แย่งชิงแรงงานทักษะฝีมือ

Listen to this article

โลกในยุคโลกาภิวัฒน์นั้นก่อให้เกิดผลดีมากมายต่อเศรษฐกิจโลก หลายประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจของตนอย่างรวดเร็วโดยอาศัยการผลิต จัดหาสินค้าและบริการที่มีราคาถูกส่งไปขายให้กับประเทศที่พั​ฒนาแล้ว ขณะเดียวกันนั้นเองก็ทำให้ตลาดภายในประเทศเติบโตควบคู่กันไป 

แต่ก็แน่นอนว่า มีผู้ชนะก็ย่อมต้องมีผู้แพ้ หากมองในระดับคนทำงาน แรงงานที่ผลิตสินค้าซึ่งสามารถขนส่งไปขายยังทั่วทุกมุมโลกได้อย่างง่ายดายนั้นต่างก็ต้องแข่งขันกันกับแรงงานทุกคนบนโลกเช่นกันไม่เฉพาะกับแค่คนในประเทศเท่านั้น

ไม่มีใครอยากถูกเลิกจ้าง !

………………………

Why Global Supply Chains May Never Be the Same | WSJ Documentary

ย้อนกลับไปหลายร้อยปีก่อน การค้าระหว่างประเทศดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและมีต้นทุนสูง มีเรือไม่กี่ลำที่จะสามารถขนสินค้าเพื่อไปค้าขายระหว่างกันได้และต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานคนในการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงจากเรือ

ต่อมาได้มีการพัฒนามาใช้ตู้คอนเทนเนอร์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมจนกระทั่งอีก 50 ปีต่อมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 60 ความนิยมในการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากแล้วก็กลายมาเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน เรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายลำรวมถึงท่าเรือต่าง ๆ ต่างก็ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เหล่านี้

ที่ผ่านมาในช่วงการระบาดของโควิด เกิดการขาดแคลนสินค้าบางประเภทซึ่งเหตุผลก็คือโรงงานต้องลดจำนวนคนทำงานลง เพื่อรักษาระยะห่างและลดการแพร่ระบาด รวมถึงมาตรการกักตัว ซึ่งก็ทำให้กำลังการผลิตลดลงด้วยเช่นกัน แต่เมื่อสถานการณ์การระบาดของโควิดเริ่มคลี่คลายก็ยังมีปัญหาการขาดแคลนสินค้าอยู่ เหตุผลสำคัญก็คือการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์มากกว่าจะเป็นเรื่องการผลิตสินค้า ทำให้ความถี่ในการขนถ่ายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังปลายทางลดลง

เหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้นว่า หากมีที่ไหนผลิตสินค้าและบริการได้ถูกกว่าบนโลกใบนี้ พวกเขาก็จะสั่งซื้อและขนส่งมันข้ามมหาสมุทรแทนที่จะผลิตขึ้นในประเทศ

ยกตัวอย่างสหรัฐฯ ที่เคยมีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกแต่ตอนนี้ตกเป็นของจีนไปแล้ว มีเพียง 53% ของสินค้าที่ยังผลิตในสหรัฐฯ ที่เหลือจะเป็นการนำเข้าจากจีนเป็นส่วนใหญ่ เพราะอะไร เพราะจีนทำได้ถูกกว่า และเมื่อขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องรวมถึงประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ก็ลุกลามต่อเนื่องมาเป็น “สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน”

………………………

แต่สงครามการค้าอาจไม่ได้หมายถึงสินค้าอย่างที่เราเข้าใจกันเพียงเท่านั้น ยังหมายรวมถึง “แรงงานทักษะฝีมือ ผู้เชี่ยวชาญ” อีกด้วย

ผู้คนก็ไม่ต่างจากสิ่งของที่ถูกบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งไปยังประเทศอื่น สำหรับแรงงานทักษะฝีมือแล้วย่อมเป็นเรื่องง่ายในการที่พวกเขาจะไปทำงานที่ไหนในโลกก็ได้ แม้จะมีข้อจำกัดอยู่บ้างบางประการ เช่นเดียวกันกับการค้าเสรี การเคลื่อนย้ายของแรงงานทักษะฝีมือย่อมส่งผลให้เกิดทั้งฝั่งที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์เช่นกัน 

การเคลื่อนย้ายของแรงงานทักษะฝีมือนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และกำลังกลายมาเป็นเครื่องมือทางภูมิรัฐศาสตร์อีกด้วย

………………………

TAIWAN – FORMOSA – COLOUR – SOUND

ประเทศที่สามารถดึงดูดแรงงานทักษะฝีมือได้มากย่อมจะเป็นประโยชน์กับประเทศนั้น

ในตอนที่ไต้หวันขยายโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 นั้น ไต้หวันได้นำเข้าแรงงานทักษะฝีมือนับหลายพันคนเพื่อช่วยในการออกแบบและควบคุมโครงการต่าง ๆ  ซึ่งแทนที่จะเป็นการฝึกฝนพลเมืองของตัวเองให้สามารถออกแบบและก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตั้งแต่เริ่มจากศูนย์ ไต้หวันกลับเลือกที่จะนำผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแบบเดียวกันนี้มาก่อนแล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงพร้อมที่จะลงมือก่อสร้างทันทีมากกว่าต้องมารออีกเป็นสิบปีเพื่อสร้างทีมในประเทศขึ้นมา  

ถึงตอนนี้หากมองย้อนกลับไป การที่ต้องเอาคนในประเทศมาฝึกฝนอบรมนานเป็นสิบปีไม่ได้เกิดประโยชน์เท่าใดนัก นั่นก็เป็นเพราะว่าหลังผ่านไป 50 ปี ไต้หวันสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพียงแค่ 2 โรงเท่านั้นและทีมที่ดูแลโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งในตอนนี้ก็ไม่มีแล้ว ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไต้หวันอยู่สามโรงแยกเป็นที่ปิดตัวไปแล้ว 2 โรงและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 1 โรง

เหตุผลหลักที่ว่าทำไมประเทศต่าง ๆ อย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และอิสราเอล สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็วในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมก่อนหน้าอย่างเช่นสหรัฐฯ หรือว่ายุโรปตะวันตก นั่นก็เพราะว่าได้มีการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีของตนขึ้นมา พวกเขาว่าจ้างผู้คนที่มีทักษะฝีมือจากทั่วโลกมาสอนวิธีการติดตั้งและใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ช่วยย่นระยะเวลาในการพัฒนาไปได้มาก ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนต่างก็เป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้กับเศรษฐกิจโลก ในปัจจุบันเกาหลีใต้เป็นประเทศผู้ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นเดียวกันกับการที่เราพบว่ามันยากมากที่จะไม่เจอสินค้าที่ไม่ได้ผลิตในจีน  ยากพอ ๆ กับการหาเรือขนส่งสินค้าที่ไม่ได้ต่อในเกาหลีใต้

……………………

ทำไมแรงงานทักษะฝีมือถึงต้องการออกไปทำงานในต่างประเทศ ?

ประเด็นแรกก็คือ หากมองในมุมมองของบุคคลแล้ว ทุกคนต่างก็ต้องการมีชีวิตที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าประเทศบ้านเกิด

ประเด็นที่สองก็คือ  เราต้องเข้าใจมุมมองของการแข่งขันเพื่อหาคนเก่งที่หลายประเทศต่างก็สูญเสียพวกเขาเหล่านั้นไปให้ประเทศอื่น ซึ่งอาจจะเนื่องมากจาก คนเก่งมีทักษะฝีมือเหล่านี้เรียนมากเกินไป มีความรู้มากเกินไปเมื่อเทียบกับระดับเศรษฐกิจของประเทศบ้านเกิด ทำให้พวกเขาต้องคิด ต้องมองหาโอกาสในต่างแดนที่เหมาะกับพวกเขามากกว่า พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่มีงานที่เหมาะกับระดับความรู้ของพวกเขา ทำให้ต้องทำงานในระดับความรู้ที่ต่ำกว่าและได้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

……………………

ในปัจจุบันด้วยการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การสื่อสารผ่านดาวเทียม นอกจากนั้นการเดินทางระหว่างประเทศในตอนนี้ก็สะดวกสบายง่ายดายกว่าแต่ก่อนมาก ดังนั้นหากมีประเทศไหนที่มีข้อเสนอจูงใจแรงงานทักษะฝีมือแล้ว พวกเขาก็สามารถเลือกที่จะย้ายไปทำงานได้อย่างง่ายดาย เปรียบไปก็เหมือนกับการค้าระหว่างประเทศที่ไม่มีสิ่งกีดขวางทางการค้า ทำให้แต่ละประเทศแข่งขันกันเพื่อดึงดูดใจแรงงานทักษะฝีมือเหล่านี้

นั่นหมายความตอนนี้เราเห็นภาพรวมของการแข่งขันระหว่างประเทศสองอย่างชัด ๆ นั่นคือ แข่งขันกันผลิตสินค้าราคาถูก และขณะเดียวกันก็แข่งขันดึงดูดใจแรงงานทักษะฝีมือด้วยการเสนอให้ผลตอบแทนที่สูง

……………………

Why is the Indian Economy bleeding talent? Socio-economic case study

ทำไมเรื่องแรงงานทักษะฝีมือถึงมีความสำคัญขึ้นมาในช่วงเวลานี้

ในยุคก่อน ๆ เราอาจจะเคยได้ยินคำว่าสมองไหล แต่นั่นอาจจะยังไม่รุนแรงเท่าในยุคที่กำลังมาถึงนี้
(อ่านบทความแนะนำ: สมองไหล ?)

เพราะว่าเรากำลังอยู่ในยุคโลกไร้พรมแดนและโลกแห่งการค้าเสรี  คำว่าการค้าเสรีก็ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่สินค้าและบริการแต่ยังรวมถึงแรงงานคนด้วยทั้งที่มีทักษะฝีมือและไม่มีทักษะฝีมือ 

ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต่างก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีอัตราการเกิดน้อย ทำให้มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน จำเป็นต้องหาแรงงานทั้งมีทักษะฝีมือและไม่มีทักษะฝีมือเข้ามาทดแทนในส่วนดังกล่าว แต่การที่ได้แรงงานมีทักษะฝีมือเข้ามานั้นก็ย่อมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้มากกว่า

หากเรามองในเรื่องของแรงงานทักษะฝีมือ พวกเขาก็คงไม่ได้มีทักษะฝีมือกันติดตัวมาตั้งแต่เกิด แน่นอนว่าเป็นเพราะระบบการศึกษาที่ประเทศบ้านเกิดได้ฟูมฟัก รัฐบาลออกนโยบายรวมถึงมาตรการต่าง ๆ เพื่ออุดหนุนและส่งเสริมการศึกษา เป็นการใช้เม็ดเงินลงทุนที่ได้จากภาษีของคนในประเทศ หากมีแรงงานทักษะฝีมือที่จบมหาวิทยาลัยแล้วทำงานในประเทศบ้านเกิด ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญของพวกเขาก็ย่อมจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นแล้วก็จ่ายคืนกลับให้ประเทศในรูปแบบของภาษีรายได้ตามสัดส่วน ทำให้ประเทศได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา

แต่ในทางตรงกันข้าม หากพวกเขาเรียนจบแล้วแต่ไม่สามารถหางานทำในประเทศบ้านเกิดได้ ก็ต้องออกไปหางานทำในต่างประเทศเพื่อโอกาสในชีวิตที่ดีกว่า จากนั้นเมื่อมีรายได้ก็ไม่ได้จ่ายภาษีให้กับประเทศบ้านเกิดแต่กลับจ่ายให้กับประเทศที่ย้ายไปอาศัยและทำงาน ไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศใหม่ ถึงจุดนี้ ประเทศบ้านเกิดจะได้อะไรจากการที่อุดหนุนระบบการศึกษาให้กับแรงงานทักษะฝีมือเหล่านี้ และในระยะยาวหากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ ประเทศบ้านเกิดนอกจากจะขาดทุนแล้วยังมีความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกลดลงด้วย

แนวโน้มดังกล่าวนี้อาจเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจของประเทศจากการที่ไม่สามารถแข่งขันได้ในขณะเดียวกันก็กำลังสูญเสียแรงงานทักษะฝีมือวัยหนุ่มสาวไปพร้อม ๆ กัน  ประเทศจะมีนโยบายออกมาแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

……………………

How Dumping and Unfair Subsidies Impact Trade

หากเปรียบเทียบกับสินค้าและบริการแล้ว เพื่อให้ประเทศอยู่รอดปลอดภัยและมีการเติบโต ขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลก็ต้องมีนโยบายกับแรงงานทักษะฝีมือไม่ต่างไปจากสินค้าและบริการ

เมื่อแรงงานทักษะฝีมือก็คือสินค้าระหว่างประเทศอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

เครื่องมือที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมการค้าต่างประเทศก็คือการควบคุมการค้าโดยตรงอย่างเช่น การตั้งกำแพงภาษีนำเข้า การกำหนดโควตานำเข้ารวมไปถึงการห้ามนำเข้า นอกจากนั้นแล้วยังมีการให้การอุดหนุนเกษตรกรผู้ผลิตในประเทศ อย่างเช่นหากประเทศนั้น ๆ ไม่ต้องการให้สินค้าจีนทุ่มตลาดในประเทศด้วยสินค้าราคาถูก อาจมีการนำภาษีนำเข้ามาคิดกับสินค้าจีนซึ่งหมายความว่าหลังจากสินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้นจะทำให้แข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในประเทศได้น้อยลง ซึ่งหากลงในรายละเอียดก็ต้องไปดูถึงข้อตกลงทางการค้าทั้งแบบทวิพาคีและพหุพาคี หากทั้งสองประเทศตกลงยกเว้นภาษีระหว่างกัน การใช้มาตรการทางภาษีก็ไม่ได้ผล ต้องเปลี่ยนมาใช้วิธีการอื่นเช่นการควบคุมปริมาณการนำเข้าสินค้าผ่านระบบโควตา ซึ่งทำให้เกิดแรงจูงใจให้กับผู้ผลิตภายในประเทศให้เข้ามาเติมเต็มในส่วนที่การนำเข้าลดลง พึ่งพาสินค้าในประเทศเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้สินค้าในประเทศมีราคาสูงขึ้นนั่นก็คือทำให้เกิดเงินเฟ้อ แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่พอจะช่วยให้ประเทศฟื้นขึ้นมาได้บ้างเพราะต้องการปกป้องผู้ผลิตในประเทศที่ทำให้เกิดการจ้างงาน สามารถนำไปสู่การสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ  จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมในประเทศ

พื้นที่โฆษณา / Advertisement

MEX กาต้มน้ำไฟฟ้าปรับอุณหภูมิได้ รุ่น KATE KPLG105TW-1

ถ้าหากกาต้มน้ำที่ผลิตในจีนราคา 500 บาท ราคากาต้มน้ำที่ผลิตในประเทศอาจจะราคา 630 บาท ดังนั้นหากรัฐบาลเข้ามาช่วยชดเชยส่วนต่าง 130 บาทตรงนี้ก็จะสามารถช่วยให้ธุรกิจกาต้มน้ำในประเทศยังคงสามารถแข่งขันต่อไปได้ หรือในทำนองเดียวกัน การคิดภาษีนำเข้ากาต้มน้ำจากจีน 20% ก็จะได้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน ความแตกต่างก็คือกาต้มน้ำจากการอุดหนุนของรัฐบาลนั้นอาจก่อให้เกิดต้นทุนหลายร้อยบาทตามมา ในขณะที่กาต้มน้ำที่อาศัยการใช้กำแพงภาษีหรือโควตานำเข้าอาจมีต้นทุนเพียง 30 บาท

เหรียญย่อมมีสองด้าน หากรัฐบาลใช้เงินไปกับการอุดหนุนเพื่อสร้างการผลิตในประเทศเพื่อให้แข่งขันได้ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วจะนำไปสู่การชดเชยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นนั่นก็คือต้องมีการเก็บภาษีหารายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

หนึ่งในการอุดหนุนของรัฐบาลที่มีเม็ดเงินมากที่สุดในโลกก็คือโครงการรับซื้อพืชผลทางการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ  เพราะต้องการเสริมความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อคงไว้ซึ่งประโยชน์มหาศาลจากการที่มีความมั่นคงทางด้านอาหาร

และหากเราเปรียบเทียบเรื่องนี้กับแรงงานทักษะฝีมือที่ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์กับบริบทการค้าโลกแล้วนั้น การดึงดูดใจคนเหล่านี้ให้เข้ามาอาศัยและทำงานในประเทศ ก็เหมือนโควตาการนำเข้าสินค้า เพียงแต่จะเรียกว่าวีซ่าแทนแค่นั้นเอง ซึ่งแต่ละประเทศย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าพวกเขาต้องการแรงงานทักษะฝีมือที่ตนเองขาดแคลนมากน้อยเพียงใดก็สามารถออกวีซ่าเพื่อการนี้ได้

UK Work Permit Visa 2023 | UK Skilled Work Visa | UK Work Visa Application Process | Dream Canada

……………

ประเทศต่างๆ เมื่อตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว จึงหันมาพิจารณาการจัดเก็บภาษีแบบที่เรียกว่า citizenship-based taxation ซึ่งต่างกันกับ residence-based taxation ที่แรงงานทักษะฝีมือจะต้องจ่ายภาษีเฉพาะในประเทศที่ตนอาศัยและทำงานถึงแม้จะยังเป็นพลเมืองของประเทศบ้านเกิดก็ตาม citizenship-based taxation นี้เพื่อให้ประเทศบ้านเกิดยังสามารถได้รับประโยชน์จากแรงงานที่มีทักษะฝีมือเหล่านี้ต่อให้ต้องสูญเสียพวกเขาไปให้กับประเทศอื่น นี่อาจเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลจะสามารถเก็บรายได้จากภาษีได้เพิ่มมากขึ้นด้วยการส่งออกแรงงานทักษะไปต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ให้ค่าตอบแทนที่สูงมากกว่าที่จะเก็บพวกเขาไว้ในประเทศบ้านเกิดและเก็บภาษีพวกเขาจากงานที่ให้ค่าตอบแทนต่ำ

ไม่น่าเชื่อว่าในปัจจุบันเรื่องทักษะฝีมือก็ถูกนำมาใช้แบบเดียวกันกับสงครามการค้าเช่นกัน อย่างเช่น พลเมืองของสหรัฐฯหรือผู้อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ที่มีทักษะความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ถูกห้ามไม่ให้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของจีน นอกจากนั้นแล้ว เกาหลีเหนือ รัสเซีย อิหร่าน หรือแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็นำข้อจำกัดดังกล่าวนี้ไปใช้กับบางสาขาอาชีพเช่นกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจมาจากเหตุผลด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้