อุณหภูมิส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยหรือ (1/3)

Listen to this article


เรื่องราว ตอนที่ 1

ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรกของโลกในปี 2023 ได้แก่ สหรัฐฯ ที่มี GDP ใกล้จะแตะ 26 ล้านล้านเหรียญฯ รองลงมาก็คือจีน 17.7 ล้านล้านเหรียญฯ ตามมาด้วยญี่ปุ่นอันดับสาม 4.2 ล้านล้านเหรียญฯ ส่วนอันดับสี่ได้แก่เยอรมนี 4 ล้านล้านเหรียญฯ ปิดท้ายอันดับห้าคืออินเดีย 3.3 ล้านล้านเหรียญฯ เบียดแซงหน้าอังกฤษขึ้นมาเล็กน้อยแบบแลบลิ้นเข้าเส้นชัย

source : https://www.worldometers.info/gdp/gdp-by-country/

หากวิเคราะห์จากชุดข้อมูลที่ใหญ่กว่าเดิมจาก GDP per capita หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว นั่นก็คือประชากรหนึ่งคนของประเทศนั้น ๆ โดยเฉลี่ยแล้วจะสร้างรายได้ได้เท่าไหร่ ซึ่งจะพบว่าบรรดาประเทศชั้นนำจำนวน 14 ประเทศจาก 20 ประเทศที่มี GDP per capita ( ต่อไปขอเรียกว่า GDP ต่อหัว เหตุผลเพราะน่าจะเข้าใจได้ง่าย ๆ บ้าน ๆ กว่า) สูงที่สุดในโลกนั้นล้วนตั้งอยู่นอกเขตร้อน ประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงนั้น กว่า 70% ต่างก็อยู่ในเขตที่มีอากาศหนาวของโลก ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างเห็นได้ชัด เป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมากระหว่างอุณหภูมิเฉลี่ยและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของชาติ 

อะไรคือพื้นที่เขตหนาว เขตร้อนของโลกที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้ แผนภาพด้านล่างจะเห็นการแบ่งโซนภูมิอากาศได้อย่างชัดเจน โดยบริเวณที่ร้อนที่สุดก็คือแนวเส้นศูนย์สูตรที่จะเป็นแถบสีแดงและอุณหภูมิเฉลี่ยจะลดต่ำลงเมื่อห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไป

source : http://www.meteoblue.com

ลองลงลึกไปในข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมกับดู GDP ของประเทศนั้น ๆ ไปด้วย มาดูกันว่าเราจะเห็นอะไรจากข้อมูลสองชุดนี้

ข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF

GDP per capita, current prices U.S. dollars per capita
Source : IMF

เมื่อทำการเปรียบเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยและ GDP ต่อหัว ของทั้ง 98 ประเทศทั่วโลก ข้อมูลที่แสดงให้เห็นดูเหมือนจะสนับสนุนข้อสังเกตที่ว่าประเทศที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าจะมี GDP ต่อหัวต่ำกว่า การวิเคราะห์ทางสถิติทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามีความเกี่ยวข้องกันบางประการระหว่างตัวแปรทั้งสอง แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็ยังทราบด้วยว่า ยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อเรื่องนี้ อย่างเช่น ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐานและตัวแปรอื่นอีกมากมายที่ส่งผลต่อ GDP ของประเทศใดประเทศหนึ่ง อุณหภูมิเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่มีผลและเรากำลังจะเจาะลึกลงไปในปัจจัยดังกล่าวนี้

ดังนั้นเพื่อให้ยังคงวิเคราะห์ได้อย่างต่อเนื่องถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับ GDP เราจำเป็นต้องมั่นใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวนี้มีนัยสำคัญทางสถิติ

นักสถิติใช้สิ่งที่เรียกว่า coefficient of determination หรือ R2 (R-SQUARE) ค่าดังกล่าวนี้จะเป็นตัวระบุว่าความผันแปรดังกล่าวของตัวแปรกำหนดสามารถทำนายจากตัวแปรอิสระได้มากน้อยเพียงใด

สิ่งที่เราต้องการทราบในตอนนี้ก็คือ ค่า R-square ของชุดข้อมูลอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับค่า GDP นั้นมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ ซึ่งจากการทดสอบพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ .087 หรือ 8.7%  ซึ่งหมายความว่าเกือบ 9% ของ GDP ต่อหัวนั้นถูกกำหนดด้วยปัจจัยทางอุณหภูมิเฉลี่ยของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

เมื่อทำการทดสอบความแตกต่างของผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในอาฟริกาและกลุ่มประเทศในอเมริกาใต้ ข้อสรุปดังกล่าวก็ยังคงเป็นจริง โดยกลุ่มประเทศอเมริกาใต้มี nominal GDP ราวๆ 4.04 ล้านล้านเหรียญฯ ในขณะที่กลุ่มประเทศอาฟริกามี nominal GDP (เพิ่มขึ้นตามเงินเฟ้อ) ที่ 3.14 ล้านล้านเหรียญฯ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วประเทศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าในสองทวีปนี้ต่างก็มี GDP ต่อหัวต่ำกว่าประเทศที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าในทวีปเดียวกัน ตัวอย่างเช่น อุรุกวัย อาเจนตินา และชิลี ต่างก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากกว่าประเทศในทวีปเดียวกันทำให้มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าประเทศอื่นในโซนอเมริกาใต้ แต่ทว่ากลับมี GDP ต่อหัว  สูงกว่าประเทศอื่นๆ เช่นกัน

ในปี 2021 อุรุกวัยเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงที่สุด อยู่ที่ราว ๆ 17,313 เหรียญฯ ต่อปี ตามมาด้วยชิลีที่  16,265 เหรียญฯ ต่อปีและอันดับสามคืออาเจนตินา ที่ 10,636 เหรียญฯ ต่อปี

ในทางกลับกัน บรรดาประเทศที่อยู่ตามแนวเส้นศูนย์สูตรต่างก็มี GDP ต่อหัวต่ำกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น โคลัมเบียที่มี GDP ต่อหัวอยู่ที่ราว 6,104 เหรียญฯ ต่อปี เอกวาดอร์อยู่ที่ 5,965 เหรียญฯ ต่อปีและซุรินัมมี GDP ต่อหัวอยู่ที่ราว ๆ 4,869 เหรียญฯ ต่อปี

อุณหภูมิเฉลี่ยของอุรุกวัยคือ 17.5 องศาเซลเซียส ส่วนของซุรินัมคือ 26 องศาเซลเซียส ความแตกต่างระหว่าง GDP ต่อหัวของทั้งสองประเทศดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับความแตกต่างของอุณหภูมิเฉลี่ย

ที่อาฟริกาก็เป็นทำนองเดียวกันนี้ 

บอสวานา อาฟริกาใต้และลิเบีย สามประเทศที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นประเทศที่ถือว่าร่ำรวยท่ามกลางประเทศอื่นๆ ในทวีปอาฟริกา ซึ่งข้อสังเกตก็คือว่าทั้งสามประเทศนั้นต่างก็มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากกว่าประเทศอื่นๆ ในทวีปอาฟริกา โดย GDP ต่อหัวของอาฟริกาใต้อยู่ที่ 7,055 เหรียญฯ ต่อปี ของบอสวานาอยู่ที่ 6,805 เหรียญฯ ทางด้านลิเบียอยู่ที่ 6,357 เหรียญฯ ส่วนประเทศที่ยากจนในอาฟริกาอย่าง บุรุนดีนั้นมี GDP ต่อหัวอยู่ที่ 221.5 เหรียญฯ เซียรราลีโอนอยู่ที่ 480 เหรียญฯ ต่อปี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกอยู่ที่ราว ๆ 577 เหรียญฯ

มีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาฟริกา แต่แนวโน้มระหว่างระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตรที่ส่งผลต่ออุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละปีของประเทศต่างๆ ค่อนข้างจะมีอิทธิพลอย่างมาก 

นักวิจัยที่ MIT ได้ทำการศึกษาลงลึกไปอีกขั้นด้วยการศึกษาถึงประเด็นที่ว่าอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นในแต่ละปีนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้หรือไม่ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยเพียง 1 องศาเซลเซียสมีความเกี่ยวข้องกับการส่งผลให้ GDP ต่อหัวลดลง 1.1% ดังนั้นแล้วหากมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นฉับพลันก็อาจส่งผลเสียที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจได้

……. ใช่เหรอ ความร้อนมันส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจได้จริงเหรอ มโนหรือเปล่า ?

อ่านเพิ่มเติม :

……….. ………. ………… ……………. >>

Advertisement | Shopee

กล้องวงจรปิดใส่ซิมเน็ต 4G กล้องใส่ซิม พลังงานแสงอาทิตย์

เพราะเหตุใดอุณหภูมิจึงดูจะมีบทบาทสำคัญต่อ GDP ของประเทศ ?

มีหลายเหตุผลที่บ่งชี้ว่าอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงไปจนถึงประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานที่ลดลง

ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์

เราจำเป็นต้องมองย้อนกลับไปในอดีตเพื่อดูว่าสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากปรากฏการณ์ดังกล่าว จากนั้นเราสามารถใช้ข้อมูลที่มีในปัจจุบันเพื่อทดสอบว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกันแน่กับความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับ GDP 

เมื่อลองสืบค้นไปในอดีตก็พบว่ามีบางอย่างที่น่าประหลาดใจ สิ่งที่อดีตต่างจากปัจจุบันก็คือ ประเทศมหาอำนาจและมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจรวมถึงจักวรรดิต่างๆ ทั่วโลกต่างก็มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ของโลก นั่นก็เพราะว่าก่อนจะถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ถ้าหากอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองแล้วต้องการขยายอาณาเขตของตน พวกเขาต้องชนะสงครามและแผ่อิทธิพลออกไป จำเป็นต้องคงไว้ซึ่งกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ เพื่อจะให้เป็นเช่นนั้นได้ก็จำเป็นต้องมีสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นก็คืออาหารจำนวนมาก

หลายร้อยหลายพันปีที่ผ่านมา การทำเกษตร เพาะปลูก ทำสวน เลี้ยงสัตว์ได้ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของทุก ๆ จักรวรรดิและอาณาจักรต่าง ๆ ในช่วงเวลานั้นเอง พื้นที่ที่อบอุ่นกว่าในเขตร้อนก็เหมาะสมในการเพาะปลูกสร้างอาหารได้ดีกว่า ยิ่งถ้าหากปีไหนอากาศมีความอบอุ่นหรือกินเวลาค่อนข้างนานก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้มากขึ้นตามไปด้วย แต่นั่นก็นำไปสู่การเกิดภาวะดินเสื่อมในที่สุดรวมถึงก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร เกิดความอดอยากในบางครั้งด้วย

เนื่องจากว่าในตอนนั้นจำนวนประชากรยังคงน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับปัจจุบัน จึงสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างไม่จำกัดทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาชดเชยกับที่ขาดหายไป ส่งผลให้พื้นที่ในเขตร้อนสามารถผลิตอาหารเพื่อรองรับจำนวนประชากรได้มากกว่าพื้นที่ในเขตหนาวเย็น อารยธรรมขนาดใหญ่ของโลกอย่างเมโสโปเตเมีย อียิปต์ อินคาและอินเดียล้วนตั้งอยู่ในแถบเขตร้อน

source : https://www.worldhistory.org

แต่ในปัจจุบันหากเราพิจารณาตำแหน่งที่ตั้งของอารยธรรมเหล่านั้นแล้วกลับพบว่า ความยิ่งใหญ่ที่เคยมีกลับกลายเป็นพื้นที่ที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าในหลายประเทศที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นกว่า ที่อาจจะพูดได้ว่า เมื่อประชากรในเขตอากาศร้อนเพิ่มจำนวนและมีการเติบโตขึ้นนั้น กลุ่มประชากรในพื้นที่อากาศหนาวเย็นของโลกก็ไม่ได้นั่งอยู่เฉย ๆ รอให้ประชากรจากอารยธรรมเขตร้อนเข้ามารุกรานยึดครอง ในทางกลับกันพวกเขาก็ได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาเองมีอนาคตที่ดีขึ้นได้ 

นักวิจัยบางรายได้ชี้ให้เห็นว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตหนาวนั้นต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ผ่านพ้นฤดูหนาวไปได้นั้นเป็นเรื่องที่ต้องพบเจอเป็นปกติ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมและวิธีปฎิบัต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้คนในพื้นที่ส่วนนี้ของโลกสืบทอดกันมาอีกหลายศตวรรษ 

พื้นฐานของทฤษฎีโดยทั่วไปมักจะมองว่าประชากรที่อาศัยในเขตหนาวจำเป็นต้องคิดหานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อมาเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและเก็บรักษาผลผลิตเหล่านั้นไว้เผื่อช่วงที่เกิดความแห้งแล้งหรือขาดแคลนอาหารที่มักจะมาพร้อมกับฤดูหนาวอันหนาวเหน็บ จึงเป็นผลให้ผู้คนมีการกักตุนเก็บรักษาทรัพยากรของตน มีการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนเพื่อต่อสู้กับสภาพแวดล้อมรวมถึงมีการวางแผนถึงการเติบโตและการพัฒนาในระยะยาว

ในทางกลับกัน กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อน พวกเขาไม่จำเป็นต้องมีนวัตกรรมอะไรมากมาย  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้คนเหล่านี้ไม่ต้องทำงานหนักเพื่อที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองหรือสร้างนวัตกรรมที่เข้ากันกับวิถีชีวิตของพวกเขา  แต่เนื่องจากว่าสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่นั้นไม่ได้ต้องการทรัพยากรแบบเดียวกันกับของผู้คนในเขตหนาวที่ต้องกักตุนหรือต้องเผชิญกับความท้าท้ายเพื่อที่จะอยู่รอดในแต่ละปี

source : https://www.worldhistory.org

มีต่อตอนที่ 2

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้