สมองไหล ?

Listen to this article

สมองไหล คืออะไร ?

สมองไหลเป็นคำสแลง ใช้เรียกอย่างไม่เป็นทางการของการย้ายถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องของบุคคลต่าง ๆ เพื่อไปหาโอกาสที่ดี คุณภาพชีวิตที่ดี หรือหน้าที่การงานที่ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าในประเทศอื่นรวมถึงเกิดความเบื่อหน่ายกับปัญหาคอรัปชันและความรุนแรงต่าง ๆ

คำว่าสมองไหลนอกจากจะเกิดขึ้นในระดับบุคคล เช่น วิศวกรคนหนึ่งหากทำงานที่ไทยจะได้รับเงินเดือนคร่าว ๆ ราว 50,000 บาท ต่อเดือน แต่หากไปทำงานคล้าย ๆ  กันที่สหรัฐฯ โดยสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯแล้ว ก็อาจจะได้รับค่าตอบแทนราว 120,000 บาทต่อเดือน  ซึ่งนอกจากสมองไหลจะเกิดขึ้นในระดับบุคคลแล้ว หากเป็นในระดับองค์กร เช่น ซีอีโอคนนี้ย้ายไปทำงานกับอีกบริษัทหนึ่งในต่างประเทศ หรือโรงงานอุตสาหกรรมย้ายฐานการผลิต ซึ่งนอกจากจะสมองไหลแล้วไส้ยังไหลอีกด้วย เพราะดึงเม็ดเงินการลงทุน การจ้างงานผู้คนจำนวนหนึ่งออกไปอีกด้วยและแน่นอนว่าย่อมส่งกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ไม่มากก็น้อย

สมองไหล ไหลไปไหน ?

ก็ต้องไหลไปในที่ที่ได้รับผลตอบแทนดีกว่า คุณภาพชีวิตดีกว่า ปัญหามลภาวะน้อยกว่า สิ่งแวดล้อมดีกว่า น่าอยู่กว่า อาชญากรรมต่ำกว่า  ซึ่งปัจจัยที่ว่ามา โดยมากแล้วเงื่อนไขปัจจัยดังกล่าวจะมีอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว

เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการระบุว่าประเทศไหนพัฒนาแล้ว กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ?

Sources : wikipedia

ไม่มีคำนิยามที่จำเพาะเจาะจงว่าประเทศที่พัฒนาแล้วต้องมีลักษณะแบบไหน แต่นักเศรษฐศาสตร์ต่างเห็นพ้องต้องกันโดยให้คำจำกัดความคร่าว ๆ ว่า คือการที่ประเทศนั้นๆ มี GDP ต่อหัวตั้งแต่ 20,000 เหรียญฯ ต่อปีขึ้นไป  เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง มีตลาดที่ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลไกลตลาดดำเนินไปด้วยความเสรีและยุติธรรม รวมทั้งได้คะแนนในส่วนของดัชนีการพัฒนามนุษย์ human development index (HDI) อยู่ในขั้นที่ดี ส่วนผสมของปัจจัยที่ว่ามานี้ล้วนมีความสำคัญ นั่นจึงทำให้ IMF ได้จัดให้ประเทศสเปนอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนบรูไนนั้นยังไม่ใช่ ทั้ง ๆ ที่ GDP ต่อหัวของบรูไนนั้นสูงกว่าของสเปนถึง 50%

Asia Loses Talent As More Professionals Migrate To Developed Countries | CNA Correspondent

ต้นทุนของประชากรวัยเด็ก

เรามาเริ่มต้นกันจากวัยเด็ก ในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะมีสวัสดิการที่เริ่มตั้งแต่ให้เงินอุดหนุนเป็นค่าเลี้ยงดูต่อเดือน ค่าเล่าเรียนฟรีรวมถึงสวัสดิการอื่น ๆ ที่ภาครัฐมีให้กับประชากรวัยเด็กเหล่านี้ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ แต่แน่นอนว่านี่เป็นเงินที่ดึงมาจากระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อมาดูแลเด็ก ๆ โดยที่เด็ก ๆ นั้นได้รับเงินอุดหนุนจากระบบเศรษฐกิจมากกว่าที่พวกเขาได้จ่ายคืนเข้าระบบเศรษฐกิจ ซึ่งพวกเขาจะเริ่มจ่ายคืนเข้าระบบเศรษฐกิจได้ก็ต่อเมื่อได้เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ดังนั้นการลงทุนในเด็กจากทั้งฝั่งรัฐบาลและครอบครัวของเด็กเองย่อมเป็นสิ่งที่ดี เพราะเมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้น พ่อแม่ของพวกเขาก็เริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุซึ่งก็จำเป็นต้องใช้เงินจากระบบเศรษฐกิจเข้าไปดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่ทำรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจลดลง

หากประชากรวัยเด็กที่เติบโตขึ้นนี้มีคนเก่ง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เป็นกลุ่มคนที่มีประสิทธิภาพก็ยิ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนกลุ่มที่เสียภาษีมากที่สุด สร้างมูลค่าให้ประเทศชาติมากที่สุดและยังมีโอกาสสูงที่จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาเพื่อทำให้ประเทศมีรายได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม สำหรับประเทศด้อยพัฒนา รัฐบาลไม่มีสวัสดิการหรือมีสวัสดิการเพียงแค่ในบางเรื่อง การมีลูกในประเทศเหล่านี้ยังคงมีภาระค่าใช้จ่ายที่น้อยมาก ดังนั้นพวกเขาจึงมีต้นทุนค่าแรงที่ต่ำได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศยากจนส่วนใหญ่ถึงมีประชากรวัยหนุ่มสาวที่มีลูกกันมาก ตรงข้ามกับในประเทศที่ร่ำรวยที่ผู้คนมีรายได้ต่อหัวมาก แต่ต้นทุนการเลี้ยงลูกนั้นก็มีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงตาม พ่อแม่ต้องหยุดงานเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อมาดูแลลูกที่ยังเล็ก นอกจากนั้นแล้วในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่มีกฏหมายคุ้มครองการใช้แรงงานเด็กแม้จะเป็นธุรกิจในครอบครัวก็ตาม การที่จะมีลูกแล้วให้มาช่วยงานจึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก ต่างจากประเทศด้อยพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเกษตร เด็ก ๆ สามารถช่วยครอบครัวทำงานได้ นอกจากนั้นแล้วยังเติบโตขึ้นมาเพื่อรับช่วงต่อจากรุ่นพ่อแม่ได้รวมถึงคาดหวังว่าจะช่วยเหลือพ่อแม่จุนเจือครอบครัวได้ยามท่านแก่ชรา

พื้นที่โฆษณา / Advertisement

MEX กาต้มน้ำไฟฟ้าปรับอุณหภูมิได้ รุ่น KATE KPLG105TW-1

ปัญหาเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยแรงงาน

ประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาทั่วโลก ต่างเผชิญกับเรื่องของประชากรหดตัว มีอัตราการเกิดต่ำ พวกเขาไม่มีเด็กมากเพียงพอที่จะเติบโตขึ้นมาสู่กลุ่มประชากรวัยแรงงานทดแทนผู้สูงอายุ ถ้าหากคนส่วนใหญ่แก่เกินไปที่จะทำงานได้แล้ว ก็จะสร้างภาระหนักต่อประชากรวัยทำงานที่พวกเขาต้องทุ่มเททำงานให้หนักขึ้นเพื่อดูแลผู้สูงอายุหรือในทางกลับกัน คนวัยทำงานถูกบังคับให้จ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะให้เพียงพอกับต้นทุนการดูแลประชากรวัยสูงอายุ

ก็ต้องมองหาแรงงานที่มีศักยภาพ

แต่แรงงานที่มีศักยภาพที่จะเข้ามาทดแทนแรงงานที่หายไปนั้น จะเลือกไปที่ไหนกัน ? แน่นอนว่าก็ย่อมต้องเลือกไปในที่ที่ให้ค่าแรงสูงกว่า สภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยดีกว่า มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินดีกว่า คอรัปชั่นต่ำ มลภาวะต่ำ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วย่อมเป็นตัวเลือกแรก ๆ

ภายหลังการระบาดของโควิด 19 มีอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมากบวกกับมีแรงงานในภาคการผลิตต่ำ รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เปิดให้มีการรับผู้อพยพที่มีทักษะความสามารถเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่แรงงานเหล่านี้จะเข้าช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมผู้สูงอายุแล้ว พวกเขายังเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย

การที่ผู้คนย้ายมายังประเทศใหม่นั้น พวกเขาจำเป็นต้องซื้อสิ่งของมากมายเพื่อเริ่มต้นชีวิตตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรถคันใหม่ เฟอร์นิเจอร์ใหม่ โทรศัพท์ใหม่ อินเตอร์เน็ตรายเดือนรวมถึงอาจจะซื้อบ้านใหม่ ค่ากิน ค่าอยู่อื่น ๆ อีกมากมายเป็นต้น ซึ่งไม่ว่าพวกเขาจะซื้อหรือว่าเช่าก็ตาม แรงงานที่มีทักษะเหล่านี้ก็จะต้องนำเงินจากประเทศแม่เข้ามายังประเทศใหม่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศใหม่

ประเทศพัฒนาแล้วสามารถเลือกได้ว่าพวกเขาต้องการคนทำงานที่มีทักษะหรือคนเก่ง ๆ จำนวนเท่าไหร่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มหรือลดจำนวน VISA แต่นี่ทำให้ประเทศที่แรงงานสมองไหลจากมาเจ็บปวดไม่ใช่น้อย เพราะหมายถึงการที่ประเทศเพิ่งจะเสียคนเก่ง ๆ ทำงานมีประสิทธิภาพไป โดยที่พวกเขาเหล่านั้นก็เป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะเสียภาษีให้ประเทศมากที่สุด สร้างมูลค่าให้ประเทศมากที่สุดและมีโอกาสสูงที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาเพื่อทำให้ประเทศมีรายได้มากขึ้นกว่าเดิม แล้วยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแรงงานออกไปจากสังคมผู้สูงอายุ ประเทศที่ลงทุนไปกับการฟูมฟักเด็กเล็ก ๆ แต่แล้วพวกเขาก็ไม่ได้รับอะไรกลับมาจากการลงทุนนั้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

…. …… ……

The Philippines Brain Drain Problem, Explained

ผู้คนส่วนใหญ่ที่กำลังย้ายจากประเทศรายได้ต่ำหรือประเทศกำลังพัฒนาไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจจะเริ่มจากการเลือกสถานที่เรียนในต่างประเทศ โดยอาศัย VISA นักเรียน เมื่อพวกเขาเรียนจบได้รับปริญญาแล้ว ต่างก็มีแนวโน้มที่จะได้รับ VISA ทำงานต่อได้ง่าย เนื่องจากประเทศที่ไปศึกษาต่อนั้นทราบดีแล้วว่าพวกเขามีความรู้ในระดับปริญญา มีทักษะทางภาษาที่ดีแล้วรวมถึงมีความสามารถที่จะสร้างผลิตผลมากเพียงพอ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ คนที่มาเรียนต่อในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นจนจบการศึกษาถือว่าผ่านการกลั่นกรอง คัดสรรคุณภาพมาแล้ว ถ้าหากพวกเขาจะทำงานต่อในประเทศนั้นเลยก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะได้คนที่มีคุณภาพ แล้วในที่สุดคนเหล่านี้ก็จะจ่ายภาษีเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ

ซึ่งเมื่อเราพูดถึงการศึกษา โรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วต่างมีค่าเล่าเรียนที่แพงมากสำหรับนักเรียน นักศึกษาต่างชาติเพราะว่าไม่มีการควบคุมราคาจากทางรัฐบาลบวกกับมีจำนวนเด็กมากมายที่ต้องการเข้าเรียนในแต่ละปี ทำให้เป็นแหล่งรายได้อย่างดีต่อการเป็นศูนย์กลางการศึกษา ออสเตรเลียได้รับเม็ดเงินจำนวนมากจากต่างประเทศสำหรับเป็นค่าเล่าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยมากกว่าที่ได้รับจากธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเสียอีก

Brain Drain: A Talent Magnet

มันแทบจะเป็นสูตรสำเร็จในการดึงแรงงานที่มีทักษะให้เข้ามาในระบบเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว

หลายประเทศยอมให้ผู้ที่มี VISA นักเรียน สามารถทำงานพาร์ทไทม์ได้ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เงินส่วนใหญ่ที่ใช้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของพวกเขาก็ยังต้องมาจากครอบครัว หรือไม่ก็เงินเก็บของที่บ้านอยู่ดี และถึงแม้พวกเขาจะทำงานพาร์ทไทม์ก็เป็นประโยชน์ต่อประเทศที่มาเรียนต่อได้ เพราะว่าพวกเขาจะยังคงทำงานเหมือนคนที่ยังไม่มีทักษะซึ่งก็จะได้รับค่าจ้างที่ไม่สูงนัก

ทันทีที่พวกเขาเรียนจบจากมหาวิทยาลัยและเข้าทำงานในประเทศที่เรียนต่อนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบอาชีพ พวกเขาสามารถเพิ่มมูลค่าและจ่ายภาษีให้กับประเทศที่ไม่ได้ดูแลพวกเขามาตอนที่พวกเขายังเป็นเด็ก นี่ถึงเป็นสาเหตุว่าทำไมประเทศที่ร่ำรวยแล้วถึงมีคนทำงานที่เก่งและมีประสิทธิภาพในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าอุตสาหกรรมของพวกเขาจะยังคงมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไปและแข่งขันได้กว่าทางเลือกอื่น ๆ ที่มาจากประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังสูญเสียนวัตกรเก่งๆ  หรือแรงงานฝีมือเก่งๆ ไป


หากประเทศอื่นล่อใจด้วยค่าจ้างที่แพงกว่า แสดงว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาก็สูงกว่า แต่ทำไมถึงยังไปต่อได้ ?

นั่นก็เป็นเพราะว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วมีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมในวงกว้าง สามารถตั้งราคาขายสินค้าในราคาสูงได้เพราะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ประเทศอื่นยังไม่มี หรือเลือกที่จะใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่แรงงานคนทำให้ลดจำนวนคนทำงานลงแต่เป็นคนที่เก่งขึ้นแทน หรือค่าจ้างที่แพงนั้นเพื่อดึงตัวนักวิจัยหรือคนเก่ง ๆ ที่สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าที่มีความก้าวหน้าได้มากกว่าคู่แข่ง รวดเร็วกว่าคู่แข่ง มีความผิดพลาดน้อยกว่าคู่แข่ง และเมื่อเทียบกันปอนด์ต่อปอนด์แบบภาษามวย คนหนึ่งคนในประเทศพัฒนาแล้วสามารถสร้างผลิตภาพได้มากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา แต่ทั้งนี้เรายังไม่ได้นำปัจจัยเรื่องอื่น ๆ มาพิจารณาร่วมด้วย อย่างเช่นค่าเชื้อเพลิง เงินเฟ้อ ต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งหากมองในองค์รวมแล้วก็อาจจะเลือกเป็นการ outsourcing ให้ประเทศอื่นรับจ้างผลิตแทน มากกว่าจะลงทุนจ้างคนเก่งๆ ก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับแนวทางการทำธุรกิจในช่วงเวลานั้น ๆ

สิ่งที่เราสามารถทำให้เกิดสมองไหลช้าลง ก็ต้องพิจารณาถึงความจริงที่ว่า ผู้คนไม่อยากย้ายไปอยู่ต่างประเทศหากเงื่อนไขการใช้ชีวิตในประเทศแม่ดีอยู่แล้ว และอะไรที่มันยังไม่ดี จะทำให้มันดีขึ้นได้หรือไม่ เพื่อที่วันหนึ่งประเทศที่กำลังพัฒนาจะได้กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว คนเก่งๆ ก็จะได้พากันพัฒนาประเทศ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา มีรายได้ที่ดีขึ้น จ่ายภาษีให้รัฐได้มากขึ้น รัฐมีเงินไปอุดหนุนเบี้ยคนชรา เบี้ยยังชีพ ประกันสุขภาพ อุดหนุนสวัสดิการสังคมต่างๆ เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น อาหารการกินดีขึ้น สุขอนามัยดีขึ้น มลภาวะลดลง อาชญากรรมลดลง และปลอดการคอรัปชัน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติมากกว่าการอธิษฐานหรือแล้วแต่เวรแต่กรรม

เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว ประเทศที่รวยก็จะยิ่งรวยขึ้นไป ประเทศที่จนก็จะยังจนอยู่วันยังค่ำ


สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้