back to top
HomeTagsคาร์บอนไดออกไซด์

คาร์บอนไดออกไซด์

ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่ ตอนที่ 2 (จบ)

เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ กำลังเติบโตอย่างเช่น บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ยิ่งเป็นการเพิ่มการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้ปริมาณคาร์บอนพุ่งไปแตะ 550 ppm ได้อย่างไม่ยากเย็นภายในปี 2050 แต่ว่าต่อให้เราขยับระดับปลอดภัยของปริมาณคาร์บอนขึ้นไปเป็น 450 ppm หรืออย่างเลวร้ายเลย 550 ppm  ประเด็นก็คือชั้นดินเยือกแข็งหรือที่เรียกว่า เพอร์มาฟรอสต์ ซึ่งเป็นชั้นดินที่ถูกแช่แข็งต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เมื่อปริมาณน้ำแข็งที่ฉาบทาอยู่ด้านบนลดลงไปทุกทีและชั้นดินที่อยู่ด้านล่างเริ่มโผล่ออกมาให้เห็น ผลที่ตามมาก็คือจะเกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมถึงก๊าซมีเทนจำนวนมากเติมเข้ามาในบรรยากาศ นอกจากนั้นแล้วน้ำแข็งผิวหน้าที่เคยถับถมไว้เมื่อละลายไปก็ไปเติมให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6 เมตร จะส่งผลให้ผู้คนนับพันล้านคนปราศจากแหล่งน้ำจืด ซึ่งถ้าหากเราไม่ลงมือทำอะไรเลยในตอนนี้ เท่ากับว่ากำลังวัดดวงว่ามันจะเกิดไหม ?

ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่ ตอนที่ 1

ในระบบสุริยะจักรวาล นับจากดวงอาทิตย์ ก็จะเรียงลำดับมาเป็น ดาวพุธ ดาวศุกร์ แล้วก็โลก แม้ว่าดาวพุธจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวศุกร์เกือบสองเท่าแต่ทว่าดาวศุกร์กลับร้อนมากกว่าดาวพุธ เนื่องจากบนดาวศุกร์มีภาวะเรือนกระจกอย่างรุนแรง มีชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่อย่างหนาแน่น ส่งผลให้อุณหภูมิที่พื้นผิวสูงกว่า 460 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศของโลกก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแล้วโลกของเราเองก็กำลังร้อนขึ้นเช่นกัน โลกของเราถือกำเนิดมาแล้วราว 4,600 ล้านปี ปัจจุบันโลกของเราอยู่ในมหายุคซีโนโซอิกซึ่งเริ่มต้นขึ้น 66 ล้านปีที่แล้ว เคยผ่านทั้งช่วงเวลาที่ร้อนกว่านี้แล้วก็เย็นกว่านี้ สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยในปัจจุบันคงอยู่มาเป็นระยะเวลา 10,000 ปีแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์เราเองก็มีวิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นด้วยเช่นกัน .....แล้วในที่สุดก็เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- Advertisement -spot_img

A Must Try Recipe