ละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือกับ user experience

Listen to this article

 

Tor Books UK ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่ขึ้นชื่อหนังสือแนวนวนิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซี โดยหนึ่งปีก่อนหน้านี้ ทางสำนักพิมพ์ได้ทดลองทำเรื่องที่เป็นที่พูดถึงกันมากก็คือ การถอดเอาระบบป้องกันการก็อปปี้ ebook ของทางสำนักพิมพ์ออกไป

ณ ปัจจุบัน  มีชุดความคิดหลัก ๆ อยู่สองอย่าง และแน่นอนว่าสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ คิดว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่บ้าสิ้นดี หากว่าคุณเป็นสำนักพิมพ์ การทำการป้องกันการก็อปปี้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถหยุดการละเมิดสิขสิทธิ์ในการที่จะนำสินค้าของคุณไปหมุนเวียนกันใช้ได้อย่างเสรี รายได้ของคุณจะหายไป บางทีอาจทำให้คุณต้องเลิกกิจการไปเสียด้วยซ้ำ

แต่ทว่ามันก็ยังมีวิธีคิดแบบอื่นอยู่อีก ในมุมมองที่ว่าไม่มีใครที่จะมาคอยละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์หรอกยกเว้นเสียแต่ว่าพวกวัยรุ่นที่ไม่มีเงินใช้ซึ่งพวกเขาก็แค่ไม่สามารถซื้อมันได้เท่านั้นเอง ความคิดนี้ยังเชื่อด้วยว่า ถ้าหากหนังสือของคุณมีราคาที่เหมาะสมและหาซื้อได้อย่างง่ายดายแล้ว ใคร ๆ ก็พร้อมที่จะจ่ายเงินซื้อมัน

คนที่มีความคิดแบบนี้ยังเชื่อด้วยว่าการนำระบบป้องกันการก็อปปี้ออกไปกลับเป็นการทำให้เพิ่มยอดขายเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากลูกค้าของคุณมีประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับสินค้าของคุณ พวกเขาเรียนรู้ว่าสินค้าของคุณดีแค่ไหนและในครั้งต่อไป พวกเขาก็ยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อมัน

แต่โดยทั่วไปแล้ว ทั้งหมดทั้งปวงนี้ก็เป็นเพียงความคิดเห็นแบบโต้กันไปโต้กันมา ยังมีตัวอย่างให้เห็นในเรื่องวิธีคิดสองแบบนี้อยู่น้อยมากที่จะทดสอบว่าวิธีคิดแบบไหนถูกต้อง….

 


การที่สำนักพิมพ์ Tor ประกาศว่า โดยสรุป “เราไม่เห็นว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือเรื่องต่าง ๆ ของเราเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดหลังจากถอดเอาการป้องกันการก๊อปปี้ออกไป”

และค่อนข้างน่าประหลาดใจที่ เมื่อสำนักพิมพ์ O’Reilly ก็ได้ทำการทดสอบในสิ่งที่คล้าย ๆ กันโดยใช้หนังสือในชุด Missing Manual Book ซึ่งผลที่ได้ออกมาแบบเดียวกันกับสำนักพิมพ์ Tor

ซึ่งการตัดสินใจของสำนักพิมพ์ Tor และผลที่ออกมา ได้ก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นจากแนวความคิดของทั้งสองฝั่งอย่างมากมาย

ประเด็นก็คือ การทดสอบของสำนักพิมพ์ Tor ไม่ได้เป็นโมเดลที่สมบูรณ์แบบที่จะนำไปใช้กับสำนักพิมพ์อื่นๆ อย่างมาตรฐานได้เสียทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น Tor ยอมรับว่าชุมชมนผู้อ่านหนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซีของตนเป็นคนกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่บนโลกออนไลน์เป็นระยะเวลานาน รวมทั้งสำนักพิม์ ผู้เขียนและผู้อ่านของเขามีการติดต่อสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด บางทีอาจจะใกล้ชิดกันมากกว่ามิติอื่น ๆ  ที่สำนักพิมพ์มีเสียอีก นั่นอาจหมายความว่า “การทดสอบนี้อาจจะออกมาในทางตรงกันข้ามกับสำนักพิมพ์อื่น”

ส่วนทางด้านสำนักพิมพ์ O’Reilly ที่ประสบความสำเร็จจากการขาย e-books โดยไม่มีการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับสำนักพิมพ์ Tor กลุ่มผู้อ่านต่างเป็นแฟนตัวยงและมีการติดต่อสื่อสารผ่านโลกออนไลน์ค่อนข้างมาก

ซึ่งท้ายที่สุด สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่าสำนักพิมพ์ Tor วัดอัตราการละเมิดลิขสิทธ์ิกับหนังสือของตนอย่างไร อะไรคือเครื่องมือที่ใช้วัดว่ามีคนกี่คนที่แนบไฟล์ pdf ของหนังสือไปกับอีเมล์ส่งถึงคนอื่น ๆ …..

สำหรับผู้ที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน ก็คงจะรู้สึกแปลกหากจะคุยกันถึงเรื่องการป้องกันการก๊อปปี้ ซึ่งในฐานะผู้อ่านเองคงไม่ชอบที่ต้องมีการป้องกันการก๊อปปี้ ขณะเดียวกันในฐานะนักเขียนก็คงไม่ชอบให้ใครมาละเมิดลิขสิทธิ์อีกเช่นเดียวกัน …..

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

ฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊ค 1TB SSD M.2

1TB SSD (เอสเอสดี) HIKVISION E3000 M.2 PCI-e Gen 3 x 4 NVMe ประกัน 5 ปี