จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 23,000 คน โดย National Endowment for the Arts (NEA) พบว่าคนอเมริกันเลือกที่จะอ่านหนังสือเป็นงานอดิเรกลดลงจากปี 2015 มาอยู่ที่ 43.1%
(หนังสือที่หมายถึงในการสำรวจ ได้แก่ บทกวี บทละคร เรื่องสั้น นวนิยาย ทั้งที่เป็นตัวอักษรหรือว่าดูรูปภาพ อย่างเช่น นวนิยายที่เป็นเล่าเรื่องด้วยภาพ และการอ่านก็หมายรวมถึงการอ่านตัวเล่มและการอ่านออนไลน์)
NEA ไม่ได้เป็นเพียงหน่วยงานเดียวที่สำรวจพบว่ามีการอ่านหนังสือลดลง เมื่อเร็วๆ นี้รายงานจาก Pew Research Center พบว่า “ในปี 2015 มีชาวอเมริกันอ่านหนังสือคิดเป็นจำนวน 73% ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักจากสถิติในปี 2012 (แม้ว่าในปี 2011 ตัวเลขอยู่ที่ 79%) เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่มีการอ่านหนังสือลดลงนั้น อาจเป็นไปได้ว่ามีงานอดิเรกให้เลือกทำหลากหลายขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน”
แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่าทำไมการอ่านถึงลดลง แต่ ทอม จาคอบ จาก Pacific Stand เสนอแนวคิดหนึ่งว่า “การมีภาพยนตร์และเนื้อหาจากสื่อต่างๆ ให้เลือกบริโภคกันอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 จากความนิยมในวิดิโอเทปและพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน พูดง่ายๆก็คือ ทำไมต้องอ่านหนังสือในเมื่อเราหาหนังดูจาก Netflix ก็ได้ แถมยังมีความบันเทิงรูปแบบอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ วิดิโอ เกมส์ และอีกหลายอย่างแย่งความสนใจจากหนังสือไป”
ตามที่มีการประเมินเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าในปีที่แล้วผู้ใช้ Netflix มีจำนวนการเข้าชมวิดิโอสตรีมมิ่งรวมกันกว่า 42.5 พันล้านชั่วโมง ในขณะเดียวกัน Youtube เองมีจำนวนบัญชีผู้ใช้งานกว่าหนึ่งพันล้านคนและตามรายงานของเว็บไซต์ ค่าเฉลี่ยการดูคลิปวิดิโอบน Youtube อยู่ที่ 40 นาที นอกจากนี้ก็ยังมีเกมส์คอมพิวเตอร์ เกมส์ออนไลน์ ที่ดึงความสนใจไปจากหนังสือ
https://expandedramblings.com/index.php/youtube-statistics/
อีกประเด็นหนึ่งที่พูดถึงกันก็คือหนังสือเสียงหรือ Audiobook
ปัจจุบันหนังสือเสียงได้รับความนิยมเพิ่มากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่ม Audio Publishers Association (APA) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ทำหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมหนังสือเสียง พบว่ายอดขายในปี 2015 นั้น มียอดขายรวมทั้งหมดมากกว่า 1.77 พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2014 ถึง 20.7%
ทางด้าน มิเชล คอบบ์ ผู้อำนวยการบริหารของ APA กล่าวว่า มีหนังสือเสียงกว่า 35,574 หัวเรื่อง ที่ผลิตขึ้นในปี 2015
“จากการสำรวจผู้บริโภคของเราในปี 2015 พบว่าผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ฟังหนังสือเสียงมีจำนวนถึง 55 ล้านคน และคนที่เป็นนักฟังก็มีแนวโน้มที่จะเป็นนักอ่าน คนที่ฟังบ่อยนั้นฟังหนังสือเสียงสี่เล่มต่อปีหรือมากกว่านั้น”
ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหนังสือเสียงที่ใหญ่ที่สุดในโลกในตอนนี้ก็คือ Audible เก็บสถิติระยะเวลาการเข้าฟังรวมในปี 2016 เกือบแตะสองพันล้านชั่วโมง ซึ่งสูงเป็นสองเท่าของปี 2014 ที่มีระยะเวลาฟังรวมกันอยู่ที่หนึ่งพันล้านชั่วโมง และผู้ใช้งานของเว็บไซต์ใช้เวลาเฉลี่ยในการฟังหนังสือเสียงอยู่ที่วันละสองชั่วโมง อ่านหนังสือเฉลี่ย 17 เล่มต่อปี
เมื่อก่อนนี้เราต่างพากันรู้สึกว่าการฟังหนังสือเสียงเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะไม่ใช่การอ่านเพราะมันดูเหมือนว่าไม่ได้อ่านหนังสือจริงๆ แต่ความรู้สึกดังกล่าวก็ค่อยๆ เลือนหายไปในไม่กี่ปีที่ผ่านมาและในความเป็นจริงมีผลการวิจัย (Dr. Willingham) ที่ระบุว่า สมองของคนเราจะทำงานเมื่อกำลังฟังหนังสือเสียงแบบเดียวกับที่ตอนเราอ่านหนังสือ
คอบบ์บอกว่า “การฟังเรื่องราวช่วยเพิ่มความสามารถในการอ่าน เพราะว่าคุณสามารถทำมันได้ตอนขับรถ ออกกำลังกาย หรือระหว่างการทำงานที่น่าเบื่อ สำหรับฉันแล้ว การอ่านเป็นการพูดเนื้อหาในหนังสือ บทความ การเล่น บทกวี หรือสื่อการเขียนอื่นๆ ไม่ว่าคุณทำสิ่งนั้นด้วยตาหรือว่าหู มันไม่ได้มีผลต่างอะไรกัน”
เนื่องจากความนิยมในหนังสือเสียงที่เพิ่มขึ้น สำนักพิมพ์จึงได้ผลิตหนังสือเสียงเพิ่มขึ้น อย่างสำนักพิมพ์ PRH ก็มีหนังสือเสียงกว่า 10,000 รายการให้เลือก และในปี 2016 ก็จะมีหนังสือเสียงรายการใหม่ๆ อีกกว่า 800 รายการ ยังไม่นับรวมที่จะปล่อยออกสู่ตลาดในปี 2017 อีก 1,100 รายการ
นอกจากนี้ก็ยังมี podcast ที่กระจายเนื้อหาเสียงอีกด้วย ตามผลการวิจัยของ Edison Research ที่ทำการสำรวจทางโทรศัพท์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,001 คน อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป พบว่า 36% ฟัง podcast เป็นบางเวลาและ 40% ใช้เวลาฟัง podcast ระหว่างหนึ่งชั่วโมงถึงสามชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นตรงกันว่า podcast เป็นงานวรรณกรรมหรือถือว่าเป็นการอ่าน
เห็นสถิติภาพรวมกันแล้ว คงจะพอมองภาพธุรกิจหนังสือและไลฟ์สไตล์ของคนในยุคดิจิตอลกันได้ชัดเจนขึ้นนะครับ