แบตเตอรีลิเธียม (ตอนที่ 2)

ประเด็นสำคัญที่เราจะพูดถึงก็คือ  แบตเตอรีลิเธียมสามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อนำโลหะและวัสดุตัวนำไฟฟ้าภายในนั้นกลับมาใช้ได้ใหม่ อย่างเช่น นิกเกิล โคบอลต์ ทองแดง ที่สามารถนำกลับมาใช้ครั้งแล้วครั้งเล่าได้ ส่วนประกอบของแบตเตอรีทีสามารถนำมารีไซเคิลได้คิดเป็นสัดส่วน 95-98% ของตัวแบตเตอรี

เจ บี สตรอวเบิล  ผู้ร่วมก่อตั้งและยังเป็นอดีตหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของ Tesla  เขาเป็นคนริเริ่มเทคโนโลยีหลายอย่างของ Tesla โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี

เขาออกจากเทสลาในปี 2019  จึงมีเวลาเต็มที่ให้กับการรีไซเคิลแบตเตอรีเหล่านี้ โดยหันไปทำ Start up ชื่อ redwood materials  ซึ่งเน้นการรีไซเคิลแบตเตอรี เมื่อแยกส่วนประกอบได้แล้ว ก็ส่งวัสดุเหล่านั้นไปให้กับโรงงานของ Panasonic เพื่อที่จะได้นำไปเป็นส่วนประกอบใส่กลับเข้าไปในแบตเตอรีของรถยนต์เทสลา

เหตุผลที่เขาเลือกที่จะออกจากเทสลามาเริ่มธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี เนื่องจากจากมองเห็นปัญหาที่ก่อตัวขึ้นเมื่อแบตเตอรีหมดอายุการใช้งานแล้วซึ่งจะก่อให้เกิดกองขยะแบตเตอรีจำนวนมหาศาล ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่มีใครหรือหน่วยงานใดที่จะรับผิดชอบกำจัดมันในปริมาณที่มากขนาดนั้นได้ ขณะเดียวกันการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าก็ต้องเจอกับปัญหาคอขวดที่ผลิตแบตเตอรีใหม่ได้จำกัดเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต  จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะเข้าไปเป็นสะพานในการรีไซเคิลแบตเตอรีเก่าแล้วนำวัสดุที่ได้ไปเป็นส่วนประกอบของแบตเตอรีลูกใหม่

Battery Recycling Redwood Materials

ทำไมการรีไซเคิลแบตเตอรีถึงมีความจำเป็น ?

ผมเริ่มทำธุรกิจนี้เพราะเห็นว่า นี่เป็นปัญหาที่ก่อตัวขึ้นเมื่อรถไฟฟ้าเหล่านั้นไม่ถูกใช้งานแล้ว  ผมไม่เห็นใครเลยที่พอจะรับมือกับปัญหาในระดับนั้นได้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรีที่หมดอายุการใช้งานปริมาณหลายตัน มันมหาศาลจนคาดไม่ถึงเลยทีเดียว ดังนั้นมันเป็นโอกาสที่ท้าทายในการจะแก้ปัญหาแบตเตอรีที่หมดอายุด้วยกระบวนการรีไซเคิล เพื่อที่จะนำวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้ได้แล้วยังจะทำให้สามารถผลิตแบตเตอรีได้โดยไม่เกิดคอขวดในการผลิตแบตเตอรีลูกใหม่อีกด้วย

……………

ในปัจจุบันอุปกรณ์พกพารอบตัวเราล้วนมีแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบ แบตเตอรีแบบลิเธียมไออนเป็นที่ต้องการของตลาดจะเห็นได้จากกสถิติในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีการผลิตแบตเตอรีลิเธียมไอออนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มจาก 44.2 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2020 ไปเป็น 94.4 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2025 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คือนำไปใช้กับรถ ไฟฟ้า EV ราว ๆ 10% ของยอดขายรถโดยสารทั่วโลกในปี 2025 แล้วเพิ่มเป็น 58% ในปี 2040

เรามีวัสดุเพียงพอที่จะผลิตแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าไหม ?

ตอบตามจริงเลยก็คือ ไม่

เราไม่มีวัสดุเพียงพอในสายพานการผลิต ณ วันนี้ มีการลงทุนมากมายเพื่อที่จะหาทางเอาชนะข้อจำกัดดังกล่าวว่าจะสามารถหาวัสดุเหล่านี้ได้จากที่ไหนได้บ้าง อย่างการลงทุนเปิดเหมืองแร่ใหม่ร่วมกับการนำมารีไซเคิล

เรามองหาวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่ในแบตเตอรี พวกนั้นคือโลหะที่มีความทนทานแล้วก็ทราบดีถึงข้อจำกัดที่ไม่ได้มีวัสดุพร้อมใช้อยู่อย่างเหลือเฟือ ดังนั้นมันคงดูไม่เข้าท่านักหากไม่ได้ใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีอยู่ของแบตเตอรีเก่าในการสร้างแบตเตอรีลูกใหม่ต่อไป

Panasonic  กล่าวว่าบริษัทกำลังผลิตแบตเตอรีจำนวน 2 พันล้านลูกต่อปีป้อนให้กับโรงงาน Gigafactory ของเทสลาที่เนวาดา โดยเฉพาะกับโมเดล 3 และโมเดล Y ดังนั้นที่โรงงานของ Redwood จึงผลิตป้อนสองโรงงานนี้เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องการโรงงานแบบนี้อย่างน้อย 4-6 แห่งในสหรัฐฯ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่หลากหลายมากขึ้น และหากมองในสเกลระดับโลก เราจำเป็นต้องมีโรงงานแบบนี้เพื่อจัดหาวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตแบตเตอรีให้ได้ราว ๆ 20-25% ของกำลังการผลิตทั้งโลก

………………………………..

Cobalt mining for lithium ion batteries

วัสดุในการทำแบตเตอรี

แบตเตอรีประกอบขึ้นจากส่วนผสมของวัสดุที่เป็นโลหะและแร่ธาตุ เช่น นิกเกิล โคบอลต์ ลิเธียม กราไฟต์และทองแดงที่นำมาจากทั่วโลก เซลล์แบตเตอรีประกอบขึ้นมาจากวัสดุเหล่านี้ที่เดินทางมาไกลกว่า 20,000 ไมล์ทะเล เริ่มต้นที่เหมืองแร่มาจนถึงโรงงานผลิตรถยนต์ตามห่วงโซ่อุปทานแต่ที่สำคัญกว่าการเดินทางไกลของวัสดุเหล่านั้นก็คือมันไกลจากความยั่งยืนด้วยเช่นกัน

การรีไซเคิลถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบดังกล่าว แหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดจากรถไฟฟ้าก็มาจากการทำเหมืองแร่และการผลิตแวดล้อมเพื่อทำแบตเตอรี

อย่างการทำเหมืองลิเธียมก็ไม่ได้เป็นกิจกรรมที่ปราศจากการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นมันจึงมีช่วงเวลาที่การรีไซเคิลแบตเตอรีเพื่อนำโลหะกลับมาใช้ใหม่กำลังกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้ EV ประสบความสำเร็จจากการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์

การเดินทางของวัสดุและแบตเตอรีสำหรับรถไฟฟ้า เริ่มจากการทำเหมืองในอเมริกาใต้ อาฟริกา อินโดนีเซียและออสเตรเลีย หลังจากนั้นก็จะถูกส่งไปที่จีนเพื่อทำการถลุงแร่แล้วบรรจุลงในถังวัสดุของ tesla ส่งต่อไปยังสหรัฐฯเพื่อผลิตแบตเตอรีที่โรงงานของ Panasonic ส่งป้อนให้กับโรงงาน Gigafactory ที่เนวาดา

การขาดแคลนอย่างมีนัยสำคัญของวัสดุที่ใช้ในการผลิตกำลังก่อตัวให้เห็นในระยะอันใกล้นี้

สำหรับวัสดุอย่างลิเธียม นิเกิล โคบอลต์และทองแดงนั้น ถึงตอนนี้ความต้องการมากเกินกว่าซัพลายไปมากแล้ว

Inside a lithium mine

การนำวัสดุเหล่านี้มารีไซเคิลสามารถบรรเทาหรือลดการเปิดเหมืองใหม่เพื่อหาแหล่งทรัพยากรเพิ่ม

ห่วงโซ่อุปทานที่มีความไม่แน่นอนทำให้เป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับแบตเตอรี ซึ่งเป็นส่วนที่แพงที่สุดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ต้นทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโดยรวมนั้นลดลง แต่ว่าส่วนที่แพงที่สุดก็ยังเป็นต้นทุนของแบตเตอรี ดังนั้นเพื่อหาทางว่าเราจะเข้าถึงวัสดุที่ใช้ผลิตแบตเตอรีเหล่านั้นได้อย่างไร ในขณะเดียวกันกับที่ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตขึ้น ซึ่งจะส่งผลมากดดันตลาดวัสดุคอมโมดิตี้เหล่านี้ การนำแบตเตอรีเก่ามารีไซเคิลเพื่อลดต้นทุนการผลิตแบตเตอรีใหม่ให้ต่ำลงจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม

การทำเหมืองลิเธียม

มีต่อตอนที่ 3

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

ฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊ค 1TB SSD M.2

1TB SSD (เอสเอสดี) HIKVISION E3000 M.2 PCI-e Gen 3 x 4 NVMe ประกัน 5 ปี