Tag: แรงงาน

ทำไมถึงย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ตอนที่ 1

ย้อนกลับไปราว 10-20 ปีก่อนหน้านี้ จีนได้ชื่อว่าเป็นโรงงานของโลก สินค้ามากมายผลิตขึ้นในจีนแล้วส่งออกกระจายไปยังทั่วโลก ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยหน่วยงานด้านสถิติขององค์การสหประชาชาติ ในปี 2018 จีนมีสัดส่วนการผลิตคิดเป็น 28% ของการผลิตทั้งโลกตามมาด้วยสหรัฐฯ ที่ 17% และญี่ปุ่น 7% จะเห็นได้ว่าจีนประเทศเดียวก็ครองการผลิตของทั้งโลกไว้เกือบ 30% และทิ้งห่างอันดับสองคือสหรัฐฯถึง 10% ทั้งที่สหรัฐฯ นั้นเคยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนที่จะถูกจีนเติบโตขึ้นมาแทนที่ในปี 2010 คำถามคือ แล้วทำไมไม่ผลิตในประเทศตัวเอง ทำไมต้องย้ายฐานการผลิตไปที่จีน ?

เสื้อผ้าราคาถูกลงเพราะอะไร (ตอนที่ 1 )

ในช่วงทศวรรษที่ 60 สหรัฐฯ ผลิตเสื้อผ้าที่สวมใส่กันในประเทศคิดเป็นสัดส่วนถึง 95% แต่ในทุกวันนี้การผลิตลดเหลือเพียง 3% ส่วนอีก 97% ที่เหลือเป็นการส่งไปผลิตในประเทศกำลังพัฒนา คนอเมริกันโดยทิ้งเสื้อผ้ากันเฉลี่ยคนละ 40 กิโลกรัมในแต่ละปี ทำให้เพิ่มส่วนของขยะที่เป็นเครื่องนุ่งห่มมากกว่า 11 ล้านตันต่อปี นี่เป็นเพียงตัวเลขขยะเครื่องนุ่งหุ่มเฉพาะจากสหรัฐ ฯ เพียงแห่งเดียว ที่สำคัญขยะส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หมายความว่าขยะพวกนี้จะอยู่ตรงนี้ไปอีก 200 ปีเป็นอย่างน้อยระหว่างนั้นก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเรื่อย ๆ เมื่อลองเปรียบเทียบราคาเสื้อผ้าในปัจจุบันกับช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าเสื้อผ้ามีราคาถูกลงเรื่อยๆ แต่หากถามว่าเป็นเพราะต้นทุนการผลิตลดลงใช่หรือไม่ ? ตอบได้เลยว่าไม่ใช่ ต้นทุนมีแต่จะสูงขึ้น แต่ด้วยการส่งไปผลิตในประเทศกำลังพัฒนามากเท่าไหร่ ราคาเสื้อผ้าก็ยิ่งถูกลงมากเท่านั้น และด้วยเส้นทางการผลิตดังกล่าว ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า Fast Fashion

สมองไหล ?

ประเทศพัฒนาแล้วสามารถเลือกได้ว่าพวกเขาต้องการคนทำงานที่มีทักษะหรือคนเก่ง ๆ จำนวนเท่าไหร่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มหรือลดจำนวน VISA แต่นี่ทำให้ประเทศที่แรงงานสมองไหลจากมาเจ็บปวดไม่ใช่น้อย เพราะหมายถึงการที่ประเทศเพิ่งจะเสียคนเก่ง ๆ ทำงานมีประสิทธิภาพไป โดยที่พวกเขาเหล่านั้นก็เป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะเสียภาษีให้ประเทศมากที่สุด สร้างมูลค่าให้ประเทศมากที่สุดและมีโอกาสสูงที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาเพื่อทำให้ประเทศมีรายได้มากขึ้นกว่าเดิม แล้วยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแรงงานออกไปจากสังคมผู้สูงอายุ ประเทศที่ลงทุนไปกับการฟูมฟักเด็กเล็ก ๆ แต่แล้วพวกเขาก็ไม่ได้รับอะไรกลับมาจากการลงทุนนั้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

เครื่องซักผ้าหรืออินเตอร์เน็ต

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 และ 20 สังคมคาดหวังว่าผู้หญิงจะต้องเป็นคนรับผิดชอบดูแลงานบ้านเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ทำกับข้าว ซักเสื้อผ้า ทำความสะอาดบ้าน ซึ่งศาสตราจารย์ชาง ได้นำเสนอว่าเมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องซักผ้าขึ้นมาก็ทำให้ผู้หญิงมีเวลาว่างมากขึ้นและสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานที่พวกเธอสามารถหารายได้จากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง ซึ่งการที่ทำให้ผู้หญิงเป็นอิสระจากงานบ้านมากขึ้นนี้เอง ทำให้มีตลาดแรงงานขยายตัวออกไป นอกจากแรงงานชายแล้วก็มีแรงงานหญิงเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งช่วยต้นทุนการผลิต รวมถึงเมื่อผู้หญิงมีรายได้ ก็เท่ากับมีอำนาจซื้อใหม่เพิ่มเข้ามา ทำให้เกิดการสร้างตลาดเซกเม้นท์ใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้หญิง ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมมีการเติบโต

หากตกงานเพราะ AI Robot

ณ วันนี้ เราอยู่ในกรอบเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของเรา วิถีการใช้ชีวิตและแม้แต่สิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เราเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ Artificial intelligence (AI) 3D printing หุ่นยนต์ Big data วิทยาศาสตร์ชีวภาพในระดับพันธุกรรม การวิเคราะห์จากภาพถ่ายทางการแพทย์ เป็นต้น การนำเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันซึ่งไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องใช้เฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมาเท่านั้น ทำให้เกิดประโยชน์และความก้าวหน้าทวีคูณยิ่งขึ้นไปอีก

ระเบิดเวลาประชากร

ในปี 1965 โลกมีประชากรราว 3.3 พันล้านคน เพียงแค่ช่วงเวลา 50 ปี ณ เวลานี้ โลกมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 7.3 พันล้านคน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ย่อมส่งผลมหาศาลต่อความสามารถในการผลิต การบริการรวมถึงการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจ ทุก ๆ ประเทศจะมีจุดรุ่งเรืองของสมดุลของประชากร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ทำให้ทั้งการผลิตและการบริโภคเติบโตขึ้นทั้งสองด้านส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ประชากรถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทำให้เศรษฐกิจรุดหน้าอย่างรวดเร็ว...
Advertismentspot_img

Most Popular