Tag: e-book

อินเดียและบราซิลเป็นโอกาสใหม่สำหรับ e-book

ผู้ใช้ e-book ในสหรัฐฯ คิดเป็น 25% ส่วนอินเดียและบราซิลเป็นโอกาสใหม่สำหรับ e-book ในเดือน มีนาคมและเมษายน ที่ผ่านมา ยอดผู้่อ่าน e-book คิดเป็น ราว 1 ใน 4 ของคนอเมริกัน เพ่ิมขึ้นเกือบ 20% จากเดือนกุมภาพันธ์ ตามรายงานจาก Bowker ในการนำเสนอที่งานประชุมสัมมนาที่นิวยอร์ก เนื้อหาส่่วนใหญ่มุ่งประเด็นไปที่การใช้ของ e-book และการอ่าน e-reading ระดับนานาชาติ โดย Kelly Gallagher ประธานฝ่ายบริการสำนักพิมพ์ของ Bowker ได้ประกาศตัวเลขใหม่นี้ ในขณะที่ชาวอเมริกันส่วนให้ความนิยมในการอ่าน e-book เพิ่มขึ้น ทั่วโลกเองก็มีแนวโน้มการใช้ e-book เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

e-book กำลังโตวันโตคืน แต่ห้องสมุดกลับตกอยู่ในภาวะลำบาก

รายงานช้ินใหม่จาก สมาคมห้องสมุดอเมริกัน ระบุว่า ทั้ง ๆ ที่ห้องสมุดมีจำนวน e-book สำหรับให้บริการเพ่ิมขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ห้องสมุดเองก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน ยิ่งมีความต้องการใช้ e-book เพิ่มขึ้นเท่าใด เงินอุดหนุนที่ห้องสมุดได้รับก็ลดลง ห้องสมุดกว่า 75% ในปัจจุบัน มี e-book ให้บริการ เพ่ิมขึ้นจากปีที่แล้วที่มีห้องสมุดเพียง 67.2% ในจำนวนนี้มี 39% ที่ให้ยืมเครื่องอ่าน e-book ด้วย นอกจากนี้ มีห้องสมุดราว 14% ที่ทำเว็บไซต์ของตนให้รองรับรับกับการแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์มือถือ และมีห้องสมุดราว 7% ที่มี app

ข่าวดีสำหรับทุกคน เมื่อ ebook ไม่มี DRM

การตัดสินใจของสำนักพิมพ์ Tor Books ที่จะเลิกใช้ การจัดการสิทธิดิจิตอล DRM ( DIgital Rights Management ) นั้นเป็นการส่งสัญญาณว่าได้เริ่มต้นจุดสิ้นสุดสงครามรูปแบบที่หลากหลายของ e-book เมื่อปลายเดือนเมษายน Tor Books สำนักพิมพ์นวนิยายวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งบริษัทลูกอย่าง Tor UK ที่มีสำนักงานในอังกฤษ ได้ประกาศว่า ทางสำนักพิมพ์จะเลิกใช้ Digital Rights Management (DRM ) กับ e-book ของทางสำนักพิมพ์ทุกเล่มในฤดูร้อนนี้ ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ธุรกิจส่ิงพิมพ์ นี่เป็นการเริ่มต้นจุดจบสำหรับ DRM ซึ่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และสำนักพิมพ์ใช้มันเพื่อจำกัดการใช้เนื้อหาดิจิตอลของพวกเขาภายหลังการขาย ถือว่าเป็นข่าวดี ไม่ว่าคุณจะเป็นสำนักพิมพ์ นักเขียน หรือนักอ่าน หรือใครสักคนที่หยิบหนังสือมาอ่านเพียงปีละครั้ง

หนังสือตัวเล่มยังมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ทั้ง ๆ ที่ พื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของโลกใบนี้ยังขาดแคลนหนังสืออยู่ คนหลายพันล้านคนยังแทบไม่เคยได้ยินหรือรู้จักเครื่องอ่าน e-book ด้วยซ้ำ มีประชากรโลกกว่าสามพันล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรบนโลก มีรายได้ต่ำกว่า 85 บาทต่อวัน ซึ่งสำหรับคนกลุ่มนี้หนังสือช่างเป็นสิ่งที่หรูหราฟุ่มเฟือย เวลาที่จะพอมีเพื่ออ่านหนังสือได้นั้นก็ช่างล้ำค่าเสียยิ่งกระไร ดังนั้นสำหรับพวกเขาแล้ว การอ่านจึงเป็นเรื่องของความหรูหราไฮไซอย่างยิ่ง

สำนักพิมพ์กับห้องสมุดต่างแย่งกันเป็นใหญ่ในสงคราม E-book

เมื่อปีที่แล้ว วันคริสมาสต์ถือเป็นวันที่ยิ่งใหญ่วันหนึ่งสำหรับยอดขาย E-book ของ HarperCollins และจากการอนุมานก็คือว่าวันคริสมาสต์ปีนี้ยอดขายทั้งวันน่าจะสูงกว่าปีที่แล้ว นอกจากนี้แล้วยอดขายยังพุ่งกระฉูดสำหรับเครื่องอ่าน e-book อย่าง Kindle และ Nook โดย Amazon ได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมาว่า บริษัทได้ชาย Kindle ไปแล้วสัปดาห์ละหนึ่งล้านเครื่องในสามสัปดาห์ก่อนหน้านี้ และเราสามารถคาดเดาได้ด้วยว่า จำนวนของผู้เข้าชมในส่วน e-book ของเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนน่าจะทำสถิติสูงสุดด้วย ด้วยเหตุนี้ได้กลายเป็นความกังวลอันใหญ่หลวงสำหรับสำนักพิมพ์ ซึ่งในมุมมองของสำนักพิมพ์นั้น การยืม e-book จากห้องสมุดเป็นสิ่งที่ง่ายดายมาก นั่นก็หมายความว่าหากคนเหล่านั้นเลือกที่จะคลิ๊กเพื่อยืมหนังสือ e-book จากห้องสมุดมากกว่าที่จะคลิ๊กเพื่อซื้อหนังสือแล้วล่ะ ดังนั้นสำนักพิมพ์ใหญ่ ๆ ในสหรัฐฯ จึงปิดกั้นไม่ให้ห้องสมุดสามารถเข้าถึง e-book ไม่ว่าจะเป็นจากหัวเรื่องที่สำนักพิมพ์มีทั้งหมดหรือหัวเรื่องที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมา Maja Thomas รองประธานอาวุโสของ Hachettte Book Group แผนกดิจิตอล กล่าวว่า "คุณต้องเดินหรือขับรถไปที่ห้องสมุด จากนั้่นก็เดินกลับหรือขับรถกลับมาเพื่อคืนหนังสือ" และหนังสือตัวเล่มไม่ได้คงอยู่ตลอดไป ในที่สุด หนังสือเล่มที่มีคนนิยมยืมไปอ่านมากที่สุดนั้นก็ต้องถูกแทนที่ด้วยเล่มใหม่ "การขายหนังสือหนึ่งเล่มที่สามารถยืมไปอ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยไม่มีการเสื่อมสภาพนั้นไม่ใช่โมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนสำหรับเรา" เธอกล่าว ดังนั้น Hachette จึงหยุดการให้ยืม e-book ผ่านห้องสุมดในปี 2009

ตัดสินหนังสือจากหน้าปก แล้ว E-book ล่ะ ตัดสินจาก ?

สำนักพิมพ์ต่าง ๆ พากันเพิ่มประสิทธิภาพของการดีไซน์เข้าไปกับปกหนังสือบางหัวเรื่อง เช่นการปั๊มอักษรตัวนูน เคลือบภาพถ่ายพิเศษ ขลิบทอง เป็นต้น นอกจากการทำหนังสือให้สวยงามแล้ว ความตั้งใจหลักก็คือการสื่อให้ผู้อ่านตระหนักถึงเหตุผลที่ต้องซื้อหนังสือแบบตัวเล่ม สำหรับใครก็ตามที่หลงรักหนังสือแบบตัวเล่มนั้นย่อมต้องการที่จะเป็นเจ้าของ ได้สัมผัสและมีหนังสือเล่มงามไว้โชว์บนชั้นเวลาเพื่อน ๆ พากันมาเที่ยวบ้าน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประสบการณ์ที่ E-book ไม่อาจทำได้ หากจะเปรียบเทียบกับธุรกิจเพลงที่ล้มหายตายไปนั้นก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียวนักแต่ก็มีเรื่องราวบางอย่างที่คล้ายกัน บางครั้งที่คุณซื้อ CD หรือแผ่นไวนิลของอัลบัมเพลงโปรด คุณจะได้รับปกซีดีอันสวยงามหรือไม่ก็โปสเตอร์หรือหีบห่อที่สวยงามซึ่งหาไม่ได้จากการซื้อเพลงในรูปแบบ MP3 มันเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีซึ่งคุณสัมผัสมันได้ สามารถสื่อเนื้อหาในทุกทางเท่าที่เป็นไปได้ นี่เป็นประสบการณ์ง่าย ๆ ที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้โดย iPad อย่างน้อยก็ ณ เวลานี้ ส่วนตัว ผมชอบการทำให้หนังสือมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งที่ผมสนใจมากเป็นพิเศษคือปฏิกริยาที่มีต่อบทความนี้จากเพื่อนร่วมวงการสิ่งพิมพ์บางคน ซึ่งใช้เป็นข้อพิสูจน์ว่าหนังสือแบบตัวเล่มไม่ได้หายไปไหน "ดูนี่สิ" ผมบอกคุณ คนอ่าน E-Book เหล่านั้นไม่ได้กำลังเข้ามาครอบครองไปเสียทั้งหมด หนังสือตัวเล่มยังไม่ได้หายไปไหน ความจริงก็คือว่า ความปรารถนาที่อยากจะได้หนังสือที่มีหน้าปกที่สวยงามยังคงไม่เปลี่ยนแปลง การออกแบบหนังสือที่สวยงามและการพิมพ์หนังสือตัวเล่มยังคงดำเนินไปในแง่มุมที่ E-Book ไม่สามารถทำได้

พ่อแม่ยังต้องการให้ลูกน้อย อ่านหนังสือแบบตัวเล่ม

 ร้านหนังสือออนไลน์-Herothailand.comหนังสือตัวเล่มอาจจะตกอยู่ในวงล้อมจากการเพิ่มขึ้นของ e-book แต่ยังมีกลุ่มผู้อ่านที่เหนียวแน่นกับหนังสือแบบตัวเล่ม อย่างกลุ่มของเด็กเล็กและเด็กที่กำลังหัดเดิน ซึ่งพ่อแม่ของพวกเขาย้ำว่าต้องการให้ลูก ๆ ได้ใช้เวลาช่วงเริ่มต้นชีวิตด้วยการอ่านหนังสือแบบตัวเล่ม นี่เป็นกรณีที่แม้แต่พ่อแม่ที่เป็นนักอ่านหนังสือตัวยงที่ตั้งหน้าตั้งตาดาวน์โหลดหนังสือของพวกเขาลงใน Kindle iPad  โน๊ตบุ๊คและโทรศัพท์ พวกเขายอมรับอย่างเปิดเผยถึงความมีสองมาตรฐาน  พวกเขาต้องการให้ลูก  ๆ ถูกรายล้อมด้วยกองหนังสือ ให้มีประสบการณ์กับการเปิดหนังสือทีละหน้า เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรง สีและสัตว์ต่าง ๆ พ่อแม่กลุ่มนี้ยังบอกด้วยว่า พวกเขาชอบที่จะกอดลูก ๆ พร้อมกับหนังสือด้วยความรักใคร่ และเกรงว่าแท็บเล็ตจะดึงดูดความสนใจทั้งหมดไป นอกจากนี้หากเป็นเด็กๆ ที่ชอบบ้วนหรือเล่นน้ำลาย หนังสือดูจะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแท็บเล็ต Leslie Van Every  วัย 41 ปี ผู้ใช้ Kindle...

จีนพบอนาคตของสื่อสิ่งพิมพ์แล้วหรือยัง ?

มีเว็บไซต์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานตัวเองหลายแห่ง ซึ่งผู้อ่านสามารถจ่ายเงินค่าบริการจำนวนเล็กน้อยเพื่อเข้าไปอ่านเนื้อเรื่องตอนล่าสุดของนักเขียนยอดนิยม ได้กลายเป็นความสำเร็จที่น่าตื่นเต้นในประเทศจีน และเกิดคำถามตามมาว่ามันทำได้จริง ๆ เหรอ? การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานตนเอง กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เราทุกคนต่างก็รู้ดี นักเขียนคนหนึ่งที่ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานตนเองและขายได้หลายล้านเล่มผ่านทาง Kindle Store ของ Amazon เบียดนักเขียนคนอื่น ๆ ที่เขียนหนังสือเป็นเล่มให้หล่นไปจากอันดับหนังสือขายดีที่สุดในหมวด e-book แต่คุณรู้หรือไม่ว่า เว็บไซต์ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานตนเองนั้นได้ดึงดูดนักท่องเน็ตชาวจีนกว่า 40% ให้เข้ามายังเว็บไซต์เหล่านี้ทุก ๆ เดือน รูปแบบการทำธุรกิจของสำนักพิมพ์เหล่านี้ เรียกว่า สำนักพิมพ์ Freemium คือมีเนื้อหาบางส่วนให้อ่านได้ฟรี และหากผู้อ่านต้องการอ่านต่อหรือต้องการเข้าใช้บริการมากกว่าเดิมก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกเล็กน้อย จำนวนเว็บไซต์ที่ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานตนเองมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีงานหลายพันชิ้นให้อ่านฟรีบนเว็บไซต์ไล่ไปตั้งแต่ วรรณคดีทางประวัติศาสตร์ไปจนถึงนวนิยายวิทยาศาสตร์ ที่เขียนขึ้นโดยนักเขียนในเว็บไซต์ของพวกเขา
Advertismentspot_img

Most Popular