คองโกด้านมืดของรถไฟฟ้า

Listen to this article

ด้านมืดของรถไฟฟ้าก็คือด้านที่ลืมเปิดไฟ แหม เราคงไม่เอามาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นให้เสียเวลา

ผู้ผลิตรถยนต์กำลังตื่นตัวกับการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ต่างพากันปรับสายพานการผลิตของตนจากเครื่องยนต์ที่มีการสันดาปภายในให้เป็นรถไฟฟ้า ความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนี้ รถยนต์สันดาปภายในไม่ว่าจะเป็นการใช้ส่วนตัวหรือเพื่อการพาณิชย์ต่างพากันปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นหนึ่งในสี่ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในยุโรป

นับตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไปสหภาพยุโรปตั้งใจที่จะห้ามไม่ให้มีการขายรถยนต์ใหม่ที่อาศัยเครื่องยนต์สันดาปภายใน แน่นอนว่านโยบายดังกล่าวย่อมส่งผลต่อสายพานการผลิตทั้งระบบ เนื่องจากทางสหภาพยุโรปได้ตั้งเป้าหมายใหญ่กว่านั้นไว้ซึ่งก็คือภายในปี 2050 จะทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

ดังนั้นหากต้องการทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์หรือทำเป้าหมาย climate neutrality ให้สำเร็จภายใน 30 ปี ก็จำเป็นต้องใช้นโยบายรวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่ในตอนนี้

รถไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว

……………….

แบตเตอรีส่วนใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้า มีส่วนประกอบหลักได้แก่ นิกเกิล แมงกานีส โคบอลต์หรือที่เรียกว่า NMC Technology ซึ่งช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ไกลราวๆ 400 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง องค์ประกอบส่วนใหญ่คือนิกเกิล นิกเกิลเป็นตัวที่ทำให้แบตเตอรีจุพลังงานได้สูง ส่วนโคบอลท์นั้นจะใช้ในกลไกของความปลอดภัย ซึ่งจะใช้โคบอลท์เพียงเล็กน้อยในแบตเตอรี เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรีลุกติดไฟและเซลล์แบตเตอรีจะยังคงเสถียรภายใต้ภาวะความร้อนสูง
(อ่านเรื่องแบตเตอรีเพิ่มเติม : แบตเตอรีลิเธียม ตอนที่ 1 )

Special report : Inside the Congo cobalt mines that exploit children

ประเด็นก็คือเอาโคบอลต์มาจากไหน ?

ณ ตอนนี้ความต้องการโคบอลต์จากทั่วโลกรวมกันอยู่ที่ราว ๆ 140,000 ตัน ถึง 150,000 ตัน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มไปถึง 250,000 ตันภายในห้าปีต่อจากนี้

โคบอลต์จำนวน 1 ตันคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 70,000 เหรียญฯ (ราว 2,500,000 บาท/ตัน) ในตลาดโลก

จริง ๆ แล้วโคบอลต์เป็นผลพลอยได้จากการทำเหมืองทองแดงหรือนิกเกิล โคบอลต์มักจะเกิดร่วมกับทองแดงหรือนิกเกิล เรียกได้ว่าเป็นผลพลอยได้ของการทำเหมือง พอตลาดแบตเตอรีโต บริษัททำเหมืองทองแดงก็มีรายได้เพิ่มจากการขายโคบอลต์ด้วยอีกทาง หากช่วงไหนทองแดงราคาดี โคบอลต์ราคาดี บริษัทก็มีรายได้ดี แต่ก็ไม่จำเป็นต้องรีบเพิ่มกำลังการผลิตโคบอลต์เพราะเน้นทองแดงกับนิกเกิลเป็นหลัก ไม่ได้เน้นโคบอลต์ ดังนั้นต่อให้มีความต้องการโคบอลต์ในตลาดโลกมากแค่ไหน ก็ไม่ใช่ว่าจะเร่งขุดโคบอลต์ขึ้นมาขายให้เพียงพอกับความต้องการได้

ที่ว่ามาข้างต้นคือมุมมองของการทำเหมืองขนาดใหญ่ แต่นอกจากเหมืองขนาดใหญ่แล้วก็ยังมีเหมืองที่เรียกว่าเหมืองพื้นบ้าน ที่ชาวบ้านขุด ๆ กันเอง ในเมื่อโคบอลต์มันอยู่ในดิน ก็แค่ขุดมันขึ้นมาขาย จะไปยากอะไร สนใจแค่โคบอลต์
……. ……………

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คือแหล่งโคบอลต์ชั้นดีของโลก แน่นอนว่าที่อื่น ๆ ในโลกก็อาจจะมีแหล่งโคบอลต์เหมือนกันแต่แหล่งโคบอลต์ในคองโกนั้นมีคุณภาพสูงกว่าที่อื่น ๆ

แล้วปัญหามันคืออะไร ในเมื่อการทำเหมืองโคบอลต์สร้างรายได้ให้กับชุมชน มีผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเหมืองโคบอลต์เกือบ 150,000 คน พวกเขาอาศัยรายได้จากเหมืองเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเลี้ยงดูแลครอบครัว

ในคองโกมีเหมืองแร่ทองแดงโคบอลต์จำนวน 19 แห่ง ในจำนวนนี้ 15 แห่งมีคนจีนเป็นเจ้าของสัมปทานที่เหลือเป็นของบริษัทสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ รายได้ที่มีก็คือการขายสัมปทานบัตร หากเข้ารัฐโดยตรงก็ดีไป หากไม่ใช่ก็อาจจะโชคร้ายสักหน่อย

โดยทั่วไปแล้วโคบอลต์จะถูกขนออกมาโดยรถบรรทุกไปยังอาฟริกาใต้แล้วก็ขนถ่ายลงเรือที่เมือง Durban ส่งไปจีน เมื่อถึงจีนก็จะเข้าโรงถลุงแร่ เข้าสู่กระบวนการผลิตจนได้เป็นสารเคมีที่นำไปใช้ในแบตเตอรีได้
….. ……….. ……

Toxic Cost of Going Green | Unreported World

ย้อนกลับไปดูภาพรวมของเหมืองใหญ่ก่อน

เวลาที่เขาขุดเปิดหน้าเหมืองก็ต้องมีเศษดินเศษหิน รถบรรทุกก็จะนำเศษดินเศษหินไปทิ้งกองไว้ที่พื้นที่โล่งสักแห่งหนึ่ง นานวันเข้าก็ทับถมจนกลายเป็นภูเขาเศษดินเศษหินขนาดย่อมๆ ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ก็ไม่ได้มีแต่วัยรุ่นวัยทำงานที่ไม่มีอะไรทำก็เข้าไปทำงานเหมือง ยังมีกลุ่มคนที่ไม่ได้ทำงานเหมือง คนแก่ที่ปลูกผัก ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ จับปลาอะไรไป ทีนี้พอกองดินหินเหล่านั้นสูงขึ้นใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นภูเขาย่อมๆ เวลาลมพัดก็จะพัดพาเอาฝุ่นดินเหล่านั้นลอยมาไกล ฝุ่นดินเหล่านั้นก็ตกลงมาเกาะใบไม้หนาเลย แล้วพืชที่เขาเพาะปลูกมันจะสังเคราะห์แสงเติบโตได้อย่างไร ทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผล เกี่ยวเกี่ยวผลผลิตได้น้อย เอาเท่าที่เก็บเกี่ยวได้ไปขายได้เงินกลับมาก็ไม่พอเลี้ยงครอบครัว มลภาวะจากฝุ่น น้ำในอ่างเก็บน้ำ ในลำห้วย ลำธารก็มีกรด มีสารเคมีปนเปื้อน ปลาตาย ปลาอยู่ไม่ได้ ผู้คนทำมาหากินแบบเดิมไม่ได้ ถูกบีบให้ต้องทิ้งถิ่นฐานและละทิ้งอาชีพวิถีชีวิตดั้งเดิม แล้วใครรับผิดชอบ ?

แล้วหันมามองภาพรวมของเหมืองเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่าเป็นเหมืองพื้นบ้าน ชาวบ้านขุดกันเองเสี่ยงกันเอง เพื่อให้มีรายได้

ชาวบ้านก็จะขุดหลุมลึกลงไปเพื่อหาโคบอลต์ ปล่องเหมืองก็จะมีขนาดเล็ก ๆ แคบ ๆ ไต่ลงไปทีละคน ไม่มีระบบความปลอดภัยอะไรทั้งสิ้น ไม่มีแสตนด์อิน ไม่ใช้ตัวแสดงแทน แต่ได้ค่าแรงไม่เกินสองเหรียญฯ ( 70 บาท ) ต่อวัน พวกเขากินนอนกันอยู่ที่เหมือง ไม่มีโรงพยาบาล ไม่มีน้ำดื่มสะอาด เด็ก ๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน บางครั้งเหมืองถล่มหรือเกิดน้ำท่วมฉับพลันก็มีผู้เสียชีวิตกันมากมาย

นี่คือการทำเหมืองด้วยมือเปล่า ชาวบ้านต้องไต่ลงไปในปล่องที่ลึกลงไปใต้ดิน จากนั้นก็ขุดกระเทาะผนังด้วยค้อนกับสิ่วเพื่อเอาโคบอลต์ออกมาใส่กระสอบ จากนั้นก็จะมีอีกทีมปีนลงไปขนกระสอบขึ้นมาก็เป็นอันเสร็จงาน

เมื่อนำกระสอบที่เต็มไปด้วยโคบอลต์ขึ้นมาข้างบนได้แล้ว พวกผู้หญิงก็จะมีหน้าที่เอาไปล้างในทะเลสาบ มีการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับคนขนกระสอบแล้วก็พวกผู้หญิง จากนั้นก็นำแร่ไปขายให้กับโรงงานหรือคนจีนที่มาตั้งโต๊ะรับซื้อ

Blood, Sweat, And Batteries: Inside Congo’s Cobalt Mines I Fortune


พื้นที่ทำเหมืองในเขต Lualaba และทางตอนเหนือของ Katanga ของคองโกผลิตโคบอลต์ได้ราว 80% ของทั้งหมดที่ผลิตได้ในคองโก โดยอีก 20% มาจากเหมืองพื้นบ้านที่ชาวบ้านขุดทำกันเอง และที่สำคัญมีการพบว่าเหมืองพื้นบ้านบางแห่งมีการใช้แรงงานเด็กที่อายุเพียง 7-8 ปี อีกด้วยซึ่งไม่ว่าจะด้วยความเต็มใจหรือการถูกสภาพแวดล้อมบีบบังคับให้ทำ มันก็ไม่ใช่เรื่องดีทั้งนั้น

จากผลการสำรวจพบว่า มีโคบอลต์ในตลาดโลกมากถึง 20% ที่มาจากเหมืองที่ไม่ได้มาตรฐานในคองโก

การทำเหมืองพื้นบ้านนี้ถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะหากพิจารณาเรื่องดีมานด์กับซัพพลายของโคบอลต์ในตลาดโลกแล้ว เหมืองพื้นบ้านอาจจะเป็นเพียงแหล่งเดียวที่ทำให้ปริมาณโคบอลต์เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ขึ้นอยู่กับราคาในตอนนั้น

รัฐบาลคองโกเองก็พยายามเข้ามาควบคุมการทำเหมืองมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว มีการออกกฏหมายที่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองต้องให้ความร่วมมือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โครงสร้างค่อนข้างมีขั้นตอนมากเกินไป คนงานเหมืองไม่ได้มีหุ้นหรือว่าส่วนแบ่งในเหมืองแล้วดังนั้นแล้วพวกเขาก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือด้วยเช่นกัน

….. ……………… ………………………

พื้นที่โฆษณา / Advertisement

Sabai-Golf รถไฟฟ้า4ล้อ ดีไซน์สวยไม่ซ้ำใคร ประกอบแล้ว100%
มีหน้าร้านทั่วประเทศ รับประกัน3ปี

ขุดโคบอลต์ขึ้นมาได้แล้วเอาไปขายที่ไหน ขายให้ใคร

คนทำเหมืองพื้นบ้านบอกว่า พอพวกเขาขุดโคบอลต์ขึ้นมาได้แล้วก็จะเอาไปขายให้กับพ่อค้าชาวจีน โดยปกติแล้วกระสอบหนึ่งจะหนักราว 20 กิโลกรัม แต่เหมือนจะโดนโกงตาชั่ง เวลาเอาไปขายไม่เคยถึง 20 กิโกกรัมสักที นอกจากนั้นแล้วโคบอลต์ที่ขุดมาจากปล่องเดียวกัน ขุดจากผนังข้าง ๆ กัน พอเอาไปขายก็โดนเรื่องคัดเกรดโคบอลต์เพื่อกดราคาขาย คือพวกเขาก็รู้ว่าถูกกดราคาด้วยเทคนิคต่างๆ แต่ก็ต้องจำใจ จำยอม

เหมืองทองแดงโคบอลต์ในคองโก สร้างความรุ่งเรืองมั่งคั่งให้กับบริษัทข้ามชาติ แต่ในทางกลับกันพวกเขากำลังเจ็บปวดจากการที่ไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ โดยเฉพาะคนที่บ้านต้องถูกเวนคืน ต้องย้ายออกไปเพื่อเปิดทางเข้าสู่เหมืองที่กำลังขยายขอบเขตออกไป มันช่างเป็นเรื่องที่ย้อนแย้ง

…………………

เมื่อมีด้านมืด จะทำอย่างไรให้มันกลายเป็นด้านสว่าง ?

หลัก ๆ ก็มีอยู่สองแนวทาง

แนวทางแรกคือบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือบริษัทที่ใช้แบตเตอรี ต้องมีมาตรการที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรีได้กับซัพพลายเออร์ของตน หากตรวจสอบแล้วพบว่าโคบอลต์ที่นำมาผลิตนั้นมาจากแหล่งที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีการใช้แรงงานเด็ก ก็ยกเลิกคำสั่งซื้อแล้วหันไปจัดหาจากแหล่งอื่นแทน ซึ่งในแนวทางนี้ก็สามารถสร้างผลกระทบได้บางส่วนแต่คงไม่อาจจะตรวจสอบได้ทั้งหมด เพราะอะไร ? ก็เพราะว่าเวลาที่แร่เหล่านี้ไปถึงจีน เข้าโรงถลุงแร่ เราก็ไม่สามารถติดตามตรวจสอบอะไรได้อีกแล้ว เพราะจีนเองก็นำเข้าโคบอลต์จากหลายแหล่ง นอกจากนั้นแล้วเรื่องต้นทุนการผลิตก็เป็นสิ่งสำคัญ พวกเขามีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนแหล่งโคบอลต์อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ได้โคบอลต์ต้นทุนต่ำ คงไม่มีใครทำธุรกิจแล้วซื้อสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด

แนวทางที่สองก็คือ ลดการพึ่งพาแหล่งโคบอลต์จากคองโก

อย่างที่ทราบว่า ที่ยุโรปเคยเป็นแหล่งการผลิตรถยนต์ชื่อก้องโลกมากมายแต่พอปรับเปลี่ยนมาเป็นรถไฟฟ้ากลับจะตกขบวน ทั้ง ๆ ที่สายพานการผลิตแบบเดิมยังมีอยู่ครบถ้วน ที่ขาดไปก็เพียงแค่แบตเตอรี มีผู้ผลิตแบตเตอรีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของโลกที่อยู่ในยุโรป ดังนั้นเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2035 สหภาพยุโรปจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 30 กิกะวัตต์รวมถึงมีโรงงานผลิตแบตเตอรีที่มีกำลังการผลิตรวมกันคิดเป็นหนึ่งในสี่ของโลก

Northvolt Battery Factory

ที่สวีเดนมีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่เพื่อผลิตแบตเตอรี ทำให้เกิดการสร้างงานในชุมชน สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตได้เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งยังสร้างความยั่งยืนในเรื่องรถไฟฟ้าเพราะลดการนำเข้าแบตเตอรีจากที่อื่น ยุโรปมีการผลิตรถยนต์ปีละราวๆ 20 ล้านคัน มีผู้คนราว 13-14 ล้านคนทำงานในอุตสาหกรรมนี้ แล้วหากสายพานการผลิตดังกล่าวเปลี่ยนเป็นของรถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถรักษาตำแหน่งงาน สร้างการเติบโตและสร้างงานให้กับคนอีกจำนวนไม่น้อย

เพื่อที่จะมีวัตถุดิบที่ป้อนให้กับโรงงานแบตเตอรีแห่งใหม่เหล่านี้ ยุโรปมีโครงการทำเหมืองจำนวนหนึ่ง โดยพบว่ามีแหล่งโคบอลต์สำรองที่สวีเดน นอร์เวย์และฟินแลนด์ ส่วนในตอนนี้มีเหมืองนิกเกิลโคบอลต์สองแห่งที่กำลังดำเนินการอยู่รวมทั้งมีอีก 7 แห่งกำลังอยู่ในขั้นเตรียมการ โดยเฉพาะที่ฟินแลนด์มีแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญอยู่จำนวนมาก ฟินแลนด์เป็นเพียงประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเพียงประเทศเดียวที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นในการผลิตแบตเตอรีอยู่อย่างครบถ้วน

International Energy Association ได้ประเมินว่า เราต้องการโคบอลต์มากกว่าในตอนนี้ 20 เท่า ป้อนเข้าสู่ตลาดโลก

การทำเหมืองในฟินแลนด์นั้นจะเป็นการทำเหมืองสมัยใหม่ที่จะพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ คือตั้งแต่ขุดแร่ ถลุงแร่ จนได้เป็นสารเคมีพร้อมใช้เป็นส่วนประกอบในแบตเตอรีเลย ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำไปใช้กับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ราว ๆ 300,000 คันต่อปี

EU law ends sale of CO2-emitting cars by 2035

ตามที่สหภาพยุโรปได้ตั้งเป้าหมายภาระกิจในปี 2035 ควรจะมีรถไฟฟ้าอย่างน้อย 30 ล้านคันวิ่งอยู่บนถนนในยุโรป ซึ่งหากจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวต้องมีโรงงานแบบในฟินแลนด์อีก 10 โรงงานเพื่อจัดหาโคบอลต์แค่เพียงอย่างเดียว

แต่ที่ต้องยอมรับก็คือ ด้วยต้นทุนการจัดการเหมืองที่สูงในขณะที่ได้รับผลตอบแทนต่ำทำให้ยุโรปไม่อาจเป็นแหล่งพึ่งพาโคบอลต์สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าได้ พวกเขาจำต้องอาศัยการรีไซเคิลโคบอลต์มาใช้ด้วย ภายในระยะเวลาหนึ่งทศวรรษ 10% ของโคบอลต์ในตลาดโลกสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งนี้เพราะว่ามันสามารถนำมารีไซเคิลครั้งแล้วครั้งเล่าได้ ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบขนาดใหญ่ตอบสนองต่อความต้องการโคบอลต์ได้เป็นอย่างดี ในปี 2035  แบตเตอรีของรถยนต์ไฟฟ้าทุกคันที่ผลิตในยุโรป จำเป็นต้องมีโคบอลต์ที่มาจากการรีไซเคิลอย่างน้อย 20%

แร่ธาตุโลหะเหล่านี้ที่จำเป็นสำหรับทำแบตเตอรี จริง ๆ แล้วมันสามารถรีไซเคิลได้ทั้งยังสามารถนำมารีไซเคิลได้ครั้งแล้วครั้งเล่า นั่นก็หมายความว่า เราทำเหมืองเพื่อขุดหาแร่โลหะเหล่านี้เพียงครั้งเดียวจากนั้นก็อาศัยการรีไซเคิลเพื่อให้ใช้มันได้เรื่อย ๆ และค่อนข้างชัดเจนว่า ความต้องการโคบอลต์ในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะก่อนที่จะไปถึงจุดที่มีรถไฟฟ้าคันใหม่ออกมาขณะเดียวกันก็มีรถไฟฟ้าคันเก่าหมดอายุลงใหัมันสมดุลกัน แต่เมื่อเราไปถึงจุดนั้นแล้วก็จะมีวัตถุดิบสำหรับหมุนเวียนได้อย่างเพียงพอ

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้