Tag: อินเดีย

เกิดอะไรขึ้นกับยางรถยนต์เก่า

หากยางเหล่านั้นยังคงจมอยู่ก้นทะเลมันก็คงไม่เป็นอะไร แต่ลองทายดูสิ ว่าเกิดอะไรขึ้น ยางเหล่านั้นเคลื่อนลอยไปตามกระแสน้ำที่พัดพา ถูกลากไปด้วยพายุ คลื่นใต้น้ำทำให้ยางขูดขีดไปกับแนวปะการังของจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กลายเป็นว่ายางทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวทำลายปะการังไปเสียอย่างนั้น ปะการังนอกจากต้องเผชิญกับมลภาวะต่าง ๆ  การก่อสร้างตามแนวชายฝั่ง อุตสาหกรรมประมง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังต้องมาเจอความเสี่ยงจากการลอยมาขูดขีดของยางรถยนต์เพิ่มเข้าไปอีกด้วย ! ยางรถยนต์มีการย่อยสลายที่ช้ามาก แต่อย่าคิดว่าไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพียงแค่การฝังกลบในดินที่ชื้นแชะหรือริมน้ำสามารถนำไปสู่การรั่วไหลของสารพิษและโลหะหนักออกไปปนเปื้อนกับแหล่งน้ำใต้ดินได้ เพียงแค่ลองคิดว่ามันจะเลวร้ายแค่ไหนหากยางเก่าเหล่านี้สัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรงและสิ่งมีชีวิตทุกอย่างต่างก็ต้องพึ่งพาทะเลอยู่ตลอดเวลา น้ำทะเลเกิดการปนเปื้อนหรือเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นยางเริ่มเปื่อยยุ่ยก็จะปล่อยสารพิษและโลหะหนักเข้าสู่น้ำโดยรอบ เศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของยางที่สัตว์น้ำกินเข้าไปก็เป็นอันตรายได้

คลื่นความร้อนคืออะไร

ปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นช่วงต้นปี ส่งผลต่อการมีฝนตกกระจัดกระจาย พายุฝนทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายหรือการที่ฤดูมรสุมมาถึงช้าลงก็จะส่งผลให้การเริ่มหว่านเมล็ดเพาะปลูกล่าช้าออกไป ทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดการเปลี่ยนแปลงและสับสนอลหม่านกันไปทั่วโลก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นที่บราซิลก็จะส่งผลต่อสินค้าเกษตรของฟิลิปปินส์ในแง่ของอุปสงค์ อุปทาน หากพื้นที่ตรงนี้มีการผลิตข้าวสาลีและฝ้ายได้น้อยลง ราคาสินค้าเกษตรก็จะเปลี่ยนแปลงแล้วประเทศอื่นก็จะต้องเร่งผลิตสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาชดเชยกับความต้องการ การผลิตที่ต้องอาศัยวัตถุดิบดังกล่าก็จะเกิดการชะงักงัน นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกสิ่งที่แย่เอามาก ๆ ในปีนี้ นั่นก็คือนับตั้งแต่ช่วงต้นปีไปจนถึงเดือนมิถุนายน มีการเผาแผ้วถางพื้นที่การเกษตรหลายแห่งทั่วโลกคิดเป็นพื้นที่หลายแสนไร่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึงสามเท่า นั่นก็จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอีกสามเท่าเช่นกัน ซึ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้ก็เป็นการเพิ่มเหตุปัจจัยในการส่งผลให้มีภาวะความร้อนสูงขึ้น

ทำไมถึงย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ตอนที่ 2 จบ

แต่ไม่ใช่ว่าจีนไม่พัฒนา จีนเองก็กำลังขยับไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีมูลค่าสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศที่ได้รับส่วนแบ่งเหล่านั้นไปยังคงการผลิตแบบดั้งเดิมที่มีราคาถูก ซึ่งบริษัทข้ามชาติส่วนมากยังคงให้ความสำคัญในแง่ที่มีต้นทุนถูกกว่าทั้งในแง่ของทรัพยากรและแรงงาน จึงย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของธุรกิจ ที่ล้วนต้องการรักษาต้นทุนให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ จีนตัดสินใจผลักดันการผลิตของตนให้เป็นอุตสาหกรรมไฮเทค ราคาแพง ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา จีนได้หว่านเม็ดเงินมากกว่า 1,500 ล้านเหรียญฯ ไปกับยุทธศาสตร์ Made in CHINA 2025 เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตของจีนให้เป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นไฮเทค

การค้าเสรี (หรือเปล่า ?)

สิ่งที่ดีของโลกการค้าเสรีก็คือ มันเป็นการนำคนมารวมกันโดยที่ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ศาสนา แต่ทว่ามันก็นำไปสู่การสร้างผู้ชนะเพียงแค่หยิบมือ ซึ่งก็หมายถึงการมีคนจนอีกมากมายต้องเป็นผู้แพ้ หากคนจนเหล่านั้นไม่สามารถสร้างตัวเองขึ้นมา พึ่งพาตัวเองได้หรือไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากรัฐแล้วเพื่อให้พร้อมต่อการแข่งขันที่เปิดกว้าง โลกการค้าเสรีก็ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้กับประเทศและจะยิ่งโหดร้ายกับคนที่ไม่มีความพร้อมและทำให้ภาคเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมหรือว่าการเกษตรล่มสลายลงได้ภายในะระยะเวลาไม่นาน

วิกฤติน้ำในเอเชีย

เมื่อเราพูดถึงความมั่นคงของน้ำในเอเชียนั้น ภาวะโลกร้อนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายพื้นที่ในจีนและเอเชียแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ จากที่ฝนตกอยู่เป็นประจำกลับกลายเป็นแล้ง ภัยแล้งนี้กำลังทำลายล้างเอเชียใต้ในทุก ๆ ปี โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดก็คือปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ภูฏาน ประเทศเหล่านี้ตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากภัยแล้ง นอกจากจะเป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรมแล้วยังเพิ่มจำนวนประชากรที่ขาดแคลนน้ำซึ่งพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ ทำให้เกิดภาวะตึงเครียดทางสังคมตามมา

ระเบิดเวลาประชากร

ในปี 1965 โลกมีประชากรราว 3.3 พันล้านคน เพียงแค่ช่วงเวลา 50 ปี ณ เวลานี้ โลกมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 7.3 พันล้านคน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ย่อมส่งผลมหาศาลต่อความสามารถในการผลิต การบริการรวมถึงการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจ ทุก ๆ ประเทศจะมีจุดรุ่งเรืองของสมดุลของประชากร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ทำให้ทั้งการผลิตและการบริโภคเติบโตขึ้นทั้งสองด้านส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ประชากรถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทำให้เศรษฐกิจรุดหน้าอย่างรวดเร็ว...

ไม่ควรใช้เท้ากับหนังสือ

ในอินเดีย เราถูกสอนมาตั้งแต่เด็กว่า อย่าใช้เท้ากับกระดาษ หนังสือ หรือกับคนอื่น ๆ หากบังเอิญเอาเท้าไปโดนหนังสือ กระดาษ เครื่องดนตรีหรืออุปกรณ์ทางการศึกษา เด็ก ๆ ต้องเอามือไปแตะหนังสือแล้วตั้งอกตั้งใจขอโทษ สำหรับคนอินเดียแล้ว ความรู้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเกี่ยวพันกับจิตวิญญาณ ดังนั้นเราต้องเคารพอยู่เสมอ ทุกวันนี้เราแยกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและสิ่งทีเป็นเรื่องของทางโลกออกจากกัน แต่ในสมัยโบราณสิ่งของทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเพื่อการศึกษาหรือเพื่อศาสนาและจิตวิญญาณแล้วล้วนเป็นของศักดิ์สิทธิ์
Advertismentspot_img

Most Popular