โลกเสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนอาหาร

โครงเนื้อหาหลักอ้างอิงจาก The Economist

โลกมีทรัพยากรมากมาย มีอาหารมากมายเพียงพอที่จะเลี้ยงคนได้ทั้งโลก มีให้มากกว่าปริมาณแคลอรีที่มนุษย์ต้องการใช้ในการดำรงชีวิตถึงสองเท่า แต่ทำไมเรากลับเห็นผู้คนที่หิวโหย ขาดแคลนอาหารเพิ่มมากขึ้น

ทุก  ๆ นาทีจะมีคนอดตายในประเทศเอธิโอเปีย เคนยาและโซมาเลีย แถบอาฟริกาตะวันตกนั้นเป็นบริเวณที่ต้องเผชิญกับวิกฤติการขาดแคลนอาหารที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่าน

จากสถิติตั้งแต่ปี 2014 ตัวเลขผู้หิวโหยนั้นเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงสองปีล่าสุด จำนวนผู้คนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า นั่นหมายความว่า ผู้คนจำนวน 800 ล้านคนต้องเข้านอนด้วยความหิวทุก ๆ คืน และในตอนนี้ระบบอาหารโลกกำลังเผชิญกับพายุลูกมหึมา

War in Ukraine Cuts Fertilizer Supply, Hurting Food Prices and Farmers | WSJ

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?

การระบาดของโควิดยังคงส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารไปทั่วโลก จากก่อนหน้านี้ภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เก็บเกี่ยวพืชผลได้ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตอาหาร

ซึ่งทั้งเหตุและปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโรคระบาด ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกข้าวสาลีซึ่งเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญที่สุดของโลกอย่างหนึ่ง ได้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี จากนั้นก็เกิดสงครามตามมาอีกทำให้การส่งออกอาหารทั้งหมดของยูเครนถูกปิดกั้น มีข้าวโพดและข้าวสาลีรวมกันจำนวน 25 ล้านตันค้างสต็อก ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับปริมาณการบริโภคทั้งปีของประเทศยากจนทั่วโลกรวมกัน

การส่งออกอาหารของยูเครนมีความสำคัญต่อระบบห่วงโซ่อาหารของโลกอย่างมาก ซึ่งยูเครนเป็นเหมือนกับโรงงานผลิตธัญพืชขนาดใหญ่และด้วยเหตุผลดังกล่าวเมื่อยูเครนส่งออกไม่ได้ ราคาธัญพืชในตลาดโลกจึงทะยานสูงขึ้น

ลองจินตนาการว่าหากเราซื้ออาหารจากยูเครนแต่ตอนนี้ต้องหันไปพึ่งพาจากแคนาดา ออสเตรเลียหรืออาเจนตินา นั่นหมายความว่าเราต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนเนื่องจากค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นแล้วก็ต้องรอนานกว่าเดิม ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นตัวเงินหรือเวลาก็ถูกผลักภาระไปให้กับผู้บริโภค

ไม่เพียงแต่ปัญหาเรื่องวิกฤติการขาดแคลนอาหารแล้ว ยังมีปัญหาอีกหลายอย่างเกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ไม่ว่าจะเป็น วิกฤติพลังงาน วิกฤติปุ๋ย

การทำเกษตรต้องพึ่งพาน้ำมันและปุ๋ย เมื่อราคาน้ำมันและราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้น รายได้ของเกษตรกรก็ถูกลดทอนลงไป และถ้าพวกเขาเลือกที่จะตัดปุ๋ยออกไปไม่ว่าจะเพราะราคาแพงเกินไปหรือไม่สามารถหาปุ๋ยได้ ผลผลิตที่ได้ก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งวิกฤติเลวร้ายลงไปสุด ๆ

นี่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์หลัก ๆ หลายอย่างในปีถัดไป เป็นวงจรอุบาทว์ที่ส่งผลให้เกิดหายนะต่อเนื่องเป็นทอด ๆ ไม่มีที่แห่งใดบนโลกที่รอดพ้นไปได้

ที่สหรัฐฯ การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงานเร่งให้อัตราเงินเฟ้อถีบตัวสูงขึ้น จนกระทั่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981 ราคาอาหารในอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบ 13 ปี

…………………..

UN holds special meet on global food security crisis, warns that food crisis could last decades.

ระบบอาหารของโลกกำลังจะล่มสลาย ใช่หรือไม่ ? หากเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เราจะหยุดมันได้อย่างไร ?

……………

ในช่วงสองสามปีให้หลังมานี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของโลกได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น นม ธัญพืช ผัก น้ำมัน หลังจากเหตุการณ์การระบาดของโควิดที่ทำให้เกิดคอขวดในการจัดส่งสินค้า คนทำงานน้อยลง จัดส่งสินค้าได้น้อยลง บวกกับภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงขึ้นโดยมีปัจจัยหนุนจากเรื่องราคาพลังงาน ในตอนแรกจะเป็นราคาน้ำมันที่ทะยานสูงขึ้นตามมาด้วยราคาก๊าซ และที่ซ้ำเติมให้ทุกอย่างขาดแคลนและแพงขึ้นไปอีกคือสงครามในยูเครน

เพียงสงครามในประเทศยูเครน ส่งผลกระเทือนถึงทั้งโลกได้ขนาดนั้นเลยหรือ ?

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรของยูเครนกล่าวว่าเราไม่สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้ราว ๆ  20 ล้านตัน ตั้งแต่การรุกรานของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 นั้นพื้นที่ราวหนึ่งในสี่ของการเพาะปลูกถูกทิ้งร้าง เนื่องจากพื้นที่บางส่วนถูกยึดครองและบางพื้นที่เป็นพื้นที่สู้รบรวมทั้งมีการวางกับระเบิด

ผลิตส่วนใหญ่ที่ได้เก็บเกี่ยวเตรียมส่งออก ยกตัวอย่างเช่น ข้าวสาลีนับหลายล้านตัน ยังถูกขัดขวางไม่ให้ออกจากท่าเรือได้ โดยรัสเซียได้ทำการปิดกั้นท่าเรือสำคัญของยูเครนในทะเลดำ

เมื่อยูเครนไม่สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้ โลกจึงเกิดปัญหา รัสเซียและยูเครนมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 25% ของการค้าข้าวสาลีโลก ตัวเลขดังกล่าวไม่ใช่เพียงข้าวสาลีที่ผลิตได้เองทั้งหมด แต่เป็นเพียงตัวเลขข้าวสาลีเพื่อการส่งออก

ปัญหาที่ตามมาก็คือ เรามีสภาวะการค้าเมล็ดพันธุ์ที่ตึงตัวมากในระดับนานาชาติเมื่อมีประเทศเพียงแค่หยิบมือที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในตลาดการค้านี้ ยกตัวอย่างเช่น มีเพียงเจ็ดประเทศรวมกับสหภาพยุโรปที่มีสัดส่วนการค้าข้าวสาลีที่ครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันถึง 90% และมีเพียงสี่ประเทศที่มีสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลีรวมกัน 80% รัสเซียและยูเครนรวมกันคิดเป็นปริมาณการส่งออกน้ำมันเมล็ดทานตะวันในตลาดโลกถึง 60% ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสินค้าสำคัญในระบบการผลิตอาหาร  

เกือบครึ่งของประเทศในอาฟริกานำเข้าข้าวสาลีราวหนึ่งในสามจากรัสเซียและยูเครน ยกตัวอย่างเช่น โซมาเลียนำเข้าข้าวสาลีเกือบ 90% จากสองประเทศนี้ ดังนั้นสงครามยูเครนได้เผยให้เห็นถึงประเทศที่มีรายได้ต่ำมาก ๆ  ต้องพึ่งพาตลาดโลกสำหรับการจัดหาอาหารขั้นพื้นฐานเพื่อหล่อเลี้ยงประชากรของพวกเขา เป็นการนำเข้าอาหารและนี่คือความอันตราย!


ครัวเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่รอบแถบทะเลทรายสะฮาราใช้รายได้ถึง 40% ของพวกเขาในการซื้ออาหาร ดังนั้นแล้วการที่ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น หมายความว่าจะมีผู้คนอีกหลายล้านที่ไม่สามารถหาซื้ออาหารได้แล้วจะมีเงินเหลือพอไปซื้อสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ได้สักกี่มากน้อยกัน


และด้วยเหตุผลที่ยูเครนส่งออกสินค้าเกษตรเหล่านี้ได้น้อยลง ราคาสินค้าดังกล่าวจึงปรับสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศที่ร่ำรวยสามารถจ่ายได้ ตรงกันข้ามกับประเทศที่กำลังพัฒนานี่คือหายนะ

………………..

การที่รัสเซียปิดทางออกทางทะเลดำนั้น ทำให้ยูเครนและประเทศโดยรอบต้องมองหาทางเลือกอื่นในการส่งออกสินค้าต้องหันมาขนส่งทางบกแทน ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟหรือรถบรรทุก ในส่วนของการขนส่งทางรางนั้น ความยากก็คือ ความกว้างของรางที่แตกต่างกันและยังต้องเสียเวลาทำเอกสารนำเข้าสินค้าให้เรียบร้อยเสียก่อนเมื่อผ่านเข้าแต่ละประเทศ กระบวนการตรงนี้ก็เป็นเหมือนคอขวดที่ทำให้การจัดส่งสินค้าล่าช้า

…………………………..

ก่อนจะเกิดวิกฤติยูเครน มีหลายประเทศรอบ ๆ ทะเลทรายสะฮารา เช่น บูกินาฟาโซ มาลิ ไนจีเรีย รวมถึงเคนยาและโซมาเลียต่างก็ลำบากจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราเห็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเกษตร อย่างเช่น การที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น มีปริมาณน้ำฝนที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ รวมทั้งการเกิดสภาพอากาศแปรปรวนที่รุนแรงกว่าเก่าและเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมฉับพลันหรือว่าพายุ  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลต่อการเก็บเกี่ยวพืชผล เมื่อเพื่อพืชผลทางการเกษตรได้รับผลกระทบ ก็ทำให้มีปริมาณเข้าสู่ตลาดลดลง ทำให้ราคาสูงขึ้นกว่าเดิมและนั่นก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร

…………….

ดังนั้นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกอยู่ในเวลานี้ ผลกระทบส่วนใหญ่ที่เห็นได้ชัดจะตกอยู่กับอาฟริกาและเอเชียเนื่องจากมีจำนวนผู้มีรายได้น้อยจำนวนมากกว่าและมีเศรษฐกิจที่อิงกับเกษตรกรรมค่อนข้างมาก ทำให้ประเทศยากจนในอาฟริกาและเอเชียอยู่ในภาวะที่ประชาชนไม่สามารถรับมือได้กับการที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น

หากเรามองที่อาฟริกาตอนนี้ อาฟริกาประสบปัญหาภัยแล้งตั้งแต่ปี 2014 และภัยแล้วได้ทำลายความสามารถของภาคเกษตรในการที่จะผลิตอาหารป้อนเข้าสู่สังคมโลก

มันมีความเสี่ยงที่คน 58 ล้านคนในอาฟริกาต้องตกอยู่ในภาวะหิวโหย ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่างผสมผสานกัน อย่างแรกก็คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประกอบกับภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกตอนนี้ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้คนไม่สามารถเข้าถึงได้

นอกจากปัจจัยใหญ่ ๆ สองอย่างที่เรารับรู้กันดีอยู่แล้ว นั่นก็คือสงครามในยูเครนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีภัยคุกคามที่สำคัญต่อระบบการผลิตอาหารของโลก นั่นก็คือระบบอาหารโลกโดยตัวของมันเอง

จริง ๆ แล้วเรามีการผลิตอาหารเพียงพอสำหรับคนหนึ่งหมื่นสองพันล้านคน แต่ทำไมยังมีคนอีก 800 ล้านคนที่กำลังหิวโหย ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่น่าจะเป็นเพียงเรื่องของการผลิตอาหารเพียงพอหรือไม่เพียงพอ แต่มันเป็นเรื่องของความยากจน มันมีมากกว่าเรื่องของอาหาร ปัญหาก็คือบางประเทศสามารถกักตุนอาหารเหล่านี้ได้มากกว่าประเทศอื่น ๆ

………..

India’s deadly heat wave shows the real-world effects of climate change.

ประเทศส่วนใหญ่ผลิตอาหารไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรมหรือปศุสัตว์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในระดับประเทศเป็นพื้นฐาน หลังจากนั้นก็ขยับเข้าไปในระบบอาหารโลกเป็นการส่งออก มีการกระจายผลผลิตออกไป กลายเป็นบทบาทที่สำคัญมากกว่าแค่การผลิตอาหาร ดังนั้นมันจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าอาหารผลิตขึ้นที่ไหนตราบใดที่มันสามารถมาอยู่ตรงหน้าประตูบ้านเราได้ ถูกต้องไหม ?  เด็กหลายคนยังคิดว่าอาหารออกมาจากตู้เย็นเสียด้วยซ้ำ

จากเหตุการณ์คลื่นความร้อนที่รุนแรงเมื่อตอนต้นปี ส่งผลให้อินเดียต้องประกาศห้ามส่งออกข้าวสาลี ซึ่งรวม ๆ มีอยู่ราว  23 ประเทศที่มีมาตรการควบคุมการส่งออกอาหารอย่างเข้มงวด ผลที่ตามมาก็คือ พวกเขาอาจจะทำให้ตัวเองได้รับผลเสียมากกว่าผลดี

ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่ามันไม่ได้เป็นผลบวกภายในประเทศที่ห้ามการส่งออก เนื่องจากการห้ามส่งออกยิ่งทำให้ปัญหาราคาสินค้าแย่ลงไปอีก เกษตรกรอาจจะกักตุนผลผลิตของพวกเขาไปจนกว่าจะมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวหรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่น ซึ่งก็จะทำให้มีซัพพลายในประเทศน้อยลงตามลำดับและดันราคาให้พุ่งสูงขึ้นในที่สุด

เราเองเข้าใจเรื่องการควบคุมการส่งออก แต่ผลของมันก็จะกระตุ้นให้ราคาสินค้าดังกล่าวพุ่งสูงขึ้นสำหรับทุกคน

มีเพียงไม่เกิน 10 ประเทศที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญอย่างข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวและถั่วเหลืองคิดรวมกันครองส่วนแบ่งถึง 90% ของปริมาณการค้าโลก ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับประเทศเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความขัดแย้งหรืออะไรก็ตามก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องมาเป็นลำดับ

หมายความว่า ประเทศที่ยากจนที่สุดต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายของการขาดแคลนอาหารรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

ฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊ค 1TB SSD M.2

1TB SSD (เอสเอสดี) HIKVISION E3000 M.2 PCI-e Gen 3 x 4 NVMe ประกัน 5 ปี