การทูตกับดักหนี้ ดีหรือไม่ดี ?

Listen to this article

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ลงทุนกับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศอาฟริกาซึ่งก่อให้เกิดความกังวลแก่ชาติตะวันตก

Debt-trap diplomacy การทูตกับดักหนี้ คือวลีที่ใช้อธิบายถึงความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศ ที่ประเทศผู้ให้กู้ปล่อยเงินกู้ให้ประเทศใดประเทศหนึ่ง เมื่อประเทศผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา ก็จะอาศัยการจูงใจด้วยการยืดระยะเวลาชำระหนี้ การผ่อนผันหนี้หรือการปล่อยเงินกู้รอบใหม่เพื่อนำไปจ่ายเงินกู้รอบก่อนหน้าโดยมีนัยแอบแฝงในการที่จะเพิ่มอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของตนในประเทศนั้นหรือในภูมิภาคที่ประเทศดังกล่าวตั้งอยู่ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศผู้ให้กู้นั่นเอง

ดังนั้นคำว่ากับดักหนี้จึงถูกบัญญัติขึ้นเมื่อมีประเทศหนึ่งให้เงินกู้ยืมแก่ประเทศต่าง ๆ ที่ยากจน โดยตั้งใจหรือมีแผนในใจว่าจะมีแผนปล่อยเงินกู้ให้แก่พวกเขาจนกระทั่งเกิดหนี้ท่วมตัวไม่สามารถใช้หนี้ได้ บีบให้พวกเขาต้องยอมให้เจ้าหนี้เข้าถือครองสินทรัพย์ทางยุทธศาสตร์หรือยินยอมให้เข้ามามีอิทธิพลทางด้านการเมืองของประเทศดังกล่าว

เราได้เห็นการลงทุนของจีนรวมถึงโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของจีนมากมายที่เชื่อมโยงไปถึงการเพิ่มอิทธิพลของจีนภายในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการซึ่งในที่สุดก็จะจบลงด้วยการไปถึงจุดที่จีนมีอิทธิพลมากขึ้นต่อนโยบายของประเทศเหล่านี้ รวมถึงอาจจะชี้นำการตัดสินใจของผู้นำประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับจีนในเรื่องสำคัญต่าง ๆ และนั่นก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสหรัฐฯ รวมทั้งพันธมิตร

……

From Zambia To Tanzania: Africa’s Railway Of Independence | TRACKS

หลังจากที่กาน่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ นับจากทศวรรษที่ 50 มาจนถึงทศวรรษที่ 70 หลายประเทศในทวีปอาฟริกาต่างก็ทยอยได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคมชาวยุโรป สหรัฐฯและองค์กรชั้นนำของยุโรปอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือว่า IMF และธนาคารโลกต่างก็ให้เงินอุดหนุนเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นจำนวนมากทั่วทวีปอาฟริกา แต่แล้วความช่วยเหลือก็ค่อยๆ  ลดน้อยลงไปทุกที โดยสหรัฐฯ และยุโรปพากันลดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่รัฐบาลจีนได้เริ่มสร้างทางรถไฟสาย Tazara ซึ่งเชื่อมระหว่างเมือง Kapiri Mposhi ในประเทศแซมเบียไปยังท่าเรือ Dar es Salaam ในแทนซาเนีย ในเวลานั้นนี่คือทางรถไฟที่ยาวที่สุดของกลุ่มประเทศรอบทะเลทรายสะฮารา ทำให้แซมเบียสามารถขนส่งทองแดงไปยังท่าเรือได้สะดวกยิ่งขึ้น

จีนบอกกับอาฟริกาว่า “เรามีปัญหา คุณเองก็มีปัญหา  เราจะช่วยคุณเอง” แล้วจีนก็ทำตามที่ได้พูดไว้ และนี่คือจุดเริ่มต้นของเมล็ดพันธุ์ในยุคแรกที่ได้เพาะปลูกลงในแผ่นดินอาฟริกา ในช่วงต้นปี 2000 เมื่อจีนต้องการขยายตลาดการค้าและอิทธิพลทางด้านการเมืองออกไปทั่วโลก การลงทุนของจีนในอาฟริกาก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

จีนมีความได้เปรียบจากการที่มีโครงสร้างพื้นฐานการผลิตขนาดใหญ่ ทั้งเร็วและถูกแถมยังมีเงินทุนมาก จึงสามารถปล่อยกู้ได้ง่าย นอกจากนั้นแล้วยังมีบริษัทจีนอีกมากมายที่สามารถจ้างมาทำงาน พวกเขามีทักษะและความพร้อมตามที่ต้องการเพื่อให้ได้ผลงานที่รวดเร็วในราคาถูก ซึ่งมันเป็นการตอบโจทย์ที่สมบูรณ์แบบมากให้กับอาฟริกา

พวกเขาตระหนักได้ว่าการพัฒนาของอาฟริกานั้นอยู่ในขั้นตอนไหน จีนเคยผ่านจุดนี้มาเมื่อ 30 ปีก่อน จึงรู้ดีว่าเป็นเช่นไร อาฟริกาไม่ได้มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับอย่างเพียงพอ นอกจากนั้นแล้วยังมีประชากรขนาดใหญ่และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แถมยังมีประวัติศาสตร์ร่วมกันในเรื่องของการต่อสู้จากการล่าอาณานิคม ดังนั้นจึงค่อนข้างสมเหตุสมผลกับการเข้ามาของจีน ซึ่งในเวลานี้จีนเกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศในอาฟริกากว่า 35 ประเทศ และมีนัยสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มประเทศเหล่านั้นอย่างเช่นท่าเรือ เส้นทางรถไฟ โรงไฟฟ้า เป็นต้น

มีการประเมินว่าจีนได้ลงทุนมากกว่า 340 พันล้านเหรียญฯ ในอาฟริกา เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการลงทุนของจีนทั่วโลกแล้วเงินจำนวนดังกล่าวไม่ได้มากมายอะไร แต่สำหรับอาฟริกาแล้วมันเป็นเม็ดเงินที่มากโขอยู่ทีเดียว จากการที่อาฟริกาต้องเผชิญกับช่องว่างขนาดใหญ่ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานดังนั้นเม็ดเงินดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างมาก

Advertisement SHOPEE THAILAND

โซฟา 1 ที่นั่ง ปรับระดับได้ อเนกประสงค์ ปรับเอนได้

ทำไมต้องกู้เงินจากจีน ทำไมไม่กู้เงินจากธนาคารโลกหรือ IMF

จากการที่จีนก้าวเข้ามาในบริบทนี้ ประเทศที่กำลังพัฒนาต่างก็ยินดีเนื่องจากพวกเขาเองก็จะได้มีเงินทุนเพิ่มขึ้นในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่อย่างไรก็ตามการที่จีนต้องการให้โครงการต่างๆ เห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็วนั้น ไม่ว่าจะให้โครงการเดินหน้าหรือว่าเริ่มก่อสร้าง ทำให้มองข้ามการตรวจสอบสถานะ การประเมินทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ความยั่งยืนทางด้านการเงิน การประเมินความยั่งยืนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมดูเหมือนจะถูกละเลยหรือทำกันแบบขอไปทีหรือทำแบบไม่โปร่งใส ซึ่งผลของการไม่ใส่ใจดังกล่าวก็มักจะจบลงด้วยการที่รัฐเข้ามายึดโครงการต่าง ๆ ที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยคิดว่าจะเป็นความรุ่งเรืองสร้างเม็ดเงินให้ได้ โชคไม่ดีที่ตอนนี้โครงการเหล่านั้นต่างก็จมลงในกองหนี้

การกู้ยืมเงินจากจีนทำได้ง่ายที่สุด เพราะจีนไม่ได้ตรวจสอบเครดิตของผู้กู้ยืมอย่างเคร่งครัด

การกู้ยืมเงินจาก IMF นั้นมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดรวมถึงมีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากตรวจสอบแล้วมีการประเมินว่าการปล่อยเงินกู้จะส่งผลให้ประเทศดังกล่าวจมอยู่ในปัญหาวิกฤติหนี้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมก็จะไม่อนุมัติเงินกู้

มันก็คงคล้าย ๆ กับการที่เราไปขอกู้เงินธนาคาร ธนาคารไม่อนุมัติสักที แถมยังขอเอกสารเพิ่ม ไม่เหมือนไปกู้เงินนอกระบบ ไม่กี่อึดใจก็ได้เงินมาหมุนแล้ว

……

source : https://www.bu.edu/gdp/chinese-loans-to-africa-database/

หนี้เงินกู้ของเคนยาและไนจีเรียกำลังพอกพูนขึ้น เส้นทางรถไฟของเคนยามูลค่า 3.6 พันล้านเหรียญฯ จากเมืองมอมบาซาไปยังไนโรบี ซึ่งมีรายงานว่าขาดทุนสะสมราว 200 ล้านเหรียญฯ นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการมาได้ 3 ปี นอกจากนั้นแล้วเงินกู้จำนวน 1.3 พันล้านเหรียญฯ จาก China Exim Bank เพื่อลงทุนในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดของไนจีเรียซึ่งก็คือเส้นทางรถไฟจากกรุงลากอสไปยัง Kano ความยาว 157 กิโลเมตร ลำพังรัฐบาลไนจีเรียเองไม่สามารถจัดหาเงินลงทุนขนาดนั้นได้ ภาคเอกชนก็ไม่อาจทำได้เช่นกัน ชาติตะวันตกก็ไม่ได้มีทางเลือกอื่นให้ ดังนั้นจึงมีแต่เพียงจีนที่เข้ามา ทำให้การปล่อยเงินกู้ดูเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล ขณะเดียวกันพรรคฝ่ายค้านได้ติดตามโครงการดังกล่าวทั้งวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในสิ่งที่พวกเขามองว่าขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินกู้จากจีน  มีความกังวลในเรื่องดังกล่าวในหลายภาคส่วนของอาฟริกาว่าจีนจะเข้ายึดครองทรัพย์สินของชาวไนจีเรียหากรัฐบาลไนจีเรียไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ได้ แต่หากเรามองให้ลึกลงไปที่หนี้สาธารณะทั้งหมดของเคนยาและไนจีเรีย เราก็จะพบความจริงอีกแบบ

สำหรับเคนยาแล้ว สัดส่วนหนี้เงินกู้ของจีนคิดเป็น 10% ของหนี้สาธารณะของประเทศที่มีอยู่ 70,000 พันล้านเหรียญฯ ส่วนของไนจีเรียสัดส่วนหนี้เงินกู้ของจีนอยู่ที่ 3-4% ของหนี้สาธารณะของประเทศ นั่นหมายความว่าเราต้องใส่ใจพิจารณากับข้อมูลตามจริงไม่ใช่เรื่องราวปรุงแต่ง แต้มสี ที่มองว่าเคนยากำลังจะถูกจีนครอบงำ ประเทศเดียวไม่อาจควบคุมประเทศหนึ่งประเทศใดได้เพียงแค่พวกเขาเป็นเจ้าหนี้ 4-10% ของหนี้สาธารณะของประเทศนั้น มีประเทศในกลุ่มอาฟริกาเพียงแค่หยิบมือที่มีสัดส่วนหนี้เงินกู้ของจีนในระดับที่สูงมาก อาฟริกาไม่ได้มีปัญหาเรื่องหนี้เงินกู้จีน เพียงแองโกลาประเทศเดียวที่มียอดหนี้คิดเป็น 1 ใน 3 ของหนี้เงินกู้ที่จีนปล่อยกู้แก่กลุ่มประเทศอาฟริกา ซึ่งถ้าหากเราตัดแองโกลาออกไปจากประเด็นนี้ เราก็จะเห็นบริบทตามความเป็นจริงมากขึ้น

China-funded infrastructure across Africa force difficult decisions for its leaders

แต่ทว่าก็มีตัวอย่างการกู้ยืมเงินที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามตามมามากมาย อย่างเช่นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

คองโกนั้นมีอุตสาหกรรมการทำเหมืองที่ค่อนข้างสำคัญอย่างมากเป็นแหล่งผลิตทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในอาฟริกา นอกจากนั้นแล้วยังเป็นแหล่งโคบอลต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วยซึ่งโคบอลต์ก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของการทำแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้า เราได้ยินนักการเมืองคองโกพูดว่า “เรามีโคบอลต์เหมือนกันกับที่ซาอุดิอาระเบียมีน้ำมัน” แต่อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งถึงตอนนี้ ผลประโยชน์ที่เป็นรายได้เข้ารัฐ หรือว่าผลประโยชน์ที่มีต่อผู้คนส่วนใหญ่นั้นกลับมีเพียงน้อยนิด นอกจากนั้นแล้วการที่จีนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างเช่น ถนน โรงพยาบาล เป็นมูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญฯ เพื่อแลกกับการถือหุ้น 67% ในบริษัทร่วมทุนอย่าง Gecamines ที่รัฐบาลคองโกถือหุ้นอยู่

ในปี 2008 จีนและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกได้บรรลุข้อตกลงว่าบริษัทจีนทั้งหมดจะได้รับเงินกู้เพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวม 3 พันล้านเหรียญฯ และลงทุนในการทำเหมืองทองแดง เหมืองโคบอลต์ อีกราว 3.2 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งรายได้ที่ปลอดภาษีจะจ่ายคืนให้กับเงินกู้เพื่อการลงทุนทั้งคู่ที่ว่ามา ต่อจากนั้นไม่นานจีนที่ให้การช่วยเหลือลงทุนทำเหมืองเหล่านี้ในตอนแรกก็ได้ก้าวเข้ามาครอบงำอุตสาหกรรมดังกล่าวซึ่งเป็นหัวใจของเทคโนโลยีแห่งอนาคต

มีเอกสารที่รั่วไหลออกมาเผยให้เห็นว่ามีเม็ดเงินหลายล้านเหรียญฯ ที่มาจากบริษัทจีนรวมถึงโครงการทำเหมืองมูลค่าหลายพันล้านเหรียญฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอรัปชั่น

นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีปัญหาจิปาถะอื่น ๆ อย่างเช่น การลักลอบค้างาช้าง ความปลอดภัยของคนงานเหมืองที่เสี่ยงกับเหตุการณ์เหมืองถล่ม หรือมีการลักพาตัวคนงานเหมือง เป็นต้น

Report slams Congo’s $6 billion China mining deal

เอาละ ถ้าอาฟริกาดูจะไกลตัวไป เราลองมาพิจารณาในเอเชียของเราดูบ้าง

เหตุใดชาติในเอเชียจึงติดกับดักหนี้ของจีน ?

ลาวคือประเทศล่าสุดที่ตกเป็นเหยื่อของกับดักหนี้จีน

ประเทศล่าสุดที่ได้เผชิญการทูตกับดักหนี้ ลาวเป็นประเทศที่มีพรมแดนด้านทิศเหนือติดกับจีนเพียงเล็กน้อยแต่มีพรมแดนส่วนใหญ่ติดกับไทยและเวียดนาม หลายคนเปรียบเทียบการทูตกับดักหนี้ของจีนเหมือนกับการกระทำในยุคล่าอาณานิคม ซึ่งประเทศล่าสุดที่ตกเป็นเหยื่อก็คือประเทศเล็ก ๆ อย่างลาวที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

ลาวมีปัญหาในการจ่ายคืนเงินกู้ให้กับจีน ดังนั้นจึงต้องยอมให้จีนเข้ามาบริหารจัดการโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ก็เนื่องจากรัฐวิสาหกิจของลาวที่ดูแลโรงไฟฟ้ามีหนี้เงินกู้ที่เพิ่มขึ้นไปสูงถึง 26% ของ GDP  ในขณะที่ทางศรีลังและปากีสถานต่างก็กำลังขอเงินกู้รอบใหม่จากจีนเพื่อมาจ่ายเงินกู้รอบก่อนหน้า ดูจากสถานการณ์แล้วก็เข้าสู่วังวนที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นติดอยู่ในกับดักหนี้ ทำไมพวกเขาไม่กู้คนอื่น คำตอบก็คือเพราะมีเพียงจีนที่มีเงินสดเหลือในตอนนี้

สินทรัพย์ทางยุทธศาสตร์ที่ถูกจีนเข้ายึดได้แก่ Hambantota Port ของศรีลังกา ทางด้านของปากีสถานก็ได้แก่ Gwadar port เพียงระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี ศรีลังกาได้เซ็นต์ยกมอบท่าเรือที่มีศักยภาพทางยุทธศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียให้แก่จีนรวมพื้นที่โดยรอบอีกกว่า 37,500 ไร่เป็นเวลา 99 ปี

ทางด้านปากีสถานก็ได้ให้สิทธิพิเศษกับจีน ควบคู่ไปกับการยกเว้นภาษี (tax holiday) เพื่อบริหารจัดการ Gwadar port เป็นเวลา 40 ปี โดยรายได้จากท่าเรือดังกล่าวจะตกเป็นของจีน 91%  นอกจากนั้นแล้วไม่ไกลจากท่าเรือซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางแยกของเส้นทางเดินเรือขนส่งพลังงานของโลกไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ จีนก็มีแผนจะสร้างฐานทัพเรือคล้าย ๆ กันกับที่จิบูติอีกด้วย ส่วนทาจิกิสถานที่กู้ยืมเงินจากจีนในปี 2006 ก็ตามมาด้วยการยกพื้นที่ราว 1,158 ตารางกิโลเมตรบนภูเขา Pamir ให้กับจีนพร้อมทั้งอนุญาตให้บริษัทของจีนสามารถเข้ามาทำเหมืองทองคำ เงินและแร่ธาตุอื่น ๆ ได้ เพื่อเป็นการผ่อนปรนหนี้

………

จากหุ้นส่วนทางธุรกิจกลายมาเป็นผู้บริหารธุรกิจ

โดยทั่วไปแล้วจีนจะเริ่มต้นจากการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับประเทศอื่น ๆ เพื่อที่ในที่สุดจะได้กลายมาเป็นผู้บริหารธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น มัลดีฟ ที่จีนได้เปลี่ยนเงินกู้ก้อนใหญ่ให้กลายเป็นอิทธิพลทางการเมือง รวมถึงการเข้าถือครองเกาะเล็ก ๆ ในราคาถูกแถบ Indian Ocean Archipelago แต่มัลดีฟต่างจากประเทศอื่นที่มีหนี้เงินกู้จีนอยู่สูง มัลดีฟยังหนีรอดจากกับดักหนี้ได้ เนื่องจากได้รับเงินช่วยเหลือจากอินเดียจำนวน 400 ล้านเหรียญฯ ( ถ้าอินเดียไม่ช่วยแล้วจีนมาสร้างฐานทัพเรือแถบนั้น อินเดียก็ลำบากใจเช่นกัน )

จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีมุมมองด้านลบต่อจีนเพิ่มมากขึ้น ประเทศต่างๆ เริ่มไม่ไว้ใจจีน รวมทั้งโครงการ BRI (Belt and Road Initiative) ต่าง ๆ อีกหลายโครงการยังคงไม่ได้รับเงินมาดำเนินโครงการ ส่งผลให้จำนวนโครงการใหม่ ๆ เริ่มลดลง

Katharina Buchholz | source : https://www.statista.com/chart/19642/external-loan-debt-to-china-by-country/

ประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างประเทศลาว

วิสัยทัศน์ของลาวคือการเป็นแบตเตอรีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการลงทุนพัฒนาเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า ( hydropower) แล้วขายกระแสไฟฟ้า โดยอาศัยแม่น้ำโขงเป็นตัวขับเคลื่อน ภายในช่วงเวลาหนึ่งทศวรรษ กำลังการผลิตไฟฟ้าของลาวได้เพิ่มจาก 400 เมกะวัตต์ไปเป็น 7,000 เมกะวัตต์ ในปี 2022 ปัจจุบันลาวมีเขื่อนจำนวน 78 แห่งที่ดำเนินการอยู่และคาดว่าจะมีเพิ่มเติมในอนาคตอีก 246 แห่ง

ในช่วงที่ผ่านมา ลาวประสบปัญหากับค่าเงินอ่อนค่า เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นเป็นการซ้ำเติมปัญหาหนี้ต่างประเทศให้รุนแรงขึ้นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหนี้เงินกู้จากจีนทั้งยังทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศหร่อยหรอลงไป เมื่อเราเจาะลงไปในหนี้ส่วนของใหญ่ของลาวซึ่งก็เป็นหนี้เงินกู้จากจีน เหตุผลก็เพราะจีนได้เข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางรถไฟจีน-ลาว มูลค่า 6,000 ล้านเหรียญฯ (จากเวียงจันทน์ไปบ่อเต็น) แล้วยังลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลายแห่ง

เพียงแค่ไม่กี่ปี จีนได้สร้างเส้นทางรถไฟที่เปลี่ยนแปลงถนนที่ครั้งหนึ่งเป็นลูกรังห้อมล้อมไปด้วยป่าฝนเขตร้อนให้กลายมาเป็นสิ่งที่เป็นความหวังที่จะกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการขนส่งหลักในภูมิภาค ลาวเองก็จำเป็นต้องพึ่งพาจีนเนื่องจากประเทศไม่มีทางออกทางทะเลเป็น Land lock จึงต้องหาทางสร้าง Land link ซึ่งรถไฟความเร็วสูงก็เป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลเพื่อนำไปสู่การสร้างตลาดส่งออกที่แข็งแกร่งของลาว แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เส้นทางรถไฟดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่กว้างใหญ่เพื่อเชื่อมต่อลาวออกไปได้ทุกทิศทาง ไม่ใช่แค่กับจีน แต่ยังหมายถึงไทยและผ่านไปสู่ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

GLOBALink | China-Laos Railway witnesses its first Spring Festival travel rush

บทความแนะนำ รถไฟความเร็วสูงทำไมต้องจีน

นับจากเปิดเดินรถไฟสายนี้มาได้เกือบสองปี เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาว ได้รองรับผู้โดยสารไปแล้วกว่า 20 ล้านคนและขนส่งสินค้าไปแล้วกว่า 20 ล้านตัน ธนาคารโลกมองว่าเส้นทางรถไฟจีน-ลาวนี้ สามารถเพิ่มรายได้สะสมให้กับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้นถึง 21% ในระยะยาวหากได้รับการบริหารจัดการที่ดี สินค้าอย่างแตงโม  แป้งมันสำปะหลัง รวมถึงยางพารา กำลังเตรียมมุ่งหน้าไปจีน ในขณะที่สินค้าอย่างอุปกรณ์ช่างและปุ๋ยเคมีก็หลั่งไหลเข้าสู่ลาว

แต่ไม่ว่าลาวจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางด้านการเงินได้หรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด นั่นก็เพราะว่าในการที่จะทำให้เกิดเส้นทางรถไฟสายจีน-ลาว นี้ ลาวต้องก่อภาระหนี้ ตามรายงานของธนาคารโลก กว่าครึ่งของเม็ดเงินจำนวน 6 พันล้านเหรียญฯ ของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมาจากเงินกู้จากธนาคาร Export Import Bank ของจีนซึ่งรัฐเป็นเจ้าของ

ข้อมูลจากธนาคารโลกยังระบุด้วยว่าลาวได้กู้ยืมเงินจำนวน 1.5 พันล้านเหรียญฯ แต่ในปี 2016 ลาวได้เผชิญกับหนี้ในระดับสูง ในขณะที่รายได้ของลาวยังอยู่ในระดับเดิมแต่หนี้กลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในปี 2022 หนี้ต่างประเทศของลาวคิดเป็นสัดส่วนราว 68% ของ GDP และในตอนนี้เงินเฟ้อของลาวก็พุ่งสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าลาวกำลังเข้าสู่วิกฤติทางเศรษฐกิจ ประชาชนต่างก็กังวลเกี่ยวกับการจ้างงาน ความจริงก็คือว่าพวกเขาไม่สามารถซื้อสินค้าได้มากกว่านี้อีกแล้ว ทำให้รู้สึกว่าวิกฤติเริ่มก่อตัว ชาวลาวเริ่มมองหาทางออก ชาวลาวบางคนกังวลเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินและการสูญเสียที่ดินพร้อมกันกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการสร้างเส้นทางรถไฟ ถึงแม้ว่ากระทรวงการต่างประเทศของจีนกล่าวว่า มีเม็ดเงินราว ๆ 260 ล้านเหรียญฯ ที่ใช้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจากการสร้างเส้นทางรถไฟ ทางธนาคารโลกประเมินว่าโครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งของโครงการ BRI จะเพิ่มการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในลาวถึง 7%

Source : https://www.ceicdata.com/en/indicator/laos/external-debt–of-nominal-gdp

……..

เมื่อมองในแง่ของภูมิรัฐศาสตร์

เนื่องจากขนาดและที่ตั้งรวมถึงสถานะทางเศรษฐกิจ ลาวไม่ได้มีนักลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมากที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างเส้นทางรถไฟ จีนเป็นผู้นำเสนอโอกาสที่ไม่เหมือนใครให้กับลาว ทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินกู้นั้นง่ายดายกว่ามาก และเพื่อให้สามารถเข้าถึงเงินกู้ได้อย่างต่อเนื่องก็เป็นไปได้ว่าจีนอาจจะมีวาระบางอย่างที่ต้องการให้ลาวตอบแทนให้กับจีนเช่นกัน

ลาวและจีนต่างก็มีการปกครองแบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นสายสัมพันธ์ทางการทูตที่แน่นแฟ้น ทั้งยังเป็นเพื่อนบ้านมีพรมแดนติดกัน แต่ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ของจีน พวกเขาไม่มีข้อพิพาทเรื่องพรมแดน และในฐานะผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากจีน ลาวกับกัมพูชามักจะอยู่ฝั่งเดียวกับจีนในกรณีข้อพิพาทในทะเลจีนใต้  การทูตที่ผูกกันระหว่างลาวกับจีนย้อนกลับไปเกินกว่า 60 ปี ลาวมักจะสนับสนุนจุดยืนของจีนในประเด็นสำคัญระดับนานาชาติ

นักวิเคราะห์บางคนมองว่าการทูตของลาวนั้นผูกติดกับจีน ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมประเทศถึงไม่ได้มองหาทางเลือกอื่นจากตะวันตกเพื่อแก้ปัญหาหนี้อย่างเช่นสหประชาชาติหรือว่า IMF แม้แต่ในเวลานี้ซึ่งลาวต้องเผชิญกับวิกฤติหนี้อย่างรุนแรง แต่ว่าลาวยังคงกระตือรือร้นอย่างมากที่จะแก้ปัญหานี้ของตนเองกับจีนโดยตรง

ลาวดูเหมือนว่าจะไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้รอบที่จะถึงของจีนได้หมด หนี้ของลาวส่วนใหญ่เป็นหนี้เงินกู้ของจีน  ในตอนนี้จีนถือว่าเป็นผู้ให้กู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากปล่อยกู้มากกว่าธนาคารโลกหรือสถาบันการเงินระดับโลกใด ๆ หรือเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนในช่วงระหว่างปี 2000-2017 จำนวนหนี้ที่จีนปล่อยกู้ให้ประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า จากน้อยกว่า 500 พันล้านเหรียญฯ ไปเป็นมากกว่า 5 ล้านล้านเหรียญฯ เมื่อครบรอบชำระหนี้เงินกู้ของรัฐบาลลาว ลาวจะต่อรองกับจีนอย่างไร ? ซึ่งไม่ว่าลาวจะต่อรองกับจีนอย่างไรย่อมส่งผลต่ออิทธิพลของจีนในลาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคำถามเดียวกันนี้เองก็เป็นคำถามที่พบได้ในทุกประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลาวมีเงินสำรองต่างประเทศอยู่ราว ๆ 1 พันล้านเหรียญฯ แต่มีภาระหนี้ที่ต้องชำระในปีนี้ราว 900 ล้านเหรียญฯ ขณะเดียวกันก็มีการคาดการณ์ว่ารายได้ของรัฐบาลลาวจะหดตัวลง 25% ดังนั้นหากลาวไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้รอบนี้ได้ทันซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้เงินกู้ของจีน จีนก็อาจจะจูงใจด้วยการยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปหรืออาจให้เงินกู้รอบใหม่เพื่อมาชำระหนี้เงินกู้รอบก่อนหน้า

นักวิเคราะห์มองว่าการที่หนี้ของลาวเพิ่มขึ้นก็ทำให้ลาวยิ่งต้องพึ่งพาจีนมากยิ่งขึ้น ลาวเป็นชาติแรกตามมาด้วยกัมพูชาที่ลงนามในแผนการตามวิสัยทัศน์ของจีนในเรื่องการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันกับจีนในภูมิภาคนี้ แสดงให้เห็นว่าจีนกำลังมีอิทธิพลต่อกิจการภายในของประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้นทุกที

บทความแนะนำ

รถไฟความเร็วสูงทำไมต้องจีน | เศรษฐกิจโลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อจีนมีโครงการ Belt and Road initiative (BRI) | ยุทธศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้