ต่อต้านข่าวปลอมได้อย่างไร

Listen to this article

Fake news หรือข่าวปลอมหรือการบิดเบือนข้อมูล จะว่าไปก็เปรียบเสมือนไวรัส แพร่กระจายได้เร็วหลากหลายช่องทาง

ข่าวปลอมเกิดจากอะไร ?

ข่าวปลอมเกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาบิดเบือนด้วยการตัดต่อ เพิ่มเติมสิ่งที่ไม่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ทั้งต่ำกว่าความเป็นจริงหรือสูงกว่าความเป็นจริงหรือไม่มีอะไรจริงเลยเข้าไป

สร้างข่าวปลอมไปทำไม ทำแล้วได้อะไร ?

หลัก ๆ ในการสร้างข่าวปลอมก็เพื่อเงินและประเด็นทางด้านการเมือง ลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม หรือสร้างโฆษณาชวนเชื่อเพื่อผลทางการตลาด เหล่านี้เป็นแรงจูงใจหลัก

……………………………

ข่าวปลอมบวกกับทฤษฎีสมคบคิดจึงทำให้มันมีผลต่อผู้คนในวงกว้างและส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้รับสาร ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้เคยมีคนเข้าใจผิดว่าไวรัสโควิด 19 ที่ระบาดอยู่นี้เป็นเรื่องทางการเมืองหรือแม้กระทั่งวัคซีนที่ฉีดเข้าไปนั้นจะมีไมโครชิพปนอยู่เพื่อที่รัฐบาลจะสามารถสอดส่องพฤติกรรมของประชาชนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ง่าย

ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทั้ง Youtube Facebook และ Twitter ได้ทำการแบนเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อโควิด 19 ที่โพสต์บนแพลทฟอร์มของตน

จากการสำรวจโดย PEW RESEARCH center เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่า มีกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ 21% ของสหรัฐฯ ไม่ต้องการรับวัคซีนและยังคงค่อนข้างเชื่อว่าการให้ข้อมูลข่าวสารกับพวกเขามากขึ้นก็ไม่อาจเปลี่ยนใจให้รับวัคซีนได้อยู่ดี

เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

หากสาเหตุมาจากการที่พวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับวัคซีน การแก้ปัญหาก็คือ ต้องให้ข้อเท็จจริงที่มาหักล้างกับความเชื่อหรือข้อมูลที่พวกเขาได้รับ ขณะเดียวกันในเชิงรุก ก็ต้องจัดการกับข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่มีการบิดเบือนที่อยู่ในระบบสื่อสังคมออนไลน์ไปพร้อม ๆ กัน

ดร. แซนเดอร์ แวน เดอร์ ลินเดน นักจิตวิทยาสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งทำวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวกับการจัดสินใจของคน แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้เขาได้หันมาสนใจทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องปัญหาของข่าวปลอม

เขาพบว่าข่าวปลอมได้แพร่กระจายไปในโลกออนไลน์ไม่ต่างจากไวรัสซึ่งไปได้เร็วและวงกว้าง ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้คอยหมุนวนอยู่บนเครือข่าอินเตอร์เน็ตตามจุดประสงค์ของผู้ไม่หวังดีส่งผลเสียต่อสังคมอย่างมาก เขาพยายามศึกษาถึงเทคนิคและแทคติกวิธีการในการปล่อยข้อมูลเท็จและพบว่าผู้ปล่อยข้อมูลเท็จใช้วิธีการชักจูงโน้มน้าวในรูปแบบเดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ดังนั้นหากเราเปรียบข้อมูลปลอม ข่าวปลอม เป็นเสมือนไวรัส ทางแก้นั้น ก็ต้องหาวัคซีนมาฉีดให้กับผู้คนเพื่อให้เขาเหล่านั้นมีภูมิคุ้มกันสามารถแยกแยะข่าวจริงกับข่าวปลอมได้

วิธีการของ ดร. ลินเดนก็คือใช้เกมส์ออนไลน์เป็นแบบทดสอบ

ทีมงานได้จำลองเครือข่ายสังคมออนไลน์ขึ้นมา คือทำเหมือนเป็น Facebook ปลอม Twitter ปลอม นั่นแหละ จากนั้นก็ตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้ให้ใกล้เคียงกับคนดังหรือผู้ทรงอิทธิพลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ขึ้นมา ให้เหมือนกับในโลกแห่งความจริงที่มีผู้เลียนแบบบัญชีทวิตเตอร์ของ Trump โดยเปลี่ยนจากตัว m ให้เป็นตัว n แทน คือ สมมติตัวเองเป็นโดนัล ทรัมป์ และประกาศสงครามกับเกาหลีเหนือผ่านทวิตเตอร์  นี่คือตัวอย่างการสร้างเทคนิคแอบอ้างที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง หรืออย่างเรื่องจริง กรณีชื่อของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ Warren Buffett ที่มีคนแอบอ้างเป็นเขาโดยตั้งชื่อให้ใกล้เคียงแต่จะมีตัว t ในชื่อแค่ตัวเดียว ซึ่งเทคนิคนี้ทำให้มีผู้หลงกดติดตามจำนวนมาก ทำให้บัญชีผู้ใช้ดังกล่าวกลายเป็นผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ขึ้นมาทันที

ทีมงานได้ให้ผู้เล่นเกมส์ปลอมเป็นใครสักคนแล้วทำการกระจายข่าวปลอมออกไปในสื่อสังคมออนไลน์เสมือน โดยจะมีการให้คำแนะนำวิธีการสร้างข่าวปลอมที่พบเห็นได้บ่อย ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถแยกแยะข่าวจริงกับข่าวปลอมได้ดีขึ้นในอนาคต

โดยเกมส์ดังกล่าวนี้ใช้เวลาเล่นราว 5 นาที ซึ่งผู้เล่นจะได้คุ้นเคยกับข่าวปลอม การบิดเบือนข้อมูล ทำให้ตัวเขาได้พัฒนาภูมิคุ้มกันต่อข่าวปลอม รู้เท่าทันมากขึ้น โดยเนื้อหาในเกมส์เน้นไปที่เรื่องของการบิดเบือนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19

ตัวเกมส์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

ได้แก่ระดับพื้นฐาน “สร้างความกลัว” ก็จะใช้คำที่แสดงถึงอารมณ์ในการชักจูงโน้มน้าวผู้คนในโลกออนไลน์ สร้างความขุ่นเคืองใจ ระดับต่อมาคือ “สมมติตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ” โดยการแอบอ้างตัวเองเป็นหมอ เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ทางเลือกที่ให้การรักษาโควิด 19 และระดับสุดท้าย คือ “สร้างทฤษฏี” ที่เอาเรื่องราวต่าง ๆ มาปะติดปะต่อกันจนเป็นแนวคิดแบบทฤษฎีสมคบคิด

ไปเล่นเกมส์ของ ดร.ลินเดน ได้ที่ https://www.goviralgame.com/en

เรากำลังค้นหาว่าผลทางจิตวิทยาจากข่าวปลอมนั้นคงอยู่ได้นานเท่าไหร่ มันต่างจากวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค ซึ่งในบางกรณี หลังจากได้รับวัคซีนสองถึงสามเข็มนั้น ผู้ป่วยก็จะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิตแต่กับเรื่องข่าวปลอมเราไม่อาจคาดหวังว่าจะส่งผลได้แบบเดียวกัน

การบิดเบือนข้อมูลข่าวสารนั้นมีวิวัฒนาการ ถ้าเปรียบเป็นไวรัสมันก็คือมีการพัฒนาเป็นสายพันธ์ใหม่  ในขณะเดียวกันกับที่การสร้างข่าวปลอมซึ่งในตอนแรกนั้นมันดูธรรมดามากแต่ทุกวันนี้มันมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น มีลูกเล่นใหม่  ๆ และฉลาดกว่าเดิม ดังนั้นวิธีการรับมือ ก็คือการตรวจหาข้อเท็จจริงมาหักล้าง ซึ่งจะทำแบบเดิมไม่ได้เช่นกัน จำเป็นที่ต้องหาทางแก้ไขปัญหาที่มีความหยืดหยุ่นและค้นหาว่าพวกเขากำลังทำอะไร แบบไหน เพราะสิ่งที่ข่าวปลอมกำลังสร้างขึ้นมานั้นมีวิวัฒนาการและมีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นโดยการใช้ Big data ในขณะที่ผู้รับสารนั้นไม่ได้มีเครื่องมือหรือวิธีการกลั่นกรองแบบนั้น

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้