รู้ยัง..ยิ่งนั่งนานยิ่งมีปัญหา

Listen to this article

คุณนั่งทำงานต่อวันนานเท่าไหร่

เอ๊ะ ! หรือว่าคุณอาจจำเป็นต้องยืนอ่านบทความนี้ รวมทั้งขณะทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าคุณควรจะยืนทำงานอย่างน้อยสองชั่วโมงต่อวันและจะให้ดีก็ควรเป็นสี่ชั่วโมง

  • ผลการวิจัยพบว่าการนั่งน้อยลงนั้นช่วยทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงความแก่ในระดับเซลล์เกิดขึ้นช้าลงและชี้ให้เห็นว่าการยืนส่งผลดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย

  • วันนี้พนักงานออฟฟิศโดยเฉลี่ยแล้วนั่งทำงานกันถึง 10 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียวเชียว และที่ใช้เวลามากที่สุดเห็นจะเป็นการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ตอบอีเมล์ รับโทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งทานอาหารกลางวันหน้าจอคอมพิวเตอร์ ! ส่วนเวลาที่เหลือก็ใช้ไปกับการนั้่งดูทีวีหรือเล่นอินเตอร์เน็ตที่บ้าน

  • งานวิจัยทางการแพทย์ได้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการนั่งเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น โรคเบาหวาน โรคอ้วน มะเร็งและโรคซึมเศร้า รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ

  • จากการศึกษาคนขับรถประจำทางและพนักงานไปรษณีย์ที่อยู่ประจำสำนักงานในช่วงทศวรรษ 1950 และการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยการเปรียบเทียบพนักงานที่นั่งเป็นระยะเวลานานกับพนักงานที่นั่งทำงานไม่กี่ชั่วโมงพบว่า พนักงานที่นั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานานนั้นมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจมากกว่าพนักงานที่นั่งทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึงสองเท่า รวมทั้งมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่า 13% และมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่า 17% ถึงแม้คนนั้นจะออกกำลังกายเป็นประจำก็ตามที

  • นอกจากความเสี่ยงของพนักงานออฟฟิศเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับการใช้รถยนต์และโดยสารรถประจำทางมากกว่าการเดินหรือปั่นจักรยาน รวมทั้งการทำกิจกรรมยามว่างอย่างนั่งดูทีวีและเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์บนโซฟา โลกทุกวันนี้จึงเป็นการนั่งจมจ่อมอยู่กับที่และมีความเสี่ยงต่อโรคเพิ่มขึ้นอย่างมาก

  • องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ประชากรวัยผู้ใหญ่ของโลกราว 95% กำลังมีพฤติกรรมนั่งอยู่กับที่ ทั้งที่มีโครงการสุขภาพดี ให้ออกกำลังกายอย่างน้อยนาน 30 นาที ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกายเบา ๆ หรือแบบหักโหม จำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ตาม

บางทีอาจจะไม่ใช่เรื่องของการออกแบบที่ทำงานหรือโต๊ะทำงาน แต่มันเป็นเรื่องวัฒนธรรมการทำงานเสียมากกว่ากระมัง

คราวนี้เรามาดูกันว่าที่อ่านมาทั้งหมดนี้ มั่ว พูดลอย ๆ หรือว่ามีข้อมูลมารองรับ

จากที่อ่านมา หมายความว่างานวิจัยเหล่านี้พบสิ่งที่มีความเชื่อมโยงระหว่างการนั่งและความเจ็บป่วย แต่ไม่สามารถพิสูจน์หรือชี้ให้เห็นได้ว่าการนั่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้อย่างไรอย่างชัดแจ้ง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร British Journal of Sports Medicine นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนได้ทดลองโดยการปรับเปลี่ยนระยะเวลาที่กลุ่มผู้ทดลองใช้ในการออกกำลังกาย การนั่งและติดตามผลบางอย่างทางสรีรวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองนี้ นักวิทยาศาสตร์สนใจผลของระยะเวลาที่ใช้ในการนั่งที่มีต่อ telomere ของคน

แล้ว telomere มันคืออะไร ?????

เอาเป็นว่า ถ้าคุณยังไม่คุ้นกับส่วนประกอบของยีนที่คุณมีอยู่ในตัว เรามาดูว่า telomere มันคืออะไรกันก่อน

โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์

โครโมโซม (อังกฤษ: chromosome) เป็นที่อยู่ของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว

หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น

ตำแหน่ง Telomere
Telomere ก็คือส่วนเล็ก ๆ ที่อยู่บริเวณปลายสาย DNA เวลาเราที่เติบโตขึ้นมีอายุมากขึ้นเซลล์ก็มีการแบ่งตัวเพื่อการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์แบ่งตัวส่วนของ telomere ก็จะค่อย ๆ สั้นลงจนกระทั่งเซลล์หยุดการแบ่งตัว

ดังนั้นปัจจัยใด ๆ ก็ตาม เช่น โรคอ้วนหรือความเจ็บป่วย ที่ช่วยเร่งทำให้ telomere สั้นลงนั้นมีผลทำให้เซลล์หมดอายุขัยก่อนกำหนด ในทางกลับกันผลจากงานวิจัยบ่งชี้ให้เห็นว่าวิถีชีวิตที่ส่งผลให้สุขภาพดีนั้นอาจจะช่วยรักษาความยาวของ telomere และนั่นทำให้เซลล์แก่ช้าลง

นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนได้จัดกลุ่มของผู้เข้าร่วมการทดลอง โดยเป็นคนที่มีพฤติกรรมนั่งเป็นเวลานาน เพศชายและหญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก และทุกคนมีอายุ 68 ปี จากนั้นทำการเจาะเลือดเพื่อที่จะวัดความยาวของ telomere จากเม็ดเลือดขาว

แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มแรก มีการควบคุมการออกกำลังกาย รักษาสุขภาพโดยทั่วไปให้ดีพร้อมทั้งได้รับคำแนะนำให้นั่งน้อยลง

ส่วนอีกกลุ่มที่เหลือนั้นให้ดำเนินชีวิตตามปกติ แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ได้กระตุ้นให้พวกเขาพยายามลดน้ำหนักและรักษาสุขภาพให้ดีโดยไม่ได้นำเสนอวิธีการที่จำเพาะเจาะจงแต่อย่างใด

เมื่อเวลาผ่านไปหกเดือน จึงได้ทำการเจาะเลือดและกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมประจำวัน ผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มที่มีการออกกำลังกายนั้น ผลที่ออกมาไม่น่าแปลกใจ เพราะว่าพวกเขาออกกำลังกายมากกว่าที่เคยทำมาก่อนหน้าเสียอีก นอกจากนี้แล้วส่วนใหญ่ยังมีการนั่งน้อยลง

และเมื่อทำการเปรียบเทียบ Telomere ระหว่างสองกลุ่ม พบว่าในกลุ่มของผู้รับการทดสอบที่นั่งน้อยนั้นมีความยาวของ telomere มากกว่ากลุ่มที่ให้ใช้ชีวิตตามปกติ ขณะเดียวกันก็พบว่ากลุ่มที่ให้ใช้ชีวิตตามปกตินั้น telomere สั้นลงกว่าเมื่อตอนหกเดือนก่อน

แสดงว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างการออกกำลังกายและความยาวของ telomere ?

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดสอบที่ออกกำลังกายนั้น คนที่ออกกำลังกายมากที่สุดในรอบหกเดือนที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ telomere จะสั้นลงเล็กน้อยจากเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ออกกำลังกายน้อยกว่าแต่ยืนมากกว่า

นั่นหมายความว่าการนั่งจมจ่อมอยู่เป็นเวลานานมีผลต่อการลดความยาวของ telomere แต่การออกกำลังกายไม่ค่อยมีผลต่อเรื่องนี้

จะด่วนสรุปไปไหม ? ว่ายืนดีกว่านั่ง !

เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีงานวิจัยชิ้นที่สองที่ศึกษาพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนั่งจมจ่อมโดยเฉพาะ ซึ่งโดยสรุปก็คือ การยืนไม่ใช่ความต้องการทางสรีรวิทยาสำหรับคนทั่วไป พร้อมกันนี้นักวิทยาศาสตร์บางรายได้ตั้งคำถามว่ามันเกี่ยวข้องกับการยืนเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการเดินหรืออย่างไร ?

ลำพังยืนอย่างเดียวทำให้สุขภาพดีเพียงพอแล้วหรือ ถ้าหากว่าเราเปลี่ยนจากการนั่งนาน ๆ มาเป็นยืนเแทนเพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงแค่นั้น การยืนก็อาจเป็นการช่วยเพิ่มปัญหาสุขภาพและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยก็เป็นได้นี่ คนที่มีสุขภาพดีอาจมาจากการเดินหรือการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอื่นก็ได้

เอ่อ นั่นสิ น่าคิด ??

เพื่อหาว่าการยืนช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้นจริงหรือไม่ ศาสตราจารย์ Peter Katzmarzyk ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤติกรรมนั่งนิ่ง ๆ ได้อาศัยข้อมูลจำนวนมากจากการรายงานตัวเองเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายภาพของประชากรวัยผู้ใหญ่ในแคนาดา โดยอ้างอิงข้อมูลของชายและหญิงที่ได้รายงานระยะเวลากับจำนวนวันที่พวกเขายืนในระหว่างการทำการวิจัยเป็นระยะเวลา 10 ปีหรือมากกว่านั้น พร้อมทั้งทำการตรวจสอบไขว้กับข้อมูลการตายเพื่อดูว่าคนที่ยืนมีการตายที่อายุน้อยกว่าหรือไม่

ผลการวิจัยดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร published in May in Medicine & Science in Sports & Exercise ระบุว่าไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างการยืนและการตายที่อายุยังน้อย และพบว่า “อัตราการตายลดลงเมื่อมีการยืนนานขึ้น” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการยืนไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกันกับการนั่งนิ่ง ๆ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อสรุปนี้จึงเสริมผลของงานวิจัยเรื่องแรกที่วัดความยาวของ telomere

นี่เรายังไม่ได้วิเคราะห์ความสัมพันระหว่างการยืนกับไขมันดี ไขมันเลว ในร่างกายเลยนะ แต่ถ้าหากมองตามผลการวิจัยตรงจุดนี้ก็บอกเป็นนัยๆ ได้ว่า

ในแต่ละวัน ใครยืนนานกว่ามีแนวโน้มจะสดกว่า อายุยืนกว่า ว่างั้น !!!

ref :https://well.blogs.nytimes.com/2014/09/17/sit-less-live-longer/
– https://bjsm.bmj.com/content/early/2014/07/30/bjsports-2013-093342.short?g=w_bjsm_ahead_tab
– https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24152707
– https://th.wikipedia.org/wiki/โครโมโซม

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้