรวมกันเกือบ ๆ 2 พันล้านเครื่อง ดังนั้นการที่แอพพลิเคชันจะได้รับความนิยมนั้นก็จำเป็นต้องมีแอพพลิเคชันดังกล่าวให้ดาวน์โหลดอยู่ใน app store ซึ่งทาง Apple จะมีส่วนแบ่งรายได้ในส่วนของ app store 15-30% ยิ่งแอพพลิเคชันได้รับความนิยมมากเท่าไหร่ ทั้งผู้พัฒนาแอพพลิเคชันและ Apple ก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

แล้วหากในอนาคต Apple จะเก็บส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเป็น 40% จะเป็นอย่างไร ? รับได้ไหม รับไม่ได้ก็ไปขายแพลทฟอร์มอื่นแทนได้หรือไม่ ? เหมือนเราไปเช่าพื้นที่ หากในอนาคตเจ้าของพื้นที่จะขึ้นค่าเช่า แล้วเราคิดว่ามันสูงไป เราก็ต้องเลือกว่าจะขึ้นราคาสินค้าผลักภาระค่าเช่าเข้าไปหรือเลือกที่จะย้ายออกไปหาทำเลอื่น

ในทางกลับกัน Apple อาจลดค่าคอมมิชชันเหลือ 15% จะได้หรือไม่ ? ถ้าลดได้ รายได้ของ Apple จะหายไปเท่าไหร่ แล้วจะทำไปเพื่ออะไร ?

หลายคนมองว่า นี่คือสิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการค้าผูกขาด อย่างที่ในปี 2019 ทาง Spotify ได้ยื่นฟ้อง Apple ในยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้ทำการสืบสวนในกรณีดังกล่าวว่าเข้าข่ายกระทำผิดกฏหมายต่อต้านการผูกขาดหรือไม่

เห็นได้ว่าบริษัทเทคโนโลยีจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขว่าใครที่จะเหมาะสมกับแพลทฟอร์มของพวกเขา

การที่ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาได้รับความนิยม ครองส่วนแบ่งการตลาดมากมายทำให้สามารถสร้างระบบนิเวศของตนเองขึ้นมาได้และเราทุกคนก็ต้องอาศัยพึ่งพาระบบนิเวศนั้น ปรับตัวไปตามเงื่อนไขของบริษัทผู้เป็นเจ้าของระบบนิเวศและหากไม่พอใจหรือไม่มีความสุขแล้ว ก็แค่เดินออกมา !! เพื่อไปหาระบบนิเวศใหม่ เราทำอะไรได้มากกว่านี้ไหม ?

…………….. ………………… ……………….

The Age of Surveillance Capitalism | Shoshana Zuboff | IAI

มีใครบ้างที่ต้องเช็คโทรศัพท์ นอกจากเช็คโทรศัพท์ตัวเองแล้วยังแอบไปเช็คโทรศัพท์แฟนอีก เง้อววว !! พอเช็คแล้วใช้เวลานานกี่นาทีก่อนที่จะทนไม่ไหวหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเช็คอีกครั้ง บางคนนอกจากยาบ้าแล้วก็มีสมาร์ทโฟนนี่แหละที่ติดงอมแงม น้านนนน

เราหยิบโทรศัพท์มาเช็คราว 150 ครั้งต่อวัน ดูเผิน ๆ แล้วเราเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน นี่คือของส่วนตัวเรา อยู่กับเราแทบจะตลอดเวลา

กลุ่มบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกที่มีแพลทฟอร์มซึ่งได้รับความนิยมจากผู้คนนับหลายร้อย หลายพันล้านคนอย่างเช่นพวกโซเชียลมีเดีย เครือข่ายสังคมออนไลน์ ยิ่งเราใช้เวลากับสมาร์ทโฟนมากเท่าไหร่พวกเขาก็ยิ่งชื่นชอบมากเท่านั้น นั่นเป็นเพราะว่ายิ่งเราใช้เวลาอยู่กับสมาร์ทโฟนมากเท่าไหร่พวกเขาก็สามารถสกัดข้อมูลจากเราได้มากขึ้นเท่านั้น  ทำให้สามารถทำการตลาดกับเราได้จำเพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า  Surveillance Capitalism หรือทุนนิยมสอดแนม  เป็นโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ซึ่งกิจวัตรที่เราทำทุกเช้าค่ำถูกติดตาม วิเคราะห์แล้วก็นำไปหารายได้จากข้อมูลเหล่านี้

เมื่อเราต้องการทราบอาการของโรค ตามหาบ้านเช่า ค้นหาข้อมูลยา หาซื้อตุ๊กตายาง รสนิยมทางเพศ แนวคิดทางการเมือง กรอกข้อมูล คำค้นหาลงในช่องค้นหา ทั้งหมดนี้ล้วนถูกเก็บบันทึกจัดทำเป็นฐานข้อมูล จากนั้นก็นำข้อมูลที่ได้ไปผ่านการกลั่นกรอง แยกหมวดหมู่ เพื่อนำไปประมวลผลแล้วนำเสนอโฆษณาหรือบริการที่ใกล้เคียงกับความต้องการของเรามากที่สุด ซึ่งรายได้จากการขายโฆษณาหรือว่าบริการนี้เองที่ทำรายได้ให้บริษัทอย่างมหาศาล ดังนั้นโมเดลธุรกิจ  Surveillance Capitalism จึงได้รับความนิยมจากบริษัทเทคโนโลยีมากมายทั่วโลก ซึ่งไม่ใช่แค่กลุ่มโซเชียลมีเดียหรือว่าเสิร์ชเอ็นจินเพียงเท่านั้น เว็บไซต์ค้าปลีกอย่าง Amazon ก็มีระบบค้นหาของตนเอง พวกสมาร์ททีวี สมาร์ทโฟน บริษัทเหล่านี้รู้จักเราดีมากกว่าที่เพื่อนเราหรือคนในครอบครัวรู้จักเราเสียด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังรู้ด้วยว่าเพื่อนของเพื่อนเราเป็นใคร ชอบอะไร สนใจอะไร พ่อแม่พี่น้องของพวกเขามีใครบ้าง เรียนที่ไหน พวกเขารู้ว่าเราค้นหาอะไรบ้าง เข้าเว็บไซต์อะไรบ้าง เรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพของเรา ธุรกรรมการเงินของเรา ความสนใจเรื่องเพศที่แม้แต่เราเองอาจจะยังไม่กล้าบอกกับคนอื่น เรื่องราวที่เป็นส่วนตัวของเรา การค้นหาของเราที่กระทำในห้องนอนของเรา ถูกเก็บอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ที่ใหญ่ระดับโลกและกระจายอยู่ทั่วโลก

ที่สำคัญไม่ใช่เพียงแค่คำค้นหา ทุกวันนี้ข้อความเสียงที่เราสั่งการก็มีการจัดเก็บข้อมูลด้วยเช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการสร้างสินค้าและบริการที่ทำรายได้มหาศาล และในขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถอ่านคลื่นสมองของคนเราได้ โดยไม่แม้แต่จะพิมพ์หรือพูดออกมา ก็ทราบถึงความต้องการของเราแล้ว

………

ที่ผ่านมาข้างต้น เราจะพอมองเห็นภาพร่างของการค้าผูกขาดกับทุนนิยมสอดแนม และที่สำคัญบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ ทำให้สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ทำให้ตนเองครองส่วนแบ่งการตลาดได้แทบจะเบ็ดเสร็จ หากมองในมิติที่มากกว่าแค่การประกอบธุรกิจแล้ว เรื่องของการถูกชี้นำหรือการปลูกฝังค่านิยมบางอย่างก็อาจส่งผลต่อความเป็นประชาธิปไตยได้เช่นกัน

……

Surveillance Capitalism Takeover: Here’s Why You Got That Ad & More…

มีกฎหมายอะไรช่วยปกป้องข้อมูลหรือความเป็นส่วนตัวของเราไหม ?

ในปี 2020 ยุโรปมีการออกกฏหมาย Digital Service Act (DSA) เพื่อกำกับดูแลให้แพลทฟอร์มออนไลน์ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการตรวจสอบดูแลเนื้อหาที่ผู้ใช้โพสต์ให้ไม่ขัดต่อกฏหมาย นอกจากนั้นยังมีกฏหมายควบคุมกำกับดูแลตลาดดิจิตัล Digital Market Act  (DMA) เพื่อสร้างกฏระเบียบการแข่งขันที่เป็นธรรม

แต่เชื่อไหมว่าในปี 2020 เพียงปีเดียว กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีได้ใช้เม็ดเงินรวมกันกว่า 100 ล้านยูโรในการสร้างอิทธิพลทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างอดีตนักการเมืองที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับคนวงใน จ้างล็อบบี้ยิสต์มากมาย รวมถึงฝ่ายกฏหมายที่มีจำนวนมากกว่าคณะร่างกฏหมายหลายร้อยคนเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพื่อคัดกรองตัวบทกฏหมายที่จะส่งผลกระทบต่อโมเดลธุรกิจของพวกเขา ทำให้เสียประโยชน์

ส่วนข้อกังวลทางด้านประชาธิปไตย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คงจะหนีไม่พ้นประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลจีนจะมีตัวแทนจากทางพรรคคอมมิวนิสต์เข้าไปเป็นคณะกรรมการบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อควบคุม ตรวจสอบข้อมูลและคัดกรองเนื้อหาที่ค่อนข้างอ่อนไหว

ในเดือนเมษายน ปี 2021 Alibaba ต้องจ่ายค่าปรับราว 2.3 พันล้านยูโร จากกรณีเข้าข่ายการค้าผูกขาด ส่วนทางด้าน ByteDance บริษัทแม่ของ Tiktok นั้น รัฐได้เข้ามาถือหุ้นบริษัทซึ่งทำให้เกิดการฟ้องร้องกันเมื่อเร็วๆ นี้ ที่คาดว่า Tiltok ยอมให้รัฐบาลจีนเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้

…..

Overpaid FAANG Employees Are Getting A Harsh Reality Check

จะเห็นได้ว่าการที่มีบริษัทเพียงหยิบมือเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของเรานำไปแสวงหาผลกำไรหรือจุดประสงค์อื่นใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัท เมื่อบริษัทเติบโตก็ไล่ซื้อกิจการบริษัทขนาดเล็ก รวมถึงสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ นั่นเท่ากับว่าในไม่ช้าก็จะเกิดการค้าผูกขาดแล้วยังได้เปรียบจากการสอดแนมข้อมูลส่วนบุคคลเนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมาก โมเดลธุรกิจดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเพื่อการันตีความสำเร็จทางด้านเม็ดเงิน

เมื่อมีเม็ดเงินก็ขยายสาขา ตั้งออฟฟิศใหม่ จ้างงานเพิ่ม สามารถจ่ายค่าจ้างสูง ๆ เพื่อดึงคนเก่งๆ มีการโยกย้ายถิ่นที่อยู่ของพนักงาน ส่งผลต่อค่าครองชีพ ราคาอสังหาริมทรัพย์ ช่องว่างระหว่างผู้มีรายได้มากกับรายได้น้อยก็ขยายตัวออก

แต่….ข้อมูลส่วนตัวของเราไม่ได้มีไว้ขาย อารมณ์ความรู้สึกของเราไม่ได้มีไว้ขาย ความสัมพันธ์ของเรา ความชื่นชอบหรือค่านิยมทางการเมืองของเราไม่ได้มีไว้ขาย ความเชื่อทางศาสนาของเรา รสนิยมทางเพศของเรา ข้อมูลส่วนตัวทางการเงินของเรา ข้อมูลทางด้านสุขภาพของเรา การแสดงความคิดเห็นโดยเสรีของเรา ไม่ได้มีไว้ขาย…… ใช่หรือไม่ ?

เรื่องทั้งหมดที่ว่ามาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของบริษัทเทคโนโลยี เราไม่ได้ทำเกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่หากเราเช่าบ้านอยู่แถบนั้น ใช้เสิร์ชเอ็นจิ้น เล่นโซเชียลมีเดีย … เราก็คงพอจะเห็นภาพราง ๆ ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้