ยุทธศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย

Listen to this article

มหาสมุทรอินเดียเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

อัลเฟรด เธอเยอร์ มาฮาน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นนักวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของสหรัฐฯ ในศตวรรษที่ 19 ได้กล่าวคำพูดที่โด่งดังว่า “ใครก็ตามที่ครองมหาสมุทรอินเดียได้ก็จะครองเอเชีย และชะตากรรมของโลกก็จะถูกตัดสินบนน่านน้ำนี้” นั่นก็เป็นเพราะว่ามหาสมุทรอินเดียเชื่อมต่อทั้ง 5 ทวีปเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ อาฟริกา แอนตาร์คติกา เอเชีย โอเชียเนียและยุโรป

มหาสมุทรอินเดียถือว่าเป็นพื้นที่หนึ่งของโลกที่มีการเดินเรืออย่างคับคั่งมากที่สุด โดยเส้นทางที่เราเรียกว่า Sea Lines of Communications หรือเรียกย่อ ๆ ว่า SLOCs นั้นก็ต้องผ่านมหาสมุทรอินเดีย ซึ่ง SLOCs นี้ไม่เพียงอำนวยความสะดวกในการด้านการเคลื่อนกำลังพลยามศึกสงครามจากประเทศหนึ่งไปคุกคามประเทศอื่น ๆ ดังจะเห็นได้จากในช่วงระหว่างสงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย ในปี 1905  หรือในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น เส้นทางดังกล่าวยังเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าขนส่งอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีสายเคเบิลใยแก้วสำหรับส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตลอดใต้ทะเลแนวทางเดินเรือ SLOCs อีกด้วย

SLOCs เส้นทางเดินเรือผ่านมหาสมุทรอินเดีย
China’s Critical Sea Lines of Communication. In 2004, over 80 percent of Chinese crude oil imports transited the Straits of Malacca, with less than 2 percent transiting the Straits of Lombok. Click to enlarge. See also: China’s String of Pearls
source : wikipedia

อินเดียนั้นครองจุดยุทธศาสตร์ในบริเวณที่เรียกว่า  Indian Ocean Region (IOR) เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของช่องแคบฮอร์มุซและช่องแคบมันเดบ ซึ่งเป็นช่องแคบอยู่ทางใต้สุดของทะเลแดง ช่องแคบทั้งสองแห่งมีความสำคัญในการค้าน้ำมันและสินค้าอื่น ๆ

ช่องแคบฮอร์มุซ (สีดำ) ช่องแคบมันเดบ (สีแดง) Google earth

*ช่องแคบฮอร์มุซเป็นทางออกมหาสมุทรทางเดียวของประเทศส่วนใหญ่ในอ่าวเปอร์เซียที่ส่งออกปิโตรเลียม จากข้อมูลขององค์การว่าด้วยข้อมูลด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่าโดยถัวเฉลี่ยในแต่ละวันจะมีเรือบรรทุกน้ำมัน 15 ลำที่บรรทุกน้ำมันราว 16.5 ถึง 17 ล้านบาร์เรลเดินทางออกจากช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งทำให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในโลก การขนส่งน้ำมันจากช่องแคบดังกล่าวคิดเป็นจำนวน 40% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมด และ 20% ของการขนส่งน้ำมันทั่วโลก* (ข้อมูลจาก Wikipedia)

*ช่องแคบมันเดบหรือบาบุลมันดับเป็นช่องแคบอยู่ทางใต้สุดของทะเลแดง ตั้งอยู่ระหว่างประเทศเยเมนในคาบสมุทรอาหรับ กับประเทศจิบูตีและประเทศเอริเทรียในแอฟริกาตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเดินเรือระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียมาตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่ก่อนการขุดคลองสุเอซ โดยจากคาบสมุทรไซนายผ่านทะเลแดง จะต้องผ่านบาบุลมันดับก่อนเข้าสู่อ่าวเอเดน ทะเลอาหรับ และมหาสมุทรอินเดีย ในปี ค.ศ. 2006 ประมาณการว่ามีการขนส่งน้ำมันดิบผ่านช่องแคบนี้วันละ 3.3 ล้านบาร์เรล จากปริมาณการขนส่งทั่วโลกวันละ 43 ล้านบาร์เรล* (ข้อมูลจาก Wikipedia)

……….

จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์จะเห็นได้ว่าอินเดียเป็นเหมือนประตูเข้าออกระหว่างตะวันออกและตะวันตก เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก เรือบรรทุกน้ำมัน เรือสินค้าหรือว่าเรือรบก็ต้องแล่นผ่านมหาสมุทรอินเดีย ผ่านเข้าไปยังช่องแคบมะละกา เพื่อออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

…….

ทั้งหมดที่ยกมานั้น ก็เพื่อให้เห็นความสำคัญหากเกิดกรณีการเผชิญหน้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มที่อินเดียจะถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย ซึ่งก็ต้องดูว่าอินเดียจะเลือกอยู่ฝั่งไหน ……

Advertisement | Shopee

Xiaomi Redmi Watch 3 Active ตรวจวัดอัตราการเต้นหัวใจทั้งวัน หน้าจอ LCD 1.83″ การใช้งานได้นาน 12 วัน

…..

กว่า 50% ของการค้าทางทะเลของโลกและ 40% ของการค้าทางทะเลของจีนต้องผ่านช่องแคบมะละกาในทุก ๆ ปี โดยเส้นทางดังกล่าวนั้นมีความสำคัญกับการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอย่างมากซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในภาคอุตสาหกรรมพลังงานและการขนส่ง

ราว ๆ 60% ของการบริโภคน้ำมันดิบของจีน ต้องนำเข้าผ่านช่องแคบมะละกาเช่นเดียวกันกับเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่ต้องน้ำเข้าน้ำมันดิบเกือบ 80-90% ตามลำดับจากทางตะวันตกผ่านช่องแคบมะละกา

Why is the Strait of Malacca so Important to the World’s Economy & Military

ถ้าหากจีนต้องพึ่งพาช่องแคบมะละกาในการสร้างเศรษฐกิจของตนรวมถึงเป็นช่องทางการนำเข้าพลังงาน  สหรัฐฯ เองก็ต้องการช่องแคบมะละกาในการขนส่งน้ำมันและยุทโธปกรณ์ให้กับพันธมิตรในแถบนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

หมายความว่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ต่างก็ต้องพึ่งพาน้ำมันจากสหรัฐฯ ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้และไต้หวันซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ ในสัดส่วนราว ๆ 12% และ 16% ตามลำดับ ในขณะที่ญี่ปุ่นนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากสหรัฐฯ ราว 16.3% ซึ่งแหล่งผลิตน้ำมันหลักของสหรัฐฯ อยู่ในอ่าวเม็กซิโก เรือบรรทุกน้ำมันจะใช้เส้นทาง Indo-Atlantic route ล่องมาผ่านช่องแคบมะละกา  ดังนั้นการป้องกันการค้าและการขนส่งน้ำมันจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อทั้งจีนและสหรัฐฯ พื้นที่แถบ Indian Ocean region (IOR) จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมาก

ในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง ความสนใจของจีนอาจจะเป็นการป้องกันเส้นทางขนส่งและการค้าของตนเองในขณะที่ปิดกั้นชาติที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ อย่างเช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น ซึ่งฝั่งสหรัฐฯ เองก็จะทำเช่นเดียวกันนี้

……..

Source : Wikipedia

แต่ดูเหมือนสหรัฐฯ จะมีความได้เปรียบอยู่พอสมควร สหรัฐฯนั้นมีเครือข่ายฐานทัพเรือกระจายอยู่มากที่สุดในโลก เฉพาะในพื้นที่ IOR มีฐานทัพเรือสหรัฐฯ อยู่หลายแห่ง อย่างเช่นฐานทัพของกองเรือที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ที่บาห์เรนนั้นก็ตั้งอยู่ใกล้กันกับช่องแคบฮอร์มุซ นอกจากนั้นก็ยังมีฐานทัพเรือสหรัฐฯ ตั้งอยู่ในจิบูตีห่างจากช่องแคบมันเดบเพียง 100 ไมล์ ในขณะที่อีกฟากหนึ่งก็ยังมีฐานทัพเรือซางงีในสิงคโปร์ตั้งอยู่ด้านหน้าส่วนที่แคบที่สุดของช่องแคบมะละกา แล้วตรงกลางค่อนมาทางใต้ของมหาสมุทรอินเดียยังมีฐานทัพเรือดีเอโกการ์ซีอาอยู่อีกแห่ง

ทางฝั่งจีนเองก็พยายามรักษาเป้าหมายของตนในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ไม่ถูกขัดขวางเช่นเดียวกันกับสหรัฐฯ  จีนกำลังพัฒนาเครือข่ายฐานทัพเรือแถบ indo Pacific ในปี 2017 จีนได้สร้างท่าเรือเพื่อการขนส่งขึ้นเป็นครั้งแรกที่จิบูตี นอกจากนั้นก็พยายามมองหาที่ตั้งฐานทัพเรือในประเทศรอบทะเลทรายสะฮารา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรอินเดียและท่าเรือที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้ก็คือท่าเรือเรียมของกัมพูชาซึ่งอยู่ห่างจากช่องแคบมะละการาว 640 ไมล์ คิดเป็นระยะทางครึ่งหนึ่งจากเกาะไหหลำซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือจีน ซึ่งเหตุการณ์บอลลูนสอดแนมของจีนที่ถูกสหรัฐฯ ยิงตกนั้นก็เชื่อว่าถูกปล่อยขึ้นจากเกาะไหหลำ โดยทางการสหรัฐฯ ได้เฝ้าสังเกตการณ์บอลลูนตั้งแต่เริ่มถูกปล่อยขึ้นในปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาก่อนจะเข้ามาในน่านฟ้าสหรัฐฯ เหนือรัฐอลาสกา

หากมองในมุมของจีนแล้ว ถือเป็นเรื่องสำคัญมากในการรักษาเส้นทางขนส่งพลังงานและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ผ่านช่องแคบมะละกา ในขณะเดียวกันก็มีศักยภาพในการขัดขวางการขนส่งของญี่ปุ่นและไต้หวัน สำหรับสหรัฐฯ แล้วช่องแคบมะละกาเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากในกรณีที่หากต้องมีการเผชิญหน้ากับจีน ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่จีนรุกรานไต้หวัน สหรัฐฯ  จะสามารถขัดขวางการการส่งน้ำมันให้กับจีนได้ถึง 60% เลยทีเดียว

ทะเลอันดามันของอินเดียและหมู่เกาะนิโคบาร์นั้นวางตัวเป็นเหมือนกับสิ่งกีดขวางระหว่างทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการผ่านเข้าออกมายังช่องแคบมะละกาทางตะวันตก โดยจะมีเกาะน้อยใหญ่จำนวน 572 เกาะ ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียง 5% ที่มีผู้คนอาศัยอยู่ ทอดยาวเป็นระยะทางกว่า 850 กิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ ทำให้เกิดพรมแดนทางทะเลระหว่างพม่า ไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งหากวางกำลังไว้บนหมู่เกาะแถบนี้ วางตำแหน่งเรือดำน้ำ รวมถึงติดตั้งระบบเรดาห์และโซนาร์เพื่อตรวจสอบทั้งน่านฟ้าและน่านน้ำก็ยากต่อการผ่านเข้าออกโดยไม่ถูกตรวจพบ

พื้นที่ยุทธศาสตร์นี้ยังคงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ว่าทำไมจึงมีการเสนอโครงการคอคอดกระในประเทศไทยซึ่งอาจจะเป็นทางเดียวในการแก้ปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของจีน เนื่องจากหมู่เกาะนิโคบาร์และหมู่เกาะอันดามันยังคงเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นจีนได้เป็นอย่างดี ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หมู่เกาะเหล่านี้มีบทบาทสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนแถบมหาสมุทรอินเดียเหล่านี้ถูกครอบครองโดยญี่ปุ่น

…….. ……..

What the China-India Border Dispute is Really About

อินเดียและจีนมีประวัติศาสตร์ข้อพิพาทเรื่องพรมแดนกันมานาน ครั้งที่รุนแรงที่สุดคือในปี 1962 เมื่ออินเดียสูญเสียพื้นที่ Aksai ให้แก่จีน นอกจากนั้นแล้วจีนยังพยายามที่จะเข้าไปครอบครองพื้นที่ที่เปรียบเสมือนสวนหลังบ้านของอินเดียในปัจจุบัน อย่างเช่นพื้นที่รอบอ่าวเบงกอล มัลดีฟและปากีสถาน ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่ออินเดียโดยตรง

นอกจากนั้นจีนยังคงเบียดเบียนอินเดียผ่านสิ่งที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก ซึ่งเป็นสมมติฐานทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เรียกว่า “String of Pearls” รวมถึงการพัฒนากองทัพร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านของอินเดียอย่าง ปากีสถาน บังคลาเทศและเมียนมา ซึ่งตามข้อมูลของ SIPRI แล้ว สามประเทศเพื่อนบ้านที่ว่ามานี้ต่างก็ซื้ออาวุธจากจีนเป็นหลักรวมทั้งขีปนาวุธและเรือดำน้ำ

ในทางกลับกัน อินเดียไม่ได้รับรู้ถึงภัยคุกคามแบบเดียวกันนี้จากทางฝั่งของสหรัฐฯ ทั้งยังไม่มีข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างสองประเทศ รวมทั้งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของทั้งสองประเทศก็อยู่ห่างกันมากพอที่จะไม่เกิดข้อขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ในความเป็นจริงแล้วทั้งสหรัฐฯ และอินเดียต่างก็พึ่งพากันในหลาย ๆ เรื่อง

สหรัฐฯ ใช้อิทธิพลทางการเมืองของอินเดียเหนือภูมิภาคนี้เพื่อผลักดันนโยบายของตนเข้าไปยังเอเชียใต้ ในขณะที่อินเดียเองก็ใช้กองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตรที่แนบแน่นกับสหรัฐฯ อย่างเช่น ญี่ปุ่นและออสเตรเลียเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางทะเลในพื้นที่ IOR

…….

INS Valsura – The Sparks of The Indian Navy

หมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ดังกล่าวเชื่อมอินเดียเข้าโดยตรงกับชาติอาเซียน ถึงแม้ว่าจีนนั้นจะเป็นประเทศคู่ค้าหลักกับชาติอาเซียนมานานแล้วก็ตาม โดยมีปริมาณการค้ากับชาติอาเซียนคิดเป็น 22%  แต่อินเดียก็ค่อย ๆ เพิ่มบทบาทของตัวเองในอาเซียนขึ้นทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิงคโปร์ อินโดนีเซียและมาเลเซียถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าหลักกับอินเดียเรียงตามลำดับ ซึ่งปริมาณการค้าของสามประเทศดังกล่าวนี้รวมกันคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 70% ของการค้ากับกลุ่มอาเซียน นอกจากนั้นแล้วสามประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนตั้งอยู่รอบช่องแคบมะละกา โดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซียนั้นยังหันหน้าเข้าทะเลอันดามันอีกด้วย

ดังนั้นการมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับทั้งสามประเทศในกลุ่มอาเซียนนี้ ทำให้อินเดียสามารถสร้างเครือข่ายประเทศต่างๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันต่อช่องแคบมะละกา ผลักดันอิทธิพลทางด้านการเมืองระหว่างประเทศของอินเดียเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกในขณะเดียวกันก็เป็นการคานอิทธิพลของจีนไปในตัว
……

ทั้ง ๆ ที่หมู่เกาะของอินเดียเหล่านี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ แต่ก็ใช้ทำอะไรได้น้อยหากไม่มีความจำเป็นทางด้านการทหาร  กองทัพของอินเดียต้องเผชิญกับการขาดแคลนงบประมาณมาเป็นระยะเวลานาน รวมทั้งเรื่องข้อพิพาทตามแนวพรมแดนทั้งกับจีนและปากีสถานได้เป็นเรื่องหลักที่ดึงเอางบประมาณของประเทศไปอย่างต่อเนื่อง ในปี 2021 กองทัพบกอินเดียใช้งบประมาณราว 55% ของงบป้องกันประเทศ ตามมาด้วยกองทัพอากาศที่ใช้งบประมาณไปในสัดส่วน 22% และกองทัพเรือ 15%

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้