Tag: บังคลาเทศ

เสื้อผ้าราคาถูกลงเพราะอะไร (ตอนที่ 1 )

ในช่วงทศวรรษที่ 60 สหรัฐฯ ผลิตเสื้อผ้าที่สวมใส่กันในประเทศคิดเป็นสัดส่วนถึง 95% แต่ในทุกวันนี้การผลิตลดเหลือเพียง 3% ส่วนอีก 97% ที่เหลือเป็นการส่งไปผลิตในประเทศกำลังพัฒนา คนอเมริกันโดยทิ้งเสื้อผ้ากันเฉลี่ยคนละ 40 กิโลกรัมในแต่ละปี ทำให้เพิ่มส่วนของขยะที่เป็นเครื่องนุ่งห่มมากกว่า 11 ล้านตันต่อปี นี่เป็นเพียงตัวเลขขยะเครื่องนุ่งหุ่มเฉพาะจากสหรัฐ ฯ เพียงแห่งเดียว ที่สำคัญขยะส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หมายความว่าขยะพวกนี้จะอยู่ตรงนี้ไปอีก 200 ปีเป็นอย่างน้อยระหว่างนั้นก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเรื่อย ๆ เมื่อลองเปรียบเทียบราคาเสื้อผ้าในปัจจุบันกับช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าเสื้อผ้ามีราคาถูกลงเรื่อยๆ แต่หากถามว่าเป็นเพราะต้นทุนการผลิตลดลงใช่หรือไม่ ? ตอบได้เลยว่าไม่ใช่ ต้นทุนมีแต่จะสูงขึ้น แต่ด้วยการส่งไปผลิตในประเทศกำลังพัฒนามากเท่าไหร่ ราคาเสื้อผ้าก็ยิ่งถูกลงมากเท่านั้น และด้วยเส้นทางการผลิตดังกล่าว ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า Fast Fashion

วิกฤติน้ำในเอเชีย

เมื่อเราพูดถึงความมั่นคงของน้ำในเอเชียนั้น ภาวะโลกร้อนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายพื้นที่ในจีนและเอเชียแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ จากที่ฝนตกอยู่เป็นประจำกลับกลายเป็นแล้ง ภัยแล้งนี้กำลังทำลายล้างเอเชียใต้ในทุก ๆ ปี โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดก็คือปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ภูฏาน ประเทศเหล่านี้ตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากภัยแล้ง นอกจากจะเป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรมแล้วยังเพิ่มจำนวนประชากรที่ขาดแคลนน้ำซึ่งพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ ทำให้เกิดภาวะตึงเครียดทางสังคมตามมา
Advertismentspot_img

Most Popular