Tag: จีน

รถไฟความเร็วสูงทำไมต้องจีน

ในตอนเริ่มโครงการนั้นอาศัยการนำเข้าขบวนรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ก็สร้างขึ้นภายใต้ข้อตกลงถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกันกับผู้ผลิตรถไฟต่างชาติ แต่หลังจากนั้นแล้ววิศวกรของจีนก็ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านนี้ และในตอนนี้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุดในโลกก็อยู่ในจีนนั่นคือเส้นทางระหว่างกรุงปักกิ่งไปยังเมืองกว่างโจว ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่มีรถไฟวิ่งเร็วที่สุดในโลกนั้นก็คือเส้นทางระหว่างกรุงปักกิ่งไปยังเซี่ยงไฮ้และยังถือเป็นครั้งแรกของโลกที่รถไฟเพื่อการพาณิชย์ที่ใช้รางแบบ Meglev (ย่อมาจาก magnetic levitation) ซึ่งก็คือรางรถไฟที่อาศัยการยกตัวด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้รถไฟลอยตัวขึ้นเหนือรางแล้วเคลื่อนที่โดยไม่ต้องใช้ล้อ สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 460 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนในต้นปี 2024 อาจจะมีการเปิดตัวรถไฟความเร็วสูง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งจะทำให้รถไฟจำนวน 4 ตู้วิ่งได้ไกล 600 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง

ทำไมถึงย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ตอนที่ 2 จบ

แต่ไม่ใช่ว่าจีนไม่พัฒนา จีนเองก็กำลังขยับไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีมูลค่าสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศที่ได้รับส่วนแบ่งเหล่านั้นไปยังคงการผลิตแบบดั้งเดิมที่มีราคาถูก ซึ่งบริษัทข้ามชาติส่วนมากยังคงให้ความสำคัญในแง่ที่มีต้นทุนถูกกว่าทั้งในแง่ของทรัพยากรและแรงงาน จึงย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของธุรกิจ ที่ล้วนต้องการรักษาต้นทุนให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ จีนตัดสินใจผลักดันการผลิตของตนให้เป็นอุตสาหกรรมไฮเทค ราคาแพง ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา จีนได้หว่านเม็ดเงินมากกว่า 1,500 ล้านเหรียญฯ ไปกับยุทธศาสตร์ Made in CHINA 2025 เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตของจีนให้เป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นไฮเทค

ทำไมถึงย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ตอนที่ 1

ย้อนกลับไปราว 10-20 ปีก่อนหน้านี้ จีนได้ชื่อว่าเป็นโรงงานของโลก สินค้ามากมายผลิตขึ้นในจีนแล้วส่งออกกระจายไปยังทั่วโลก ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยหน่วยงานด้านสถิติขององค์การสหประชาชาติ ในปี 2018 จีนมีสัดส่วนการผลิตคิดเป็น 28% ของการผลิตทั้งโลกตามมาด้วยสหรัฐฯ ที่ 17% และญี่ปุ่น 7% จะเห็นได้ว่าจีนประเทศเดียวก็ครองการผลิตของทั้งโลกไว้เกือบ 30% และทิ้งห่างอันดับสองคือสหรัฐฯถึง 10% ทั้งที่สหรัฐฯ นั้นเคยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนที่จะถูกจีนเติบโตขึ้นมาแทนที่ในปี 2010 คำถามคือ แล้วทำไมไม่ผลิตในประเทศตัวเอง ทำไมต้องย้ายฐานการผลิตไปที่จีน ?

ยุทธศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย

ทางฝั่งจีนเองก็พยายามรักษาเป้าหมายของตนในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ไม่ถูกขัดขวางเช่นเดียวกันกับสหรัฐฯ  จีนกำลังพัฒนาเครือข่ายฐานทัพเรือแถบ indo Pacific ในปี 2017 จีนได้สร้างท่าเรือเพื่อการขนส่งขึ้นเป็นครั้งแรกที่จิบูตี นอกจากนั้นก็พยายามมองหาที่ตั้งฐานทัพเรือในประเทศรอบทะเลทรายสะฮารา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรอินเดียและท่าเรือที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้ก็คือท่าเรือเรียมของกัมพูชาซึ่งอยู่ห่างจากช่องแคบมะละการาว 640 ไมล์ คิดเป็นระยะทางครึ่งหนึ่งจากเกาะไหหลำซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือจีน ซึ่งเหตุการณ์บอลลูนสอดแนมของจีนที่ถูกสหรัฐฯ ยิงตกนั้นก็เชื่อว่าถูกปล่อยขึ้นจากเกาะไหหลำ ซึ่งทางการสหรัฐฯ ได้เฝ้าสังเกตการณ์บอลลูนตั้งแต่เริ่มถูกปล่อยขึ้นในปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาก่อนจะเข้ามาในน่านฟ้าสหรัฐฯ เหนือรัฐอลาสกา

Chip ชิปหายไหม ?

หากพูดถึงการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัยมากที่สุดที่เรียกว่า logic chips ซึ่งมีขนาด 10 นาโนเมตรหรือเล็กกว่านั้น ต่างผลิตในไต้หวันแทบทั้งสิ้น โดยคิดเป็นสัดส่วนการผลิตถึง 92% ส่วนที่เหลืออีก 8% ผลิตในเกาหลีใต้ นอกจากนั้นแล้วเซมิคอนดักเตอร์หรือชิปที่ผลิตได้ก็มาจากบริษัทเพียงบริษัทเดียวคือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือที่รู้จักกันในนาม TSMC ทั้งจีนและสหรัฐฯได้พยายามอย่างมากเพื่อขยายกำลังการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของพวกเขาเพื่อลดการพึ่งพาชิปจากไต้หวัน แต่เมื่อชิปมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ มีพลังการประมวลผลขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ไต้หวันก็ยิ่งนำห่างออกไปทุกที และทั้งหมดนี้ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไม ไต้หวันถึงมีความสำคัญกับเศรษฐกิจโลกอย่างมาก

การค้าเสรี (หรือเปล่า ?)

สิ่งที่ดีของโลกการค้าเสรีก็คือ มันเป็นการนำคนมารวมกันโดยที่ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ศาสนา แต่ทว่ามันก็นำไปสู่การสร้างผู้ชนะเพียงแค่หยิบมือ ซึ่งก็หมายถึงการมีคนจนอีกมากมายต้องเป็นผู้แพ้ หากคนจนเหล่านั้นไม่สามารถสร้างตัวเองขึ้นมา พึ่งพาตัวเองได้หรือไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากรัฐแล้วเพื่อให้พร้อมต่อการแข่งขันที่เปิดกว้าง โลกการค้าเสรีก็ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้กับประเทศและจะยิ่งโหดร้ายกับคนที่ไม่มีความพร้อมและทำให้ภาคเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมหรือว่าการเกษตรล่มสลายลงได้ภายในะระยะเวลาไม่นาน

วิกฤติน้ำในเอเชีย

เมื่อเราพูดถึงความมั่นคงของน้ำในเอเชียนั้น ภาวะโลกร้อนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายพื้นที่ในจีนและเอเชียแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ จากที่ฝนตกอยู่เป็นประจำกลับกลายเป็นแล้ง ภัยแล้งนี้กำลังทำลายล้างเอเชียใต้ในทุก ๆ ปี โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดก็คือปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ภูฏาน ประเทศเหล่านี้ตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากภัยแล้ง นอกจากจะเป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรมแล้วยังเพิ่มจำนวนประชากรที่ขาดแคลนน้ำซึ่งพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ ทำให้เกิดภาวะตึงเครียดทางสังคมตามมา

ตอนนี้จีนเป็นอย่างไรบ้าง

จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการออมเงินสูงที่สุดในโลก นักวิเคราะห์เห็นพ้องต้องกันว่า เหตุผลใหญ่ก็คือความเปราะบางของโครงข่ายรองรับทางสังคม เช่นมาตรการในการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤติต่าง ๆ  เมื่อคุณถึงวัยเกษียณ คุณอาจจะไม่รู้ว่าคุณจะประคับประคองชีวิตไปต่ออย่างไรและเมื่อเจ็บป่วย คนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงระบบประกันสุขภาพที่ดี ก็จะไม่อยากป่วย กลัวเวลาป่วยเพราะรู้ดีว่าไม่สามารถไปหาหมอหรือเข้าโรงพยาบาลได้เพราะไม่มีเงิน
Advertismentspot_img

Most Popular