อะไรแทนดอลลาร์สหรัฐฯได้บ้าง

Listen to this article

เราอยู่ในยุคที่ถูกครอบงำด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ

หากถามว่าอะไรคือสกุลเงินหลักของโลกก็ต้องตอบว่าดอลล่าสหรัฐฯ อย่างไม่ต้องสงสัย การค้าขายระหว่างประเทศทั่วโลกต่างก็ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แทบทั้งสิ้น นอกจากนั้นแล้วดอลลาร์สหรัฐฯ ยังเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศสกุลหลักที่ธนาคารกลางทั่วโลกถือครองไว้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความผันผวน

ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าราว 60% ของมูลค่าทุกสกุลเงินทั่วโลกรวมกัน และเกินกว่า 50% ของดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น กระจายอยู่นอกสหรัฐฯ

เหตุผลที่ประเทศต่าง ๆ ต้องถือครองดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น หลัก ๆ ประการแรกก็คือ ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ถือครองดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ประการที่สองคือ การชื้อขายน้ำมันคิดราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ

……..

ย้อนกลับไปในตอนที่อเมริกายังเป็นอาณานิคมของอังกฤษยังไม่มีสกุลเงินของตัวเอง พวกเขาใช้สกุลเงินของอังกฤษ สเปนและฝรั่งเศสในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ต่อมาในปี 1775 เกิดสงครามปฏิวัติอเมริกา (19 เม.ย. 2318 – 3 ก.ย. 2326 ) เป็นสงครามระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือ สภาแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congress) จึงได้จัดให้มีสกุลเงินของตนเองขึ้นมาเพื่อใช้ในการทำสงคราม เรียกว่า Continental Currency ซึ่งเป็นเงินกระดาษที่ในเวลานั้นสามารถนำไปแลกเป็น Spanish Milled Dollars ได้ แต่เงินดังกล่าวก็เสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นการพิมพ์เงินโดยที่ไม่ได้มีอะไรมาค้ำอย่างทองคำหรือว่าเงินรวมทั้งมีการพิมพ์เงินออกมาเรื่อยๆ
*ดูรูปภาพประกอบจาก Harvard.edu

………..

How did America Become a Superpower After WW2? | Animated History

การแผ่อิทธิพลของดอลลาสหรัฐฯ นั้น เริ่มต้นขึ้นในปี 1944 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

(ข้อมูลจาก wikipedia)….ในการเตรียมบูรณะระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศระหว่างที่สงครามโลกครั้งที่สองกำลังดำเนินอยู่ ผู้แทน 730 คนจากทั้ง 44 ชาติฝ่ายสัมพันธมิตรประชุมกันที่โรงแรมเมาต์วอชิงตันในเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา เพื่อการประชุมการเงินการคลังสหประชาชาติ หรือเรียก การประชุมเบรตตันวูดส์ 

ดอลลาร์สหรัฐฯ ค่อย ๆ ทีวีความสำคัญกลายเป็นสกุลเงินหลักของโลก ในตอนแรกนั้นดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง ในขณะที่สกุลเงินอื่นๆ ต้องมาอิงกับดอลลาสหรัฐฯ อีกที ดังนั้นระบบการเงินหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็คือการอิงตัวเองอยู่กับดอลลาร์สหรัฐฯ ประโยชน์ก็คือลดความผันผวนของค่าเงินสกุลต่าง ๆ

ต่อมาในปี 1970 ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้ยกเลิกการอิงดอลลาร์สหรัฐฯกับทองคำ

……….

ด้วยการที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีขนาดใหญ่มาก ดอลลาร์สหรัฐจึงกลายเป็นสกุลหลักในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศไปโดยปริยาย หากมีสองประเทศต้องการค้าขายกันและต่างก็มีสกุลเงินของตน พวกเขาก็ต้องเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทั่วโลกมีการใช้ดอลลาร์สหรัฐในการค้าขายระหว่างประเทศเป็นสัดส่วนถึง 88%

ดอลลาร์สหรัฐเป็นอะไรที่มากกว่าสกุลเงินที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของโลก อย่างเช่น น้ำมัน กาแฟและทองคำ เพราะอิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐฯ ยังส่งผลในแนวทางอื่นอีกด้วย ตามรายงานจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF สกุลเงินสำรองระหว่างประเทศที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ถือครองนั้นกว่า 60% คือดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือเงินยูโร ที่ 20.1% ตามมาด้วยเงินเยน 5.7% และเงินปอนด์ที่ 4.4% ส่วนเงินหยวนนั้นอยู่ที่ 2.0%

สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนรวมถึงนักลงทุนต่างชาติไม่ว่าจะเป็นกองทุนส่วนตัวหรือของรัฐ ส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนจะมองว่าสินทรัพย์ทั้งหลายของสหรัฐฯ เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย มีความต้องการอยู่ในระดับสูงเป็นสิ่งที่น่าลงทุนหรือเอาเงินของตนไปเก็บระหว่างช่วงเวลาที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจ

…………………………………………..

Advertisement | Shopee

ตู้เซฟขนาดใหญ่ ตู้เซฟอิเล็กทรอนิกส์ ตู้เซฟแบบสแกน

ดังนั้นจึงมีคำถามที่น่าสนใจตามมาก็คือ สกุลเงินอื่นสามารถขึ้นมาเป็นทางเลือกแทนดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นตัวเลือกในส่วนของการเป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ได้หรือไม่ ?

นโยบายการเงินของสหรัฐฯ ถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ภายในประเทศแต่กลับส่งผลกระจายออกไปสู่ธุรกิจการเงินทั่วโลก อย่างในปีที่ผ่านมาทุกคนต้องเผชิญกับแรงกดดันกับค่าเงินของพวกเขา ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั้นมีขนาดใหญ่ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ก็จะส่งผลกระทบไปทั่ว อีกส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากมีการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวนมาก เมื่อมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ แล้วอัตราดอกเบี้ยก็ทะยอยปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นกันเพื่อรักษาระดับค่าเงินของตนเองไว้ ดังนั้นแล้วผลกระทบของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงมีค่อนข้างมาก

เมื่อมีความต้องการดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องจากเหตุและปัจจัยต่าง ๆ นั้น ทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ามากกว่าสกุลเงินอื่น ๆ ซึ่งตรงนี้เองก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน คือ ทำให้การส่งออกไม่สามารถแข่งขันได้ การที่เงินแข็งค่าทำให้ภาคการผลิตมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ส่งผลในระยะยาวทำให้ภาคการผลิตถดถอยลง นอกจากนั้นแล้วยังสร้างภาระให้กับธนาคารกลางสหรัฐฯ (The Federal Reserve :FED) FED ต้องทำตัวเป็นเหมือนกับผู้ให้กู้ยืมดอลลาร์เป็นที่พึ่งสุดท้ายในโลก มีบทบาทในวิกฤติการณ์เงินโลก ในหลายกรณีมันเป็นภาระแต่ก็เป็นหน้าที่ที่จำเป็นต้องทำด้วยเช่นกัน เพราะว่าตลาดสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในต่างประเทศนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการเป็นแหล่งเงินทุนให้กับบริษัทของสหรัฐฯ ดังนั้นความไม่แน่นอนของตลาดสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในต่างประเทศก็อาจจะส่งผลกระทบย้อนกลับมาที่สหรัฐฯเอง

……….

TH Skip navigation how fed print money 9+ Avatar image 5:50 / 7:26 Can the U.S. print MONEY forever? – Why hasn’t the U.S. experienced hyperinflation?

ในหลายปีที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐได้ทำการอัดฉีดเม็ดเงิน Quantitative easing (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้วสามครั้ง คือ QE,QE2,QE3

โดยเฉพาะ QE3 ทางธนาคารกลางสหรัฐหรือว่า FED คาดการณ์ว่าจะเริ่มต้นอัดฉีดเม็ดเงินที่ 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เงินที่พวกเขาพิมพ์ออกมาในแต่ละเดือน ถึงตอนนี้กระโดดไปถึง 85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว (40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน + 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน = 85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน ) ซี่งนั่นจะมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี จากประวัติศาสตร์ต้องใช้เวลากว่า 200 ปี จากที่ไม่มีดอลลาร์สหรัฐฯ ไปสู่การมีดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 825 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในตอนนี้พวกเขากำลังสร้างดอลลาร์สหรัฐฯ นับล้านล้านเหรียญฯต่อปี !! ที่ทำเช่นนี้ได้ก็เพราะ ประธานาธิบดีนิกสันได้ยกเลิก Bretton Woods ซึ่งก็คือการมีทองคำหนุนหลังเงินที่พิมพ์และดำเนินไปในแนวทางที่ใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นมาตรฐาน

หากโลกดำเนินไปทิศทางนี้ประเทศอื่นๆ ก็คงตกที่นั่งลำบากอยู่ไม่น้อยนอกจากนโยบายเศรษฐกิจการเงิน การคลังจะต้องอิงแอบไปกับท่าทีของ FED แล้ว ปัจจัยเรื่องความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะการมีอิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แทรกซึมไปในทุกมิติ

………….

The US dollar might be losing its steam

มีประเทศไหนบ้างที่พยายามไม่ใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ

ประเทศเหล่านี้คือประเทศที่ไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯในการซื้อขาย โดยการที่พวกเขาทำข้อตกลงทวิภาคีในการซื้อขายกันว่าแต่ละฝ่ายจะถือครองสกุลเงินของกันและกัน หรือมีการตกลงใช้เงินสกุลอื่นร่วมกัน อย่างเช่น BRICS Bank ซึ่งได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและอาฟริกาใต้ โดยธนาคารจะทำหน้าที่ชำระบัญชีระหว่างประเทศเหล่านั้นให้โดยที่ไม่ต้องใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ อิรักขายน้ำมันในราคายูโร ที่ลิเบียกำลังเตรียมปรับมาใช้การชำระราคาเป็น Gold dinar และขายน้ำมันแลกกับทองคำ รัสเซียและอิหร่านค้าขายกันโดยตรง อิหร่านขายน้ำมันให้อินเดียเป็นเงินรูปีบวกกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ จีนและบราซิลค้าขายกันโดยตรง

เยอรมนีต้องการทองคำจำนวน 150 ตันของพวกเขากลับคืน ( เกินกว่าครึ่งของทองคำที่เยอรมนีมีนั้นเก็บรักษาไว้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ) ส่วนเวเนซุเอลาก็ขอทองคำของพวกเขากลับคืนจากธนาคารกลางของอังกฤษ เหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับเนเธอร์แลนด์ ออสเตรียและเอกวาดอร์เช่นกันที่ต้องการขอส่งทองคำกลับคืน

วิกฤติในปี 2008 มีการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 1.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐฯ นั่นทำให้ผู้คนกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อมากขึ้น พวกเขาจึงหันมาถือครองโลหะมีค่าอย่างทองคำและเงินในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น อิหร่านเลิกขายน้ำมันเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วหันไปรับชำระเป็นสินค้าโภคภัณฑ์แทน อย่างการขายน้ำมันให้กับตุรเกียพวกเขารับเป็นเงินลีราตุรเกีย จากนั้นก็ใช้เงินดังกล่าวซื้อทองคำในตุรเกียแล้วส่งออกทองคำกลับไปที่อิหร่าน หากจะพูดให้ง่าย ๆ ก็คือขายน้ำมันแลกกับทองคำนั่นเอง อินเดียก็ทำเช่นเดียวกันนี้

ที่น่าจับตาก็คือจีน มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พวกเขากำลังสะสมทองคำเพิ่มขึ้นและลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  การถือครองทองคำของจีน จาก 700 ตัน ค่อย ๆ ขยับมาเป็นเกือบ 6,000 ตัน โดยเฉพาะในช่วงสองสามปีให้หลังมานี้การถือครองทองคำของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขารู้ว่ามาตรฐานดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังจะถึงทางตัน ต้องหาวิธีปกป้องตัวเองและเราอาจจะเห็นการกลับมาใช้ระบบทองคำหนุนหลังค่าเงินก็เป็นได้ โดยเฉพาะกับค่าเงินหยวนนั่นเอง

……………………………………

Yuan vs dollar: Is Saudi Arabia considering the yuan for oil sales in China?

หากเรามองที่เงินสำรองต่างประเทศทั่วโลกแล้ว สกุลเงินที่เป็นที่นิยมถัดจากดอลลาร์สหรัฐฯก็คือสกุลเงินยูโร

สกุลเงินยูโรนั้น เกิดขึ้นในปี 1999 โดยมีความเชื่อว่ากลุ่มยูโรนี้จะสามารถสามารถผลักดันสกุลเงินยูโรของพวกเขาให้ขึ้นมาเป็นคู่แข่งของดอลลาร์สหรัฐฯได้ ในแง่ของตัวเลือกเงินสำรองต่างประเทศและการชำระเงินระหว่างประเทศ ดังนั้นการสร้างเขตเศรษฐกิจขึ้นเป็นสหภาพยุโรป เพื่อให้มีขนาดใกล้เคียงกับขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ในตอนนี้สกุลเงินยูโรได้เติบโตขึ้นแต่แน่นอนว่ามันยังไม่ใหญ่พอเท่ากับดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างที่เราได้เห็นในตอนแรกแล้วว่าสกุลเงินยูโรนั้นตามมาเป็นอันดับสองสำหรับความนิยมในการเลือกเป็นเงินทุนสำรองต่างประเทศทั่วโลกแม้ว่าจะยังห่างไกลพอสมควร แต่จะเป็นอย่างไรหากช่องว่างดังกล่าวลดลง หากสหภาพยุโรปสามารถก้าวไปสู่สหภาพการคลังที่มีความมั่นคงได้ในช่วง 5-10 ปีต่อจากนี้  อาจจะสามารถขยับลดช่องว่างกับดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อีกสักเล็กน้อย

……. …….

จากการที่ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากความหยืดหยุ่นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน นี่คือสิ่งที่แตกต่างจากยูโร สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นกับประชากรของยุโรปแสดงให้เห็นว่ามีความเปราะบางของกลุ่มยูโรโซนแค่ไหนโดยเฉพาะปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์
…………………………………………

ถ้าอย่างนั้นแล้วประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นอับดับสองรองจากสหรัฐฯ จะผลักดันสกุลเงินตนเองขึ้นมาเทียบเคียงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้หรือไม่ ?

ราว ๆ สิบปีมาแล้วที่รัฐบาลจีนส่งเสริมให้มีการใช้สกลุเงินหยวนทั่วโลก

เงินหยวนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ย้อนกลับไปในปี 2016  โดยเงินหยวนได้เข้ามาอยู่ในสกุลเงินสำรองต่างประเทศร่วมกับดอลลาร์สหรัฐฯ เงินเยน เงินปอนด์และเงินยูโร ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เพิ่มเงินหยวนเข้าไปในตระกร้าเงินที่ทำให้มันมีสิทธิพิเศษถอนเงิน Special drawing rights (SDR) ซึ่ง IMF จะเป็นเจ้าของสินทรัพย์สำรองดังกล่าว แล้วให้ประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สามารถกู้ยืมมาเพิ่มเติมในส่วนของเงินทุนสำรองต่างประเทศของตน ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถนำ SDRs ไปแลกเป็นเงินสกุลหลักกับประเทศสมาชิกที่สมัครใจผ่านกลไกที่มี IMF เป็นตัวกลาง ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แก้ไขปัญหากรณีที่ประเทศไม่สามารถหาเงินตราต่างประเทศไปชำระเงินระหว่างประเทศได้ เช่น การชำระหนี้การค้าหรือหนี้ต่างประเทศเพื่อไม่ให้กระทบความมั่นคงของฐานะด้านต่างประเทศ แต่ทั้งนี้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ IMF ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว

แต่…จีนต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เงินหยวนก็สูญเสียโมเมนตัม นั่นก็เพราะว่าเศรษฐกิจของจีนไปได้ไม่ดีและอุตสาหกรรมต่างชาติไม่นิยมสำรองเงินทุนไว้ในสกุลหยวน สิ่งสำคัญก็คือการที่นักลงทุนต่างชาติไม่ได้มีความเชื่อถือมากนัก เนื่องจากจีนไม่ได้ส่งเสริมกฏระเบียบ นโยบายที่เป็นสากลมีมาตรฐานเหมือนดังเช่นสกุลเงินหลักอื่น ๆ เท่าที่ควร

ถึงแม้ว่าในตอนนี้จีนจะกลายมาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก ระบบการค้าโลก แต่ก็ยังไม่ใช่คู่แข่งของดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ดี

The Euro Explained: The History & How Countries Join – TLDR Explains

หากยูโรและหยวนยังไม่ใช่ แล้วยังมีสกุลเงินต่างประเทศอื่น ๆ อีกหรือไม่ ? เงินปอนด์  เงินเยน?

ทั้ง ๆ ที่ทรงอิทธิพลระดับโลกในช่วงสองสามร้อยปีที่ผ่านมา มีดินแดนในอาณานิคมมากมาย แต่กับเงินปอนด์ของอังกฤษแล้วกลับไม่มีสัญญาณบ่งบอกใด ๆ ถึงการจะกลับขึ้นมายิ่งใหญ่อีกครั้ง และการที่เงินทุนสำรองต่างประเทศ ในรูปสกุลเงินเยนนั้นก็ลดลงในช่วงหลายปีให้หลังมานี้ ช่องว่างระหว่างดอลลาร์สหรัฐฯ กับสกุลเงินอื่น ๆ ที่ตามมาเป็นอับดับสองและสามนั้นยังห่างไกลกันมาก

ในปี 2023 บราซิลและอาเจนตินากำลังเริ่มใช้สกุลเงินร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายให้ในที่สุดแล้วประเทศอื่น ๆ ในอเมริกาใต้จะเข้าร่วม ซึ่งจะทำให้กลายเป็นสหภาพการคลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากยุโรป แต่ดังนั้นแล้วก็ยังมีแนวโน้มน้อยมากที่จะขึ้นมาแข่งกับดอลลาร์สหรัฐฯ ได้

…… ………………………. ……………

Why central banks want to launch digital currencies | CNBC Reports

ดังนั้นแล้วหากเงินตราที่เราเคยใช้กันมาอยู่ทุกวันไม่มีทีท่าว่าจะขึ้นไปท้าชิงกับดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ ยังพอจะมีหนทางอื่นอีกหรือไม่รวมถึงอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมจากธนาคารกลางต่าง ๆ ด้วย สกุลเงินดิจิตัล หรือ Crypto currency เป็นไปได้หรือไม่ ?

เรากำลังเข้าสู่ยุคของการแข่งขันด้านการเงินที่มีความเป็นส่วนตัว อย่างพวกบิทคอยน์ก็จัดการด้วยอัลกอริธึมไม่ใช่ธนาคารกลาง นัยหนึ่งพวกมันดูเหมือนจะมีความผันผวนของค่าเงินค่อนข้างมากและไม่สามารถใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเรามองย้อนหลังไปในช่วงสองปีที่ผ่านมา มูลค่าของบิทคอยน์เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์แล้วมีความผันผวนอย่างมาก จึงมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า Stable coin ที่อิงการนำเงินไปผูกกับสินทรัพย์อย่างอื่น

เราคงต้องใช้เวลากันอีกหลายปีในการถกเถียงกันในเรื่องที่เกี่ยวกับคริปโต แต่ว่าในฐานะที่เป็นเงินทุนสำรองต่างประเทศ ลองนึกภาพว่าในอีกห้าถึงสิบปีข้างหน้านี้ ธนาคารกลางต่าง ๆ กำลังจะก้าวไปสู่สกุลเงินดิจิตัลที่โดยธรรมชาติแล้วนั้นมีการควบคุมตรวจสอบได้น้อยและมีค่าเงินที่ค่อนข้างเสถียร ดังนั้นคำตอบในวันข้างหน้าอาจจะเปลี่ยนไป จึงยังไม่มีอะไรที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่าคริปโตจะเข้ามาเป็นผู้ท้าชิงดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐฯ จะไม่ถูกลดทอนลง ด้วยเทคโนโลยีใหม่บวกกับการพัฒนาทางด้านการเงินและความคิดสร้างสรรค์ มันกำลังสร้างตลาดเงินแบบใหม่ขึ้นมากมายโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง บทบาทของดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เป็นเหมือนสกุลเงินตัวกลางในการชำระเงินในตลาดนานาชาตินั้นมีแนวโน้มที่จะลดลง

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้