หรือห้องเรียนจะเป็นความหลัง

Listen to this article

การระบาดของโควิด 19 เป็นแรงผลักให้เกิดการเรียนออนไลน์แบบก้าวกระโดด

คำถามคือ  เมื่อโควิดผ่านพ้นไปแล้ว เราอยากจะกลับไปเรียนแบบเดิมไหม ?

ลูกสาวผมวัย 21 ปี นักศึกษาชั้นปีที่สอง เคยบอกว่า เธอดูคลิปที่อาจารย์ผู้สอนได้ทำไว้ให้ โดยเร่งความเร็วของคลิปขึ้นเป็นสองเท่า ผมจึงถามนักเรียนคนอื่น ๆ ที่รู้จัก ก็ได้รับคำตอบในทำนองเดียวกัน

คือเด็ก  ๆ เรียนหนังสือด้วยการดูคลิปแบบออฟไลน์แล้วปรับความเร็วให้มากกว่าปกติอย่างน้อยก็ 1.5 เท่า หรือมากกว่านั้น  การเรียนรู้แบบรวดเร็ว เร่งรีบแบบนี้นั้น ไม่ได้เหมาะกับทุกคน แล้วก็มีเว็บบอร์ดที่เด็ก ๆ เขาไปคุยกันว่าถ้าเราเรียนแบบนี้กันไปนาน ๆ แล้ววันหนึ่งต้องกลับไปนั่งฟังเล็กเชอร์ในห้องแบบเดิมมันจะเป็นอย่างไร ?

มีคนหนึ่งโพสต์แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “การเรียนด้วยความเร็วปกติในตอนนี้ก็ไม่ต่างจากคนเมา”

การศึกษาได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนมาอยู่ในโลกดิจิตอลก่อนหน้าจะมีการระบาดของโควิด19 มาได้ระยะหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกันกับกิจกรรมอื่น ๆ ของมนุษย์ โรคระบาดได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราให้เข้าสู่โลกดิจิตอลอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน เช่น วันนี้เพิ่งกลับจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมา พอตกดึกมีข่าวออกมาว่าพรุ่งนี้งดการเรียนการสอนเนื่องจากพบผู้ติดเชื้อ ดังนั้นคุณครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ก็ต้องหาหนทางที่จะดำเนินการเรียนการสอนต่อไปให้ได้ซึ่งก็คือช่องทางอินเตอร์เน็ต

นักการศึกษาได้ตระหนักว่าไม่ใช่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะส่งผลดี โควิดได้ทำให้เราเห็นแล้วว่ามุมมองของสังคมที่มีการต่อเรียนนั้นมีความสำคัญเช่นไร การเรียนในห้องเรียนที่ผู้สอนและผู้เรียนได้พบหน้ากันในชีวิตจริงนั้นมีเยื่อใยพิเศษบางอย่างที่แตกต่างไปจากการเรียนออนไลน์ บางคนถึงกับตั้งตารออยากจะกลับไปเรียนแบบเดิม

ศาสตราจารย์ หย่ง เจ้า แห่งมหาวิทยาลัยแคนซัส กล่าวว่า

“นี่เป็นเวลาสำหรับโรงเรียนและระบบการศึกษาในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดสำหรับการเรียนการสอนโดยปราศจากห้องเรียนหรือโรงเรียน”

ทางด้านด็อกเตอร์ จิม วัตเตอร์สตัน แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มองว่าห้องเรียนแบบที่เคยเป็นมานั้นยังดำเนินต่อไปได้ หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือว่า “การศึกษาจำเป็นที่จะต้องน่าผจญภัยและมีเสน่ห์ยั่วยวนมากกว่านี้และเหนือสิ่งอื่นใดต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น”

…….

การใช้เทคโนโลยีการศึกษา

ทั้งสองท่านได้ร่วมกันเขียนงานวิจัยเรื่องหนึ่งเมื่อต้นปีซึ่งได้แยกการเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ออกเป็นสามประเด็นที่อาจเกิดขึ้นในช่วงหลังการล็อคดาวน์

ประการแรกคือความกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาซึ่งควรเน้นสิ่งที่เกิดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การคิดแบบมีวิจารณญาณรวมทั้งความเป็นผู้ประกอบการ มากกว่าที่จะเป็นเพียงการเรียนเพื่อเก็บเกี่ยวแล้วนำมาสั่งสมข้อมูล

“สำหรับคนเราแล้วนั้น การเติบโตไปในยุคของปัญญาประดิษฐ์ มันจำเป็นที่เราจะต้องไม่ไปแข่งขันกับจักรกลเหล่านั้น ในทางกลับกันเราจำเป็นต้องเป็นมากกว่าแค่มนุษย์”

ประเด็นที่สองก็คือ นักเรียนควรจะควบคุมการเรียนของตัวเองได้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากบทบาทของครูบาอาจารย์ได้เปลี่ยนไป จากผู้สอนไปสู่การเป็นผู้ดูแลทรัพยากรการเรียน เป็นที่ปรึกษาและผู้ให้แรงบันดาลใจ ซึ่งเราเรียกรวม ๆ ว่า “active learning” ก้าวเข้ามาแทนที่ พร้อมกับเนื้อหาการวิจัยมากมายที่ชี้ให้เห็นว่านักเรียน จะมีความเข้าใจและความจำดีขึ้นกว่าเดิมหากพวกเขาเรียนรู้ผ่านการปะทะสังสรรค์ทางความคิดและใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟ  นอกจากนั้นแล้วยังมีแนวคิดของ “productive failure” ที่นำมาประยุกต์ใช้

โปรเฟสเซอร์คาร์ปัว แห่งสถาบันเทคโนโลยีสหพันธรัฐสวิส ยกตัวอย่างให้เห็นว่า นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้นจากความผิดพลาดของตัวเองหรือไม่ก็จากความผิดพลาดของคนอื่นที่พยายามแก้ปัญหาบางอย่าง ซึ่งมันส่งผลดีกว่าจากที่พวกเขาจะได้รับการบอกสอนบอกกล่าวว่าควรแก้ปัญหานั้นอย่างไรตั้งแต่แรก

ประเด็นที่สาม สถานที่ในการเรียนควรต้องเปลี่ยนไป “จากห้องเรียนไปเป็นโลกใบนี้แทน” ด้วยการล็อคดาวน์ทำให้การเรียนทุกอย่างถูกปรับเข้ามาอยู่ในรูปแบบออนไลน์ แต่ว่าก็ยังมีแนวโน้มที่ยึดติดอยู่กับตารางเวลาที่มีมาแต่เดิม และมันเป็นความเข้มงวดเรื่องเวลาที่เป็นเหตุให้นักเรียนบางคนอึดอัดและไม่สนใจเรียน

ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือทางดิจิตอลทำให้นักเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในเวลาเดียวกันกับนักเรียนคนอื่น ๆ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการผสมผสานระหว่างการเรียนออนไลน์และการเรียนที่ได้พบปะกันจริง ๆ ในห้องเรียน ซึ่งเรียกว่าเป็นการเรียนแบบผสม ซึ่งนักเรียนสามารถอ่านหรือดูชั่วโมงเล็กเชอร์ในเวลาที่ตนเองสะดวกที่ไหนก็ได้และแก้ปัญหาหรือทำงานส่งครูเมื่อต้องเข้าห้องเรียนจริงๆ

ด็อกเตอร์ ลอริลลาร์ด แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน กล่าวว่า “มันไม่ได้เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายแต่อย่างใดที่นักเรียนเร่งเวลาในการเรียนออนไลน์ หรือวิดิโอการสอนถูกแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ช่วงละห้าถึงสิบนาที ก่อนหน้านี้หมายถึงก่อนที่โควิดจะระบาดแล้วล็อคดาวน์ก็คงเป็นอะไรแบบนี้นั่นแหละเพราะเนื้อหาในเล็คเชอร์ 50 นาที ก็มีที่ซ้ำ ๆ  กันอยู่ไม่น้อย”

อีแวน ริสโก นักจิตวิทยาปัญญาที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู แคนาดา ได้ทำการทดสอบความเข้าใจของผู้คนหลังจากการทดลองดูคลิปการสอนโดยการปรับความเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าการทดสอบแบบนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสื่อวัสดุสารสนเทศ ความรู้ที่นักเรียนนักศึกษามีอยู่ก่อนแล้ว รวมไปถึงรูปแบบการนำเสนอของผู้สอน งานวิจัยของเขาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าการเร่งความเร็วของคลิปไปที่ 1.7 เท่า จะส่งผลลบเล็กน้อยซึ่งก็แน่นอนว่าแลกมากับการประหยัดเวลา

แล้วถ้าคนที่ไม่มีอุปกรณ์ดิจิตอล ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีแท็ปเล็ทหรือสมาร์ทโฟน จะเป็นอย่างไร ?

ด็อกเตอร์ ลอริลลาร์ด กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “เรื่องอุปกรณ์ดิจิตอลเหล่านี้ ไม่ใช่ปัญหาใหม่ เพียงแต่อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงหยุดชะงักได้ เนื่องจากโลกดิจิตอลนั้นหมุนไปไวกว่าการจัดหาการเข้าถึงทางกายภาพ  ดังนั้นประเด็นสำคัญก็คือหากผู้สอนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เข้าถึงโลกดิจิตอลได้ลำบาก แต่พอได้รับวัสดุอุปกรณ์ดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน อุปกรณ์ดังกล่าวก็จะเป็นช่องทางเข้าไปดูคอร์สสอนออนไลน์และส่งต่อไปยังนักเรียนของเขาในห้องเรียนในรูปแบบเดิมต่อไปก็ได้ ทำให้ลดช่วงระยะเวลาระหว่างโลกดิจิตอลกับห้องเรียนในโลกจริง

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้