การเข้ารหัสเงินเปลี่ยนการจ่ายเงินของเราได้อย่างไร (2)

Listen to this article

 ร้านหนังสือออนไลน์-Herothailand.com


สัญลักษณ์ดิจิตอลหรือลายเซ็นดิจิตอล

 

สำหรับลายเซ็นดิจิตอลนั้น ทำให้เจ้าของงานสามารถปกป้องผลงานของตนได้ง่ายขึ้นและให้ใครก็ตามสามารถยืนยันตัวตนของพวกเขาเพื่อการเข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้น ยากต่อการปลอมแปลง  ถ้าหากเราเห็นลายเซ็นดิจิตอลเราสามารถรู้ได้ทันทีว่าเนื้อหาดังกล่าวต้องมาจากเจ้าของผลงานอย่างแน่นอนเป็นใครอื่นไม่ได้  ตัวอย่างเช่น หากเราเขียนจดหมายถึงคุณ และลงลายเซ็นดิจิตอลไว้ คุณรู้ได้ว่ามีเราเท่านั้นที่ทำแบบนี้ได้ โดยเนื้อหาในอีเมล์สามารถเป็นได้ทั้งแบบเนื้อหาที่สามารถอ่านได้หรือเข้ารหัสก็ได้

ลายเซ็นดิจิตอลนั้นถูกสร้างขึ้นจากการเข้ารหัสแบบไม่สมมาตรหรือการเข้ารหัสและถอดรหัสแบบใช้กุญแจรหัสคนละตัวกัน  โดยที่การส่งจะมีกุญแจรหัสตัวหนึ่งในการเข้ารหัส และผู้รับก็จะมีกุญแจรหัสอีกตัวหนึ่งเพื่อใช้ในการถอดรหัส ผู้ใช้รายหนึ่งๆจึงมีกุญแจรหัส 2 ค่าเสมอคือ กุญแจสาธารณะ (public key) และ กุญแจส่วนตัว (private key) ผู้ใช้จะประกาศให้ผู้อื่นทราบถึงกุญแจสาธารณะของตนเองเพื่อให้นำไปใช้ในการเข้ารหัสและส่งข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วมาให้ ข้อมูลที่เข้ารหัสดังกล่าวจะถูกถอดออกได้โดยกุญแจส่วนตัวเท่านั้น ( อ่านเพิ่มเติมจาก การเข้ารหัสข้อมูล ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ) อย่าง RSA

Asymmetric Cryptography (Public key) ภาพจาก https://www.ku.ac.th/e-magazine/august44/it/encryp.html

การสร้างลายเซ็นดิจิตอลสำหรับไฟล์หรือข้อความนั้น  คุณต้องทำให้ข้อมูลหรือเนื้อหาของไฟล์นั้นให้กลายเป็นส่วนเล็ก ๆ ด้วยฟังก์ชันที่เรียกว่า Hash อย่าง  SHA-256 แล้วเข้ารหัสผลลัพท์ที่ได้ด้วยกุญแจส่วนตัว (private key) ซึ่งจะได้เป็นลายเซ็นดิจิตอลสำหรับไฟล์นั้น ๆ ทางผู้รับสามารถยืนยันลายเซ็นดิจิตอลของไฟล์ได้โดยการถอดรหัสด้วยกุญแจสาธารณะ (public key) ซึ่งถ้าค่า Hash ที่ได้ตรงกัน คุณสามารถเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าวได้ แต่ถ้าหากค่า Hash ที่ได้ไม่ตรงกันคุณก็จะไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าวได้

การทำ private key หรือ public key  ดูเป็นไอเดียจากตรงนี้   >>>>  How to create public key

รูปภาพจาก https://th.wikipedia.org

 

จากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ทำให้เราคิดได้ว่าเราจะประยุกต์ใช้กับเหรียญดิจิตอลได้อย่างไร ???

สมมติว่า เรามีธนาคารกลางอยู่แห่งหนึ่งที่คอยแจกจ่ายตัวเลขอย่างเช่นตัวเลขบนธนบัตร ( โดยธนบัตรเหล่านี้มีความแตกต่างกันเนื่องจากแต่ละใบนั้นมีเลขเฉพาะระบุอยู่) ธนาคารได้ทำการ Hash ตัวเลขเฉพาะบนธนบัตรจากนั้นก็ได้ทำการเข้ารหัสธนบัตรแต่ละใบด้วยกุญแจส่วนตัว (private key) เป็นการสร้างลายเซ็นดิจิตอลให้ธนบัตรเหล่านั้น เราจะเรียกว่าเป็นการรวมกันของตัวเลขเฉพาะกับลายเซ็นดิจิตอลของเหรียญกษาปณ์

และแล้วเราก็มีเหรียญดิจิตอลใช้ ซึ่งมีเพียงแค่ธนาคารเท่านั้นที่สามารถทำมันขึ้นมาได้ แต่เราอาจยังคงต้องเจอกับปัญหาการปลอมแปลงอยู่ เราสามารถปลอมแปลงเหรียญดิจิตอลพวกนี้ได้ทั้งวัน และถึงแม้่ว่าเราสามารถตรวจสอบได้ว่าเหรียญดิจิตอลนี้ใช้ได้หรือไม่แต่เราก็ไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่าอันไหนของแท้หรือของปลอม

ดังนั้นธนาคารจำเป็นต้องติดตามว่าเหรียญดิจิตอลแต่ละเหรียญเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหน นั่นก็คือ การรู้ว่าใครเป็นเจ้าของเหรียญอยู่ในตอนนี้ ถ้าหากเราใช้เหรียญดิจิตอลในการซื้อบางอย่างจากคุณ เราจำเป็นต้องบอกให้ธนาคารรู้ว่าเราได้ทำอะไรไปและตอนนี้คุณเป็นเจ้าของเหรียญนั่นแล้วรวมทั้งการซื้อขายในครั้งนั้นได้ถูกบันทึกไว้ในธนาคารกลางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ชัดเจนว่า เราไม่สามารถใช้เหรียญเดียวกันนี้ซื้อของจากน้องเปิ้ลและต่อจากนั้นค่อยเอาไปซื้อกับพี่เหิมได้ ซึ่งธนาคารสามารถแจ้งเราได้ในกรณีที่เรากำลังใช้เหรียญดิจิตอลอันเดิมที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของแล้วในการซื้อสินค้าอื่นซึ่งตรงนี้เราสามารถขอยกเลิกการซื้อขายครั้งนั้นได้

เนื่องจากเรากังวลว่าอาจมีใครสักคนที่สามารถโกงระบบได้ ดังนั้นบันทึกการซื้อขายหรือการชำระเงินที่เราได้ลงทะเบียนไว้กับธนาคารนั้นจะต้องมีลายเซ็นดิจิตอลของเราไว้ ซึ่งหากเป็นการชำระเงินที่ไม่มีลายเซ็นดิจิตอลกำกับแล้ว คุณสามารถแจ้งธนาคารได้ว่าเป็นการชำระเงินหลอกลวงที่อ้างว่ามาจากเราและสามารถโอนเงินทั้งหมดที่มาจากเหรียญดิจิตอลนั้นคืนกลับไปให้คุณ  จะเห็นได้ว่าไม่ใช่มีแต่เพียงเหรียญดิจิตอลเท่านั้นที่จำเป็นต้องมีลายเซ็นดิจิตอลกำกับแต่การซื้อขายหรือการชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับเหรียญดิจิตอลนั้นก็ต้องมีลายเซ็นต์ดิจิตอลของผู้ซื้อกำกับด้วย

นั่นหมายความว่า ทุกคนที่ใช้เหรียญดิจิตอลต้องลงทะเบียนกับทางธนาคารเพื่อที่ทางธนาคารจะได้จะได้ให้กุญแจสาธารณะ (public key)  เนื่องจากในการยืนยันการชำระเงินนั้น ธนาคารต้องถอดรหัสลายเซ็นดิจิตอลของผู้ซื้อด้วย

 

การเข้ารหัสข้อมูล อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://www.ku.ac.th/e-magazine/august44/it/encryp.html

 

การถอดรหัสข้อมูล อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://www.ku.ac.th/e-magazine/august44/it/encryp.html

 

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนและรูปภาพจาก  www.ku.ac.th/e-magazine/august44/it/encryp.html

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักบริการคอมพิวเตอร์, กรกฎาคม 2544

 

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้