Bicycle Infantry

Listen to this article

Bicycle Infantry การใช้จักรยานเป็นพาหนะในการสงคราม ซึ่งที่มาที่ไปของคำนี้ย้อนกลับไปในช่วงปลายศตวรรษที่ 19

Pennyfarthing-1886

คือสมัยก่อนแรกเริ่มเดิมทีนั้น มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์สองล้อขึ้นมาบนโลกนี้เรียกว่า penny-farthing หรือ High wheel ตามรูปร่างหน้าตาของมัน โดยล้อด้านหน้ามีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าล้อหลัง พูดง่าย ๆ ก็คือ ล้อหน้าโตกว่าล้อหลัง โตกว่ามากด้วย เป็นบรรพบุรุษจุดเริ่มต้นของจักรยาน ซึ่งได้รับความนิยมอยากมากในช่วงทศวรรษที่ 1870 ถึง 1880

โดยล้อหน้าที่มีขนาดโตนั้นช่วยทำความเร็ว เนื่องจากว่าการปั่นหนึ่งครั้งทำให้ล้อหน้าหมุนครบหนึ่งรอบจะทำระยะทางได้มากกว่าและยังช่วยดูดซับแรงกระแทกจากการตกหลุมตกบ่อ ผิวถนนไม่เรียบไปด้วยในตัว ทำหน้าที่เหมือนเป็นโช๊คนั่นเอง

…… …..

พอพ้นยุคทศวรรษที่ 1880 จักรยานแบบ High wheel ก็เริ่มลดความนิยมลงเนื่องจากมีการออกแบบจักรยานสมัยใหม่ขึ้นมาโดยวิศวกรชาวอังกฤษ Henry Lawson ในปี 1876 ที่ใช้ขนาดล้อหน้าและหลังเท่ากันและอาศัยการส่งถ่ายกำลังด้วยชุดโซ่และสเตอร์รวมทั้งมีการใช้ล้อยางสูบลมเข้ามาแทนและด้วยระดับความสูงที่ผู้ขี่สามารถวางเท้าแตะพื้นถนนได้ทำให้สะดวกเวลาขึ้นลงและหยุดรถ แถมยังทำการตลาดด้วยวลีที่โดนใจ “Safety Bike” เนื่องจากปลอดภัยต่อผู้ขี่ ลดความเสี่ยงจากการตกจากที่สูง ไม่เหมือน High wheel บางทีขี่ ๆ ไปเจอราวตากผ้าบ้าง อะไรก็ไม่รู้ การใช้ High wheel จึงค่อย ๆ ลดลงไป….

วกกลับเข้ามาที่เรื่องการใช้จักรยานเป็นพาหนะในการสงคราม เมื่อจักรยานสมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้น โดยเฉพาะในปลายศตวรรษที่ 19 ก็ได้รับความนิยมกระจายไปทั่วอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย เนื่องจากมันสะดวก ไม่ต้องรอม้ามาลากมาขนของ ไม่ต้องหาหญ้า หาน้ำ ประหยัดน้ำมัน บำรุงรักษาเองได้ง่าย ในกองทัพเองก็นำจักรยานมาใช้งานธุรการทั่วไป ส่งจดหมาย ติดต่องาน อะไรแบบนี้ จนกระทั่งในที่สุด…ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกำลังรบ!

…… …..

ทำไมถึงนำจักรยานมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกำลังรบ ?

แน่นอนสิ มันสบายกว่าเดินนี่ บรรทุกของได้ด้วย เดินทางได้ไกลและเร็วกว่าเดิน ยิ่งมีการปรับปรุงพัฒนาเรื่องล้อและยาง ตัวเฟรมที่แข็งแรงทนทานและน้ำหนักเบามาอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดกองทัพต่างๆ ก็นำจักรยานเข้าประจำการโดยทำหน้าที่แบ่งเบาภาระงานของหน่วยทหารม้า รวมทั้งทดแทนสัตว์พาหนะอย่างม้าและล่อ

และแล้วในปี 1886 ฝรั่งเศสได้คิดค้นจักรยานพับได้ สามารถพับแล้วแบกติดหลังคนขี่ได้

ก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ถนนหนทางในยุโรปหลายสายก็ทำเป็นถนนดินลูกรังกันมากแล้วเป็นเครือข่ายถนนกระจายไปทั่ว ทำให้การใช้จักรยานยิ่งสะดวกสบาย ประหยัด เงียบก็เงียบ ปั่นไปซื้อกับข้าวก็สะดวก ส่งของก็ง่าย แถมใครที่ขี่จักรยานไม่เป็น มาหัดไม่นานสองนานก็ยกหน้าได้ เอ๊ะ! เดี๋ยวอันนี้มันเว่อร์ไป คือหัดไม่นานก็เป็น มันง่ายมากอะไรแบบนี้ คือบังคับจักรยานง่ายกว่าบังคับม้าเยอะ !

แล้วก็มีการพัฒนาจักรยานแบบต่าง ๆ ออกมาให้เหมาะสมกับการรบหรือช่วยลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งจักรยานติดปืนเล็ก หรือทำเป็นจักรยานสามล้อติดปืนกลอัตโนมัติ

สงครามโลกครั้งที่ 1 มีการนำจักรยานติดปืนเล็กมาใช้ นำมาใช้เป็นหน่วยลาดตระเวน ข่าวกรองเคลื่อนที่เร็วหรือแม้แต่เป็นหน่วยพยาบาล ในทุกกองทัพ ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองว่ากันว่าในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกจีนนั้น ญี่ปุ่นมีกองทัพจักรยานอยู่ราว 50,000 นาย

หลังจากนั้นจักรยานก็ค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยจักรยานยนต์ พร้อมๆ กันกับการพัฒนากองทัพสมัยใหม่ จากที่จักรยานเคยใช้ไปในการรบเป็นของกองทหาร ก็ถูกนำกลับมาใช้เป็นพาหนะในการต่อสู้สงครามประชาชนหรือสงครามตัวแทนในสงครามเวียดนาม*

โดยฝ่ายเวียดกงหรือเวียดนามเหนือได้ใช้ลำเลียงขนสรรพาวุธและสิ่งของลงไปยังโฮจิมินห์เพื่อหลบเลี่ยงการถูกโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดจากฝ่ายสหรัฐฯที่ให้การสนับสนุนเวียดนามใต้ ทั้งนี้เพราะจักรยานหนึ่งคันที่ปั่นช้า ๆ ด้วยความเร็วพอ ๆ กับคนเดินนั้น สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ถึง 180 กิโลกรัม เหมาะสำหรับการขนอาวุธเบาและสิ่งของอื่น ๆ แม้กระทั่งข้าวสารเป็นกระสอบ ต่อให้เอาข้าวสารวางแล้วขึ้นขี่ไม่ได้ก็ยังจูงไปได้อยู่ดี หรือทำโครงไม้ไผ่เสริมให้ตัวจักรยานทำให้สามารถบรรทุกสัมภาระได้สะดวกขึ้น

…… …..

สำนักโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหม หรือ DARPA คือหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐที่มีหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีใหม่สำหรับการใช้งานทางทหาร ได้ร่วมมือกับ Logos Technologies ให้ออกแบบรถมอไซค์ที่มีสมรรถนะดังกล่าวเพื่อตอบโจทย์ที่วางไว้ อยู่ในช่วงวิจัยและพัฒนา มอเตอร์ไซค์พลังงานไฮบริดที่ใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและน้ำมันทั้งยังมีเสียงเครื่องยนต์ที่เงียบ เพื่อที่นาวิกโยธินหรือหน่วยรบพิเศษจะเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายหรือเคลื่อนผ่านกลุ่มศัตรูได้อย่างเงียบเชียบไม่ให้รู้ตัว และสามารถวิ่งผ่านได้ทุกสภาพภูมิประเทศ

ช่วงไหนต้องการความเงียบก็วิ่งด้วยไฟฟ้า หากต้องการทำความเร็วก็วิ่งด้วยน้ำมันและที่สำคัญระบบระบายความร้อนด้วยอากาศต้องทำให้ข้าศึกศัตรูตรวจจับจากรังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาได้ยาก วัสดุที่ใช้และการสะท้อนสัญญาณเรดาร์ต้องช่วยลดการสะท้อน รวมไปถึงการออกแบบรูปทรงมอเตอร์ไซค์ก็ต้องหักเหคลื่นเรดาร์ได้*

จากจักรยานมาเป็นจักรยานยนต์ต่อไปก็คงรถจักรยานยนต์ไร้คนขับในสนามรบ

แต่ถ้าเราไม่ต้องรบกัน…. มันจะดีที่สุด

…………………………………

reference : wikipedia

1.https://en.wikipedia.org/wiki/Bicycle_infantry

2.https://en.wikipedia.org/wiki/World_War_II

3.https://en.wikipedia.org/wiki/Safety_bicycle

4.https://en.wikipedia.org/wiki/Penny-farthing

………………………………………………..

*สงครามเวียดนามเกิดจากอะไร

reference คุณ zodiac28 จากเว็บบอร์ด พันทิพ

https://pantip.com/topic/31861252

“เมื่อแรกที่เวียดนามประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศส ได้มีการแบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน โดยตาม Geneva Agreement ระบุว่าภายในปี 2499 จะให้ประชามติ 2 ประเทศมารวมกัน

หากแต่การรวมกันก็ไม่เกิดขึ้น เนื่องเพราะโง ดินห์ เดียมประธานาธิบดีแห่งเวียดนามใต้กลัวว่าจะถูกเวียดนามเหนือกลืน เพราะว่าเวียดนามเหนือมีวีรบุรุษแห่งเวียดนามอย่างโฮจิมินห์อยู่ คนเวียดนามทั้งหมดเคารพนับถือมาก รวมประเทศกันแล้วยังไงก็ไม่มีทางเลือกตั้งสู้ได้ หมดทางครองอำนาจ ประเทศอาจจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ประชาธิปไตยอีก โง ดินห์ เดียมจึงล้มการประชามติและครองอำนาจในเวียดนามใต้ต่อไป

เมื่อถูกหักหลังเวียดนามเหนือจึงหันมาใช้ยุทธวิธีต่างๆตั้งแต่ก่อตั้งเวียดกง จัดตั้ง National Liberation of South Vietnam และประกาศสงครามกับเวียดนามใต้เพื่อรวมชาติเวียดนามกลับเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง”

………………………………………………..

เรื่องเทคโนโลยี steath

ผมประทับใจคำตอบของ user: todtoh ในบอร์ดพันทิพครับ เลยขอยกมาอ้างอิงเพิ่มเติม
https://pantip.com/topic/31197492

เทคโนโลยี Stealth อยู่บนสี่แนวคิดหลักๆ
1.ใช้วัสดุคอมโพสิทแทนโลหะ ==>ลดการสะท้อนเรดาร์
2.พรางและลดความร้อนที่เกิดจากเครื่องยนต์และไอเสีย(หรือไอพ่น) ==> ลดโอกาสถูกตรวจจับด้วยความร้อน
3.ใช้วัสดุบุผิว และสีเคลือบผิวที่ดูดซับเรดาร์ไม่ให้สะท้อนกลับออก
4.ใช้รูปทรงแบนๆเฉียงๆ เพื่อให้คลื่นเรดาร์ที่มากระทบแฉลบออกด้านข้างแทนที่จะสะท้อนกลับไปตรงๆ

แนวทางการเอาชนะ Stealth หรือ Anti Stelth

1.ใช้เรดาร์ที่มีความแรงมากขึ้น ความไวมากขึ้น
2.ใช้เรดาร์มัลติแบนด์ เพราะเครื่อง Stealth ไม่ได้ล่องหนในทุกความถี่
3.ใช้ฐานส่งและรับเรดาร์หลายๆจุด แม้รูปทรงของ Stealth จะเบี่ยงเบนเรดาร์แฉลบออกไปอีกทิศ
แต่เครื่องรับที่อยู่อีกที่ก็จะรับได้

แนวทางการเอาชนะระบบ Anti Stealth

-ทำลายฐานเรดาร์ ระบบป้องกันภัยทางอากาศต่างๆด้วยขีปนาวุธระยะไกล และ UAV

แนวทางการป้องกันขีปนาวุธระยะไกล และ UAV
-บลาๆๆ โอ้ยย.. ชักเหนื่อย

การใช้เครื่องบิน Stealth เข้าโจมตีสถานที่ต่างๆ ไม่ได้แตกต่างจากเครื่องบินรบปกติครับ
จะต้องทำการเลือกเส้นทางที่มีโอกาสถูกตรวจจับ และมีความเสี่ยงน้อยที่สุดเช่นกัน ไม่ใช่อย่างมั่น
บินวนเล่นรอบฐานเรดาร์ข้าศึกได้

ป.ล.ตอบแบบชาวบ้านครับ แบบลึกๆเดี๋ยวมีโปรมาตอบ

………………………………………………..

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้