สำนักพิมพ์ถูกฟ้อง เนื่องจากการใช้ DRM ผูกขาด e-book

Listen to this article

บทความชิ้นนี้ อ้างอิงจากงานเขียนของ Laura Hazard Owen

สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก 3 แห่งได้รวมตัวกันยื่นฟ้อง Amazon และสำนักพิมพ์ใหญ่ของโลกทั้ง 6 แห่งในข้อหาร่วมกันให้ Amazon เป็นผู้จัดการสิทธิดิจิตอล (DRM) ใน ebook ซึ่งจะทำให้เกิดตลาดผูกขาด

DRMสำนักพิพม์ขนาดเล็กสามแห่ง ได้ฟ้องร้อง Amazon และสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้งหกแห่ง โดยกล่าวหาว่าร่วมกันให้สิทธิการจัดการดิจิตอล (DRM) แก่ Amazon  เพื่อให้ใช้เป็นเครื่องมือการจัดการ ebook  ในการสร้างตลาดผูกขาด  โดยตัวแทนที่ยื่นฟ้องแทนสำนักพิมพ์ขนาดเล็กทั้งสามแห่งนี้คือสำนักงานกฏหมาย Los Angeles antitrust firm Blecher & Collins กล่าวว่า “การทำสัญญาของสำนักพิมพ์โดยใช้สิทธิการจัดการดิจิตอลด้วยการเข้ารหัส  (DRM) เพื่อป้องกันการคัดลอก ebook หรืออ่าน ebook ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้น ถือว่าเป็นการฉุดยอดขาย ebook โดยรวมและนั่นหมายความว่า Amazon ได้ทำการทุ่มตลาดหรือพยายามที่จะทำตลาด ebook ให้มีแต่ผู้ขายรายเดียวในสหรัฐฯ”

 

โดยในคำร้องได้ทำการประเมินส่วนแบ่งการตลาดของ Kindle , Nook และ iBookstore เป็นหลักฐานสำหรับบ่งชี้ให้เห็นว่า Amazon เป็นผู้ครอบงำตลาด ebook  โดยตัวเลขที่ได้ประเมินและมีการนำมาใช้นั้นเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในแวดวงธุรกิจหนังสือ ซึ่ง Kindle ครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 60%  รองลงมาเป็น Nook 25% และ iBookstore มีส่วนแบ่งการตลาดต่ำกว่า 10%  (แม้จะมีหลายฝ่ายเชื่อว่าส่วนแบ่งการตลาดของ Apple กำลังโตวันโตคืน)  ในคำร้องระบุว่า Nook เป็นเพียงคู่แข่งหลักของ Kindle  เพียงรายเดียว แต่จากการอ้างอิงจากข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้รวมทั้งรายงานผลประกอบการของ Barnes & Noble  ระบุว่า “บริษัทกำลังประสบปัญหาทางด้านการเงินและกำลังจะลดขนาดกิจการด้วยการลดจำนวนสาขาร้านหนังสือลง”

 

เพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนี้ กล่าวได้ว่า  Barnes & Noble เจ้าของเครื่องอ่าน ebook ที่ชื่อ Nook รวมทั้ง Kobo และ Apple ต่างก็ขาย ebook ที่เข้ารหัส DRM ด้วยเช่นเดียวกัน  โดย Barnes & Noble ใช้ Adobe DRM ส่วนทางด้าน Apple ก็ได้การเข้ารหัส DRM ของตนเอง แต่ในคำร้องดูเหมือนจะไม่ได้นำกรณีของ Apple มาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีส่วนแบ่งการตลาดน้อย  โดยเนื้อหาในคำร้องเน้นไป Amazon  พยายามสร้างความเป็นเจ้าของ ebook ที่เข้ารหัส DRM ของตนเอง ใช้รหัส AZM  “โดย ebook ที่มีการเข้ารหัส AZW DRM สามารถเปิดอ่านได้จาก Kindle หรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่น ซึ่ง Kindle app นี้สามารถเปิดอ่าน ebook ที่ซื้อจาก Amazon เท่านั้น ในขณะที่คำร้องยื่นฟ้องเฉพาะสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่หกแห่งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง Amazon ได้เข้ารหัส DRM กับ ebook เกือบจะทุกรายการจากทุกสำนักพิมพ์

 

การทำงานของ DRM ( Digital Right Management )

คำร้องระบุว่า การที่สำนักพิมพ์ทั้งหกแห่งทำสัญญากับ Amazon ว่ายินยอมให้ Amazon สามารถเข้ารหัส DRM กับ ebook ของพวกเขานั้น ถือว่า “เป็นการหน่วงเหนี่ยวการค้าและการพาณิชย์ในตลาด ebook”  เป็นการละเมิด Sherman  Act  ( กฏหมายป้องกันการผูกขาดการค้า ) และอ้างว่า “ผู้บริโภคถูกบีบให้ปราศจากทางเลือกและไม่สามารถเข้าถึงประโยชน์ของนวัตกรรมและผลของการแข่งขันจากการจำกัดสิทธิ์ที่พึงมีของร้านหนังสือขนาดเล็กตามท้องถนนทั่วไป”

โจทย์ขอให้ศาลสั่ง “ยับยั้งไม่ Amazon และสำนักพิมพ์ทั้ง 6 แห่ง จากการตีพิมพ์และขายหนังสือ ebook ที่ใช้อุปกรณ์และแอพพลิเคชันที่มีการเข้ารหัส DRM  ที่เฉพาะเจาะจงและยังต้องการให้สำนักพิมพ์เหล่านี้ยินยอมให้ร้านหนังสือเล็ก ๆ ตามท้องถนนสามารถขาย ebook ของสำนักพิมพ์ที่เข้ารหัส DRM  แบบเสรี (OPEN SOURCE DRM) ได้โดยตรง

Alyson Decker  ทนายความที่รับผิดชอบเรื่องนี้ กล่าวว่า ” แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดถึงความหมายของคำว่า “OPEN SOURCE DRM”  เธอกล่าวว่า เธอไม่สามารถให้ความคิดเห็นที่เฉพาะเจาะจงลงไปทางด้านเทคนิคได้ แต่ดูเหมือนว่าโจทย์ต้องการให้มีการเข้ารหัส DRM บางอย่างที่สามารถจะทำงานข้ามแพลทฟอร์มได้

Decker บอกว่า สำนักพิมพ์เล็ก ๆ เห็นพ้องกันว่า การขาย ebook ผ่าน Kobo เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอ “ความเข้าใจของฉันก็คือ สำนักพิมพ์ทั้ง 6 แห่ง ยังไม่มีข้อตกลงใด ๆ เฉพาะเจาะจงกับการขาย ebook กับร้านหนังสือขนาดเล็กรวมทั้งร้านหนังสือต่าง ๆ ตามท้องถนน เมื่อเทียบกับข้อตกลงที่พวกเขาเคยทำกับการขายหนังสือแบบตัวเล่ม แม้ว่าในขณะนี้ร้านหนังสือขนาดเล็กสามารถขาย ebook สำหรับ Kobo ได้  แต่ฉันเข้าใจว่า ข้อตกลงกับการขายหนังสือกับ Kobo  และไม่ได้ทำโดยตรงกับสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้ง 6 แห่ง  “ร้านหนังสือขนาดเล็กหลายแห่งอาจจะขาดความรู้ทางด้านเทคนิคและโครงสร้างพื้นฐานในการที่จะสามารถขาย ebook ได้โดยตรงจากทางสำนักพิมพ์ แต่การยื่นฟ้องครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรายละเอียดโดยตรงว่าระบบนี้จะทำงานอย่างไร”

 

DRM คืออะไร

 

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้