Tag: ห้องสมุด

ห้องสมุดกับปัญหา e-book

Control digital lending คืออะไร ?

อธิบายได้ว่า ภายใต้ความเป็นห้องสมุด (รวมถึงห้องสมุดบนเว็บไซต์อย่าง Internet Archive ) สามารถสแกนหนังสือทีห้องสมุดซื้อตัวเล่มเข้ามาและให้ยืมหนังสือที่สแกนแล้วนั้นแทนที่จะเอาไปถ่ายเอกสารทำสำเนา โดยให้อยู่ภายใต้กฎการยืมคืนคล้ายกับตัวเล่ม ซึ่งจะสามารถให้ยืมได้เพียงหนึ่งคนต่อครั้งเท่านั้น รวมถึงตัวหนังสือที่สแกนก็จะถูกเข้ารหัสไว้ด้วย นอกจากนั้นแล้วต้องมีเพียงฟอร์แมทเดียว เช่น pdf หรือไม่ก็ e-pub เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นเพื่อให้คงสิทธิการใช้ได้เพียง 1 คนต่อครั้ง หากมีคนยืมหนังสือที่สแกนไปแล้ว หนังสือตัวเล่มจริงก็จะไม่สามารถยืมได้เช่นเดียวกัน

ห้องสมุดกับเรื่องราวในชีวิต

หลายคนคงจะคิดว่าบัตรห้องสมุดใบแรกของฉันมาจากการที่พ่อแม่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูก แต่ไม่ใช่เลย สำหรับครอบครัวเรา การเลือกหนังสือต้องผ่านการพินิจพิจารณาจากผู้นำศาสนาและหลักสูตรบ้านเรียนตามแบบแผนของชาวคริสเตียนเสียก่อน อาจจะโชคดีอยู่บ้างที่แม่ของฉัน เธอเป็นแม่บ้านที่ทำงานบ้านและมีเวลาอยู่กับลูกทั้งวัน ดังนั้นในบางเวลาเธอจะพาฉันและลูกพี่ลูกน้องไปที่ห้องสมุด ซึ่งขากลับแขนของฉันก็จะต้องอุ้มหนังสือหมวดเดียวที่ได้รับอนุญาตให้อ่านอยู่เต็มไปหมด นั่นก็คือ หนังสือเกี่ยวกับการดูแลม้า ! ตัวฉันเองไม่เคยเรียนขี่ม้าแต่ฝันไว้ว่าอยากจะเป็นเจ้าของม้าสักตัว ฉันกวาดสายตามองดูรูปทุกรูป หนังสือทุกเล่มในหมวดหมู่ของสัตว์ที่มีในห้องสมุด แม้แต่หนังสือที่มีเนื้อหาเกินกว่าที่ฉันจะเข้าใจในตอนนั้น เหตุการณ์ดำเนินไปแบบนี้ จนไม่เหลือหนังสือในหมวดดังกล่าวให้อ่านอีกแล้ว

ต้องการ ISBN ไปทำไม

อีกเหตุผลหนึ่งที่เราจำเป็นต้องมี ISBN ให้กับหนังสือของเราก็เพราะว่า เราจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตีพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าว สมมติว่าถ้าเราเอาหนังสือของเราไปฝากขายกับเว็บไซต์อย่าง Amazon หรือ Lulu  บริษัทเหล่านี้เขาก็จะแจกหมายเลข ISBN ให้เราฟรี ซึ่งถ้าเรามีงบประมาณจำกัด มันก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่เวลาหนังสือของเราเข้าไปในฐานข้อมูล ในส่วนของสำนักพิมพ์ก็จะเป็นชื่อ Amazon แทน

บทบาทของห้องสมุดประชาชน

ในต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐฯ บรรณารักษ์ที่ดูแลบริหารระบบห้องสมุดขนาดใหญ่ เปรียบเทียบว่า ผู้ที่มาใช้บริการห้องสมุดก็เหมือนลูกค้าของบริษัทต่างๆ ซึ่งหมายความว่า ห้องสมุดก็ต้องแข่งขันกันกับบริษัทอย่าง Google หรือ Amazon แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อผลกำไร แต่เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการนั่นเอง โดยบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีการตลาดที่ค่อนข้างครอบคลุม อำนวยความสะดวกด้วยการคลิ๊กเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถดาวน์โหลดหนังสือฟรีมาอ่านได้แล้ว และเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ใครกันเล่าที่จัดว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่ห้องสมุดสามารถดูแลได้ดีที่สุด ?

ตลาดหนังสือเกิดใหม่

// // ยอดขายหนังสือในสหรัฐฯ และยุโรปไม่ขยับไปไหนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ในขณะที่สำนักพิมพ์ต่างก็พากันคิดหาวิธีการขายและแรงจูงใจในการซื้อใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ให้กลายมาเป็นลูกค้า โดยลืมนึกไปถึงตลาดเกิดใหม่ซึ่งก็คือ "กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา" ปัจจุบันมีเด็กจำนวน 250 ล้านคนทั่วโลกที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในประเทศอย่าง เฮติ รวันดา และสาธารณรัฐคองโก เป็นเรื่องยากมากที่จะหาโรงเรียนที่มีหนังสือเรียน หรืออาจมีเพียงหนังสือเรียนขาด ๆ เพียงสองสามเล่มต่อนักเรียนหลายร้อยคน น้อยมากที่จะมีโรงเรียนที่มีหนังสืออยู่จนเต็มชั้น โดยเฉพาะประเทศเฮติ มีโรงเรียนน้อยกว่า 15% ที่มีห้องสมุด ! จริง ๆ แล้วโรงเรียนเป็นสถานที่ที่จำเป็นต้องมีหนังสือมากที่สุด หากโรงเรียนไม่มีหนังสือแล้ว เด็ก ๆ จะเติบโตโดยปราศจากความรักในการอ่าน และส่งผลให้ขาดความสามารถในการอ่าน...

อนาคตของหนังสือตัวเล่ม

หนังสือกลายเป็นของศักดิสิทธิ์และห้องสมุดก็จะเป็นเหมือนกับพิพิธภัณฑ์ เราต่างก็เคยใช้การอ่านบนหน้าจอตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต แต่ทว่ายังไม่ได้แพร่หลายมากนักจนกระทั่งเครื่องอ่านอีบุ๊คส์ออกสู่ตลาดในปี 1998 ซึ่งนั่นทำให้เรามีทางเลือกใหม่เกิดขึ้นและส่งผลด้านลบต่อหนังสือตัวเล่ม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างซับซ้อนและคำว่า "หนังสือ" ก็ไม่ได้มีความหมายชัดเจนดังเช่นแต่ก่อนอีกต่อไป

เปลี่ยนห้องสมุดให้กลายเป็นสำนักพิมพ์

แต่แทนที่ห้องสมุดจะอยู่เฉย ๆ เพื่อรอไปเสี่ยงในอนาคตกับนโยบายของสำนักพิมพ์ ห้องสมุดบางแห่งเห็นโอกาสในการที่จะริเริ่มสิ่งใหม่และเป็นมิตรกับผู้อ่านมากกว่า eBook นั่นก็คือโครงการนำร่องที่ห้องสมุดได้สร้างความสัมพันธ์กับนักเขียนที่พวกเขาเขียนงานและจัดจำหน่ายผลงานในรูปแบบ eBook ด้วยตัวเอง ถือเป็นโอกาสดีสำหรับห้องสมุดในการอำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชน จากการช่วยให้นักเขียนในละแวกนั้นให้กลายมาเป็นผู้เขียนและผู้ขาย eBook ด้วยตัวเอง

e-book กำลังโตวันโตคืน แต่ห้องสมุดกลับตกอยู่ในภาวะลำบาก

รายงานช้ินใหม่จาก สมาคมห้องสมุดอเมริกัน ระบุว่า ทั้ง ๆ ที่ห้องสมุดมีจำนวน e-book สำหรับให้บริการเพ่ิมขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ห้องสมุดเองก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน ยิ่งมีความต้องการใช้ e-book เพิ่มขึ้นเท่าใด เงินอุดหนุนที่ห้องสมุดได้รับก็ลดลง ห้องสมุดกว่า 75% ในปัจจุบัน มี e-book ให้บริการ เพ่ิมขึ้นจากปีที่แล้วที่มีห้องสมุดเพียง 67.2% ในจำนวนนี้มี 39% ที่ให้ยืมเครื่องอ่าน e-book ด้วย นอกจากนี้ มีห้องสมุดราว 14% ที่ทำเว็บไซต์ของตนให้รองรับรับกับการแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์มือถือ และมีห้องสมุดราว 7% ที่มี app
Advertismentspot_img

Most Popular