admin

Advertismentspot_img

Rare earth ส่งผลกับเราอย่างไร ?

ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่บริษัทอเมริกันถอนตัวจากธุรกิจ Rare earth จีนก็ได้เข้ามาแทนที่ ยักษ์ใหญ่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจรายใหม่สามารถทำเหมือง ถลุงแร่ จนกระทั่งผ่านกระบวนการได้เป็นวัตถุดิบพร้อมใช้งานได้ในราคาถูก จีนมีตึกระฟ้าผุดขึ้นมากมายราวดอกเห็ด ความต้องการบริโภคสินค้าภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จีนเป็นประเทศที่ผู้ใช้มือถือมากที่สุดในโลก และเมื่อความต้องการใช้สมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์ที่เป็นหน้าจอแบนทัชสกรีนเพิ่มมากขึ้น ก็ส่งผลให้การผลิต Rare earth ของจีนเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยในขณะที่เหมืองในประเทศอื่นต่างพากันปิดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้กับจีน เท่ากับทั้งโลกต้องพึ่งพา Rare earth จากจีนเกือบจะทั้งหมด ตลอดช่วงระยะเวลา 10-15 ปีที่ผ่านมา จีนไม่ได้แค่ครองตลาดเหมืองแร่เท่านั้นแต่ยังครองตลาดในเรื่องกระบวนการถลุงแร่ กระบวนการผลิตจนกระทั่งได้มาเป็นวัตถุดิบพร้อมใช้ คือจีนครอบงำตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเลยก็ว่าได้ กว่า 97% ของ Rare earth ที่ผลิตได้ทั้งโลกนั้นมาจากจีน จีนรับจบ ครอบงำตลาด Rare Earth

ซิลิคอนแวลลีย์ไม่ใช่แค่เรื่องไอที

การเติบโตและขยายตัวของเมืองที่ไร้การควบคุม ในไม่ช้าทะเลสาบก็หายไปหรือไม่ก็เต็มไปด้วยมลพิษทางน้ำ ทำให้เหลือทางเลือกในการแก้ปัญหาอยู่ไม่กี่อย่างเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภาวะขาดแคลนน้ำ ทำให้บังกาลอร์ต้องทำการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ  ที่พอหาได้ซึ่งอยู่ไกลออกไปอย่างมากจากตัวเมือง ส่งผลให้น้ำในแหล่งน้ำเหล่านั้นค่อย ๆ เหือดแห้งไป ขณะเดียวกันธรรมชาติก็ไม่อาจเติมน้ำทดแทนลงไปในแหล่งน้ำที่ว่าได้รวดเร็วเพียงพอ ในปี 2020 เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงจึงทำให้ไม่มีน้ำมาเติมเต็มแหล่งน้ำเหล่านี้ ที่ทะเลสาบใกล้เมืองบังกาลอร์ มาตรวัดระดับน้ำที่ตั้งเด่นนั้น แสดงให้เห็นระดับน้ำที่เคยสูงสุดอยู่เหนือหัวเราแต่ทว่าในตอนนี้ระดับน้ำกลับแห้งต่ำกว่าพื้นดินที่เรายืนเสียอีก นั่นทำกับว่าปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในอนาคต

เราจะทำมาหากินอะไรกันดีในยุคของ AI (ตอนจบ)

ลองจินตนาการถึงโลกอนาคตว่าเต็มไปด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ที่ต่างก็เป็นอิสระเหมือนกับคนจริงๆ เลย หุ่นยนต์นั้นมีราคาแพงมากก็จริงแต่เมื่อมองอีกมุมก็ราคาพอ  ๆ กับเงินเดือนเฉลี่ยทั้งปีของพนักงานคนหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีค่าดูแลบำรุงรักษา ค่าไฟ ค่าน้ำมันต่อชั่วโมงต่ำ นี่คือต้นทุนหรือเงินลงทุนที่บริษัทต้องจ่าย เนื่องจากถือเป็นการลงุทนที่มีประสิทธิภาพ แน่นอนว่ามันอาจจะหนักในปีแรก ๆ แต่จะค่อย ๆ คืนทุนและลดต้นทุนได้ในปีต่อ ๆ ไป จึงจำเป็นที่รัฐบาลหรือบริษัทต่าง ๆ ที่ลงทุนอย่างมากในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติเหล่านี้จะถูกบีบให้ต้องจัดหางานหรือว่าแหล่งรายได้ให้กับประชาชนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ไม่เช่นนั้นแล้วธุรกิจห้างร้านต่างๆ ก็จะได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่มีลูกค้า เพราะผู้ที่จะเป็นลูกค้าขาดอำนาจซื้อเพราะไม่มีรายได้ บริษัทเองก็ขาดรายได้และไมีมีผลกำไร ในที่สุดก็จะทยอยปิดกิจการ

เราจะทำมาหากินอะไรกันดีในยุคของ AI (ตอนที่ 1)

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก็คงคล้ายกันกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 จากการที่เทคโนโลยีได้นำพาเราไปสู่การสร้างผลผลิตที่มากขึ้นกว่าเดิม โลกใบนี้เคยผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้วหลายครั้ง เริ่มจากการถือกำเนิดของเครื่องยนต์กลไก จากนั้นก็ผ่านเข้าสู่ยุคของอิเล็กทรอนิกส์ ถัดมาก็เป็นยุคดิจิตอล ทั้งหมดนี้ล้วนเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของโลกไปโดยสิ้นเชิง เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงและในวงกว้างกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ผ่าน ๆ มานั้น หลักใหญ่ใจความจะเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการผลิตในโรงงานซึ่งมักจะเป็นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมหนัก แต่ ณ เวลานี้ เราจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทุกแขนงไม่เฉพาะแค่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแต่ยังครอบคลุมไปถึงภาคบริการพร้อมทั้งยังมีการพัฒนาให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญคือมันได้ขยายขอบเขตเข้าไปยังงานต่าง ๆ ที่ครั้งหนึ่งเราเคยเชื่อว่ามีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่ทำได้แต่ว่าในตอนนี้มันไม่จริงอีกต่อไป

เกิดอะไรขึ้นกับยางรถยนต์เก่า

หากยางเหล่านั้นยังคงจมอยู่ก้นทะเลมันก็คงไม่เป็นอะไร แต่ลองทายดูสิ ว่าเกิดอะไรขึ้น ยางเหล่านั้นเคลื่อนลอยไปตามกระแสน้ำที่พัดพา ถูกลากไปด้วยพายุ คลื่นใต้น้ำทำให้ยางขูดขีดไปกับแนวปะการังของจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กลายเป็นว่ายางทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวทำลายปะการังไปเสียอย่างนั้น ปะการังนอกจากต้องเผชิญกับมลภาวะต่าง ๆ  การก่อสร้างตามแนวชายฝั่ง อุตสาหกรรมประมง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังต้องมาเจอความเสี่ยงจากการลอยมาขูดขีดของยางรถยนต์เพิ่มเข้าไปอีกด้วย ! ยางรถยนต์มีการย่อยสลายที่ช้ามาก แต่อย่าคิดว่าไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพียงแค่การฝังกลบในดินที่ชื้นแชะหรือริมน้ำสามารถนำไปสู่การรั่วไหลของสารพิษและโลหะหนักออกไปปนเปื้อนกับแหล่งน้ำใต้ดินได้ เพียงแค่ลองคิดว่ามันจะเลวร้ายแค่ไหนหากยางเก่าเหล่านี้สัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรงและสิ่งมีชีวิตทุกอย่างต่างก็ต้องพึ่งพาทะเลอยู่ตลอดเวลา น้ำทะเลเกิดการปนเปื้อนหรือเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นยางเริ่มเปื่อยยุ่ยก็จะปล่อยสารพิษและโลหะหนักเข้าสู่น้ำโดยรอบ เศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของยางที่สัตว์น้ำกินเข้าไปก็เป็นอันตรายได้

โลกที่กำลังขาดแคลนทราย อะไรนะ !!

ทรายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ต่างจากน้ำมันหรือว่าทองแดง ทองคำ สิ่งของรอบตัวเรามีมากมายที่มีทรายเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นทรายจึงมีความสำคัญ ถึงแม้ว่าเราสามารถพบเจอทรายได้แทบจะทุกประเทศบนโลกนี้แต่เชื่อไหมว่าเราอาจต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนทรายในไม่ช้า ทรายนั้นเป็นทรัพยากรที่ถูกใช้เป็นวัตถุดิบมากที่สุดในโลกรองจากน้ำเมื่อคำนวณจากปริมาณ มากกว่าน้ำมันดิบเสียอีก นอกจากทรายจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างแล้ว ยังใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างเช่น ระบบกรองน้ำ หรืออย่างทางด้านปิโตรเคมี ทรายถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ Hydraulic Fracking ที่จะใช้การฉีดน้ำผสมสารเคมีและทรายจำนวนมากลงไปใต้ดินเพื่อให้ชั้นหินแตกออก ทำให้ได้ก๊าซกับน้ำมันไหลซึมผ่านออกมา นอกจากนั้นแล้วทรายยังถูกนำมาใช้ในการผลิตกระจกหน้าต่าง หน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ชิป อีกด้วย พูดง่าย ๆ คือ เราใช้ทรายในการผลิตเกือบจะทุกสิ่งอย่าง ดังนั้นหากเกิดการขาดแคลนทราย ..... จะเป็นอย่างไร ?

การทูตกับดักหนี้ ดีหรือไม่ดี ?

โดยทั่วไปแล้วจีนจะเริ่มต้นจากการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับประเทศอื่น ๆ เพื่อที่ในที่สุดจะได้กลายมาเป็นผู้บริหารธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น มัลดีฟ ที่จีนได้เปลี่ยนเงินกู้ก้อนใหญ่ให้กลายเป็นอิทธิพลทางการเมือง รวมถึงการเข้าถือครองเกาะเล็ก ๆ ในราคาถูกแถบ Indian Ocean Archipelago แต่มัลดีฟต่างจากประเทศอื่นที่มีหนี้เงินกู้จีนอยู่สูง มัลดีฟยังหนีรอดจากกับดักหนี้ได้ เนื่องจากได้รับเงินช่วยเหลือจากอินเดียจำนวน 400 ล้านเหรียญฯ ( ถ้าอินเดียไม่ช่วยแล้วจีนมาสร้างฐานทัพเรือแถบนั้น อินเดียก็ลำบากใจเช่นกัน ) จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีมุมมองด้านลบต่อจีนเพิ่มมากขึ้น ประเทศต่างๆ เริ่มไม่ไว้ใจจีน รวมทั้งโครงการ BRI (Belt and Road Initiative) ต่าง ๆ อีกหลายโครงการยังคงไม่ได้รับเงินมาดำเนินโครงการ ส่งผลให้จำนวนโครงการใหม่ ๆ เริ่มลดลง ทางด้านปากีสถานก็ได้ให้สิทธิพิเศษกับจีน ควบคู่ไปกับการยกเว้นภาษี (tax holiday) เพื่อบริหารจัดการ Gwadar port เป็นเวลา 40 ปี โดยรายได้จากท่าเรือดังกล่าวจะตกเป็นของจีน 91%  

รีไซเคิลอย่างไร ขยะพลาสติกถึงไม่ลด

สถิติเมื่อไม่กีปีมานี้พบว่าเพียงแค่ระยะเวลาไม่ถึง 30 นาที น้ำอัดลมรายใหญ่ของโลกที่บรรจุขวดพลาสติกก็มียอดขายทั่วโลกรวมกันไปแล้วกว่า 13 ล้านขวด !! ในขณะที่สายพานการผลิตภายน้ำอัดลมบรรจุขวดพลาสติกจากโรงงานเพียงแห่งเดียวที่กำลังเดินเครื่องมาแล้วสองชั่วโมงครึ่งผลิตไปแล้วจำนวน 86,340 ขวด ซึ่งหมายถึงกำลังการผลิตตีเป็นตัวเลขคร่าว ๆ ก็คือ 10 ขวดต่อวินาที! และนี่เป็นเพียงแค่จากสายพานการผลิตเพียงสายการผลิตเดียวจากโรงงานเพียงแห่งเดียวและในประเทศเดียวเพียงเท่านั้น !!! แล้วหากคิดรวมกันทั้งโลกจะมหาศาลขนาดไหนกัน เมื่อมีขวดพลาสติกใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ขวดพลาสติกที่ใช้แล้วกลายเป็นขยะถูกทิ้งขว้างก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน จากนั้นเมื่อขยะพลาสติกเพิ่มทวีคูณมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนก็เริ่มคิดถึงการรีไซเคิล เพราะหวังว่าการรีไซเคิลจะเป็นทางออกของปัญหาทุกอย่าง

admin

Advertismentspot_img