หนังสือธุรกิจ 25 เล่ม ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดมากที่สุด (1-3)

Listen to this article

ข้อมูลชิ้นนี้อ้างอิงรายละเอียดจากเว็บไซต์ TIME.com

ไม่เคยมีการขาดแคลนหนังสือเล่มใหม่เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ  แม้รายชื่อหนังสือส่วนใหญ่ถูกลืมไปบ้างแล้ว แต่มีรายชื่อหนังสือ 25 เล่มที่ได้เปลี่ยนแนวความคิดของเราเกี่ยวกับการจัดการ ตั้งแต่หนังสืือดังอย่าง “How to Win Friends and Influence People” ไล่ไปจนถึงหนังสือที่มีเนื้อหาแปลกใหม่อย่าง “Guerilla Marketing” และหนังสือแบบอ่านรวดเดียวจบอย่าง “The One Minute Manager”

เรามาดูกันว่า หนังสือ 25 เล่มที่พูดถึง มีอะไรกันบ้าง

 

อันดับ 1

The Age of Unreason (1989), by Charles Handy

หนังสือต่างประเทศ-The Age of Unreason (1991)-Charles Handyหนังสือของ Charles Handy เล่มนี้ตีพิมพ์ในปี 1989   นำเสนอการคิดนอกกรอบธุรกิจแบบเดิม  ซึ่งต่อมาเขาได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษย์ที่ London Business School

เขาได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นได้ชัดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและในสถานที่ทำงาน เทคโนโลยีใหม่ ๆ และการลดลงของพนักงานที่ทำงานเต็มเวลา ท่ามกลางการเปลี่ยนรูปแบบของสิ่งต่าง ๆ ทำให้จำเป็นต้องละทิ้งกฏเดิม ๆ และหันไปทดลองการทำงานรูปแบบใหม่กับคนอื่น

หนังสือเล่มนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงภายในระยะเวลาไม่กี่ทศวรรษหลังจากตีพิมพ์ เมื่อมีการเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต การสื่อสารที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มีการจ้างงานเอาท์ซอร์ซเพิ่มขึ้นและการแพร่หลายของสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์วิสัยทัศน์ของเขาในการมองเห็นอนาคตได้อย่างน่าประหลาดใจ The Age of Unreason

 

 

อันดับ 2

Built to Last: Successful Habits of Visionary Companies (1994), by Jim Collins and Jerry Porras

นี่เป็นการสำรวจจุดเด่นของ 18 ประการของบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ พยายามที่จะเข้าใจว่าอะไรกันที่เป็นสิ่งทำให้บริษัทอย่าง Disney , 3M ,  Sony , Merck, Wal-Mart, Hewlett-Packard ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

Jerry Porras ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและ Jim Collins ผู้เขียน Good to Great ค้นพบว่ามันตรงกันข้ามกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่  เนื่องจากบริษัทที่ทำให้คู่แข่งประหลาดใจอย่างมากเหล่านี้ ไม่ได้มีผู้นำองค์กรที่น่าสนใจหรือมีจุดเน้นที่แข็งแกร่งมากมายอะไร แต่กลายเป็นว่าสิ่งที่พวกเขามีเหมือนกันกลับเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการจ้างคนเก่งและปล่อยให้เขาสร้างความสำเร็จ ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากแต่สำหรับช่วงปลายทศวรรษที่ 90 หนังสือเล่มนี้ทำให้คนต้องประหลาดใจ

นี่ไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับความมีเสน่ห์ของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ไม่ได้เกี่ยวกับกรอบความคิดของผลิตภัณฑ์ที่เพ้อฝันหรือผลิตภัณฑ์ที่เพ้อฝันหรือความเข้าใจอันลึกซึ้งในตลาดแห่งอนาคต แต่หนังสือเล่มนี้พูดถึงวิสัยทัศน์ขององค์กร

กว่าหกปีของการวิจัย ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด Collins และ Porras ได้พบกลุ่มบริษัทที่มีอายุยาวนาน ซึ่งโดยเฉลี่ยเกือบ ๆ 100 ปีพร้อมกับความโดดเด่นอย่างแท้จริง  18 ประการ โดยบริษัทเหล่านี้ยังสามารถรักษามูลค่าหุ้นของตนให้อยู่ในเกณฑ์ดีมาตั้งแต่ปี 1926

นอกจากนี้ในการศึกษาแต่ละบริษัทได้ทำการเปรียบเทียบโดยตรงกับบริษัทคู่แข่งหมายเลขหนึ่งของบริษัทนั้น ๆ  พวกเขาได้พิจารณาตรวจสอบกลุ่มบริษัทดังกล่าวตั้งแต่วันแรกที่เริ่มกิจการจนถึงปัจจุบัน คือนับตั้งแต่ตอนเริ่มต้นแล้วขยับมาเป็นบริษัทขนาดกลางจนกลายมาเป็นบริษัทขนาดใหญ่

ตลอดทั้งเล่ม ผู้เขียนจะตั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้บริษัทที่มีความโดดเด่นอย่างแท้จริงเหล่านี้แตกต่างจากบริษัทอื่น?

Motorola สามารถขยับจากธุรกิจรับซ่อมแบตเตอรี่ทั่ว ๆ ไป เข้ามาสู่การผลิตวงจรรวมและการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างไร ?

บริษัท Boeing เบียด McDonnell Douglas ขึ้นมาเป็นบริษัทผู้ผลิตอากาศยานอันดับหนึ่งของโลกได้อย่างไร อะไรที่ Boeing มีและอะไรที่ McDonnell Douglas ขาดไป ?

Built to Last: Successful Habits of Visionary Companies

 

อันดับ 3

Competing for the Future (1996), by Gary Hamel and C.K. Prahalad

หนังสือของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า การวางแผนยุทธศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแค่ช่วงเวลาหยุดพักจากธุรกิจตามปกติของบริษัทเท่านั้น ซึ่งมันต้องมาจากความรู้สึก มีความหมาย และมีจุดประสงค์เป็นตัวผลักดัน ไม่ใช่แค่เพียงการวิเคราะห์  และสิ่งนี้เป็นเหมือนแรงกระตุ้นที่ต้องถูกปลูกฝังตลอดทั่วทั้งองค์กร ไม่ใช่เป็นเรื่องของนักยุทธศาสตร์หรือที่ปรึกษาเท่านั้น

หัวใจสำคัญก็คือว่า ผู้บริหารต้องการให้มีการปลูกฝังสิ่งที่เรียกว่า “ความสามารถหลักขององค์กร” ให้แก่พนักงานและไม่เพียงแค่เพื่อการรปรับตัวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม

การชนะในธุรกิจทุกวันนี้ ไม่ใช่การเป็นเบอร์หนึ่ง แต่มันเกี่ยวกับการเป็นใคร “ที่เข้าถึงอนาคตได้ก่อน” หนังสือเล่มนี้แต่งโดย Gary Hamel and C.K. Prahalad ที่ปรึกษาการบริหารจัดการ พวกเขาได้กระตุ้นให้บริษัทสร้างอนาคตของตัวเอง มีวิสัยทัศน์ในตลาดใหม่และนำเสนอตัวเองในรูปแบบใหม่

Hamel และ Prahalad ได้เตือนว่า ผู้จัดการหลายคนที่พึงพอใจยึดติดกับความสบายในการทำอะไรตามวิธีหรือรูปแบบเดิม ๆ ในที่สุดจะทิ้งบริษัทของพวกเขาไว้เบื้องหลัง

ตัวอย่างเช่น การต่อสู้ระหว่าง IBM และ Apple ในทศวรรษที่  1970  เนื่องจาก IBM ขุดคูป้องกันตัวเองอยู่กับความสำเร็จเดิมจากการเป็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ทำให้ล้มเหลวจากการมองไม่เห็นศักยภาพของตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ปล่อยประตูให้เปิดกว้างสำหรับ Apple  ที่มองเห็นความสำคัญของการมีคอมพิวเตอร์สักเครื่องหนึ่งไว้สำหรับผู้ชาย ผู้หญฺิงและเด็ก แล้วดำเนินการไปตามเส้นทางของโอกาสอันยิ่งใหญ่นั้น

พวกเขาพูดกันถึงเรื่องว่าผู้นำธุรกิจต้องเป็นมากกว่า “วิศวกรบำรุงรักษา” ที่คอยกังวลแต่เรื่องการตัดงบประมาณ ปรับปรุงประสิทธิภาพ ปรับปรุงองค์กร และใช้ลูกไม้เก่า ๆ  “ผู้จัดการที่ต้องการทำให้บริษัทของตนอยู่แถวหน้าต้องพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคต”
Competing for the Future

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้