Tag: ประชากร

อุณหภูมิส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยหรือ (2/3)

มนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมและการเติบโต กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตหนาวไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันก็ไม่ได้ถือว่าพวกเขามีความฉลาด แข็งแรงหรือมีทรัพยากรมากว่าคนในแถบร้อน ไม่ว่าจะวัดด้วยมาตรฐานไหนก็ตาม  มีหลายเหตุผลที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจและล่าอาณานิคมได้มากมายด้วยอาศัยสองสิ่งต่อไปนี้ นั่นก็คือ ประการแรกทรัพยกรธรรมชาติที่พวกเขามีและอย่างที่สองคือการที่ต้องดิ้นรน ตัวอย่างเช่น หลักการคำนวนทางคณิตศาสตร์มากมายที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็มาจากพื้นที่เขตร้อนที่สุดในตะวันออกกลาง ส่วนดินปืนที่ทำให้ชาวยุโรปสามารถทำลายล้างวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นนั้นก็มาจากจีน ผลผลิตทางการเกษตรอย่างข้าวโพด มันฝรั่งและช็อคโกแลตนั้นพื้นเพต่างก็เริ่มต้นมาจากอเมริกาใต้ แต่หลังจากที่ทรัพยากรเหล่านี้ พืชพันธุ์เหล่านี้ถูกนำไปเพาะปลูกในยุโรปและเจริญเติบโตได้ดีเป็นเวลานานหลายศตรรษ ความเปลี่ยนแปลงก็เริ่มเห็นผล

วิกฤติน้ำในเอเชีย

เมื่อเราพูดถึงความมั่นคงของน้ำในเอเชียนั้น ภาวะโลกร้อนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายพื้นที่ในจีนและเอเชียแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ จากที่ฝนตกอยู่เป็นประจำกลับกลายเป็นแล้ง ภัยแล้งนี้กำลังทำลายล้างเอเชียใต้ในทุก ๆ ปี โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดก็คือปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ภูฏาน ประเทศเหล่านี้ตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากภัยแล้ง นอกจากจะเป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรมแล้วยังเพิ่มจำนวนประชากรที่ขาดแคลนน้ำซึ่งพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ ทำให้เกิดภาวะตึงเครียดทางสังคมตามมา

คนล้นเมือง

ที่แอฟริกาใต้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยส่วนตัวมากกว่าตำรวจเสียอีก พวกเขาทำหน้าที่คอยตรวจตราควบคุมประตูเมืองย่านชานเมืองซึ่งจะเป็นรอยต่อของที่อยู่อาศัยระหว่างคนรวยกับผู้มีรายได้น้อย นี่คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของสังคมในเรื่องความไม่เท่าเทียม ผู้คนส่วนใหญ่อพยพจากภาคเกษตรกรรมมาหางานทำในเมือง หรือย้ายเข้ามาเพื่อศึกษาต่อ จบแล้วหางานทำ หากเราไม่มีการจัดการที่ดี ไม่มีการวางผังเมืองที่ดี เราก็กำลังจะทำให้เกิดการอพยพหลายครั้งหลายหน ซึ่งเป็นการทำลายโครงสร้างของเมืองและโครงสร้างทางสังคมด้วยเช่นกัน

ระเบิดเวลาประชากร

ในปี 1965 โลกมีประชากรราว 3.3 พันล้านคน เพียงแค่ช่วงเวลา 50 ปี ณ เวลานี้ โลกมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 7.3 พันล้านคน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ย่อมส่งผลมหาศาลต่อความสามารถในการผลิต การบริการรวมถึงการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจ ทุก ๆ ประเทศจะมีจุดรุ่งเรืองของสมดุลของประชากร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ทำให้ทั้งการผลิตและการบริโภคเติบโตขึ้นทั้งสองด้านส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ประชากรถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทำให้เศรษฐกิจรุดหน้าอย่างรวดเร็ว...
Advertismentspot_img

Most Popular