กลยุทธ์ Long Tail กับร้านหนังสือ

Listen to this article

ในมุมมองของสำนักพิมพ์ ความท้าทายที่ต้องเผชิญในการออกหนังสือสักเรื่อง นั่นคือการทำให้หนังสือนั้นเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะชนรวมทั้งการทำให้หนังสือดังกล่าวไปปรากฏตัวอยู่บนชั้นวางในร้านหนังสือ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่ผู้อ่านจะเลือกซื้อหนังสือที่หาซื้อได้ในร้านหนังสือ

สำหรับการรับสั่งหนังสือแบบที่ Herothailand.com ทำอยู่นั้น เป็นการสั่งหนังสือแบบ Special Order คือสั่งหนังสือเฉพาะเล่มมาให้กับลูกค้าเฉพาะราย นั่นหมายความว่ากลุ่มลูกค้าดังกล่าวสามารถอดทนรอช่วงระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนกระทั่งจัดส่งหนังสือถึงมือได้ วิธีการนี้ครั้งหนึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 70 และ 80 แต่ทว่าระบบการให้บริการดังกล่าวสามารถสร้างรายได้เพียงเล็กน้อยคิดเป็นไม่กี่เปอร์เซ็นต์ให้กับร้านหนังสือ

ดังนั้นหลักการของการขายหนังสือสักเล่มก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้หนังสือนั้นได้ออกสู่สายตาประชาชนหรือทำให้เป็นที่รู้จักให้ได้มากที่สุด แล้วหนังสือนั้นก็จะเจอกับผู้อ่านของมันเอง

แต่ธรรมชาติของร้านหนังสือก็คือจะมีใครสักคนที่เป็นคนคัดเลือกหนังสือเข้าร้าน ทำหน้าที่เหมือนกับภัณฑารักษ์ในหอศิลป์ เพื่อหาหนังสือที่คาดว่าสาธารณะชนจะสนใจอย่างแท้จริงเข้ามาวางในชั้นของร้าน ดังนั้นหนังสือจะผ่านด่านนี้มาได้ก็ต้องมีคุณสมบัติที่โดดเด่นบางอย่าง

นอกจากคุณสมบัติของตัวหนังสือเองแล้ว การเลือกกลุ่มหนังสือที่มีความหลากหลายเข้ามาวางจำหน่ายในร้านจะเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดลูกค้า ย้อนกลับไปช่วงต้นทศวรรษที่ 60 ร้านหนังสือหลายแห่งต่างพากันเพิ่มจำนวนหนังสือในร้านเป็นสองเท่าและที่น่าแปลกใจคือ การทำเช่นนี้ส่งผลให้ร้านหนังสือที่มีผลประกอบการย่ำแย่กลับฟื้นตัวขึ้นมาได้อีกครั้ง

ผลการสำรวจในปี 1970 แสดงให้เห็นว่าในบรรดาร้านหนังสือที่มีทั้งหมด เกือบครึ่งในจำนวนนี้ลูกค้านิยมเข้าไปเพราะด้วยเหตุผลที่ว่ามีหนังสือให้เลือกจำนวนมากและพวกเขาจะตัดสินใจซื้อทันทีถ้าหากถูกใจ

ปลายปี 1980 ร้านหนังสือขนาดใหญ่ระดับประเทศของสหรัฐฯ อย่าง Barnes & Noble และ Borders ( ปัจจุบัน Borders ล้มละลายแล้ว ) ได้ปรับปรุงเครือข่ายร้านหนังสือของตนขนานใหญ่โดยการเพิ่มขนาดร้านหนังสือจากเดิมให้กลายเป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่ตามห้างสรรพสินค้าหรือเปิดสาขาที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่จุหนังสือได้จำนวนนับแสนรายการ แน่นอนว่ากลุ่มลูกค้าย่อมต้องพุ่งไปที่ร้านหนังสือขนาดใหญ่ดังกล่าว ขณะเดียวกันร้านหนังสือขนาดใหญ่เหล่านี้ได้สั่งซื้อหนังสือจากสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นด้วย ทุกฝ่ายต่างก็ยินดีกับยุครุ่งเรืองของร้านหนังสือยกเว้นก็เพียงร้านหนังสือขนาดเล็กที่ถูกบีบจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากคู่แข่งที่ตัวใหญ่กว่า

แต่ลักษณะธุรกิจดังกล่าวดำเนินไปได้ไม่ถึงสิบปี ก็ล่มสลายลงไป

นับตั้งแต่นั้นทุกคนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการหนังสือในสต็อก เนื่องจากมีผลโดยตรงกับรายได้ของร้านหนังสือ ต้นทุนการจัดการหนังสือในสต็อกจะเป็นตัวบ่งชี้รายได้ หากหนังสือรายการหนึ่งขายดี สมมติว่าเดือนหนึ่งขายได้ 7 เล่ม หนังสือที่ขายดีเหล่านี้ก็จะมีต้นทุนหนังสือค้างสต็อกน้อยกว่าหนังสือที่ขายไม่ค่อยได้รวมทั้งร้านหนังสือยังได้ส่วนลดจากราคาปกอีก นั่นหมายความว่าหากร้านหนังสือยิ่งมีจำนวนหนังสือที่ขายดีมากเท่าไหร่ รายได้ของร้านก็จะดีขึ้นด้วยและรายได้ส่วนนี้จะไปช่วยชดเชยในส่วนของหนังสือที่ขายได้น้อย

ในปัจจุบันด้วยการมาถึงของอินเตอร์เน็ต การค้าขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การขายหนังสือมีทางเลือกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านโลกออนไลน์ หรือแบบพิมพ์ตามต้องการ print on demand รวมถึง ebook ซึ่งสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ได้นำเอานวัตกรรมเหล่านี้เข้ามาช่วยในการจัดจำหน่ายหนังสือตั้งแต่ปี 1995 ทำให้ทุกวันนี้เว็บไซต์อย่าง Amazon หรือ BN สามารถนำเสนอรายชื่อหนังสือนับแสนเล่มในเว็บไซต์ของตน

หมายความว่า ณ ปัจจุบัน หนังสือทุกเล่มต่างก็มีโอกาสที่จะถูกขายได้เท่ากัน ! หรือไม่ ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นเช่นนั้น แล้วเรื่องการจัดการสต็อกล่ะ ?

เห็นทีเราต้องปรับกลยุทธ์ Long Tail สำหรับร้านหนังสือตามท้องถนน ให้ปรับเปลี่ยนไปสู่กลยุทธ์ Long Tail ในโลกออนไลน์ ให้จงได้….

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้