คลื่นความร้อนคืออะไร

Listen to this article

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราคงเห็นข่าวคลื่นความร้อนกันบ่อยครั้งขึ้น

นักวิทยาศาสตร์จากสหภาพยุโรปกล่าวว่าเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยค่าเฉลี่ยอุณหภูมิทั่วโลกทำสถิติสูงสุดใหม่

สร้างความกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมถึงภาวะเอลนิโญที่จะยิ่งซ้ำเติมให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงยิ่งขึ้นไปอีก การที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ไม่ว่าจะทั้งในยุโรป เอเชีย อาฟริกา ทำให้ผู้คนมีโอกาสเสียชีวิตได้

เรากำลังเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้คลื่นความร้อนสูงเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากทั่วโลก เรากำลังเห็นภัยคุกคามที่มีต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร เราเห็นผู้คนมากมายกำลังเจ็บป่วยจากความร้อนโดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวซึ่งค่อนข้างเปราะบางต่อเรื่องนี้

…….

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งทำให้คลื่นความร้อนทวีความรุนแรงขึ้น คลื่นความร้อนดังกล่าวนี้เป็นผลพวงมาจากภาวะโลกร้อนอย่างนั้นด้วยใช่หรือไม่ ?

ขึ้นชื่อว่าฤดูร้อน ด้วยอุณหภูมิปกติในช่วงเวลาดังกล่าวก็ร้อนอยู่แล้ว เมื่อมีปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลให้อุณภูมิสูงขึ้นด้วย เสริมแรงกันทำให้อุณหภูมิในฤดูร้อนสูงขึ้นกว่าเดิม แต่แล้วก็ยังมีคลื่นความร้อนเข้ามาซ้ำเติมอีกปัจจัยหนึ่ง ทำให้เราต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนสูงทำให้หลายพื้นที่ทั่วโลกมีอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในชีวิตนี้

ทั้ง ๆ ที่ผู้คนทั่วโลกต่างก็ได้ยินคำว่าภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกันจนเบื่อ แต่เราก็ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอยู่เรื่อยๆ  ซึ่งก๊าซเรือนกระจกก็มีคุณสมบัติดูดซับความร้อน กักเก็บความร้อน ยิ่งเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันมาก การตรึงความร้อนไว้บนโลกใบนี้ก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว และการที่อุณหูมิสูงขึ้นก็ไม่ได้สูงขึ้นเฉพาะบนบก อุณหภูมิของน้ำทะเลก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล พืชทะเล ถิ่นที่อยู่ของสัตว์ทะเลและระดับน้ำทะลที่สูงขึ้น

เราเห็นคลื่นความร้อนส่งผลกระทบทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป จีน อาฟริกาเหนือ อินเดีย ทุกที่บนโลกและแน่นอนว่ามันไม่เลือกคนรวยหรือคนจน แต่คนที่ยากจนนั้นจะลำบากที่สุด ผู้ที่มีรายได้น้อยในประเทศต่าง ๆ พวกเขาไม่มีเครื่องปรับอากาศ หรือถึงมีก็ไม่มีเงินมากพอจะจ่ายค่าไฟ คนที่ต้องทนทำงานกลางแจ้ง คนที่ต้องอยู่กลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน ๆ ล้วนเสี่ยงต่อภาวะความร้อนสูง แต่อย่างไรก็ตามคนรวยที่อยู่ในประเทศร่ำรวยก็ยังเสียชีวิตเพราะความร้อนได้เช่นเดียวกัน

…… ……

India heat wave: Crops destroyed amid soaring temperatures

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบกับมนุษย์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซีกโลกใต้อย่างอินเดียหรืออาฟริกา สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นปศุสัตว์ สัตว์น้ำ ปะการัง ความหลากหลายทางชีวภาพ ล้วนได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นมันจึงน่ากังวลอย่างมาก

นอกจากนั้นปัญหาดังกล่าวยังส่งผลต่อการเกษตรซึ่งเป็นต้นทางของห่วงโซ่อาหาร

ปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นช่วงต้นปี ส่งผลต่อการมีฝนตกกระจัดกระจาย พายุฝนทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายหรือการที่ฤดูมรสุมมาถึงช้าลงก็จะส่งผลให้การเริ่มหว่านเมล็ดเพาะปลูกล่าช้าออกไป ทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดการเปลี่ยนแปลงและสับสนอลหม่านกันไปทั่วโลก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นที่บราซิลก็จะส่งผลต่อสินค้าเกษตรของฟิลิปปินส์ในแง่ของอุปสงค์ อุปทาน หากพื้นที่ตรงนี้มีการผลิตข้าวสาลีและฝ้ายได้น้อยลง ราคาสินค้าเกษตรก็จะเปลี่ยนแปลงแล้วประเทศอื่นก็จะต้องเร่งผลิตสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาชดเชยกับความต้องการ การผลิตที่ต้องอาศัยวัตถุดิบดังกล่าก็จะเกิดการชะงักงัน

นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกสิ่งที่แย่เอามาก ๆ ในปีนี้ นั่นก็คือนับตั้งแต่ช่วงต้นปีไปจนถึงเดือนมิถุนายน มีการเผาแผ้วถางพื้นที่การเกษตรหลายแห่งทั่วโลกคิดเป็นพื้นที่หลายแสนไร่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึงสามเท่า นั่นก็จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอีกสามเท่าเช่นกัน ซึ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้ก็เป็นการเพิ่มเหตุปัจจัยในการส่งผลให้มีภาวะความร้อนสูงขึ้น

ทุกสิ่งกำลังเกิดขึ้นบนพื้นฐานความจริงที่ว่าตอนนี้โลกร้อนขึ้นกว่าเดิมแล้ว กิจกรรมของเรายังไปเพิ่มปัจจัยที่ทำให้เกิดการสะสมความร้อนเพิ่มเข้าไปอีก ทำให้สูญเสียความชื้นในบรรยากาศ เกิดความแห้งแล้ง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อนไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อม

….. …….

พื้นที่โฆษณา / Advertisement

Ray-Ban Aviator Large Metal II – RB3026 L2821 size 62 -sunglasses

Heat wave หรือคลื่นความร้อนที่ส่งผลอยู่ทั่วโลกในตอนนี้นั้นเกิดจากอะไร ?

หากจะพิจารณาว่าแบบไหนที่เรียกว่าคลื่นความร้อนก็ขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ส่วนไหนของโลก

คำว่าคลื่นความร้อนนั้นอาจจะยังไม่ใช่คำนิยามที่ถูกต้องเหมาะสมแบบ 100% ที่จะใช้เรียกเวลาที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติเล็กน้อยในช่วงเวลานั้น ๆ ของปีกินเวลานานอยู่ช่วงหนึ่ง

ในอังกฤษจะใช้คำว่าคลื่นความร้อนก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิสูงกว่าช่วง 25-28 องศาเซลเซียสติดต่อกันสามวันขึ้นไป หากเป็นนิวยอร์กก็ต้องมีอุณหภูมิตั้งแต่ 32 องศาเซลเซียสติดต่อกันสามวันขึ้นไป ในขณะที่อินเดียจะเรียกว่าเป็นคลื่นความร้อนก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ 4.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลาอย่างน้อยติดต่อกันสองวัน

คลื่นความร้อนนั้นเป็นเรื่องปกติในระบบของสภาพอากาศ แต่ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?  

ปัจจัยอย่างหนึ่งที่เป็นหลักสำคัญของคลื่นความร้อนก็คือความกดอากาศสูง

A diagram showing the difference between a cyclone and an anticyclone.
source : https://www.worldatlas.com/articles/what-is-an-anticyclone.html

อธิบายง่าย ๆ ก็คือบรรยากาศรอบตัวเราจากพื้นดินจนสูงขึ้นไปนั้นเป็นเหมือนกับท้องทะเลที่เต็มไปด้วยอากาศ แล้วหากมีมวลอากาศจำนวนมากไปกองสุมกันอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งก็จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีความกดอากาศสูงขึ้น บริเวณที่มีความกดอากาศสูงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Anticyclones

พื้นที่ที่มีการหมุนวนของมวลอากาศเป็นบริเวณกว้างอย่างช้า ๆ ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกตอนเหนือและทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกตอนใต้ เมื่ออากาศไหลออกจากจุดศูนย์กลางที่มีแรงกดอากาศสูงในระดับใกล้กับพื้นดิน อากาศจากด้านบนก็จะไหลลงมาแทนที่

การที่อากาศจากด้านบนไหลต่ำลงมาแทนที่นั้นก็จะเป็นการเพิ่มความร้อนขึ้น เนื่องจากมีแรงดันเพิ่มขึ้นคล้ายกับการที่เราสูบลมยางรถจักรยาน ที่กระบอกสูบจะร้อนขึ้นเมื่อเราสูบลมเข้าไปในยาง ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวร้อนขึ้นเพียงเท่านั้น มันยังไปขัดขวางขั้นตอนการถ่ายเทความร้อนของตามปกติของพื้นที่ดังกล่าวที่อากาศร้อนจะลอยขึ้นไปกระทบกับความเย็นและเกิดเมฆอีกด้วย แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวความชื้นในอากาศจะลดลงส่งผลให้เกิดเมฆน้อยตามมา

………

สิ่งที่ส่งผลให้เกิดความกดอากาศสูงมาจากไหน ?

สิ่งที่ทำให้มวลอากาศไปกองรวมกันมาก ๆ ณ ที่ใดที่หนึ่งเกิดขึ้นจากอะไร ?

Jet streams  หรือกระแสลมกรดซึ่งเป็นกระแสลมที่มีความเร็วสูงราว 300-400 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้วก็พัดอยู่ในระดับที่สูง สูงจากพื้นโลกขึ้นไปราว 8-11 กิโลเมตร มีทิศทางการพัดจากตะวันตกไปตะวันออก ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ อย่างดาวศุกร์ ดาวพฤหัส ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ก็มีกระแสลมดังกล่าวนี้เช่นกัน

Jet Stream นี้ไม่ได้เคลื่อนที่เป็นแนวตรงแต่จะไหลไปในแนวคดเคี้ยวคล้ายกับงูเลื้อยไปรอบโลก พื้นที่ที่มีความกดอากาศต่ำจะอยู่ในร่องที่เว้าลงในขณะที่พื้นที่ที่มีความกดอากาศสูงจะเกิดขึ้นบริเวณสันที่นูนขึ้นไปทางขั้วโลกของการไหลของ Jet Stream ซึ่งก็เป็นผลมาจากการที่มวลอากาศเย็นและอากาศร้อนปะทะกัน

เส้นทางที่กระแสลมพัดผ่านนั้นก็จะมีอิทธิพลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในบริเวณนั้น อย่างเช่น Polar Front Jet ที่พัดผ่านแนวปะทะขั้วโลกเหนือบริเวณละติจูดกลางซึ่งเป็นกระแสลมที่เกิดจากอากาศที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันอย่างมากจากการที่อากาศเย็นจากขั้วโลกเคลื่อนมาปะทะกับอากาศที่อุ่นกว่าที่มาจากแถบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งประเทศที่อยู่แถบนี้อย่างเช่น อังกฤษและยุโรปก็จะได้รับอิทธิพลสภาพอากาศจากการพัดผ่านของ Polar front jet

The jet stream
What is the jet stream and how does it affect the weather?

เมื่อการไหลของกระแสลมมีการไหลไปในทิศทางขึ้นลงมากยิ่งขึ้น นึกภาพงูเลื้อยขึ้นลงมากกว่าเลื้อยไปข้างหน้า พื้นที่ที่เป็นความกดอากาศต่ำและความกดอากาศสูงก็จะคงอยู่ในบริเวณเดิมนานขึ้นกว่าปกติ แล้วพื้นที่ที่มีความกดอากาศสูงคงอยู่เป็นเวลานานก็จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมขึ้น ยิ่งนานวันความชื้นในบริเวณดังกล่าวก็ลดน้อยถอยลงไป เกิดเมฆน้อย แถมยังต้องรับความร้อนจากแสงแดดเติมเข้ามาในทุก ๆ วัน การสะสมความร้อนในพื้นที่ก็จะทวีความรุนแรงขึ้นทำให้คุณรู้สึกร้อนราวกับตกนรกขุมที่ 13.16 ได้เลย ฮาาา..

ในช่วงระหว่งปี 2019 ถึงปี 2000  แถบเอเชียใต้มีผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุจากอากาศร้อนมากหลายพันคน   ทางด้านอเมริกา ในช่วงปี 1990-2021 นั้นมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับอากาศร้อนหลายพันคน สูงกว่าเสียชีวิตเพราะอุทกภัย ทอร์นาโด เฮอริเคนหรือว่าฟ้าผ่าเสียอีก

………

Wet-Bulb Temperature: Why Heat + Humidity can be Deadly

ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างเช่นอินเดีย ความร้อนและความชื้นสามารถส่งผลร่วมกันทำให้ผู้คนเสียชีวิตได้ เนื่องจากการถ่ายเทความร้อนจากการระเหยของเหงื่อ เมื่อเหงื่อระเหยก็จะนำพาความร้อนออกจากร่างกายไปด้วยนั้น แต่หากความชื้นในอากาศสูงจนเหงื่อไม่สามารถระเหยออกไปได้ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายลดลง ซึ่งการที่มีความชื้นในอากาศสูงจะทำให้มีอุณหภูมิที่แท้จริงสูงกว่าที่เรารู้สึกได้ ซึ่งเรียกว่า The wet-bulb temperature (WBT โดยจะทำการวัดอุณหภูมิจากปรอทที่คลุมไว้ด้วยผ้าชุบน้ำโดยที่อุณหภูมิควรจะลดลงเนื่องจากการะเหยของน้ำช่วยพาความร้อนออกไปเช่นเดียวกันกับการที่ร่างกายเราจะเย็นขึ้นเมื่อเหงื่อระเหยออกไป ถ้าหากมี wet-bulb temperature สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส นั่นหมายถึงว่าจะสูงกว่าอุณหภูมิร่างกายจริง ทำให้ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิลงไปได้มากกว่านี้แล้วและมันจะเริ่มต้มตัวเองจากภายใน แม้แต่คนหนุ่มที่แข็งแรงดีก็ยังเสียชีวิตหากต้องทนอยู่ในสภาพอากาศที่มีความร้อนสูงและชื้นเกิน 6 ชั่วโมง การวัด WBT จึงมีความสำคัญที่แสดงถึงความเครียดจากการที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนส่วนเกินออกได้ ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ ก็คือ อบซาวน่าเป็นเวลานาน ๆ นั่นแหละ

……..

Global Temperature Anomalies from 1880 to 2022
Source: https://svs.gsfc.nasa.gov/5060


นับตั้งแตปี 2020 เป็นต้นมา อุณหภูมิในไซบีเรียได้ขยับขึ้นไปแตะ 38 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในพื้นที่ทางตอนเหนือของวงกลมอาร์คติก นักวิจัยยังระบุด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้คลื่นความร้อนมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น 600 เท่า !

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกช่วยทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๆ ก็ 1 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม

มีการคาดการณ์ว่าทุกหนึ่งในสามคนบนโลกนี้กำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาคลื่นความร้อนสูงในเอเชีย

มีรายงานจากหลายประเทศทั่วโลกว่ามีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ กรุงเทพฯ ของเราเองก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นไปถึง 45.4 องศาเซลเซียส เมื่อพูดถึงสถานที่ที่มีมลภาวะโดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านใจกลางเมืองใหญ่ต่าง ๆ  แล้วนั้น ไม่เพียงเฉพาะความร้อนที่กำลังส่งผลให้ทุกอย่างแย่ลงไป แต่ไม่ว่าอะไรก็ตามที่อยู่ในอากาศอย่างเช่นฝุ่น ควัน ก็ล้วนสะสมความร้อน ปล่อยความร้อนอันเป็นผลจากปฏิกริยาเคมีซึ่งก่ออันตรายต่อผู้คนได้เช่นกัน

ที่น่ากังวลคืออุณหภูมิที่สูงเป็นสถิติจะไม่ได้คงอยู่แค่วันสองวันแต่นี่คือแนวโน้มที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างถาวร เพราะในตอนนี้เรากำลังอาศัยอยู่บนโลกที่เกิดภาวะโลกร้อนอยู่แล้วและมนุษย์ก็ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นทุกที

จากคลื่นความร้อนก็จะต้องรับมือกับภาวะภัยแล้ง บางประเทศเจอกับภาวะไฟดับเสริมเข้าไปอีกเพราะเขื่อนมีน้ำน้อย แล้วไหนจะมีปรากฏการณ์เอลนีโญที่เพิ่งผ่านพ้นไปแล้วลานิญาเข้ามาแทนที่เติมความร้อนเข้ามาในระบบอีก

ดังนั้นการที่เราได้เผชิญกับคลื่นความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์แล้วนั้น ถือเป็นสัญญาณเตือนให้เราต้องลงมือทำอะไรสักอย่างทันที คลื่นความร้อนสูงเหล่านี้ส่งผลต่อผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพบางอย่าง คนจนที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน ๆ เด็ก ผู้สูงอายุที่ร่างกายของพวกเขาไม่สามารถระบายความร้อนได้ง่าย ต่างก็เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน เราทนได้แต่พ่อแม่เรา ลูกเรา อาจจะทนไม่ได้ หรือในวันนี้เราทนได้แต่อีกสิบปีที่เราต้องแก่ลงไปตามสังขาร เราเองก็หนีไม่พ้นเช่นกันแถมอาจจะเจอที่รุนแรงยิ่งกว่าเดิมเสียอีก เพราะไม่มีใครทำอะไรเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาตั้งแต่ตอนนี้

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้