วิกฤติน้ำในเอเชีย

Listen to this article

ทวีปเอเชียซึ่งกำลังมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นซึ่งก็คือเรื่องน้ำและเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกที พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียเกิดภาวะแล้งที่ยาวนานและแห้งแล้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ผู้คนนับหลายล้านคนในซีเรียและอิรักกำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำ ส่วนทางด้าน อินเดีย จีน เนปาล บังคลาเทศและปากีสถาน เพียงห้าประเทศนี้มีการใช้น้ำบาดาลรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของที่ใช้กันทั้งโลก ทำให้วิกฤติน้ำในพื้นที่แถบนี้เลวร้ายอย่างที่สุดในช่วงหลายปีมานี้

ถ้าหากไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าวก็จะนำไปสู่การล่มสลายของเอเชีย

…. ………

วิกฤติน้ำในเอเชียคืออะไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ? เอเชียมีแม่น้ำสายใหญ่อยู่มากมาย มันจะเป็นไปได้อย่างไรที่จะขาดแคลนน้ำ ?

เราจะเริ่มต้นทำความเข้าใจกันก่อนว่าน้ำที่เราพูดถึงคือน้ำจืดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางอุปโภคบริโภค

มีปริมาณน้ำมหาศาลในทะเล มหาสมุทร เพราะน้ำทะเลนั้นคิดเป็นปริมาณถึง 97.5% ของน้ำที่มีบนโลก แต่น้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง ไม่อย่างนั้นแล้วลูกเรือหรือคนที่ลอยคอกลางทะเลก็คงไม่เสียชีวิตจากการขาดน้ำ ทำให้เหลือน้ำเพียง 2.5% ซึ่งอยู่ในรูปของน้ำจืดที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ แต่ว่าในจำนวน 2.5% นี้ 99% อยู่ในรูปของธารน้ำแข็งและความชื้นในดินหรือเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินที่ลึกเกินกว่าเราจะสามารถเจาะนำขึ้นมาใช้ได้ ทำให้จริง ๆ แล้วเรามีน้ำจืดให้ใช้กันทั้งโลกเพียงแค่ 1% เท่านั้น ซึ่งมันเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงทั้งการอุปโภค บริโภครวมถึงเลี้ยงสัตว์ทำการเกษตรได้หรือไม่ ?

เรามาเริ่มต้นทำความเข้าใจเรื่องน้ำ ด้วยประเด็นหลัก 2 ประเด็นดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ การมีแหล่งน้ำกับการเข้าถึงแหล่งน้ำ

การมีแหล่งน้ำซึ่งก็ได้แก่ ห้วย หนอง คลองบึง ทะเลสาบ ธารน้ำแข็งละลาย เขื่อน เหล่านี้เป็นต้น ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของประเทศนั้น ๆ รวมถึงปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ไม่ว่าจะก่อให้เกิดภาวะแล้ง ฝนตกหนัก ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น
ส่วนการเข้าถึงแหล่งน้ำก็หมายถึง เมื่อมีแหล่งน้ำแล้ว มีการทำชลประทานจากแหล่งน้ำนั้นไปยังผู้คนได้อย่างไร การเข้าถึงแหล่งน้ำนั้นยากหรือง่าย มีความแตกต่างของการมีน้ำใช้ระหว่างคนในเมืองกับคนในชนบท พื้นที่เกษตรกรรมมีการทำชลประทานไปถึงทั่วทุกที่หรือไม่ ?

ปัญหาเรื่องน้ำจึงแยกประเด็นได้เป็นสองข้อใหญ่ ๆ คือ ปัญหาการมีแหล่งน้ำ กับ ปัญหาการเข้าถึงแหล่งน้ำ

…. …………..

Why China is Running Out of Water

เมื่อเรามองภาพรวมของทวีปเอเชีย การขาดแคลนน้ำได้กลายเป็นสาเหตุหลักของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมของหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น จีนและอินเดีย ถึงแม้จีนจะมีแหล่งน้ำจืดอยู่มากมาย แต่ปัญหาที่จีนมีก็คือการชลประทานซึ่งไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงทำให้บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ในขณะที่บางพื้นที่ไม่มีปัญหาที่ว่าเลย ขณะเดียวกันกับการพัฒนาประเทศให้เติบโต หัวเมืองต่างๆ ก็มีการขยายตัวออกเป็นเมืองที่ใหญ่ขึ้น มีผู้คนย้ายเข้ามาอยู่อาศัยกันมากขึ้น ปัญหาเรื่องน้ำก็ขยายตัวขึ้นเช่นกัน จีนมีเมืองใหญ่กว่า 640 เมือง ในจำนวนนี้เกือบ 300 เมืองต้องเจอปัญหาขาดแคลนน้ำ และสิ่งที่กำลังก่อตัวขึ้นตามมาก็คือการที่เมืองที่มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ไม่ได้หมายความว่าต่อไปจะไม่เจอปัญหา เนื่องจากมีมลภาวะทางน้ำที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะมาจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมส่งผลให้น้ำสะอาดกำลังขาดแคลนมากขึ้นทุกที

จากภาวะขาดแคลนน้ำในหลายเมืองของจีน มีการประเมินว่า เกิดความสูญเสียทางด้านผลผลิตอุตสาหกรรมเป็นมูลค่ากว่า 11.2 พันล้านเหรียญฯ ในแต่ละปีซึ่งไม่ใช่ตัวเลขน้อย ๆ เลย แล้วถ้าเราเอาต้นทุนที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์จากการสร้างมลภาวะทางน้ำเพิ่มเข้าไปอีก ตัวเลขความเสียหายจะเพิ่มขึ้นเป็น 15 พันล้านเหรียญฯ ต่อปี ซึ่งถ้าหากปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ตัวเลขที่ว่านี้ก็จะเพิ่มขึ้นอีก

เกือบทุกประเทศในเอเชียต่างก็ตกอยู่ในภาวะนี้ ตัวเลขอาจแตกต่างกันไปแต่ปัญหานั้นยังคงอยู่ การขาดแคลนน้ำมีแนวโน้มจะเลวร้ายขึ้นทุกทีซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร เพราะการเกษตรในเอเชียนั้นพึ่งพาการชลประทานค่อนข้างมาก ยิ่งมีการเพิ่มการผลิตอาหาร เพิ่มพื้นที่การเกษตรก็ต้องอาศัยการชลประทานมากขึ้นและต้องมีประสิทธิภาพด้วย
…….

การเกษตรนั้นจำเป็นต้องอาศัยน้ำอย่างเพียงพอ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าวิกฤติน้ำจะยิ่งเลวร้ายลงในอีกหลายปีต่อจากนี้ พร้อมกันนั้นพวกเขาก็ยังบอกด้วยว่าความต้องการอาหารจะเพิ่มมากขึ้น มันฟังดูสวนทางกัน ?

ใช่ว่าการเกษตรจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำแต่เพียงด้านเดียว การเกษตรเองก็ยังทำให้เกิดวิกฤติน้ำด้วยเช่นกัน

เพราะอะไร ?

การปฏิวัติเขียว Green revolution ได้ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นแต่การประสบความสำเร็จดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นผลมาจากมีการทำชลประทานกันอย่างมากมาย เป็นการพึ่งพาการใช้น้ำเพิ่มขึ้น มีปริมาณน้ำจืดเกือบ70% ใช้ไปกับภาคการเกษตร ดังนั้นแล้วจึงไปลดทอนการใช้น้ำในแง่อื่น ๆ

หากเจาะจงเฉพาะเอเชียยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นว่ามีการพึ่งพาน้ำอย่างมีนัยสำคัญ มีการประเมินว่า 35-40% ของพื้นที่เพาะปลูกแถบนี้มีการชลประทาน โดยที่พื้นที่ดังกล่าวมีผลิตผลทางการเกษตรมากกว่า 60% ของที่ผลิตได้ทั้งหมดของเอเชีย

สิ่งที่แสดงให้เราเห็นก็คือความต้องการอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการกำหนดการจัดหาแหล่งน้ำ ลองดูที่จีนอีกครั้ง การที่มีประชากรเพิ่มสูงขึ้นการผลิตอาหารก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอย่างเห็นได้ชัด แล้วหากจีนต้องการเพิ่มประชากรของตนขึ้นอีกเพื่อรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ย่อมส่งผลให้ความต้องการพื้นที่เพาะปลูกผลิตอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการ มีการคาดการณ์ว่าจีนต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นให้ได้ 70% ในช่วง 25-30 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งแน่นอนว่าผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นนี้ก็ต้องมาจากพื้นที่ที่มีการชลประทานไปถึง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาก็คือการทำชลประทานเข้าสู่พื้นที่นั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ส่วนใหญ่เป็นเพราะใช้วิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการสูญเสียน้ำที่ใช้ในระบบชลประทานไปกว่าครึ่งไม่ว่าจะจากการรั่วซึมหรือระเหยไป

ประเทศอย่างจีน อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลี ปากีสถานและศรีลังกา ต่างมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 30% ที่มีการทำชลประทานที่ดี จุดนี้ที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะนี่คือพื้นที่เพาะปลูกที่จำเป็นต้องมีน้ำมาหล่อเลี้ยง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการชลประทานไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้น้ำที่เป็นสัดส่วนให้คนเราใช้โดยตรงนั้นสูญเสียไปอย่างมีนัยสำคัญ มันคือระเบิดเวลาที่เดินไปเรื่อย ๆ การชลประทานสามารถเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังได้สำหรับการขยายพื้นที่เพาะปลูกแต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นอันตรายอย่างมากเช่นกันหากมีการบริหารจัดการที่ผิด การบริหารจัดการน้ำที่ผิดวิธีนั้นส่งผลให้เกิดการกัดเซาะหน้าดิน การมีน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกมากเกินไปจนรากขาดออกซิเจนรวมถึงปัญหาดินเค็ม ซึ่งจะทำให้ดินเสื่อมสภาพและเพาะปลูกได้ผลผลิตลดลง

…. …………. …………………………

ปัจจัยต่อมาที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงของน้ำในภูมิภาคเอเชียก็คือระดับของการทำอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ โดยทั่วไปแล้วภาคอุตสาหกรรมใช้น้ำเป็นสัดส่วนราว 25% ของการใช้น้ำทั้งหมดในโลก และประเทศอุตสาหกรรมอย่างจีนซึ่งถือเป็นโรงงานของโลกนั้นมีสัดส่วนการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมของประเทศราว 50-80% ซึ่งเป็นเหตุผลว่าเหตุใดเมื่อมีภาวะแล้งเกิดขึ้นในจีน โรงงานต่าง ๆ ต้องหยุดทำการซึ่งตัวเลขโรงงานที่หยุดทำการหรือปิดตัวลงนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

นอกจากนั้นแล้วกิจกรรมทางอุตสาหกรรมนั้นยังคงเป็นปัจจัยหลักในการทำให้เกิดความกังวลเรื่องความมั่นคงของน้ำอีกด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำเพื่อต้มให้เกิดไอน้ำ การทำความสะอาด การหล่อเย็น การขนส่งและการผลิตพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อประเทศต่าง  ๆ ในเอเชีย ต่างก็รักษาระดับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมของตนไว้ก็ย่อมมีแนวโน้มที่จะมีการใช้น้ำในปริมาณมากขึ้นทุกที  ทำให้แหล่งน้ำที่มีน้ำเหลือน้อยอยู่แล้วนั้นยิ่งมีน้อยลงไปอีก

ในภาคอุตสาหกรรมนั้นต่างจากภาคเกษตรอยู่บ้างตรงที่น้ำส่วนใหญ่สามารถนำมาบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วอย่างจีน แรงผลักดันเบื้องต้นสำหรับการบำบัดน้ำแล้วนำกลับมาใช้ใหม่นั้นเป็นการปฏิบัติตามกฏหมายควบคุมมลพิษ เนื่องจากมันจะประหยัดมากกว่าในการที่จะปฏิบัติตามกฏหมายควบคุมมลพิษ ทำให้สูญเสียน้ำน้อย แต่โชคไม่ดีที่วิธีการปฏิบัติบางอย่างไมได้มีการปฏิบัติตามในประเทศที่ยากจนกว่าเนื่องจากรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ไม่ได้มีมาตรการจูงใจต่อภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  แม้ว่าปริมาณการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมจะลดลงในประเทศพัฒนาแล้วแต่มันกลับตรงกันข้ามในประเทศด้อยพัฒนา โดยเฉพาะในประเทศที่เพิ่งจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีการขยายตัวของเมือง นี่คือปัญหาส่วนที่ใหญ่ของเอเชียในตอนนี้

หลายประเทศทั่วโลกมักจะทิ้งของเสียทั้งจากมนุษย์และจากอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ราว ๆ 90-95% ของน้ำเสียในครัวเรือนและ 75% ของน้ำเสียที่มาจากอุตสาหกรรมถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำโดยไม่ผ่านการบำบัด เอเชียนั้นขึ้นชื่อในแง่ของมลภาวะทางน้ำและนั่นเป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังทำให้แหล่งน้ำที่ใช้ได้ลดน้อยลง

The Yamuna, India’s most polluted river

ดูตัวอย่างจากเกาหลีใต้ มีโรงงานกว่า 300 แห่ง ที่ตั้งอยู่ตามแม่น้ำนักดง แอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำโดยตรง (for more research) หรืออย่างที่จีน สามในสี่ของแม่น้ำในจีนมีมีมลภาวะเลวร้ายที่แม้แต่ปลาก็ยังอยู่ไม่ได้ และถ้าคุณคิดว่ามลภาวะทางน้ำในจีนนั้นเลวร้ายแล้ว ที่อินเดียยิ่งเลวร้ายกว่า  มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคนในแต่ละปีอันมีสาเหตุเนื่องมาจากมลภาวะทางน้ำ มันไม่น่าแปลกใจนักที่แม่น้ำ 14 สายหลักของอินเดียนั้นเกิดมลภาวะ สาเหตุหลักก็มาจากน้ำเสียที่ถูกปล่อยลงมากว่า 50 ล้านลูกบาศก์เมตรในทุก ๆ ปี เฉพาะกรุงนิวเดลีที่เดียวก็มีการปล่อยน้ำเสียมากกว่า 200 ล้านลิตรและน้ำเสียจากอุตสาหกรรม 20 ล้านลิตรลงสู่แม่น้ำยมุนาที่ไหลผ่านตัวเมืองไปรวมกับแม่น้ำคงคา

ลองจินตนาการว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน ในมาเลเซียและประเทศไทย มลภาวะทางน้ำต่าง ๆ ขยะ สิ่งปฏิกูล โลหะหนักรวมถึงสารพิษต่าง ๆ จากอุตสาหกรรมและการเกษตรสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กฏหมายควบคุมกำหนดเกือบ 30 – 100 เท่า ดังนั้นเราถึงไม่แปลกใจว่าทำไมเราจึงมีปัญหาเรื่องวิกฤติน้ำในเอเชีย

แต่ไม่ใช่มีเพียงปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่มีบทบาท เมื่อเราพูดถึงความมั่นคงของน้ำในเอเชียนั้น ภาวะโลกร้อนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายพื้นที่ในจีนและเอเชียแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ จากที่ฝนตกอยู่เป็นประจำกลับกลายเป็นแล้ง ภัยแล้งนี้กำลังทำลายล้างเอเชียใต้ในทุก ๆ ปี โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดก็คือปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ภูฏาน ประเทศเหล่านี้ตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากภัยแล้ง นอกจากจะเป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรมแล้วยังเพิ่มจำนวนประชากรที่ขาดแคลนน้ำซึ่งพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ ทำให้เกิดภาวะตึงเครียดทางสังคมตามมา

…………………

เมื่อพูดถึงเรื่องปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของดินเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาซึ่งมีความเกี่ยวพันกันกับการมีแหล่งน้ำ เมื่อประเทศต่าง ๆ มีเมืองที่เกิดการพัฒนาและขยายตัวออก ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือลดพื้นที่ป่าลง ส่งผลให้มีพื้นที่ในการดูดซับและกักเก็บน้ำน้อยลง ผืนดินที่เสื่อมโทรมมักจะไม่มีหญ้าหรือวัชพืชขึ้นปกคลุมทำให้ดินสูญเสียความชื้นได้ง่าย  ซึ่งหากเป็นในช่วงที่มีฝนตกก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ การซึมของน้ำลงไปในดินทำได้ไม่ดี แม้แต่ในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนต่อปีสูงก็ตาม เรากำลังพูดถึงเรื่องการเติมน้ำใต้ดินและการกักเก็บน้ำใต้ดินและด้วยฝีมือมนุษย์ก็ส่งผลต่อกระบวนการดังกล่าวเช่นกัน การเสื่อมโทรมของดินทำให้กระบวนการดังกล่าวด้อยประสิทธิภาพลง ที่จีนระดับน้ำใต้ดินในกรุงปักกิ่งที่กำลังลดลงด้วยอัตราราว ๆ 1-2 เมตรต่อปี เพื่อย้ำให้เห็นภาพว่ามันสำคัญอย่างไร ก็คือกว่า 30% ของบ่อน้ำในเมืองแห้งผาก

ส่วนเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า พบว่าการตัดไม้ทำลายป่าในทวีปเอเชียเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วพื้นที่ป่าจะหายไป 1% ต่อปี ตามรายงานของ earth.org พบว่าพื้นที่ป่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หายไปเกินกว่าครึ่ง ผู้เชี่ยวชาญบางรายมองว่านั่นอาจทำให้เกิดวิกฤติที่ทำให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่รุนแรงที่สุด ซึ่งจะทำให้ 40% ของความหลากหลายทางชีวภาพในแถบนี้สูญพันธุ์ไปภายในปี 2100 หากการตัดไม้ทำลายป่ายังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วถ้าหากเรามองว่าปี 2100 นั้นอีกตั้งไกล แต่ว่าเวลามักจะผ่านไปไว มันเป็นเพียงไม่กี่ทศวรรษนับจากนี้

Inside the destruction of Asia’s last rainforest – BBC World Service

ที่อินโดนีเซีย พื้นที่ป่าไม้ของอินโดนีเซียลดลงไประหว่าง 3,800,000 ไร่ ถึง 8,200,000 ไร่ ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าอย่างผิดกฎหมายและการเปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่รวมถึงการทำสวนป่าเศรษฐกิจ

ส่วนในกัมพูชา ในทศวรรษที่ 1960 กัมพูชามีพื้นที่ป่ามากกว่า 70% แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดลงมาเหลือเพียง 50% และนี่ไม่ใช่เพียงประเทศเดียวในเอเชียที่เป็นเช่นนี้ ประเทศไทยของเราก็เช่นเดียวกัน หากดูในช่วงปี 1961 ถึง 1988 พื้นที่ป่าของเราลดลงจาก 55% เหลือเพียง 28% ทำให้เห็นได้ชัดว่าการทำลายป่าไม้นั้นเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ หากป่าไม้ถูกทำลาย เวลาฝนตกก็จะกลายเป็นเกิดน้ำท่วมฉับพลันจากนั้นก็แห้งแล้ง ทำให้ผืนดินถูกกัดเซาะ หน้าดินถูกชะล้างอย่างรุนแรง น้ำซึมลงดินได้น้อยมากและทวีความรุนแรงขึ้นไปจนแปลงสภาพไปเป็นทะเลทราย

………..

বাংলাদেশের তিনদিকে আরো ৩০টি ফারাক্কা বাঁধ নির্মাণ করছে ভারত !! Farakka Barrage India – Bangladesh

ปัจจัยเรื่องคน ประชากร

เป็นไปได้หรือไม่หากเราดูปัจจัยทั้งหมดที่ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำโดยไม่พูดถึงปัจจัยเรื่องคนและประชากร

ณ ตอนต้นศตวรรษที่ 20 โลกมีประชากรราว 1.6 พันล้านคน แต่ ณ วันนี้โลกมีประชากรเกือบ 8 พันล้านคน เฉพาะประชากรของเอเชียก็ปาเข้าไป 4.7 พันล้านคนแล้ว แน่นอนว่าต้องมีอาหารมาเลี้ยงจำนวนมาก จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมปัญหาการขาดแคลนน้ำถึงจะรุนแรงขึ้นในเอเชีย

เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ก็จะเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อเกิดการขาดแคลนน้ำ

เมื่อเกิดการขาดแคลนน้ำก็จะทำให้มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นในภูมิภาค เนื่องจากหลายประเทศในเอเชียต่างก็พึ่งพาแม่น้ำสายใหญ่เดียวกัน แต่มันก็ไม่ได้ถึงกับต้องขนอาวุธมาต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงน้ำอะไรทำนองนั้น เนื่องจากปัญหาดังกล่าวจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นจนกระทั่งสั่นคลอนความมั่นคงระหว่างประเทศ

เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่อินเดียกับบังคลาเทศต่างก็กล่าวหากันและกันจากปัญหาการใช้แม่น้ำร่วมกัน  ในปี 1993 ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศก็ได้ปะทุขึ้นเมื่อเมื่อถึงฤดูแล้ง ระดับน้ำในแม่น้ำคงคาอยู่ในระดับต่ำมากแทบแห้งขอด ทำให้พืชผลทางการเกษตรของบังคลาเทศเสียหาย ต่อมาในเดือนตุลาคมปี 1995 นายกรัฐมนตรีของบังคลาเทศ ได้ส่งคำร้องไปยังสหประชาชาติว่าอินเดียได้มีการผันน้ำจากแม่น้ำบริเวณที่อยู่ใกล้กับพรมแดนซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมอย่างรุนแรง

อินเดียได้มีการสร้างเขื่อน Farakkah บนแม่น้ำคงคาใกล้กับพรมแดนบังคลาเทศซึ่งทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างสองประเทศขึ้น เนื่องจากแต่ละประเทศต่างก็มีเป้าประสงค์ของตนที่แตกต่างกันออกไปและนั่นทำให้ข้อตกลงร่วมต่าง ๆ มีความยุ่งยาก แต่ในปี 1996 สนธิสัญญาการใช้แม่น้ำคงคาร่วมกันของทั้งสองประเทศก็มีการลงนามโดยทั้งสองประเทศทำให้ปัญหาความขัดแย้งทุเลาเบาบางลงไป นอกจากสองประุเทศดังกล่าวนี้แล้ว การใช้แม่น้ำร่วมกันในหลายประเทศก็ยังคงมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่เสมอ

สิ่งที่เรากลัวเมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระดับนานาชาติก็คือ แม้ว่ามันจะเริ่มต้นจากเรื่องน้ำมันสามารถลามไปถึงเรื่องอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

ฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊ค 1TB SSD M.2

1TB SSD (เอสเอสดี) HIKVISION E3000 M.2 PCI-e Gen 3 x 4 NVMe ประกัน 5 ปี