เสื้อผ้าราคาถูกลงเพราะอะไร (ตอนที่ 1 )

Listen to this article

ภาคแรงงาน

ในช่วงทศวรรษที่ 60 สหรัฐฯ ผลิตเสื้อผ้าที่สวมใส่กันในประเทศคิดเป็นสัดส่วนถึง 95% แต่ในทุกวันนี้การผลิตลดลงเหลือเพียง 3% ส่วนอีก 97% เป็นการส่งไปผลิตในประเทศกำลังพัฒนา

คนอเมริกันทิ้งเสื้อผ้าเฉลี่ยกันคนละ 40 กิโลกรัมในแต่ละปี ทำให้เพิ่มส่วนของขยะที่เป็นเครื่องนุ่งห่มมากกว่า 11 ล้านตันต่อปี นี่เป็นเพียงตัวเลขขยะเครื่องนุ่งหุ่มเฉพาะจากสหรัฐ ฯ เพียงแห่งเดียว ที่สำคัญขยะส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หมายความว่าขยะพวกนี้จะอยู่ตรงนี้ไปอีก 200 ปีเป็นอย่างน้อยระหว่างนั้นก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเรื่อย ๆ

เมื่อลองเปรียบเทียบราคาเสื้อผ้าในปัจจุบันกับช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าเสื้อผ้ามีราคาถูกลงเรื่อยๆ แต่หากถามว่าเป็นเพราะต้นทุนการผลิตลดลงใช่หรือไม่ ? ตอบได้เลยว่าไม่ใช่ ต้นทุนมีแต่จะสูงขึ้น

แต่ด้วยการส่งไปผลิตในประเทศกำลังพัฒนามากเท่าไหร่ ราคาเสื้อผ้าก็ยิ่งถูกลงมากเท่านั้น และด้วยเส้นทางการผลิตดังกล่าว ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า Fast Fashion

………..

The Environmental Disaster that is Fuelled by Used Clothes and Fast Fashion | Foreign Correspondent

จากที่เคยมีการนำเสนอเสื้อผ้าสองครั้งต่อปีหรือออกเป็นคอลเลคชัน season ต่าง ๆ  แต่ในตอนนี้เราจะมีอะไรใหม่ ๆ ออกมาทุกสัปดาห์ นั่นก็คือเราจะมีแฟชั่นใหม่ 52 ครั้งต่อปีแทน ซึ่ง Fast Fashion เป็นกระบวนการที่ทำให้แบรนด์ต่างๆ ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เร็วขึ้นและมากขึ้น
…………..

แหล่งผลิตในประเทศกำลังพัฒนาทำให้เราสามารถผลิตเสื้อผ้าราคาถูกได้ จากนั้นเสื้อผ้าดังกล่าวก็จะกลับมาหาเรา ทั้งหมดนี้จะอยู่ในราคาเสื้อผ้าที่มันถูกมากแบบที่เราปาทิ้งได้โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ผู้จัดการของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในบังคลาเทศ ที่มีพนักงานจำนวน 25,000 คน บอกว่า เสื้อผ้าจำนวน 1 ใน 6 ที่ผลิตได้ถูกส่งไปขายยังสหรัฐฯ

…………

โดยพื้นฐานแล้ว การผลิตในระดับโลกนั้นหมายถึงว่า การผลิตสินค้าจะถูกกระจายออกไปผลิตตามที่ต่าง ๆ ที่มีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีค่าแรงต่ำมาก ๆ และจะยังคงมีค่าแรงต่ำอยู่ต่อไป นั่นหมายความว่า ผู้ที่อยู่ ณ จุดสูงสุดของห่วงโซ่คุณค่าซึ่งเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบเพื่อการผลิตไล่ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า สามารถเลือกได้ว่าจะผลิตสินค้าที่ไหนรวมถึงสามารถเลือกที่จะสลับสับเปลี่ยนการผลิตจากโรงงานหนึ่งไปอีกโรงงานหนึ่งได้  หากมีโรงงานไหนบอกว่าไม่สามารถผลิตได้ราคาถูกกว่านี้แล้ว ทางแบรนด์ก็อาจจะบอกว่า หากคุณทำไม่ได้ เราก็จะไม่จ้างคุณผลิตอีกต่อไป เราจะมองหาโรงงานอื่นแทนที่สามารถทำราคาได้ถูกกว่า

How Bangladesh Became a Global Textile Hub

…..

ที่กรุงธากา เมืองหลวงของบังคลาเทศ

มีแบรนด์ต่าง ๆ  หลั่งไหลกันเข้ามาที่นี่  ผู้จัดการโรงงานแห่งหนึ่งบอกว่า เมื่อมีแบรนด์ต่าง ๆ เข้ามาติดต่อให้เขาผลิตสินค้าให้ สิ่งที่เขาต้องเจอก็คือ คนต่างชาติเหล่านั้นจะพูดในทำนองว่า นี่ดูสิร้านนี้กำลังขายเสื้อเชิร์ตตัวนี้ในราคา 5 เหรียญฯ ดังนั้นฉันจำเป็นต้องขายมันในราคา 4 เหรียญฯ ซึ่งโรงงานที่รับผลิตก็ต้องมาบีบทุนสินค้าตัวนี้อีกทอด หลังจากนั้นก็จะมีอีกแบรนด์เข้ามาแล้วก็บอกว่า นี่เห็นไหม พวกเขาขายมันในราคาตัวละ 4 เหรียญฯ ดังนั้นฉันจำเป็นจะต้องขายมันให้ได้ในราคา 3 เหรียญฯ !!!!!

หากคุณเป็นโรงงานผลิต คุณจะยังทำธุรกิจไหมละ ?  ถ้าคุณทำราคาได้ตัวละ 3 เหรียญฯ คุณก็จะได้งาน แต่ถ้าคุณทำไม่ได้ คุณก็จะไม่มีงาน และถ้าเราไม่มีงานเราก็ไม่มีเงิน เราก็อยู่ไม่รอด มันไม่มีทางเลือกอื่น หน้าที่ของเราคือต้องพยายามอยู่รอดให้ได้ทุกครั้ง มันอยู่ที่ว่าคุณเลือกที่จะปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นหรือไม่อย่างนั้นแล้วโรงงานก็ต้องเลิกกิจการ

โรงงานต้องหันมาลดต้นทุนตัวเองซึ่งสิ่งที่โรงงานต้องลดต้นทุนนั้นรวมถึงเรื่องค่าแรงและมาตรการความปลอดภัยบางอย่างเพื่อให้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลธุรกิจ Fast Fashion ต่อไปได้ 

……………..

The Rana Plaza Collapse | A Short Documentary | Fascinating Horror

เช้าตรู่ในเดือนเมษายนเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว เกิดเหตุโศภนาฏกรรมขึ้นไม่ไกลจากกรุงธากา ซึ่งเป็นสิ่งที่เผยให้เห็นด้านมืดของแฟชั่นที่ถูกซ่อนไว้ อาคารสูง 8 ชั้นเกิดถล่มลงมาทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 70 คน ซึ่งผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็คือคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าซึ่งได้รับค่าแรงต่ำ มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม มีผู้รอดชีวิตบอกว่า คนงานถูกสั่งให้ไปจัดการกับรอยร้าวในอาคาร พวกเขาได้รับการแจ้งเตือนว่าอาคารแห่งนี้มีโครงสร้างที่ไม่ปลอดภัย แต่ก็ถูกถามว่าจะกลับเข้าไปทำงานได้เมื่อไหร่ ซึ่งทุกคนต่างก็เป็นกังวลในเรื่องนี้แต่ก็ต้องกลับเข้าไปทำงาน ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม

นอกจากเหตุการณ์นี้แล้ว ในบังคลาเทศยังมีโศกนาฏกรรมเกิดขึ้นกับโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่บ่อยครั้ง ก่อนหน้านั้นก็มีโรงงานผลิตเสื้อผ้าถล่ม มีผู้เสียชีวิตไปกว่าหนึ่งพันคน แล้วก็มีโรงงานเกิดไฟไหม้ทำให้ผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 100 คน

มีเด็กผู้หญิงที่ยากจนนับพันคนต้องเสียความเป็นตัวตนของพวกเธอไปเพียงเพราะผู้คนบนโลกนี้ต้องการแต่ของถูก

…………

ตู้เสื้อผ้าใบใหญ่ สวย สะอาด minimal เก็บเสื้อผ้าเป็นระเบียบ

เสื้อผ้าจำนวนมากในสหรัฐฯ ผลิตในบังคลาเทศ ซึ่งแรงงานได้รับค่าจ้างเฉลี่ย 3 เหรียญฯ ต่อวัน ในขณะที่โศกนาฏกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับโรงงานผลิตเสื้อผ้านั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่ทำกำไรได้มากที่สุดตลอดกาล อุตสาหกรรมแฟชั่นในระดับโลกในตอนนี้ มีมูลค่าตลาดเกือบ 3 ล้านล้านเหรียญฯ ต่อปี

มีคำถามว่า : อุตสาหกรรมที่สร้างผลกำไรมากมายให้กับกลุ่มคนเพียงแค่หยิบมือ ทำไมมันถึงไม่สามารถดูแลคนที่ทำงานนับหลายล้านคนในอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างเหมาะสม ทำไมถึงไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยให้กับพวกเขาได้   ?

บังคลาเทศในตอนนี้ถือว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกเครื่องแต่งกายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากจีน อุตสาหกรรมของบังคลาเทศยังคงมีต้นทุนที่ต่ำมากรวมทั้งสหภาพแรงงานก็ไม่ได้มีอำนาจต่อรอง พวกเขายังคงพยายามที่จะเป็นฐานของการผลิตในห่วงโซ่คุณค่า

คนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้ากว่า 40 ล้านคนบนโลกนี้  เกือบ 4 ล้านคนอยู่ในบังคลาเทศ ทำงานในโรงงานกว่า 5,000 โรงงาน ตัดเย็บเสื้อผ้าผลิตให้กับแบรนด์เสื้อผ้าตะวันตก กว่า 85% ของคนงานเป็นผู้หญิงซึ่งได้รับค่าแรงต่ำกว่า 3 เหรียญฯ ต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นค่าแรงที่แทบจะต่ำที่สุดในอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าของโลกเลยก็ว่าได้

ผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า เธอเคยพาลูกไปที่โรงงานด้วย แต่ว่าที่ข้างในโรงงานนั้นมันค่อนข้างร้อน แล้วยังมีสารเคมีและกลิ่นเคมีมากมายอยู่ในโรงงานซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็ก เลยไม่สามารถให้ลูกอยู่กับเธอที่ธากาได้เพราะไม่มีเวลาดูแลลูก จำเป็นต้องทิ้งให้อยู่กับพ่อแม่ที่ต่างจังหวัด โดยจะมีโอกาสได้กลับไปหาลูก กอดลูก หอมลูกเพียงปีละ 2 ครั้ง

ค่าแรงต่ำเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้บังคลาเทศดึงดูดใจแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้เข้ามาทำธุรกิจ มีคนงานจำนวนหลายล้านคนที่นี่ทำงานหลายชั่วโมงต่อวันอย่างไม่น่าเชื่อแต่ก็ยังได้เงินไม่พอดูแลลูก ๆ และครอบครัว แม้แต่คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดซึ่งมีสภาพแวดล้อมแย่ที่สุดก็ตามที

ภาวะแบบเดียวกันนี้กำลังเกิดขึ้นในกัมพูชาเช่นเดียวกัน มีพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าออกมาเดินขบวนเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ แต่ก็ถูกตำรวจปราบจราจลเข้าสลายการชุมนุม พวกเธอเพียงอยากเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน ไม่ได้เรียกร้องอะไรมากมายเลย

………

Fast Fashion นั้น ต้องการการผลิตที่รวดเร็วที่สุด ดังนั้นคนทำงานในส่วนของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าก็ต้องเร่งมือผลิตให้เร็วขึ้นและต้องราคาถูกด้วย ซึ่งทำให้แรงงานในส่วนของการตัดเย็บนั้นเป็นเพียงจุดเดียวของห่วงโซ่อุปทานที่ถูกบีบให้ลดต้นทุนมากที่สุด และองค์ประกอบในส่วนนี้ใหญ่โตมาก บริษัทต่างๆ พากันมุ่งหน้ายังโรงงานในบังคลาเทศ สั่งผลิตกางเกงยีนส์ 1.5 ล้านตัว ซึ่งโรงงานผลิตอาจจะได้กำไรเพียง 30 เซนต์หรือ 50 เซนต์ต่อตัว แล้วมันจะทำให้เป็นการผลิตที่มีจริยธรรม คุณธรรม ดูแลคนงานได้อย่างไร ?

แต่จากมุมมองของผู้บริโภค มันเป็นการซื้อเสื้อยืดสักตัวได้อย่างสบายใจในราคาเพียงแค่ 5 เหรียญฯ ซื้อกางยีนส์ในราคา 20 เหรียญฯ ใช่หรือไม่ ?

คำถามก็คือ ? พวกเขากำลังหลอกหลวงเราอยู่หรือเปล่า ?

เพราะอะไร เพราะพวกเขากำลังทำให้เราเชื่อว่าเรารวยหรือมั่งคั่งมีอำนาจซื้อ เพราะว่าเราสามารถซื้อเสื้อผ้าได้จำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเขากำลังทำให้เราจนลงและมีเพียงคนเดียวที่กำลังรวยขึ้นนั่นก็คือเจ้าของสาขาของแบรนด์ Fast fashion 

Why Choose Fair Trade Certified Clothing?


มีการประเมินว่าทุก ๆ หนึ่งในหกคนบนโลกตอนนี้ ทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแฟชั่น ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาแรงงานมากที่สุดในโลก

เมื่อกระบวนการผลิตทั้งหมดรวมกันเป็นการทำเพื่อผลกำไรของบริษัทใหญ่ สิ่งที่เห็นก็คือสิทธิมนุษยชน สภาพแวดล้อมในการทำงานต่างก็มลายหายไปด้วยกันทั้งหมด แรงงานกำลังถูกเอารัดเอาเปรียบเพิ่มขึ้นทุกที นั่นก็เพราะว่าราคาของทุก ๆ อย่างถูกกดให้ต่ำลง ต่ำลง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจที่จะได้กลายเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการอยากได้อยากมีอยากสะสมเงินทุน สะสมกำไรและนั่นก็เป็นการส่งเสริมปัญหา เพราะว่ามันนำไปสู่ความยากจนของคนจำนวนมากหลายร้อยล้านคนทั่วโลก


เรื่องราวดังกล่าวได้กลายเป็นสิ่งที่ใช้พูดถึงแนวทางการจัดการอุตสาหกรรมแฟชั่นที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่ในตอนนี้ ยังมีคนเชื่อว่ามันต้องมีทางที่ดีกว่าในการจัดการกับการผลิตและขายเสื้อผ้าที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจขณะเดียวกันก็คำนึงถึงผู้คนในสายพานการผลิตมากขึ้นซึ่งเราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่าการค้ายุติธรรม

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้