สำนักพิมพ์กับปัญหา International Edition

Listen to this article

 

สำนักพิมพ์ในสหรัฐ ฯ แสดงท่าทีที่ชัดเจนในการที่จะต่อสู้ยับยั้งการซื้อหนังสือจากต่างประเทศแล้วถูกนำเข้ากลับเข้ามาขายอีกครั้งในสหรัฐฯ ต่อสภาครองเกรส หลังจากที่ศาลฏีกาได้ตัดสินพิพากษาในทิศทางตรงข้ามกับพวกเขา ซึ่งในกรณีนี้จะมีความหมายโดยนัยอย่างกว้างต่อวงการค้าในระดับโลก

ในกรณีที่ สำนักพิมพ์ John Wily ฟ้อง คุณ สุภาพ เกิดแสง นั้น การตัดสินของศาลเป็นประโยชน์แก่ฝั่งทางด้าน คุณ สุภาพ ซึ่งเป็นนักศึกษาชาวไทยที่ขอให้ผู้ที่อยู่ทางเมืองไทยซื้อหนังสือที่เป็น International Edition ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าหนังสือเรียนชื่อเดียวกันในสหรัฐฯ ส่งไปให้เขา เพื่อที่เขาจะสามารถนำมันมาขายต่อทำกำไรได้ใน eBay

 

คำตัดสินของศาลที่ออกมาทำให้หุ้นของสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์หนังสือทางด้านวิชาการหลายแห่งตกลงเล็กน้อย โดยนักวิเคราะห์คาดว่าตลาด grey market* สำหรับหนังสือวิชาการ ส่งผลกระทบต่อส่วนธุรกิจหนังสือวิชาการของสำนักพิมพ์ถึง 50%    (Grey Market คือตลาดหรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ โดยที่ผู้จำหน่ายเป็นผู้นำเข้าโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์)*

*reference : Grey Market / อ.อนุชิต เที่ยงธรรม : นิตยสาร  Marketeer ฉบับที่ 39 พฤษภาคม 2546

 

Tom Allenทางด้าน Tom Allen ประธานและหัวหน้าผู้บริหารของ สมาคมสำนักพิมพ์แห่งอเมริกา กล่าวว่า “กลุ่มสำนักพิมพ์ของเราได้เตรียมตัวที่จะปกป้องสิทธิของสำนักพิมพ์ทุกวิถีทางตามกฏหมายโดยได้ยื่นเรื่องต่อสภาครองเกรสให้พิจารณาร่างกฏหมายดังกล่าว นอกจากนี้เขายังบอกด้วยว่า คำตัดสินของศาลสูงในกรณีนี้นั้นไม่ได้พิจารณาถึงลัพธ์ในภาพรวมของความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกของเรา”

 

John Wiley & Sons, Inc.,สำนักพิมพ์ John Wiley & Sons มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนิวยอร์กและเป็นเจ้าของหนังสือหลายชื่อเรื่องที่คุณ สุภาพ เกิดแสง นำมาขายต่อ ทางสำนักพิมพ์ได้แย้งต่อศาลว่า การนำหนังสือที่เป็น International Edition มาขายผ่านออนไลน์นั้นถือเป็นการละเมิดต่อกฏหมายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศและเป็นการขายตัดราคาของสำนักพิมพ์ทำให้ไม่สามารถตั้งราคาหนังสือที่ขายในตลาดต่างประเทศให้ต่ำกว่าได้

แต่ในคำตัดสินของศาลอ้างอิงจาก “หลักการขายครั้งแรก” ตามกฏหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ ที่มีผลบังคับใช้กับสินค้าที่มีต้นกำเนิดในต่างประเทศ ซึ่งยอมให้เจ้าของสินค้าเหล่านั้นสามารถนำมาขายในสหรัฐฯได้อีกครั้งโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

โดย Stephen Smith  หัวหน้าผู้บริหารของสำนักพิมพ์ Wiley  กล่าวว่า “เขารู้สึกผิดหวังกับคำตัดสินดังกล่าว  มันเป็นการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาและผู้แต่งหนังสือในสหรัฐฯ และทั่วโลก”

Stephen Smith คนซ้าย

ร้านค้าปลีกและบริษัทอีคอมเมิร์ซหลายแห่งที่ขายสินค้าหรืออำนวยความสะดวกในการขายสินค้าจากต่างประเทศในสหรัฐฯ ต่างก็พอใจกับคำตัดสินของศาล แต่พวกเขาก็ยอมรับว่ายังคงต้องมีการพูดคุยถึงเรื่องนี้กันต่อไป…

คำตัดสินของศาลในครั้งนี้ทำให้เราตระหนักได้ว่า การค้าในระดับนานาชาติกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงในยุคคอมพิวเตอร์

และต่อไปนี้การค้าในระดับโลก ไม่ใช่เพียงแค่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตสินค้าจำนวนมากแล้วขนไปใส่ตู้คอนเทนเนอร์ จากนั้นก็เตรียมส่งสินค้าลงเรือไปยังปลายทางที่ไหนสักแห่ง แต่มันหมายถึงการที่มีใครสักคนในชุดนอนกำลังขายหนังสือของเขาจำนวนหนึ่งไปให้กับใครอีกคนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้