เครื่องซักผ้าหรืออินเตอร์เน็ต

Listen to this article

หลายปีมานี้มีคำถามที่วนอยู่ในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการตั้งคำถามของ ฮา จูน ชาง นักเศรษฐศาสตร์และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเครมบริดจ์ โดยเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ 23 Things They Don’t Tell You About Capitalism ที่ตีพิมพ์ในปีเดือนมกราคม ปี 2012 ว่า “เครื่องซักผ้ามีอิทธิพลต่อโลกมากกว่าอินเตอร์เน็ต”

23 Things They Don’t Tell You About Capitalism Paperback


ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 และ 20 สังคมคาดหวังว่าผู้หญิงจะต้องเป็นคนรับผิดชอบดูแลงานบ้านเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ทำกับข้าว ซักเสื้อผ้า ทำความสะอาดบ้าน ซึ่งศาสตราจารย์ชาง ได้นำเสนอว่าเมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องซักผ้าขึ้นมาก็ทำให้ผู้หญิงมีเวลาว่างมากขึ้นและสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานที่พวกเธอสามารถหารายได้จากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง ซึ่งการที่ทำให้ผู้หญิงเป็นอิสระจากงานบ้านมากขึ้นนี้เอง ทำให้มีตลาดแรงงานขยายตัวออกไป นอกจากแรงงานชายแล้วก็มีแรงงานหญิงเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งช่วยต้นทุนการผลิต รวมถึงเมื่อผู้หญิงมีรายได้ ก็เท่ากับมีอำนาจซื้อใหม่เพิ่มเข้ามา ทำให้เกิดการสร้างตลาดเซกเม้นท์ใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้หญิง ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมมีการเติบโต

เพียงแต่เครื่องซักผ้าในที่นี้ ไม่ได้หมายความตรงตัวว่าแค่เครื่องซักผ้า แต่ยังหมายถึงอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่มีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานบ้านซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้เวลาไปกับมันเยอะมากโดยที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนแต่อย่างใด

เมื่อเรานึกถึงการซักผ้า ภาพในหัวของคนสมัยนี้ก็คือ เอาผ้าไปใส่ลงในเครื่องซักผ้า เติมน้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก แล้วก็กดปุ่ม แล้วก็ไปทำอย่างอื่น แต่หากย้อนกลับไปในสมัยแรกเริ่ม ผู้หญิงจะต้องไปหาบน้ำจากระยะทางไกล ๆ เพื่อเอามาใส่กะละมังซักผ้า หรือไม่ก็ต้องขนผ้าไปซักริมแม่น้ำ ยิ่งหากเป็นฤดูหนาว อาจต้องหาบน้ำเสร็จแล้วค่อยมาก่อไฟต้มน้ำ จากนั้นซักด้วยมือ กว่าจะตากผ้าเสร็จ ก็เกือบจะหมดเวลาในชีวิตไปแล้วหนึ่งวัน จากนั้นต้องไปหุงหาอาหารต่ออีก

ศาสตราจารย์ชางได้พยายามชี้ให้เห็นว่า วิธีที่เรานำเทคโนโลยีไปใช้นั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่าการคิดค้นเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมาเสียอีก

The magic washing machine | Hans Rosling

แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปเปรียบเทียบกันเพื่อด้อยค่าการมีอยู่ของอินเตอร์เน็ตแต่อย่างใด

อินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงโลกรอบตัวของเราไปในหลายรูปแบบ จำได้หรือไม่ว่าครั้งสุดท้ายที่วันนั้นทั้งวันไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตเลยคือเมื่อไหร่ เราต่างต้องใช้อินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการทำงาน เพื่อความบันเทิงหรือใช้เพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ

เมื่อสามปีที่แล้วมีการระบาดของโควิดไปทั่วโลก ทำให้ผู้คนต้องกักตัวอยู่กับบ้านและอินเตอร์เน็ตทำให้เราสามารถทำงานที่บ้าน เล่นเกมส์ออนไลน์ คุยกับกับเพื่อน โดยที่ไม่ต้องกักตัวแบบคนเดียวเงียบ  ๆ น่าเบื่อ เครียด กดดัน

ดังนั้นในความคิดของคุณ คุณคิดว่าอะไรมีผลต่อเศรษฐกิจของโลกมากกว่ากัน ?

อินเตอร์เน็ตหรือว่าเครื่องซักผ้า ?

….. ……………..

เครื่องซักผ้าพกพา
Advertisement พื้นที่โฆษณา
Folding Washing Machine For Clothes With Dryer Bucket

ได้มีการคิดค้นเครื่องซักผ้าขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1850 แต่ปัญหาก็คือว่าเครื่องซักผ้าต้องใช้ไฟฟ้าปริมาณมากแล้วในเวลานั้นบ้านเรือนผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันเลย เครื่องซักผ้าในยุคนั้นจึงเป็นเสมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หรูหราราคาแพง ส่วนบ้านที่มีเครื่องซักผ้าก็ใช้แทบจะนับครั้งได้เนื่องจากการที่มันใช้ไฟเยอะ หากเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายค่าไฟแล้ว เอาเงินไปจ้างแม่บ้านมาซักเสื้อผ้าได้หลายคนเลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปซื้อเครื่องซักผ้าราคาแพงเพียงเพื่อให้แม่บ้านซักผ้าสะดวกขึ้น

ต่อมาในทศวรรษ 1930 นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนทั้ง ๆ ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่ว่าบ้านเรือนผู้คนส่วนใหญ่ก็มีไฟฟ้าใช้กันแล้วบวกกับการเกิดส่งครามโลกครั้งที่สอง (1939 to 1945 ) ความนิยมในเครื่องซักผ้าจึงเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากผู้หญิงจำเป็นต้องเข้าไปเป็นแรงงานแทนผู้ชายที่ต้องไปรบในยุโรปและแปซิฟิก

การซักผ้าเสื้อผ้าของคนในครอบครัวนั้นเป็นเรื่องง่ายหากเรามีเวลาทั้งวัน หากผู้หญิงยังทำหน้าที่เป็นแม่บ้านมีเวลาดูแลบ้านตลอดทั้งวัน แต่เมื่อพวกเธอต่างก็มีงานประจำด้วย การจะใช้เวลาทั้งวันมาทำงานเพียงอย่างเดียวนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น เตารีด ที่เราใช้กันในทุกวันนี้จึงเข้ามาช่วยลดระยะเวลาการทำงานบ้าน

ช่วหลังสงครามเห็นได้ชัดว่า ผู้หญิงจำนวนมากสามารถทำงานบ้านและงานประจำควบคู่กันไปด้วย สิ่งแรกที่พวกเธอต้องการซื้อด้วยเงินที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองก็คือเครื่องใช้ที่ช่วยอำนวยความสะดวกกับการทำงานบ้าน ในด้านเศรษฐกิจที่เราได้ศึกษาบางอย่างเรียกว่าผลิตภาพแรงงาน ( Labour productivity ) ซึ่งเป็นหนึ่งในเกณฑ์วัดทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง บ่อยครั้งที่จะถูกมองข้าม ผลิตภาพแรงงานนั้นก็คือค่าเฉลี่ยที่แรงงานผลิตได้ในหนึ่งชั่วโมงการทำงาน ตัวอย่างเช่น ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้ค่าเฉลี่ยราว ๆ 70 เหรียญฯ ต่อชั่วโมงการทำงาน ดังนั้นการเพิ่มผลิตภาพแรงงานจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจเพราะมันหมายถึงการที่คนทำงานจะได้รับค่าจ้างดีขึ้นกว่าเดิมโดยไม่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของมาตรฐานการครองชีพและสร้างเศรษฐกิจที่มั่งคั่งกว่าเดิม

การปรับปรุงผลิตภาพแรงงานเบื้องต้นโดยการทำให้คนงานได้รับการศึกษาที่ดีขึ้นและให้เครื่องไม้เครื่องมือที่ดีขึ้นกว่าเดิมกับพวกเขาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างผลิตภาพแรงงานที่แตกต่างกันระหว่างแคนาดากับสหรัฐฯ ทั้ง ๆ ที่เป็นแรงงานที่มีทักษะใกล้เคียงกัน ผลิตภาพแรงงานของสหรัฐฯ กลับมากกว่าผลิตภาพแรงงานแคนาดา ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าธุรกิจต่าง ๆ ในสหรัฐฯ มีการลงทุนโดยเฉลี่ยจำนวนมากไปกับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับแรงงาน ทำให้แรงงานทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ผลิตผลมากกว่าในระยะเวลาที่เท่ากัน

GDP per hour worked / sources :oecd.org https://data.oecd.org/lprdty/gdp-per-hour-worked.htm
Women Fill Men’s Factory Jobs During World War II

เราจะเห็นได้ว่าการที่ผู้หญิงได้เข้าสู่ภาคแรงงาน จากที่เคยมีแต่แรงงานชายเป็นส่วนใหญ่นั้น ทำให้หลายประเทศสามารถปรับตัวเข้ามาแข่งขันทั้งในภาคอุตสาหกรรมและที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมในระดับโลกได้ก่อนหน้าที่จะมีอินเตอร์เน็ต ลองนึกถึงจำนวนแรงงานผู้หญิงที่ทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีอยู่ทั่วโลกหรือในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างอียิปต์ จีน อินเดีย เป็นต้น ประเทศเหล่านี้ส่งออกสินค้าที่ผลิตจากแรงงานของผู้หญิงเป็นมูลค่าหลายพันล้านเหรียญฯ

หลังจากมีการระบาดของโควิด 19 โลกรอบตัวเราก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คุณค่าของแรงงานได้เปลี่ยนไปอย่างมาก การกักตัว การต้องทำงานจากที่บ้าน การสลับวันกันมาทำงาน และการนำหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่แรงงาน เพื่อหาทางลดต้นทุนเพื่อชดเชยกับความต้องการสินค้าและบริการที่ลดลง โลก ณ ที่เรายืนอยู่ตอนนี้ ยังไม่อาจตัดสินได้ชัดเจนว่าการแทนที่แรงงานคนด้วยระบบอัตโนมัตินั้นส่งผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน

ครั้งหนึ่งการที่ผู้หญิงได้เข้ามามีส่วนร่วมในภาคแรงงานได้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ครอบครัว อย่างที่เราได้เห็นกันมาแล้ว และหากต่อไประบบอัตโนมัติจะเข้ามาแทนที่แรงงานคนบ้าง แต่คราวนี้จะแทนที่ภาคแรงงานโดยไม่แบ่งแยกเพศ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว อย่างไรต่อไป ? จะเข้ามาเป็นแรงงานเพิ่ม ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น แล้วการบริโภคจะเพิ่มตามหรือไม่ ? หรือเข้ามาแทนที่ ลดจำนวนคน ลดอำนาจซื้อ ทำให้เศรษฐกิจหดตัวหรือไม่ ?

การที่บริษัทประกาศลดจำนวนพนักงาน ภาพลักษณ์ของบริษัทก็เสียหาย ความเชื่อมั่นต่อบริษัทลดลง แต่ถ้าบริษัทหันไปปรับใช้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์แทน การจะปรับลดจำนวนหุ่นยนต์ก็คงไม่มีผลอะไรต่อภาพลักษณ์ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของ AI ก็ไม่ได้ส่งผลมากนักกับประสิทธิภาพการผลิต ฝีมือแรงงาน และไม่มีผลอะไรกับการขาดหายของแรงงานที่ต้องกักตัว ลาออก ลาป่วย การคิดผลตอบแทนโบนัส

โลกเรากำลังเดินทางมาถึงช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านและผลกระทบของมันจะมาถึงเราไม่ช้าก็เร็ว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ….

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้