21 Lessons for the 21st Century

0
848

ช่วงปิดปีใหม่ แอดมินอยู่บ้าน นอนอ่านหนังสือบางทีก็นั่งอ่าน 21 Lessons for the 21st Century Hardcover เขียนโดย Yuval Noah Harari 

คือบ้านแอดมินอยู่ตรงไฟแดง แค่เห็นปริมาณรถก็ไม่อยากออกไปไหนแล้ว หลายคนก็ไปเค้าท์ดาวน์ ตัวเองผ่อน ลามไปรีไฟแนนซ์ต่อ ฮาาา…

21 Lessons for the 21st Century

หนังสือ 21 Lessons for the 21st Century เขียนได้ดีมากครับ คือ คุณ Yuval Noah Harari ปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์จาก University of Oxford เขียนหนังสือมาแล้วสามเล่ม แกเขียนได้ดีทุกเล่ม เป็นนักเขียนคนโปรดเลยก็ว่าได้  คนนี้เคยพูดที่ TED ด้วย ฟังง่าย

ที่สำคัญหนังสือดังกล่าว พูดถึง useless class people ซึ่งแอดมินเองก็ได้ฟังคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พูดถึงใน ส่องอสังหาฯ 2019 ของประชาชาติออนไลน์ ซึ่งสามารถหาดูได้ใน youtube นะครับ

เกริ่นนำของหนังสือ

“ประชากรโลกมีเจ็ดพันล้านคน มีเจ็ดพันล้านเรื่องราว แม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องเเลี้ยงลูกอีกสองคนในสลัมที่มุมไบกำลังคิดหนักว่าจะหากับข้าวมื้อต่อไปอย่างไร ในขณะที่ผู้อพยพบนเรือกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพยายามเพ่งตามองไปยังเส้นขอบฟ้าอันไกลโพ้นเผื่อว่าจะเห็นแนวแผ่นดินโผล่ขึ้นมา และชายที่กำลังใกล้ตายในโรงพยาบาลที่ลอนดอนซึ่งคราคร่ำไปด้วยผู้คนกำลังรวบรวมความเข้มแข็งที่เหลืออยู่เพื่อสูดลมหายใจได้อีกสักเฮือก….

พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีปัญหาเร่งด่วนให้คิดให้แก้ไขมากกว่าเรื่องภาวะโลกร้อนหรือวิกฤติประชาธิปไตย

ไม่มีหนังสือเล่มใดจะไปตัดสินพวกเขาได้และผมเองก็ไม่ได้บทเรียนใดไปสอนพวกเขาในแต่ละสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ ผมแค่หวังว่า…จะได้เรียนรู้จากพวกเขาต่างหาก….”

และเนื้อหาของหนังสือก็กำลังจะชี้ให้เราเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้น

…ในขณะที่หุ่นยนต์และ AI จะเข้ามาทดแทนมนุษย์ไปทุกที ทุกที ….

Advertisement


นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือของ Dan Lyons ที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากันครับ

Dan Lyons อดีตนักเขียนสายเทคโนโลยีของ Newsweek  เล่าว่าเมื่อสองสามปีก่อนเขารู้สึกค่อนข้างอึดอัดเมื่อได้เข้าไปในบริษัท Hubspot ซึ่งเป็น Start up ที่ทำเกี่ยวกับซอฟท์แวร์

Disrupted : My Misadventures in the Start-Up Bubble

ตอนแรกเขาก็ไม่แน่ใจว่าตาฝาดไปหรือเปล่าเมื่อมองเห็นเด็กวัยรุ่นในบริษัทกำลังเล่นปิงปองหรือนั่งเล่นอยู่บนเก้าอี้ยัดโฟมเม็ดบีนแบก ดูสบายเหลือเกิน แต่หลังจากนั้นไม่นาน สิ่งที่เขาคิดว่าเป็นภาพลวงตาก็หายไป เขานึกย้อนกลับไป “ภายใต้เปลือกนอกที่ดูล่องลอยนั้น หากมองดูดี ๆ  มีหลายคนกำลังหงุดหงิด เครียด ตระหนก ไม่มีความสุข”

เขาเขียนหนังสือขายดีที่พูดถึงประสบการณ์นั้นซึ่งก็คือหนังสือชื่อ Disrupted : My Misadventures in the Start-Up Bubble 

Lab Rats: How Silicon Valley Made Work Miserable for the Rest of Us

ต่อมาในหนังสือของเขาชื่อ Lab Rats: How Silicon Valley Made Work Miserable for the Rest of Us เขาได้เขียนถึงวัฒนธรรมการทำงานที่กดขี่ซึ่งได้พบเห็นมาในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ตอนนี้กำลังแพร่กระจายไปยังภาคธุรกิจอื่นรวมทั้งบางส่วนของภาครัฐบาลแล้วเช่นกัน

บริษัทร่วมทุนที่เป็น Start up ด้านเทคโนโลยีจะมีโมเดลธุรกิจบริหารจัดการในรูปแบบที่ทำให้พนักงานเกิดการหมุนเวียนเปลี่ยนกันเข้าออกอยู่เสมอในอัตราที่สูง ในขณะที่เขาย้ำว่าเหตุผลก็เนื่องจาก ค่าจ้างต่ำ ทำงานหนักจนล้า จากนั้นก็ลาออก โดยเป้าหมายคือการสร้างมูลค่าให้บริษัทสูงสุดในระยะเวลาสั้นที่สุดเพื่อรอวันที่จะแต่งตัวเข้าตลาดและทำเงินได้อย่างเป็นกอบเป็นกำในวันแรกที่เปิดขาย IPO

Reid Hoffman ผู้ก่อตั้ง LinkedIn เชื่อว่า เราควรคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับพนักงานเป็นไปในรูปแบบของ “tour of duty” ท่องไปในหน้าที่ ทางด้าน Netflix ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องความโหดของฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้ระบุถึงวัฒนธรรมองค์กรไว้ว่า องค์กรคือทีมงานที่ทำงานร่วมกันไม่ใช่ครอบครัว แนวความคิดที่คุณนำเสนอต่อทีมงานเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ด้วยประสิทธิภาพการทำงานของคุณ ในขณะที่ความรักของครอบครัวซึ่งเป็นรักที่ไม่มีเงื่อนไขนั้นเป็นการผูกพันที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ

Lyons ชี้ให้เห็นได้อย่างถูกต้องเรื่องความคล้ายคลึงกันที่สวยแต่รูปหาได้มีเนื้อในเฉกเช่นเดียวกันระหว่างองค์กรธุรกิจกับสโมสรกีฬาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง  เนื่องจาก “ทีมกีฬาที่ประสบความสำเร็จนั้นมันมาจากการที่นักกีฬาในทีมรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัว”

หากเรามองย้อนกลับไปจะพบว่าความไม่มั่นคงในหน้าที่การงานและค่าจ้างที่ไม่สมดุลย์นั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยประธานาธิบดี โรนัล เรแกนและมากาเร็ต แทตเชอร์ แต่ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีดิจิตอลได้ทำให้แนวโน้มดังกล่าวแย่ลงไปอีก

ทำให้บริษัทใหม่ ๆ หลายต่อหลายแห่ง อย่างเช่น  Uber สามารถก่อรูปก่อร่างและบริหารจัดการพนักงานหรือลูกจ้างเป็นกองทัพขนาดใหญ่ในราคาค่าจ้างที่ต่ำได้ สิ่งใดก็ตามที่บรรดาคนทำงานเหล่านี้ได้รับจากความยืดหยุ่นส่งผลดีกับพวกเขามากกว่าการเสียผลประโยชน์ จึงเกิดระบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า “gig economy” ซึ่งก็คือระบบเศรษฐกิจแบบพวกงานพาร์ทไทม์ ฟรีแลนซ์  outsource ไม่ใช่งานประจำ

แต่การทำงานไม่ประจำนั่นก็หมายถึงการไม่มีประกันสุขภาพ ไม่มีค่าชดเชยหลังการเกษียณ ไม่มีค่าตอบแทนระหว่างลาคลอดหรือค่าชดเชยวันหยุด ซึ่งทั้งหมดนี้ Stephen DeWitt ซีอีโอของ Labour clouds ที่ให้บริการจัดหาฟรีแลนซ์ มองว่าเป็นความไม่มีประสิทธิภาพของการจ้างงานรูปแบบเดิม

เมื่อพูดถึงหลักฐานที่เชื่อมโยงกันของความเครียดอ่อน ๆ แต่เรื้อรังต่อภาวะสุขภาพจิตที่ถดถอยลงนั้น พบว่าตัวเลขการใช้ยารักษาอาการซึมเศร้าเพิ่มขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ทำให้เรานึกถึงเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนความไม่มั่นคงหรือไม่มีหลักประกันว่าเป็นดังเช่นระเบิดเวลาของการสาธารณสุข

มันเป็นความย้อนแย้งที่โหดร้ายที่คนทำงานแทบทุกคนซึ่งอ่อนแรงจากวัฒนธรรมการทำงานหนักหลายชั่วโมงติดต่อกันจะยอมแพ้ต่อแรงความรู้สึกสิ้นหวังอันเพิ่มขึ้นทุกทีที่พวกเขามีต่อนายจ้าง ลำพังความสามารถเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถก้าวข้ามมันไปได้ Lyons ได้สัมภาษณ์ผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกเจ้านายไล่ออกด้วยเหตุผลที่ว่าเธอดูไม่กระฉับกระเฉงเท่าที่ควร

การทำงานตอบโจทย์  “ทุนนิยมของผู้ถือหุ้น” ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรในระยะสั้นเป็นสิ่งสำคัญให้กับผู้ถือหุ้น ในขณะที่พนักงานลงทุนในสุขภาพและความสุขของพวกเขา

หนังสือช่วงสองสามเล่มที่พูดถึงไปทั้งหมดนี้ ทำให้เราพอจะออกแบบชีวิตในวันต่อไปของเรา คิดไตร่ตรองทบทวน  หรือถ้าไม่ใช่ของเรา ก็พอจะเห็นอะไรลาง ๆ สำหรับลูกเรา เด็ก ๆ ของเราได้บ้าง

เราต้องพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงโดยมีความเครียดน้อยที่สุดและมีกำลังใจให้มากที่สุด

Fortune  favours the Brave.

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ครับ
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM

บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here