ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste)

กดเพื่อฟังบทความ

ที่ย่าน Agbogbloshie ห่างจากกรุงอักกราเมืองหลวงของประเทศกาน่าไม่ไกลนัก ที่นี่เริ่มกลายเป็นที่กำจัดขยะในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 จากแต่ก่อนเคยเป็นพื้นที่ราบลุ่มไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ จนกระทั่งวันมีการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) จำนวนหนึ่งมาทิ้งที่นี่ จากนั้นก็มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำมาทิ้งเรื่อยๆ ที่สำคัญขยะเหล่านั้นมาจากทั่วโลกโดยเฉพาะจากยุโรป ตอนนี้บ่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ขยายกินวงกว้างออกไปกว่า 50 ไร่ มีขยะสารพัดตั้งแต่กาต้มน้ำ อะหลั่ยรถยนต์ มือถือ ตู้เย็น …… เรียกได้ว่าที่นี่คือ สุสานของเทคโนโลยีก็ว่าได้

…….

Agbogbloshie

ที่ย่าน Agbogbloshie นอกจากเป็นบ่อขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วทุกมุมโลกแล้ว ที่นี่ยังเป็นบ่อเงินบ่อทองของผู้คนเกือบ 80,000 คน ที่อาศัยหาเลี้ยงชีพจากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เพื่อสกัดเอาโลหะมีค่าอย่างทองคำที่มีอยู่ในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงโลหะอื่น ๆ อย่างทองแดงและเหล็ก คนทำงานทีนี่ส่วนใหญ่แล้วก็คือพวกเด็ก ๆ กลุ่มวัยรุ่น อายุยี่สิบต้น ๆ พวกเขาต้องกิน นอน ทำงาน ในพื้นที่แห่งนี้ที่ซึ่งมีปริมาณแคดเมียมสูงกว่าระดับปลอดภัย 30 เท่า และมีสารตะกั่วสูงกว่าระดับปลอดภัยถึง 100 เท่า มียุงชุมจากการเป็นพื้นที่ที่มีบึงน้ำแล้วยังมีควันที่เหม็นจากการเผาพลาสติกและก่อให้สารพิษอย่าง dioxins ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากที่อยู่ในวัยยี่สิบต้น ๆ เช่นกัน …………..

กาน่า อยู่ทางแอฟริกาตะวันตกเป็นประเทศกำลังพัฒนา พวกเขารู้ดีว่าไม่ได้ต้องการขยะอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ไม่ได้มีกฏหมายที่ห้ามนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มือสอง เราจะขยายความคำว่าสินค้ามือสองให้เห็นภาพได้อย่างไร

ตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มือสองในกาน่านั้นใหญ่โตทีเดียว กาน่าเป็นประเทศที่ไม่ได้ผลิตอะไรมาก ส่วนใหญ่นำเข้ามา จากนั้นก็แลกเปลี่ยน ขาย แล้วก็นำเข้า แลกเปลี่ยน ขาย วนลูปอยู่แบบนี้ และในตอนนี้ ในฐานะของประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนเริ่มที่จะสนใจในสินค้าพวกแกดเจ็ตต่าง ๆ ประเทศที่มีคนว่างงาน ไม่มีเงินพอที่จะซื้อแกดเจ็ตใหม่เอี่ยม พวกเขาก็ต้องหันมาใช้ของมือสอง ดังนั้นนี่คือเหตุผลที่มีตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มือสองที่ใหญ่มาก ๆ

ลูกค้าคนหนึ่งของร้านขายอุปกรณ์มือสองกล่าวว่า “อุปกรณ์ที่ผมใช้ล้วนเป็นเครื่องมือสองทั้งนั้น ซึ่งของมือสองพวกนี้ก็ยังดีกว่าของใหม่ที่ผลิตจากจีน เครื่องมือสองผมใช้มาตั้งแต่ปี 1971 จนถึงทุกวันนี้” ส่วนทางด้านเจ้าของร้านบอกว่า “เครื่องที่เราซื้อมาแล้วพบว่ามีปัญหา เราก็ซ่อมมันก็ใช้ได้ แต่ก็มีบางอันที่ซ่อมไม่ได้เช่นกัน ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว ซื้อมา 100% ที่ซ่อมแล้วใช้ได้ก็ประมาณ 80%”

คนที่นี่จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มแรกก็คือผู้คนที่มีความรู้ทางด้านเทคนิค ซึ่งสามารถซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ให้กลับมาใช้งานได้ดีทำให้พวกเขามีรายได้จากส่วนนี้ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่มีความรู้ก็จะไปทำในส่วนที่เรียกว่าทุบ เผา ทำลายแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สายไฟ เพื่อสกัดเอาโลหะมีค่าอย่างทองคำ ทองแดง ออกมา

แต่อันตรายที่แฝงมากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มือสองนั้นก็มีเช่นกัน

THE WORLDS BIGGEST E-WASTE SITE – Agbogbloshie, Ghana

แล้วขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาที่กาน่าได้อย่างไร ?

เจ้าหน้าที่ทีรับผิดชอบดูแลการนำเข้าสินค้า กล่าวว่า “ที่นี่มีท่าขนถ่ายที่ขึ้นลงตู้คอนเทนเนอร์ได้ราว ๆ 25 ท่า คุณต้องดูแลทั้งหมดนี่ ถ้าหากมีการนำเข้าสินค้าไม่ตรงกับที่แจ้ง ก็อาจจะหลุดรอดไปได้ราว 25% ในแง่การทำงานจริง หากเราต้องเปิดตรวจตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต สักตู้แล้วไล่ค้นดูทั้งหมดก็ต้องใช้เวลาเป็นวัน แล้วต่อให้เราทำแบบนั้นจริง ๆ  ท่าที่เหลือก็อาจจะมีหลุดรอดเข้ามาได้เช่นกัน แล้วถ้าหากตรวจพบ มันทำให้เรามีค่าใช้จ่ายราว ๆ 12,000 เหรียญฯ ในการ re-export ตีตู้กลับไป ด้วยเงินของประเทศเราเอง”

ทุกแกดเจ็ทอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เราซื้อล้วนมีค่าใช้จ่ายในการทำลายหรือกำจัดมันแฝงอยู่ แล้วใครได้เงินในส่วนนั้น ? !!!!

…………. ………………………

ที่อาฟริกา ช่างซ่อมโทรทัศน์คนหนึ่งดูเหมือนราวกับเขาเป็นวิศวกรเลยทีเดียว เพราะมันไม่มีทางที่พวกเขาจะไปเข้าเรียน MIT แล้วจบออกมาเป็นวิศวกรสร้างจรวด ในความเป็นจริงพวกเขาต่างก็ต้องดิ้นรนเรียนรู้ด้วยตนเองจากการอ่านหนังสือกับการลงมือทำ ซ่อมสายไฟ ซ่อมแผงวงจรและทำบางอย่างที่คนอาฟริกาสามารถทำได้

ตอนนี้พวกเขาสามารถดูฟุตบอลโลกซึ่งก่อนหน้านี้เป็นไปไม่ได้ ตอนนี้พวกเขาเข้าถึงโลกออนไลน์ มีอีเมล์ใช้กันแล้ว ในท้ายที่สุด บรรดาผู้ผลิตต่าง ๆ ก็จะมีความสุข ยิ่งมีผู้คนในอาฟริการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเท่าไหร่ รวมถึงผู้คนในอเมริกาใต้ อินเดีย หากพวกเขามีบัญชีสังคมออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ช้าไม่นานคนเหล่านี้ก็ต้องการคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่อยู่ดี

The dark side of electronic waste recycling

หากรัฐบาลรู้ว่าเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็ออกมาตรการขั้นเด็ดขาดมาจัดการเลยไม่ได้หรือ ?

แน่นอนว่าหากเราจัดการต้นตอการนำเข้าขยะอิเล็คทรอนิกส์ย่อมเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ในความเป็นจริงก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังผู้คนอื่น ๆ อีกนับหลายพันคน ทำให้คนตกงานจำนวนมาก ที่เมือง Agbogbloshie หลายครอบครัวมีข้าวกินก็ด้วยการทำงานเกี่ยวกับพวกนี้ พวกเขาเผามันเพื่อเอาทองแดง ตัดเอาอลูมิเนียม เหล็ก หรือว่าโลหะอย่างอื่น รัฐบาลเองก็กลัวฐานคะแนนเสียงจะหายไปเช่นกัน

วัยรุ่นคนหนึ่งบอกว่า “เราหยุดไม่ได้ บางคนต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะเป็นมะเร็ง และถึงแม้พวกเขาเป็นมะเร็งก็หยุดงานไม่ได้ ถ้าหยุดทำงานเมื่อไหร่ ก็ไม่มีเงินไปซื้ออะไรกิน ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ ดูผมเป็นตัวอย่าง ผมต้องทำงานที่ผมทำได้ บางครั้งก็ต้องฝืนใจทำเพราะต้องการเงิน ผมไม่มีเงินติดตัวเลย ไม่มีงานอื่นให้เลือก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องทำสิ่งเหล่านี้ บางคนทำงานที่นี่จนตายก็มี พวกเขาต้องการเงินมากขึ้น ๆ แต่พวกเขาก็ไม่ได้แม้กระทั่งวันที่เขาตาย”

นอกจากวัยรุนแล้วยังมีเด็กเล็ก ๆ มาทำงานที่นี่ด้วย แต่เนื่องจากพวกเขายังเด็กมาก ไม่แข็งแรงเท่าวัยรุ่น งานของพวกเขาก็คือร่อนหาเศษเหล็กที่ตกอยู่ตามพื้นเพื่อจะได้เอามาขายแลกกับเงินไปซื้อข้าวกิน พวกเขากำลังเอาเศษเหล็กที่หาได้มาชั่งน้ำหนักแล้วจะมีคนมารับซื้อแล้วก็เอาไปส่งที่ท่าเรือส่งไปให้กับบริษัทที่ต้องการพวกทองแดงหรือโลหะอื่น ๆ

คนที่อยู่นี่ส่วนใหญ่ไม่มีพ่อแม่ บางคนก็มีแต่พ่อหรือแม่ บางคนก็ไม่มีทั้งพ่อและแม่ ดังนั้นแล้วพวกเขาจึงมาที่นี่เพื่อให้มีงานทำและส่งเงินกลับบ้านได้รวมถึงหาเลี้ยงตัวเองด้วย พวกเขากิน นอน ทำงาน กับกองขยะที่เราเรียกว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขณะเดียวกันก็มีเด็กบางคนจากบ่อขยะนี้ที่พยายามฝึกฝนตนเอง จากไม่มีความรู้ทำได้แค่เผาขยะ เก็บเศษขยะ พัฒนาตัวเอง ฝึกฝนตัวเองจนสามารถก้าวไปเป็นช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้นและไม่ต้องมาทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าหดหู่ใจแบบเดิม

….. …….

จากการสำรวจพบว่ามีการปนเปื้อนอย่างรุนแรงในสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีโลหะที่เป็นพิษบางชนิดอยู่ในระดับที่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นตะกั่วแล้วก็แคดเมียม สารเคมีหลายชนิดย่อยสลายช้ามาก มันจะอยู่ตรงนั้นไปอีกหลายปีเลยทีเดียว ประเด็นก็คือสารเคมีที่ตกค้างเหล่านั้นสามารถเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่อาหารของเราได้

…….

E-Waste: Circular economy a game-changer in waste management

เราจะมีแนวทางแก้ปัญหาขยะอิเล็คทรอนิกส์ได้อย่างไร ?

โดยพื้นฐานเลยนั่นคือ เราต้องทำให้ผู้คนมีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีที่ไม่เพียงแต่ใช้งานมันแต่ยังสามารถซ่อมแซมมันได้ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่เสียแล้วก็ทิ้ง เสียแล้วเปลี่ยนใหม่ซื้อใหม่

ในแง่ของธุรกิจก็ต้องมีการบริการจัดการรับช่วงต่อจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น โรงแรมขนาด 500 ห้อง ต้องการเปลี่ยนทีวีจอ CRT ใหญ่เทอะทะแบบเดิมให้เป็นทีวีจอแบนทั้งหมดเพื่อให้ห้องพักดูทันสมัยขึ้นมา ทำให้มีทีวีต้องทิ้งทันที 500 เครื่อง และไม่ใช่แค่มีโรงแรมแบบนี้เพียงแห่งเดียว โรงแรมอื่นๆ หรือที่ไหน ๆ ในโลกก็ทำกัน นั่นเท่ากับว่าจะมีกองอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วมหาศาล ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เทคโนโลยีก็เท่าทันกันหมด ทุกคนพยายามจะใช้ของใหม่ล่าสุด ทีวีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ล้าสมัยพวกนี้ก็จะถูกนำไปทิ้งยังประเทศโลกที่สามที่กฏหมายสิ่งแวดล้อมยังไม่เข้มงวด

Mint and the Urban Mine

การรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์

ดังนั้นแล้วจึงจำเป็นต้องมีศูนย์บริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือศูนย์รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมารับมือกับอุปกรณ์เหลือทิ้งดังกล่าว

ที่ Mint Innovation พวกเขาเชื่อว่า น่าจะมีวิธีที่ง่ายกว่าเดิมในการนำโลหะมีค่าออกมาจากแผงวงจรที่กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีทองจำนวนมากหุ้มอยู่ในชิปเหล่านี้ โดยการนำเอาจุลชีพ (paper) ที่แต่ละชนิดก็สามารถดูดซึมโลหะมีค่าเหล่านั้นได้แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นแบคทีเรีย Cupriavidus metallidurans ที่สามารถดูดซึมทองเข้าไปในตัวได้ มาใช้ในกระบวนการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์

ขั้นตอนแรกก็คือ บด ย่อย แผงวงจรเหล่านั้นให้กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ เท่าเม็ดทราย  จากนั้นก็ตักเข้าไปในเตา เพื่อที่จะทำการผสมมันเข้ากับสารเคมีและตัวออกซิแดนซ์ที่หาได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมเคมี

ขั้นตอนต่อมา เครื่องจักรจะปั๊มส่วนผสมดังกล่าวผ่านแผ่นกรองเพื่อแยกของเหลวออกจากของแข็ง สารละลายสีฟ้าที่เห็นนี้มีความเข้มข้นของทองแดง ดีบุก รวมถึงโลหะอื่น ๆ จากนั้นก็จะทำการแยกทองแดงออกมาโดยการใช้ไฟฟ้า แล้วทองแดงก็จะเกาะแผ่นรังผึ้งออกมาจากสารละลายดังกล่าว แต่ในขั้นตอนดังกล่าวแพลเลเดียมและทองคำจะยังคงอยู่ในรูปของแข็ง มันละลายยาก จึงจำเป็นต้องใช้ตัวทำละลายอื่นในขั้นตอนถัดมา

กระบวนการของโรงงานจะใช้จุลชีพเทลงไปในสารละลายที่มีทองคำและโลหะมีค่าอื่นๆ ปนอยู่ โดยจุลชีพดังกล่าวนั้นจำเพาะเจาะจงต่อทองคำ ทีมงานของ Mint ค้นพบจุลชีพเหล่านี้ในปี 2017 จากการลงพื้นที่ทำวิจัยในหลาย ๆ แห่ง อย่างเช่นเหมืองร้างหรือในทุ่งที่มีอุปกรณ์ถูกทิ้งไว้จนขึ้นสนิม หากเราให้แรงดันและระยะเวลาที่เหมาะสม จุลชีพเหล่านั้นจะหาทางเจริญเติบโตขึ้นในว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมใด ๆ ก็ตาม

หลังจากผ่านไปหลายชั่วโมง จุลชีพจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการที่พวกมันดูดซึมเอาโลหะมีค่าเข้าไป และในตอนนี้เราจะได้ครีมสีเทา ๆ ซึ่งเป็นจุลชีพเข้มข้นที่ดูดซึมโลหะมีค่าไว้แล้ว เมื่อเรานำผงครีมไปตากให้แห้ง อนุภาคของทองที่อยู่ในจุลชีพก็จะค่อยๆ กลายเป็นสีม่วง

ทองมีคุณสมบัติที่แปลกอย่างหนึ่งก็คือว่าเมื่อมันอยู่ในรูปแบบอนุภาคขนาดเล็กมาก nanoparticle แทนที่จะออกเป็นสีทองแต่กลายเป็นว่ามีเฉดออกไปทางน้ำเงินถึงแดง

ในขั้นตอนสุดท้าย เราจะนำผงแห้งที่ได้ไปเผา ส่วนของจุลชีพจะหายไปเหลือไว้แต่ส่วนของโลหะ ผลิตภัณฑ์สุดท้ายของเราที่ได้ก็คือ ขี้เถ้าที่อุดมไปด้วยทองคำนั่นเองซึ่งจะนำไปให้เข้ากระบวนการหลอมและทำให้บริสุทธิ์ที่จะทำให้มันกลายเป็นทองคำ 99.99%

ต้องใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการสกัดทอง 150 กรัม จากแผงวงจรที่นำมาบด ตัด จำนวน 1 ตัน มันดูเหมือนว่าต้องทำอะไรตั้งมากมายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนอันน้อยนิด มันคุ้มหรือเปล่า ?

ผู้ร่วมก่อตั้ง Mint innovation คนหนึ่ง ตอบว่า คุ้มสิ !! เพราะว่าการทำเหมืองโลหะมีค่านั้นจะยากขึ้นทุกที เหมือนทองขนาดใหญ่นั้นได้ทองหนัก 3,4 และ 5 กรัม จากหินหนัก 1 ตัน ! ทุกวันนี้ทอง 81% นั้นไม่ได้มาจากเหมืองทองอย่างแต่ก่อนแล้ว ในขณะที่เหมืองทองค่อย ๆ หายไป ปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา และถ้าเรามองไกลไปถึงปี 2050 แล้วละก็ เราจะต้องเจอกับขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 110 ล้านตันในทุก ๆ ปี
…………………………

How Much Gold In This Mine?

Mint innovation กำลังสร้างโรงงานกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์แห่งใหม่ในออสเตรเลีย ที่จะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง สามารถจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ราว 10 ตันต่อวันซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในออสเตรเลียได้ 1% ต่อปี และโรงงานที่ใหญ่ขึ้นก็จะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มากขึ้น  ซึ่งจะใช้ระบบอัตโนมัติให้มากขึ้น ลดจำนวนคนให้น้อยลง  การลดจำนวนคนทำงานให้น้อยลงก็เท่ากับว่ามีคนต้องเสี่ยงสัมผัสกับสารพิษที่ปนเปื้อนมากับขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้น้อยลง

แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ต้องเจอกับปัญหาที่อยู่นอกเหนือการควบคุม นั่นก็คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไปแล้วนั้นเมื่อเวลาผ่านไปมูลค่าของมันจะค่อยๆ ลดลงเรื่อย ๆ เพราะบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็กำลังเรียนรู้ที่จะผลิตแกดเจ็ตที่ใช้โลหะมีค่าน้อยลง ทีมงานของ Mint Innovation กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับขยะอื่น ๆ ที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการเดียวกันนี้ได้ อย่างเช่น อะหลั่ยรถ เมื่อแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ของโลกแล้ว มันก็น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีวิธีการรีไซเคิลขยะประเภทอื่นๆ แล้วถ้ามีโรงงานแบบเดียวกันนี้อยู่ในทุกเมืองใหญ่ จะช่วยลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในเมือง ภายในประเทศ โดยไม่ส่งออกมันไปทำร้ายประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
…………………………………………

เรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นในระยะยาวแล้ว เราต้องแก้ปัญาตั้งแต่ต้นทาง เริ่มตั้งแต่บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีแรงจูงใจทางด้านการเงินหรือแรงจูงใจทางด้านกฏหมายเพื่อให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้

นึกภาพว่ามันเป็นเหมือนน้ำที่ล้นออกจากอ่าง เราไม่สามารถคอยใช้ไม้ถูพื้นซับน้ำแล้วก็พูดว่า เรากำลังซับน้ำอยู่ เรามีไม้ถูพื้นที่ซับน้ำได้ดีกว่าอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ ในขณะที่ก๊อกก็ปล่อยน้ำมาตลอด น้ำก็ไหลล้นอ่างมาเรื่อย ๆ นี่คือปัญหาที่เรามี มีการปล่อยขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดยั้ง


Similar Articles

Comments

Advertisement

โคมไฟอ่านหนังสือ

Baseus โคมไฟ โคมไฟตั้งโต๊ะ อ่านหนังสือถนอมสายตา light โคมไฟอ่านหนังสือ โคมไฟหัวเตียง table lamp LED

สินค้าพร้อมจัดส่งจากไทย

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

จอคอมพิวเตอร์

จอมอนิเตอร์ 24นิ้ว จอคอม 75HZ หน้าจอโค้ง จอเกมมิ่ง LED Gaming monitor จอมอนิเตอร์เกมมิ่ง จอมอนิเตอ สปอตสินค้า LED

สินค้าพร้อมจัดส่งจากไทย